Skip to main content

คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้นฐานของความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือ    ยิ่งไปกว่านั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (Economic Sustainable Development) ย่อมต้องอยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึงผู้คนทั้งหลายที่เกี่ยวข้องให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง (Inclusive Growth)


บทบาทของรัฐจึงต้องอยู่ในลักษณะการประกันสิทธิให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันอย่างมั่นคงผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อาทิ เจ้าของแพลตฟอร์ม ผู้ประกอบการรายใหญ่ หรือผู้รับขนส่ง กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย สมาชิกแพลตฟอร์ม ผู้บริโภค ให้หลุดจากกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy) ที่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายย่อยต้องพึ่งพิงเจ้าของเทคโนโลยีแพลตฟอร์มที่ผูกขาดตลาดและขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจไปในรูปแบบผลประกอบการ แต่ยังมิได้มีกระบวนการจัดเก็บภาษีของรัฐเพื่อนำมาเป็นงบประมาณกระจายย้อนกลับมายังประชาชนในรูปแบบของสวัสดิการ


ยิ่งไปกว่านั้นตลาดดิจิทัลยังเพิ่มความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้ความคิดพื้นฐานที่สุดของกฎหมายแบบรัฐสมัยใหม่ถูกสั่นคลอน นั่นคือ การใช้เขตอำนาจศาลในการบังคับใช้กฎหมายเหนือดินแดนของตนอย่างเด็ดขาด เมื่อต้องใช้กฎหมายบังคับต่อบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐมหาอำนาจหรือเขตเศรษฐกิจเฉพาะที่มีบรรทัดฐานทางกฎหมายในหลายประเด็นแตกต่างไปจากประเทศไทย ทำให้เกิดความยากลำบากในการแสวงหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


แรงกดดันทางเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และกฎหมายเหล่านี้ ล้วนกระตุ้นเร้าให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้พร้อมกับการเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมกับตนเองในบริบทของการแข่งขันระดับโลก ว่าประเทศไทยจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ผลิต ผู้บริโภค ตัวกลางผู้ให้บริการกระจายสินค้าและบริการ โดยใช้สื่อกลางและตลาดแบบใด ให้เป็นประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยมากที่สุด  เนื่องจากการทุ่มเททรัพยากรของรัฐลงไปสร้างความมั่นคงให้กับตลาดดิจิทัลย่อมต้องตอบคำถามให้ได้ว่า งบประมาณที่ได้จัดสรรไปจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างไร

 

ตลาดดิจิทัลเป็นพื้นที่ในการหลอมรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยการผลิต การบริโภค โดยมีการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงเข้าหากันผ่านช่องทางกระจายสินค้าและบริการนั้น อาศัยแพลตฟอร์มดิจิทัลในโลกไซเบอร์เป็นช่องทางรสื่อสารแลกเปลี่ยนโดยอาศัยข้อมูลที่ไหลเวียนในช่องทางที่ผู้คนติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างผู้บริโภคผู้ผลิตโดยมีผู้ค้าขายและให้บริการโลจิสติกส์จำนวนมากบนตลาดเชื่อมโยงกันผ่านตัวกลางเป็นผู้ควบคุมระบบ ในลักษณะของการผูกขาดใต้อิทธิพลทางเทคโนโลยีของบรรษัทข้ามชาติ


แม้จะมีการกล่าวอ้างความคิดแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) แต่ข้อมูลข่าวสารและระบบกลับมีลักษณะปิดบัง อำพราง ล่อลวง ในหลายกรณีจนมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉ้อโกงหลอกลวงอันกระทบกระเทือนสิทธิผู้บริโภคและทำลายความเชื่อมั่นต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์และเศรษฐกิจดิจิทัล (Trust Economy) ในระยะยาว


บทบาทของรัฐในการส่งเสริมความเจริญของตลาดดิจิทัลแม้อำนาจส่วนใหญ่อยู่ในมือภาคเอกชน  ก็คือการให้หลักประกันสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าทำธุรกรรมและช่องทางในการกระจายสินค้า บริการและข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพิ่มการคุ้มครองสิทธิในการแสวงหาประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ กับ ผู้ด้อยอำนาจต่อรอง ผ่านการสถาปนาสถาบันทางเศรษฐกิจที่ให้การปกป้องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมแก่บุคคล (Inclusive Institution) เช่น การยืนยันตัวบุคคล การรับรองระบบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ดิจิทัล สร้างความมั่นคงในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล มีสื่อกลางและพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนที่เชื่อถือได้ และมีกลไกระงับข้อพิพาทที่สะดวก สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์และแข่งขันให้ประชาชนก้าวข้ามกับดักเศรษฐกิจแบบกาฝาก (Parasite Economy)


นอกจากนี้ยังต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีความเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็นแตกต่างไป ไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะการสถาปนาความสัมพันธ์แบบทวิภาคี พหุภาคี หลายฝ่าย หรือแบบการร่วมกลุ่มเศรษฐกิจ เพื่อแสวหาจุดเกาะเกี่ยวในการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีเมื่อมีประเด็นข้ามชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง


เมื่อบรรษัทข้ามชาติเจ้าของแพลตฟอร์มคือผู้ได้ประโยชน์จากการเป็นตัวกลางให้บริการกระจายสินค้าและบริการ จึงต้องกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการแบ่งปันผลประโยชน์ย้อนกลับมาคืนแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลไทย แนวทางสร้างฐานภาษีจากตลาดดิจิทัลเข้าสู่ระบบงบประมาณแผ่นดินของรัฐเพื่อนำมาจัดทำบริการสาธารณะและสวัสดิการของประชาชน จึงเป็นข้อท้าทายอีกประการที่ต้องสังเคราะห์ความรู้ทางกฎหมายมาเสนอเป็นนโยบายแก่ประเทศไทย


การปรับปรุงโครงสร้างประเทศไทยให้มีระบบเศรษฐกิจที่เกื้อกูลกับปวงชนทั้งหลายบนพื้นฐานของภราดรภาพ (Solidarity Economy) จึงเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อมาปรับใช้กับการสนับสนับความเชื่อมั่นต่อตลาดดิจิทัลให้มีการพัฒนาอย่างยังยืน

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2