Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมในตลาดและสังคมใหม่ที่เรียกว่าสังคมดิจิทัล

แนวทางที่น่าสนใจ คือ การแสดงบทบาทของรัฐและเจ้าของแพลตฟอร์มในฐานะตัวแสดงสำคัญของระบบความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคม (Techno-Social) คือการเชื่อมต่อเข้ากันระหว่างผู้คน หรือพึ่งพาการทํางานร่วมกันของปัจเจกบุคคล ในมิติความไว้วางใจระหว่างบุคคล  โดยอินเตอร็เน็ตและสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนนั้นตั้งอยู่ในบริบทของกระจายความสัมพันธ์ของปัจเจกชนให้แตกย่อยออกเป็นความสัมพันธ์ย่อย ๆ ตามชุดความสัมพันธ์ที่ผสานเข้าหากันในแต่ละเรื่อง (Tributed Technologies) เพื่อสร้างความไว้วางใจที่สามารถแตกย่อยได้ออกเป็นหลายมิติ 

ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า เหตุใด ปัจเจกบุคคลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความไว้วางใจแก่บุคคลอื่นที่อยู่ในระบบ (มักจะไม่ปรากฏตัวตน เป็นรูปแบบนิรนาม (Anonymous) ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ในระบบต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งต่อระบบหากพิจารณาจากด้านสถาบันของความไว้วางใจ คําถามหลักจึงมีอยู่ว่า เทคโนโลยีที่เราใช้นั้นน่าเชื่อถือเพียงใด 

ข้อเสนอว่าถ้ารัฐหรือตัวกลางเจ้าของแพลตฟอร์มสามารถกําหนดเทคโนโลยีในวิธีที่แคบ สร้างความไว้วางใจในและ ความน่าเชื่อถือให้แก่ระบบทางเทคนิค และจะง่ายต่อการประดิษฐ์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเทคนิค เช่น ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์, การแก้ไขข้อผิดพลาดและข้อบกพร่อง, ความสามารถในการใช้งานและการโฆษณา  ผู้คนก็ย่อมไว้วางใจและเข้าใช้งานถี่ขึ้นและมีแนวโน้มที่ตลาดจะขยายตัวมากขึ้นจากการบอกปากต่อปากของคนที่เคยใช้

วิธีการในการสร้างความไว้วางใจแบบใหม่นี้ จะคล้ายกับรูปแบบดั้งเดิมของความไว้วางใจต่อสถาบัน (Institutional Trust) ผ่านการกํากับดูแลเทคโนโลยีให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบของมนุษย์และสถาบัน สิ่งเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อการกํากับดูแล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบเทคโนโลยี  มีระบบทางเทคนิคบางระบบที่ได้ใช้วิธีไกล่เกลี่ยและสร้างความไว้วางใจในตัวระบบขึ้นอีกครั้งตัวอย่างเช่น ระบบสร้างความเชื่อมั่น “Trust Producing Systems” บนฐานของเศรษฐกิจแบ่งปันที่เชื่อมโยงคนแปลกหน้าเข้าหากันอย่างไพศาล

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้ Sharing economy ได้สร้างความท้าทายด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่อง ความไว้วางใจ ความเสี่ยง ความรับผิด และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ปัญหาเกี่ยวกับ แรงงาน/ สภาพการทํางาน คือ: ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มคือผู้เข้าร่วม  ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ลูกจ้าง' (‘Employees’) แต่มักจะถูกเรียกเป็นอย่างอื่นเช่น 'ผู้ประกอบการรายย่อย'   ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมได้อย่างอิสระ และสามารถถอนข้อเสนอของพวกเขาได้ตลอดเวลา ในแง่นี้ พวกเขาจึงไม่ใช่พนักงาน การมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จึงเป็นเพียงสิ่งทดแทน ที่มีความรู้สึกเหมือน 'งาน'ในผู้ที่ไม่มีงานประจำ อาจมองว่า เป็นงานกิ๊ก ที่จะสร้างรายได้พิเศษ Sharing Economy จึงได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนงาน และนายจ้าง โดยผู้เข้าร่วมมีความเสี่ยงมากขึ้น ในการขาดการประกันรายได้ ความมั่นคงในการทํางานลดลง ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไร Sharing Economy จึงจะสามารถปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ของคนงานได้

สาเหตุสำคัญของ ความไม่ไว้วางใจ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลง ก็เนื่องมาจากการไม่เปิดเผยตัวตน และการที่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะมีข้อมูลซึ่งกันและกันที่น้อยกว่ารูปแบบเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ  การตัดสินใจ และความน่าเชื่อถือจึงอยู่ที่ระบบการให้คะแนน และการให้คะแนนของผู้ใช้อาจเป็นความคิดเห็นที่ไม่ซื่อสัตย์ หรือเป็นความคิดเห็นที่มีเจตนาร้าย หรืออาจเป็นความคิดเห็นที่มีอคติ แม้ว่าความน่าเชื่อถือที่แสดงอยู่ในการจัดอันดับของผู้ใช้ อาจมีนัยสำคัญ แต่ความเสี่ยงจริง ๆ นั้นเกิดจากผู้เข้าร่วมแต่ละคน

ปัญหาอีกประการเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและความรับผิด คือ ข้อกําหนดสำหรับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม  และการตรวจสอบสถานะอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงาน คือ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนในเครือข่าย Sharing Economy มีข้อจํากัดในทําธุรกรรม เนื่องจาก แพลตฟอร์มมีมาตรฐานแบบปิด และทำโดยไม่ระบุตัวตน และปัญหาการจำกัดราคาโดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอัลกอริทึม  (เช่นการกําหนดราคากระชาก) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการควบคุมน้อย ผู้เข้าร่วมอาจพบว่าตัวเองถูกล็อคไว้ในแพลตฟอร์มเดียว และตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เอื้ออํานวย


อ้างอิง
Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021): 3.
Balázs Bodó, “Mediated Trust: A Theoretical Framework to Address the Trustworthiness of Technological Trust Mediators,” New Media & Society (2020). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Karen Clarke, Trust in Technology: A Socio-Technical Perspective (Dordrecht, Netherlands: Springer, 2006). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Shehzad Nadeem, Juliet B. Schor, Edward T. Walker, Caroline W. Lee, Paolo Parigi, and Karen Cook, “On the Sharing Economy,” Contexts, 14(1), (February 23, 2015): 12-19. อ้างอิงใน Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016).
Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016): 7.

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาสิทธิแรงงานรับจ้างอิสระ (Freelancer) ต้องยึดโยงกับหลักกฎหมายสำคัญเรื่องการประกันสิทธิของแรงงานอันมีสิทธิมนุษยชนเป็นพื้นฐาน (Human Rights-Based Approach – HRBA) ไว้ เพื่อเป็นรากฐานทางกฎหมายในการอ้างสิทธิและเสนอให้ภาครัฐสร้างมาตรการบังคับตามสิทธิอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่การประกันรายได้รูปแบบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกชนจากการเก็บข้อมูลและประมวลผลโดยบรรษัทเอกชนจำต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูลตามมาตรฐานที่กำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมระบบตามกฎหมายด้วย เนื่องจากบุคคลหรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูลในหลายรูปแบบ อาทิ การให้ความรู้เกี่ยวกับสภาพปั
ทศพล ทรรศนพรรณ
บุคคลแต่ละคนย่อมมีทุนที่แตกต่างกันไปทั้ง ทุนความรู้ ทุนทางเศรษฐกิจ ทำให้การตัดสินใจนั้นตั้งอยู่บนข้อจำกัดของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นการไม่รู้เท่าทันเทคโนโลยี ขาดความรู้ทางการเงิน ไปจนถึงขาดการตระหนักรู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพตนเองและผู้อื่นในระยะยาว ยิ่งไปกว่านั้นรัฐไทยยังมีนโยบายที่มิได้วางอยู่บนพื้นฐานข
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทบัญญัติกฎหมายที่ใช้เป็นรากฐานในการอ้างสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น จะพบว่ารัฐไทยได้วางบรรทัดฐานทางกฎหมายที่รับสิทธิของประชาชนในการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงออกในประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากหลักการพื้นฐานสำคัญที่เชื่อมโยงเรื่องสิทธิม
ทศพล ทรรศนพรรณ
เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่เข้ามามีอิทธิพลแทบจะทุกมิติของชีวิต ส่งผลให้พฤติกรรมด้านการปฏิสัมพันธ์ของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี มีประชาชนจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีในการหา “คู่” หรือแสวง “รัก” ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการกระทำความผิดที่เรียกว่า Romance Scam หรือ “พิศวาสอาชญากรรม”&
ทศพล ทรรศนพรรณ
เมื่อถามนักปกป้องสิทธิมนุษยชนว่าอยากเห็นสังคมไทยเป็นเช่นไรในประเด็นการมีส่วนร่วมต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ หรือมีความคาดหวังให้รัฐไทยปรับปรุงอะไรเพื่อส่งเสริมการพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเสี่ยง   นักปกป้องสิทธิมนุษยชนในไทยได้ฉายภาพความฝัน ออกมาดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
นักปกป้องสิทธิมนุษยชนผู้คร่ำหวอดอยู่ในสนามมายาวนานได้วิเคราะห์สถานการณ์การคุกคามผ่านประสบการณ์ของตนและเครือข่ายแล้วแสดงทัศนะออกมาในหลากหลายมุมมอง ดังนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
สถานการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศนั้น มีความสัมพันธ์กับหลายปัจจัยที่อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการละเมิดต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่เกิดจากข้อค้นพบจากกรณีศึกษา มีปัจจัยดังต่อไปนี้1. สถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับบริบทภายในประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทวิเคราะห์ที่ได้จากการถอดบทสัมภาษณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนมากประสบการณ์ ในหลากหลายภูมิภาคไปจนถึงความแตกต่างของการทำงานกับกลุ่มเสี่ยงที่มีปัญหาสิทธิแตกต่างกันไป   เป็นที่ชัดเจนว่าเขาเหล่านั้นมีชีวิตและอยู่ในวัฒนธรรมแตกต่างไปจากมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนและนิติรัฐที่ปรากฏในสังคมตะวันตก ซึ่งสะ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้ถูกรับรองไว้โดยพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ให้ความสำคัญประกอบจนก่อให้เกิดอนุสัญญาเฉพาะสำหรับกลุ่มเสี่ยงนั้น ๆ ประกอบไปด้วย สตรี, เด็ก, เชื้อชาติ และ แรงงานอพยพ รวมถึง ผู้พิการ โดยกลุ่มเสี่ยงมีสิทธิที่ถูกระบุไว้ในปฏิญญาว่าด้วย
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการสร้างนโยบาย กฎหมาย และกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิประชาชนจากการสอดส่องโดยรัฐมาจาการทบทวนมาตรฐานและแนวทางตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ต้นปี 2563 หลังจากการอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคอนาคตใหม่ บรรยากาศความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ถูกกดไว้มาตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 ก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง เกิดการเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมืองเพื่อต่อต้านรัฐบาลกระจายไปทั่วทุกจังหวัดในรัฐไทย จุดสำคัญและเป็นเรื่องที่ไม่ปรากฏขึ้นมาก่อนในหน้าประว