Skip to main content

ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ก็ปรากฎความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษี ในระดับชาติและนานาชาติ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ประกาศ  "สงครามต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ภาษี " ผ่านการแนะนําภาษีใหม่ ซึ่งหากดําเนินการสำเร็จ จะทําให้ฝรั่งเศสเป็นแนวหน้าในเรื่องการจัดเก็บภาษีดิจิทัล


การปฏิบัติการหลีกเลี่ยงภาษี คือการใช้ประโยชน์จากระบบภาษีเพื่อลดปริมาณการเสียภาษี ตามวาระที่ครบกําหนดตามกฎหมาย โดยไม่ละเมิดกฎหมาย การปฏิบัตินี้ได้กลายเป็นที่แพร่หลายบนอินเทอร์เน็ต เนื่องจากความสามารถของผู้ประกอบการออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สามารถหลีกเลี่ยงแนวคิดของเขตอํานาจศาล อาณาเขตและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งบทความนี้ ชี้ให้เห็นว่า การหลีกเลี่ยงภาษีนั้นทำได้ง่ายกว่ามากในบริบทของบริการคลาวด์บนเซิร์ฟเวอร์ระหว่างประเทศ


การถือกำเนิดของอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิทัล ได้ท้าทายวิธีการดั้งเดิมในการเก็บภาษีนิติบุคคล ซึ่งกลายมาเป็นกฎที่ล้าสมัย จากการเกิดขึ้นของของไซเบอร์สเปซ   ผู้ประกอบการออนไลน์จํานวนมากพึ่งพารูปแบบธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมที่มีกําไรผลผลิตขนาดใหญ่ ที่ไม่ได้สร้างรายได้ใด ๆ ให้รัฐ นั้นเกิดจากปัจจัย 3 ประการ
1. วิวัฒนาการที่รวดเร็วของปริมณฑลไซเบอร์ ได้สร้างความยากลำบากที่จะระบุค่าที่เฉพาะเจาะจงในการเรียกเก็บภาษี
2. ปฏิบัติการออนไลน์ มีระบบผู้เข้าร่วม ที่แยกสถานที่จัดตั้ง (ที่ตั้งของบริษัท และที่ตั้งของบริการ) กับสถานที่บริโภค (โดยผู้ใช้บริการ) จึงเป็นเรื่องยากที่จะค้นหารายการการชำระเงิน จึงยากที่จะเก็บภาษี
3. ผู้ประกอบการออนไลน์รายใหญ่สามารถแยกธุรกิจออกเป็นหลายบริษัท เพื่อแยกกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลออกจากกิจกรรมที่ทําหน้าที่สร้างผลกําไร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับบริษัทเหล่านี้ ที่จะถ่ายโอนผลกําไรไปยังพื้นที่ที่มีมาตรการทางภาษีถูกกว่าในต่างประเทศ


กฎหมายภาษีระหว่างประเทศกําหนดให้ เก็บภาษีจากผลกําไรขององค์กร ตามที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทตั้งอยู่ซึ่งมักเป็นประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ บางครั้งประเทศอื่น ๆ สามารถเรียกเก็บภาษีนิติบุคคลเมื่อบริษัทมี "สถานประกอบการถาวร" ในประเทศนั้น แนวคิดนี้มาจากอนุสัญญาภาษี OECD ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลในสมาชิกสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากแนวคิดของ "สถานประกอบการถาวร" ยังก้าวไม่ทันพลวัตรของเศรษฐกิจดิจิทัล จึงมีคําแนะนํา ให้สร้างนิยามใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความจําเฉพาะของ "เศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล" โดยเปลี่ยนจากการคํานึงถึงตําแหน่งทางกายภาพของเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์บริการ ไปให้ครอบคลุมถึงสถานที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ปลายทาง ซึ่งเป็นที่ที่กระบวนการสร้างมูลค่า เกิดขึ้นจริง ๆ


มีแนวคิดนึงที่น่าสนใจนำมาปรับใช้ก็คือ “Transitory Internet Tax” ซึ่งเป็นระบบที่คิดอัตราภาษีไปตามการรวบรวมและประมวลผลข้อมูลผู้ใช้ เนื่องจากผู้ให้บริการคลาวด์ มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ที่หลากหลาย ด้วยความสมัครใจจากเจ้าของข้อมูล และข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายวิธี เช่นการยิงโฆษณาไปยังเป้าหมาย ข้อมูลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลส่วนบุคคล เป็นทองคําของเศรษฐกิจดิจิทัล จึงควรได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตทางเศรษฐกิจ


ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญของการดําเนินธุรกิจออนไลน์ ในเครือข่ายสังคมขนาดใหญ่เช่น Facebook, Youtube หรือ Google+ ได้รับประโยชน์อย่างสูงจาก การมีส่วนร่วมฟรีและ ความสมัครใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลและเนื้อหาที่ผู้ใช้สร้างขึ้น แต่เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รับค่าจ้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ถือเป็นแหล่งรายได้เชิงกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการคลาวด์และตัวกลางออนไลน์จํานวนมาก


ภาษีที่จัดเก็บบรรษัทที่มีกิจกรรม การรวบรวม การประมวลผลและการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลผู้ใช้ในเชิงพาณิชย์ ควรจะคำนึงถึง จํานวนผู้ใช้ และความเข้มของการรวบรวมข้อมูล  ข้อดีของการใช้ "ข้อมูล" เป็นพื้นฐานสำหรับการจัดเก็บภาษี คือมันเป็นธรรมชาติ และสามารถเชื่อมโยงกับกิจกรรมส่วนใหญ่ในระบบเศรษฐกิจออนไลน์ ดังนั้นแทนที่จะเป็นวิธีการเพิ่มรายได้ของรัฐ แนวคิดในการสร้างระบบการจัดเก็บภาษี ก็ยังสามารถเป็น แรงจูงใจ สำหรับ พฤติกรรมที่มีคุณธรรมของบรรดาบริษัทแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสทางธุรกิจ และการปฏิบัติที่ดี ทั้งยังจะส่งเสริมให้ผู้ประกอบการออนไลน์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆโดยไม่ขัดขวางสิทธิของผู้ใช้


หากมองเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับมหภาค ยังมีแนวทางที่น่าสนใจในการนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจดิจิทัล คือ ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม (Commons) เป็นสถาบันทางสังคมแบบองค์รวม (Holisticholistic Social Institutions) เพื่อควบคุมการผลิตทรัพยากรที่อาจมีการผลิตอยู่แล้ว หรือนำมาผลิตซ้ำ เป็นวิธีการที่ครอบคลุมและรุนแรงในการจัดระเบียบการดำเนินการที่ "นอกเหนือไปจากตลาด และรัฐ” ซึ่งแสดงออกผ่าน มิติทางกฎหมาย, มิติทางสังคมวัฒนธรรม, มิติทางเศรษฐกิจ, และสถาบันที่เกี่ยวข้อง 


ระบบกรรมสิทธิ์ร่วมในโลกดิจิทัล (Digital Commons) เป็นกลุ่มความคิดย่อยภายใต้วิธีคิดของ Commons ที่มองว่าผลผลิตสามารถอยู่ในรูปของ ข้อมูล, วัฒนธรรม, และความรู้ที่สร้างขึ้นใหม่ และ/หรือ ถูกรักษาไว้ในระบบออนไลน์ แนวคิดของ Digital Commons เป็นแนวคิดที่สำคัญสำหรับการต่อต้าน Legal Enclosure และส่งเสริมการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน


  ระบบกรรมสิทธิ์ร่วม มีลักษณะเป็น "พหุนิยมของผู้คน (ชุมชน) ที่เข้ารวมตัวกันเพื่อปกครองตนเอง และแบ่งปันทรัพยากรโดยมีความสัมพันธ์ของตัวเอง และมีกระบวนการทำการผลิตซ้ำ (Reproduction) ร่วมกันในแนวระนาบ (Horizontal)   แนวคิดนี้มีวิธีการจัดระเบียบสังคมและเศรษฐกิจ ที่แตกต่างจากทั้งแนวทางตามตลาด ที่เปลี่ยนจากการยึดโยงกับระบบองค์กรราชการ ไปสู่การควบคุมแบบมีลำดับขั้น และเป็นระบบคำสั่ง โดยนําไปใช้กับทรัพยากรที่จับต้องได้ และจับต้องไม่ได้  (Tangible and Intangible Resources) รวมไปถึงการปฏิบัติเฉพาะในท้องถิ่น (เช่น การใช้สวนร่วมกัน หรือสื่อการศึกษาที่สร้างขึ้นโดยโรงเรียน) และเพื่อแหล่งข้อมูลใหม่ที่ควบคุมโดยการเมืองโลก (เช่นสภาพภูมิอากาศ และ โครงสร้างอินเทอร์เน็ต)


แนวคิด Digital Commons เป็นชุดย่อยของ Commons ที่อนุญาตให้ทุกคนเข้าถึง และร่วมสร้างสรรค์ด้วยกัน แต่ Digital Commons เป็นหัวใจของสิทธิดิจิทัล ซึ่งเป็นการต่อสู้ทางการเมือง เพื่อจะสร้างสรรค์ มากกว่าทำลาย เนื่องจากสามารถสนับสนุน ให้เกิดการเข้าถึงข้อมูล, วัฒนธรรมและความรู้  ซึ่งแตกต่างจาก Commons ที่จับต้องได้  โดยความพิเศษของ Digital Commons คือ มันไม่เกิดการสึกหลอ และไม่มีผลกระทบจากการใช้มากเกินไป


Commons มีความแตกต่างไปตามมาตรฐานและรูปแบบของแต่ละรัฐ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานแบบองค์รวมจากกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การผลิตงาน, การปฏิบัติที่เปลี่ยนไป ของการประพันธ์, รูปแบบทางเศรษฐกิจ และรูปแบบการปกครอง  โดยรูปแบบทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประพันธ์ ภายใต้แนวคิดของ Digital Commons นั้นมีขอบเขตการใช้งานสำหรับ Digital Commons ที่จะนิยามไว้อย่างหลวม ๆ เนื่องจาก ในยุคดิจิทัล ผู้สร้างสรรค์และผู้ใช้โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่คู่แข่งซึ่งกันและกัน ทั้งผลิตภัณฑ์ดิจิทัลนั้นไม่มีอันตรายจากการใช้มากเกินไป  ทุกกติการในการกํากับดูแล มักมีการระบุเงื่อนไขการใช้งานที่กล่าวถึงการได้รับอนุญาตให้ใช้ทรัพยากร และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่มีขนาดใหญ่ กล่าวคือ ผู้ผลิตและผู้ใช้จะไม่ถูกแยกออกจากกัน เช่นเดียวกันกับ Commons   จะเห็นว่า Digital Commons ต้องการการบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจาก อาจเกิดอันตรายที่ทําให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลดลง และสร้างความเสียหายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่นการแก้ไขข้อมูลในวิกิพีเดีย Digital Commons จึงจําเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษา ผ่านกติกา และการมีส่วนร่วม


การมีส่วนร่วมและบรรทัดฐานทางสังคมของชุมชน Digital Commons ควรมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครในด้านต่าง ๆ ของการผลิตและการดูแลทรัพยากรดิจิทัลคอมมอนส์ การตัดสินใจ ควรทำผ่านแพลตฟอร์มแบบมีส่วนร่วม และเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยให้ชุมชนประสานงาน ติดตามการอภิปรายและบรรลุฉันทามติ การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยในการร่างกฎของชุมชน ชุมชนจะเคารพกฎที่ตนเองมีส่วนร่วมในการจัดตั้งมากขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ยังขึ้นอยู่กับค่านิยมทางการเมือง, ประชาชน, และรัฐบาล ที่จะมีการตัดสินใจที่แตกต่างกันในการกำกับดูแล และเนื่องจากกฎ มีความจำเป็นที่จะได้รับการยอมรับจากหน่วยงานระดับสูง และสามารถประยุกต์ย้อนกลับไปยังกรอบกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละรัฐ กลไกทางกฎหมายจึงเป็นสิ่งจําเป็น ไม่เพียงแต่ตระหนักถึงความชอบธรรมตามที่ แต่ยังเพื่อปกป้อง Digital Commons  ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนด้วย


โดยรัฐหรือสังคมสามารถฉวยใช้แนวคิด Digital Commons เป็นทางเลือกที่ก้าวหน้าทางสังคม ในการผลิตและแบ่งปันทรัพยากร และจัดระเบียบการดำเนินการร่วมกันในโดเมนที่หลากหลาย โดยมุ่งเน้นที่จะสร้างความยั่งยืน และเป็นการสนับสนุนประชาธิปไตย

 

อ้างอิง
Krikorian Gaëlle and Amy Kapczynski, Access to Knowledge in the Age of Intellectual Property (New York: Zone Books, 2010)
Mélanie Dulong de Rosnay and Felix Stalder, “Digital Commons,” Internet Policy Review 9, no. 4 (2020)
Primavera De Filippi, “Taxing the Cloud: Introducing a New Taxation System on Data Collection?,” Internet Policy Review 2, no. 2 (May 1, 2013)


* ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2