Skip to main content

ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ก็ปรากฎความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี ในระดับชาติและนานาชาติ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศ  "สงครามต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ภาษี " ผ่านการแนะนําภาษีใหม่ ซึ่งหากดําเนินการสำเร็จ จะทําให้ฝรั่งเศสเป็นแนวหน้าในเรื่องการจัดเก็บภาษีดิจิทัล


การปฏิบัติการหลีกเลี่ยงภาษี คือการใช้ประโยชน์จากระบบภาษีเพื่อลดปริมาณการเสียภาษี ตามวาระที่ครบกําหนดตามกฎหมาย โดยไม่ละเมิดกฎหมาย การปฏิบัตินี้ได้กลายเป็นที่แพร่หลายบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากความสามารถของผู้ประกอบการออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สามารถหลีกเลี่ยงแนวคิดของเขตอํานาจศาล อาณาเขตและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งบทความนี้ ชี้ให้เห็นว่า การหลีกเลี่ยงภาษีนั้นทำได้ง่ายกว่ามากในบริบทของบริการคลาวด์บนเซิร์ฟเวอร์ระหว่างประเทศ


การถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ท้าทายวิธีการดั้งเดิมในการเก็บภาษีนิติบุคคล ซึ่งกลายมาเป็นกฎที่ล้าสมัย จากการเกิดขึ้นของของไซเบอร์สเปซ   ผู้ประกอบการออนไลน์จํานวนมากพึ่งพารูปแบบธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมที่มีกําไรผลผลิตขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้สร้างรายได้ใด ๆ ให้รัฐ นั้นเกิดจากปัจจัย 3 ประการ
1. วิวัฒนาการที่รวดเร็วของปริมณฑลไซเบอร์ ได้สร้างความยากลำบากที่จะระบุค่าที่เฉพาะเจาะจงในการเรียกเก็บภาษี
2. ปฏิบัติการออนไลน์ มีระบบผู้เข้าร่วม ที่แยกสถานที่จัดตั้ง (ที่ตั้งของบริษัท และที่ตั้งของบริการ) กับสถานที่บริโภค (โดยผู้ใช้บริการ) จึงเป็นเรื่องยากที่จะค้นหารายการการชำระเงิน จึงยากที่จะเก็บภาษี
3. ผู้ประกอบการออนไลน์รายใหญ่สามารถแยกธุรกิจออกเป็นหลายบริษัท เพื่อแยกกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลออกจากกิจกรรมที่ทําหน้าที่สร้างผลกําไร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับบริษัทเหล่านี้ ที่จะถ่ายโอนผลกําไรไปยังพื้นที่ที่มีมาตรการทางภาษีถูกกว่าในต่างประเทศ


กฎหมายภาษีระหว่างประเทศกําหนดให้ เก็บภาษีจากผลกําไรขององค์กร ตามที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ซึ่งมักเป็นประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ บางครั้งประเทศอื่น ๆ สามารถเรียกเก็บภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทมี "สถานประกอบการถาวร" ในประเทศนั้น แนวคิดนี้มาจากอนุสัญญาภาษี OECD ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลในสมาชิกสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากแนวคิดของ "สถานประกอบการถาวร" ยังก้าวไม่ทันพลวัตรของเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีคําแนะนํา ให้สร้างนิยามใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความจําเฉพาะของ "เศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล" โดยเปลี่ยนจากการคํานึงถึงตําแหน่งทางกายภาพของเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์บริการ ไปให้ครอบคลุมถึงสถานที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ปลายทาง ซึ่งเป็นที่ที่กระบวนการสร้างมูลค่า เกิดขึ้นจริง ๆ


มีแนวคิดนึงที่น่าสนใจนำมาปรับใช้ก็คือ “Transitory Internet Tax” ซึ่งเป็นระบบที่คิดอัตราภาษีไปตามการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลผู้ใช้ เนื่องจากผู้ให้บริการคลาวด์ มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ที่หลากหลาย ด้วยความสมัครใจจากเจ้าของข้อมูล และข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายวิธี เช่นการยิงโฆษณาไปยังเป้าหมาย ข้อมูลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลส่วนบุคคล เป็นทองคําของเศรษฐกิจดิจิทัล จึงควรได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ


ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญของการดําเนินธุรกิจออนไลน์ ในเครือข่ายสังคมขนาดใหญ่เช่น Facebook, Youtube หรือ Google+ ได้รับประโยชน์อย่างสูงจาก การมีส่วนร่วมฟรีและ ความสมัครใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลและเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น แต่เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับค่าจ้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ถือเป็นแหล่งรายได้เชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการคลาวด์และตัวกลางออนไลน์จํานวนมาก


ภาษีที่จัดเก็บบรรษัทที่มีกิจกรรม การรวบรวม การประมวลผลและการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลผู้ใช้ในเชิงพาณิชย์ ควรจะคำนึงถึง จํานวนผู้ใช้ และความเข้มของการรวบรวมข้อมูล  ข้อดีของการใช้ "ข้อมูล" เป็นพื้นฐานสำหรับการจัดเก็บภาษี คือมันเป็นธรรมชาติ และสามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจออนไลน์ ดังนั้นแทนที่จะเป็นวิธีการเพิ่มรายได้ของรัฐ แนวคิดในการสร้างระบบการจัดเก็บภาษี ก็ยังสามารถเป็น แรงจูงใจ สำหรับ พฤติกรรมที่มีคุณธรรมของบรรดาบริษัทแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสทางธุรกิจ และการปฏิบัติที่ดี ทั้งยังจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออนไลน์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ขัดขวางสิทธิของผู้ใช้


หากมองเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับมหภาค ยังมีแนวทางที่น่าสนใจในการนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจดิจิทัล คือ ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม (Commons) เป็นสถาบันทางสังคมแบบองค์รวม (Holisticholistic Social Institutions) เพื่อควบคุมการผลิตทรัพยากรที่อาจมีการผลิตอยู่แล้ว หรือนำมาผลิตซ้ำ เป็นวิธีการที่ครอบคลุมและรุนแรงในการจัดระเบียบการดำเนินการที่ "นอกเหนือไปจากตลาด และรัฐ” ซึ่งแสดงออกผ่าน มิติทางกฎหมาย, มิติทางสังคมวัฒนธรรม, มิติทางเศรษฐกิจ, และสถาบันที่เกี่ยวข้อง 


ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในโลกดิจิทัล (Digital Commons) เป็นกลุ่มความคิดย่อยภายใต้วิธีคิดของ Commons ที่มองว่าผลผลิตสามารถอยู่ในรูปของ ข้อมูล, วัฒนธรรม, และความรู้ที่สร้างขึ้นใหม่ และ/หรือ ถูกรักษาไว้ในระบบออนไลน์ แนวคิดของ Digital Commons เป็นแนวคิดที่สำคัญสำหรับการต่อต้าน Legal Enclosure และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน


  ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม มีลักษณะเป็น "พหุนิยมของผู้คน (ชุมชน) ที่เข้ารวมตัวกันเพื่อปกครองตนเอง และแบ่งปันทรัพยากรโดยมีความสัมพันธ์ของตัวเอง และมีกระบวนการทำการผลิตซ้ำ (Reproduction) ร่วมกันในแนวระนาบ (Horizontal)   แนวคิดนี้มีวิธีการจัดระเบียบสังคมและเศรษฐกิจ ที่แตกต่างจากทั้งแนวทางตามตลาด ที่เปลี่ยนจากการยึดโยงกับระบบองค์กรราชการ ไปสู่การควบคุมแบบมีลำดับขั้น และเป็นระบบคำสั่ง โดยนําไปใช้กับทรัพยากรที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้  (Tangible and Intangible Resources) รวมไปถึงการปฏิบัติเฉพาะในท้องถิ่น (เช่น การใช้สวนร่วมกัน หรือสื่อการศึกษาที่สร้างขึ้นโดยโรงเรียน) และเพื่อแหล่งข้อมูลใหม่ที่ควบคุมโดยการเมืองโลก (เช่นสภาพภูมิอากาศ และ โครงสร้างอินเทอร์เน็ต)


แนวคิด Digital Commons เป็นชุดย่อยของ Commons ที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าถึง และร่วมสร้างสรรค์ด้วยกัน แต่ Digital Commons เป็นหัวใจของสิทธิดิจิทัล ซึ่งเป็นการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อจะสร้างสรรค์ มากกว่าทำลาย เนื่องจากสามารถสนับสนุน ให้เกิดการเข้าถึงข้อมูล, วัฒนธรรมและความรู้  ซึ่งแตกต่างจาก Commons ที่จับต้องได้  โดยความพิเศษของ Digital Commons คือ มันไม่เกิดการสึกหลอ และไม่มีผลกระทบจากการใช้มากเกินไป


Commons มีความแตกต่างไปตามมาตรฐานและรูปแบบของแต่ละรัฐ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานแบบองค์รวมจากกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตงาน, การปฏิบัติที่เปลี่ยนไป ของการประพันธ์, รูปแบบทางเศรษฐกิจ และรูปแบบการปกครอง  โดยรูปแบบทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประพันธ์ ภายใต้แนวคิดของ Digital Commons นั้นมีขอบเขตการใช้งานสำหรับ Digital Commons ที่จะนิยามไว้อย่างหลวม ๆ เนื่องจาก ในยุคดิจิทัล ผู้สร้างสรรค์และผู้ใช้โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่คู่แข่งซึ่งกันและกัน ทั้งผลิตภัณฑ์ดิจิทัลนั้นไม่มีอันตรายจากการใช้มากเกินไป  ทุกกติการในการกํากับดูแล มักมีการระบุเงื่อนไขการใช้งานที่กล่าวถึงการได้รับอนุญาตให้ใช้ทรัพยากร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีขนาดใหญ่ กล่าวคือ ผู้ผลิตและผู้ใช้จะไม่ถูกแยกออกจากกัน เช่นเดียวกันกับ Commons   จะเห็นว่า Digital Commons ต้องการการบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก อาจเกิดอันตรายที่ทําให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง และสร้างความเสียหายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่นการแก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดีย Digital Commons จึงจําเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษา ผ่านกติกา และการมีส่วนร่วม


การมีส่วนร่วมและบรรทัดฐานทางสังคมของชุมชน Digital Commons ควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในด้านต่าง ๆ ของการผลิตและการดูแลทรัพยากรดิจิทัลคอมมอนส์ การตัดสินใจ ควรทำผ่านแพลตฟอร์มแบบมีส่วนร่วม และเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยให้ชุมชนประสานงาน ติดตามการอภิปรายและบรรลุฉันทามติ การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยในการร่างกฎของชุมชน ชุมชนจะเคารพกฎที่ตนเองมีส่วนร่วมในการจัดตั้งมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ยังขึ้นอยู่กับค่านิยมทางการเมือง, ประชาชน, และรัฐบาล ที่จะมีการตัดสินใจที่แตกต่างกันในการกำกับดูแล และเนื่องจากกฎ มีความจำเป็นที่จะได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระดับสูง และสามารถประยุกต์ย้อนกลับไปยังกรอบกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละรัฐ กลไกทางกฎหมายจึงเป็นสิ่งจําเป็น ไม่เพียงแต่ตระหนักถึงความชอบธรรมตามที่ แต่ยังเพื่อปกป้อง Digital Commons  ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนด้วย


โดยรัฐหรือสังคมสามารถฉวยใช้แนวคิด Digital Commons เป็นทางเลือกที่ก้าวหน้าทางสังคม ในการผลิตและแบ่งปันทรัพยากร และจัดระเบียบการดำเนินการร่วมกันในโดเมนที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความยั่งยืน และเป็นการสนับสนุนประชาธิปไตย

 

อ้างอิง
Krikorian Gaëlle and Amy Kapczynski, Access to Knowledge in the Age of Intellectual Property (New York: Zone Books, 2010)
Mélanie Dulong de Rosnay and Felix Stalder, “Digital Commons,” Internet Policy Review 9, no. 4 (2020)
Primavera De Filippi, “Taxing the Cloud: Introducing a New Taxation System on Data Collection?,” Internet Policy Review 2, no. 2 (May 1, 2013)


* ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
จากข่าวที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์กำลังจะยกเลิกการใช้เงินกระดาษทุกแบบไปสู่การใช้เงินดิจิตัล หรือการประกาศใช้ระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และการระงับข้อพิพาทออนไลน์ ในหลายประเทศ มาจนถึงการผลักดันโครงการดิจิตัลอีโคโนมี่ในประเทศไทย ทำให้เห็นแนวโน้มว่าถนนทุกสายมุ่งสู่โลกไซเบอร์
ทศพล ทรรศนพรรณ
จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แ
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทั
ทศพล ทรรศนพรรณ
ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รั
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐสมัยใหม่สถาปนาขึ้นมาบนพื้นฐานของการเข้าใจร่วมกันในประเด็นพื้นฐานที่ว่า “รัฐมีหน้าที่ปกป้องชีวิตและคุ้มครองทรัพย์สินของประชาชน”  แต่ก็เกิดข้อกังขาเสมอมาในลักษณะที่ว่า หากรัฐเป็นผู้ละเมิดชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเสียเอง แล้วจะทำเช่นไร  หรือถ้ารัฐไม่ทำหน้าที่ปล่อยปละละเลยจนเกิดการละเม
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 20161.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559
ทศพล ทรรศนพรรณ
มีอะไรใหม่ใน กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสหภาพยุโรป EU General Data Protection Regulation 20161.       เป็นครั้งแรกที่ EU มีกฎหมายรวมกฎคุ้มครองข้อมูลต่างๆที่กระจัดกระจายมาอยู่ในกฎหมายเดียว (General Regulation)
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาเราจะเดินทางไปไหนยิ่งรีบก็ยิ่งเหมือนะยิ่งช้าถ้าไม่ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดี   บางที่เราไม่ประมาทแต่คนอื่นก็ยังขับรถมาชนได้ก็มีนะครับ ซึ่งสองเรื่องที่จะเล่านี้ก็ตามวิถีไทยแท้บนท้องถนนครับ คือ รถชนกันไม่พอ แต่มีการขนญาติพี่น้องและใช้อิทธิพลมากดดันของฝ่ายหนึ่งหวังจะพึ่งกำลังภายในให้
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต่อไปจะกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากวิถีชีวิตและความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปมากจากวันเวลาของพ่อแม่เรา   บางเรื่องอาจจะได้ยินซ้ำๆซากๆและเป็นปัญหาคาราคาซังในสังคมทุกยุคทุกสมันและมีวิธีจัดการต่างกันไปในแต่ละยุค  คือ เรื่องเด็กกำพร้าที่ในอดีตเป็นเรื่องที่ชุมชนหรือสถาบันทางศาสนาเข้ามา