Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมในตลาดและสังคมใหม่ที่เรียกว่าสังคมดิจิทัล

แนวทางที่น่าสนใจ คือ การแสดงบทบาทของรัฐและเจ้าของแพลตฟอร์มในฐานะตัวแสดงสำคัญของระบบความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคม (Techno-Social) คือการเชื่อมต่อเข้ากันระหว่างผู้คน หรือพึ่งพาการทํางานร่วมกันของปัจเจกบุคคล ในมิติความไว้วางใจระหว่างบุคคล  โดยอินเตอร็เน็ตและสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนนั้นตั้งอยู่ในบริบทของกระจายความสัมพันธ์ของปัจเจกชนให้แตกย่อยออกเป็นความสัมพันธ์ย่อย ๆ ตามชุดความสัมพันธ์ที่ผสานเข้าหากันในแต่ละเรื่อง (Tributed Technologies) เพื่อสร้างความไว้วางใจที่สามารถแตกย่อยได้ออกเป็นหลายมิติ 

ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า เหตุใด ปัจเจกบุคคลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความไว้วางใจแก่บุคคลอื่นที่อยู่ในระบบ (มักจะไม่ปรากฏตัวตน เป็นรูปแบบนิรนาม (Anonymous) ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ในระบบต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งต่อระบบหากพิจารณาจากด้านสถาบันของความไว้วางใจ คําถามหลักจึงมีอยู่ว่า เทคโนโลยีที่เราใช้นั้นน่าเชื่อถือเพียงใด 

ข้อเสนอว่าถ้ารัฐหรือตัวกลางเจ้าของแพลตฟอร์มสามารถกําหนดเทคโนโลยีในวิธีที่แคบ สร้างความไว้วางใจในและ ความน่าเชื่อถือให้แก่ระบบทางเทคนิค และจะง่ายต่อการประดิษฐ์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเทคนิค เช่น ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์, การแก้ไขข้อผิดพลาดและข้อบกพร่อง, ความสามารถในการใช้งานและการโฆษณา  ผู้คนก็ย่อมไว้วางใจและเข้าใช้งานถี่ขึ้นและมีแนวโน้มที่ตลาดจะขยายตัวมากขึ้นจากการบอกปากต่อปากของคนที่เคยใช้

วิธีการในการสร้างความไว้วางใจแบบใหม่นี้ จะคล้ายกับรูปแบบดั้งเดิมของความไว้วางใจต่อสถาบัน (Institutional Trust) ผ่านการกํากับดูแลเทคโนโลยีให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบของมนุษย์และสถาบัน สิ่งเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อการกํากับดูแล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบเทคโนโลยี  มีระบบทางเทคนิคบางระบบที่ได้ใช้วิธีไกล่เกลี่ยและสร้างความไว้วางใจในตัวระบบขึ้นอีกครั้งตัวอย่างเช่น ระบบสร้างความเชื่อมั่น “Trust Producing Systems” บนฐานของเศรษฐกิจแบ่งปันที่เชื่อมโยงคนแปลกหน้าเข้าหากันอย่างไพศาล

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้ Sharing economy ได้สร้างความท้าทายด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่อง ความไว้วางใจ ความเสี่ยง ความรับผิด และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ปัญหาเกี่ยวกับ แรงงาน/ สภาพการทํางาน คือ: ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มคือผู้เข้าร่วม  ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ลูกจ้าง' (‘Employees’) แต่มักจะถูกเรียกเป็นอย่างอื่นเช่น 'ผู้ประกอบการรายย่อย'   ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมได้อย่างอิสระ และสามารถถอนข้อเสนอของพวกเขาได้ตลอดเวลา ในแง่นี้ พวกเขาจึงไม่ใช่พนักงาน การมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จึงเป็นเพียงสิ่งทดแทน ที่มีความรู้สึกเหมือน 'งาน'ในผู้ที่ไม่มีงานประจำ อาจมองว่า เป็นงานกิ๊ก ที่จะสร้างรายได้พิเศษ Sharing Economy จึงได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนงาน และนายจ้าง โดยผู้เข้าร่วมมีความเสี่ยงมากขึ้น ในการขาดการประกันรายได้ ความมั่นคงในการทํางานลดลง ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไร Sharing Economy จึงจะสามารถปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ของคนงานได้

สาเหตุสำคัญของ ความไม่ไว้วางใจ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลง ก็เนื่องมาจากการไม่เปิดเผยตัวตน และการที่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะมีข้อมูลซึ่งกันและกันที่น้อยกว่ารูปแบบเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ  การตัดสินใจ และความน่าเชื่อถือจึงอยู่ที่ระบบการให้คะแนน และการให้คะแนนของผู้ใช้อาจเป็นความคิดเห็นที่ไม่ซื่อสัตย์ หรือเป็นความคิดเห็นที่มีเจตนาร้าย หรืออาจเป็นความคิดเห็นที่มีอคติ แม้ว่าความน่าเชื่อถือที่แสดงอยู่ในการจัดอันดับของผู้ใช้ อาจมีนัยสำคัญ แต่ความเสี่ยงจริง ๆ นั้นเกิดจากผู้เข้าร่วมแต่ละคน

ปัญหาอีกประการเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและความรับผิด คือ ข้อกําหนดสำหรับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม  และการตรวจสอบสถานะอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงาน คือ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนในเครือข่าย Sharing Economy มีข้อจํากัดในทําธุรกรรม เนื่องจาก แพลตฟอร์มมีมาตรฐานแบบปิด และทำโดยไม่ระบุตัวตน และปัญหาการจำกัดราคาโดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอัลกอริทึม  (เช่นการกําหนดราคากระชาก) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการควบคุมน้อย ผู้เข้าร่วมอาจพบว่าตัวเองถูกล็อคไว้ในแพลตฟอร์มเดียว และตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เอื้ออํานวย


อ้างอิง
Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021): 3.
Balázs Bodó, “Mediated Trust: A Theoretical Framework to Address the Trustworthiness of Technological Trust Mediators,” New Media & Society (2020). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Karen Clarke, Trust in Technology: A Socio-Technical Perspective (Dordrecht, Netherlands: Springer, 2006). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Shehzad Nadeem, Juliet B. Schor, Edward T. Walker, Caroline W. Lee, Paolo Parigi, and Karen Cook, “On the Sharing Economy,” Contexts, 14(1), (February 23, 2015): 12-19. อ้างอิงใน Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016).
Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016): 7.

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้มีน้องคนหนึ่งนำเรื่องแปลกมากเล่าให้ฟัง เหตุการณ์ก็มีดังนี้ครับ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องสุดท้ายของบริการด้านสื่อสารแล้วนะครับ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกบ้านแน่ๆ เพราะเดี๋ยวนี้เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ที่บ้านกันแล้วแทบทุกหลังเพราะมันทำให้เราสามารถทำงานหรือพักผ่อนที่บ้านได้โดยไม่ต้องเดินทางออกไปนั่งทำงานที่อื่นหรือเสียเงินออกไปซื้อความบันเทิงนอกบ้าน   หนูก็ชอบดูซีรี่ส์แล
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาผมคิดว่าหลายท่านคงเคยหงุดหงิดอารมณ์เสียกับรถที่ดันมาพังเอาตอนที่เรารีบเร่งจะต้องใช้งานใช่ไหมครับ ที่แย่ไปกว่านั้น คือ เราขับได้แต่ซ่อมไม่เป็นต้องเข็นไปเข้าอู่ซึ่งก็ไม่รู้ว่าที่ไหนดีไม่ดี มีฝีมือน่าเชื่อถือจริงรึเปล่า เพราะเราก็ไม่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกและช่วงล่างใดๆทั้งสิ้น ผู้ชา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้หลายท่านอาจจะเคยเจอปัญหาเดียวกัน หรือเคยได้ยินตามข่าวคราวที่ออกมาหลายครั้งนะครับ เพราะว่าปัจจุบันศูนย์ออกกำลังกายหรือฟิตเนสเซ็นเตอร์เป็นที่นิยมมาก ก็เพราะเราอยากมีร่างกายแข็งแรง รูปร่างสวยงาม เปล่งปลั่งมาจากภายในแต่ไม่มีเวลาไปออกกำลังกายในที่โล่งแจ้งเพราะไม่ตรงกับเวลาว่าง ก็มักจะเข้าฟิตเ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องยุ่งๆ เกิดจากการไม่ได้รับความเป็นธรรมตามเงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกของบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง ซึ่งได้เข้ามาชักชวนคนในพื้นที่ให้เข้าร่วมทำสัญญาประกันชีวิตแต่ไม่ได้ทำตามเงื่อนไขของสัญญาที่มาเล่าปากเปล่าและมีการปิดบังซ่อนเร้น เพิ่มเติมเงื่อนไขบางอย่าง เมื่อผู้เอาประกันตาย ญาติ ลูกหลานไปร้องขอรับปร
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังเป็นกรณีที่เกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่อาจมาเคาะประตูบ้านเราได้ทั้งที่เราก็อยู่เฉยๆในบ้านไม่ได้ออกไปทำอะไรเสี่ยงภัย  แต่กลับประสบภัยจากความประมาทเลินเล่ออย่างรายแรงของผู้อื่น  ลองไปฟังเคราะห์หามยามซวยของน้องคนหนึ่งที่หวังจะใช้กฎหมายเป็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ป้าคนหนึ่งเข้ามาปรึกษาว่าไปโรงพยาบาลรัฐแถวบ้านซึ่งตนมีชื่อเป็นคนใช้สิทธิบัตรทองอยู่ที่นั่น แต่ด้วยความที่ป้าได้รับบัตรมานานมากแล้ว และเมื่อสองปีก่อนได้มีการก่อสร้างและซ่อมบ้านทำให้ต้องโยกย้ายข้าวของออกจากบ้านก่อนจะกลับเข้าไปอยู่อีกครั้งเมื่อซ่อมแซมเสร็จ ทำให้บัตรที่เก็บไว้สูญหายไปเมื่อไหร่ก็ไม่ทร
ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมาย เขียนด้วยคน บังคับด้วยคน และก็เป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน   จึงมีคนสงสัยว่า แล้วอย่างนี้จะมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมไปทำไมในเมื่อไปบังคับ ดิน ฟ้า อากาศ หรือน้ำ ไม่ได้  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ใช้เวลาวนเวียนอยู่กับการทำวิจัยเกี่ยวกับกฎหมายมาโดยตลอด ตั้งแต่ตอนเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาโท
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากคำทำนายในบทความ “รัฐเผด็จการ กับ การล้วงตับ” ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ (http://blogazine.in.th/blogs/streetlawyer/post/4833) จึงเป็นเวลาอันสมควรที่ประชาชนและสังคมไทยต้องร่วมกันต่อต้าน ชุดกฎหมายความมั่นคงโดยเฉพาะ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ที่มีเนื้อหาจำนวนมากขัดกับ หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ทศพล ทรรศนพรรณ
“ความซวยไม่เข้าใครออกใคร” รถหาย โดนเบี้ยวหนี้ ชนแล้วหนีไม่มีใครรับผิดชอบเด็กในท้อง ไปจนถึงเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ถ้าลองได้เกิดขึ้นในหมู่คนรู้จัก ก็มักจบลงด้วยการตัดญาติขาดมิตร ไม่เผาผีกัน คงเป็นสิ่งที่ได้ยินไม่เว้นแต่ละวันใช่ไหม