Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมในตลาดและสังคมใหม่ที่เรียกว่าสังคมดิจิทัล

แนวทางที่น่าสนใจ คือ การแสดงบทบาทของรัฐและเจ้าของแพลตฟอร์มในฐานะตัวแสดงสำคัญของระบบความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคม (Techno-Social) คือการเชื่อมต่อเข้ากันระหว่างผู้คน หรือพึ่งพาการทํางานร่วมกันของปัจเจกบุคคล ในมิติความไว้วางใจระหว่างบุคคล  โดยอินเตอร็เน็ตและสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนนั้นตั้งอยู่ในบริบทของกระจายความสัมพันธ์ของปัจเจกชนให้แตกย่อยออกเป็นความสัมพันธ์ย่อย ๆ ตามชุดความสัมพันธ์ที่ผสานเข้าหากันในแต่ละเรื่อง (Tributed Technologies) เพื่อสร้างความไว้วางใจที่สามารถแตกย่อยได้ออกเป็นหลายมิติ 

ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า เหตุใด ปัจเจกบุคคลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความไว้วางใจแก่บุคคลอื่นที่อยู่ในระบบ (มักจะไม่ปรากฏตัวตน เป็นรูปแบบนิรนาม (Anonymous) ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ในระบบต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งต่อระบบหากพิจารณาจากด้านสถาบันของความไว้วางใจ คําถามหลักจึงมีอยู่ว่า เทคโนโลยีที่เราใช้นั้นน่าเชื่อถือเพียงใด 

ข้อเสนอว่าถ้ารัฐหรือตัวกลางเจ้าของแพลตฟอร์มสามารถกําหนดเทคโนโลยีในวิธีที่แคบ สร้างความไว้วางใจในและ ความน่าเชื่อถือให้แก่ระบบทางเทคนิค และจะง่ายต่อการประดิษฐ์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเทคนิค เช่น ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์, การแก้ไขข้อผิดพลาดและข้อบกพร่อง, ความสามารถในการใช้งานและการโฆษณา  ผู้คนก็ย่อมไว้วางใจและเข้าใช้งานถี่ขึ้นและมีแนวโน้มที่ตลาดจะขยายตัวมากขึ้นจากการบอกปากต่อปากของคนที่เคยใช้

วิธีการในการสร้างความไว้วางใจแบบใหม่นี้ จะคล้ายกับรูปแบบดั้งเดิมของความไว้วางใจต่อสถาบัน (Institutional Trust) ผ่านการกํากับดูแลเทคโนโลยีให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบของมนุษย์และสถาบัน สิ่งเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อการกํากับดูแล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบเทคโนโลยี  มีระบบทางเทคนิคบางระบบที่ได้ใช้วิธีไกล่เกลี่ยและสร้างความไว้วางใจในตัวระบบขึ้นอีกครั้งตัวอย่างเช่น ระบบสร้างความเชื่อมั่น “Trust Producing Systems” บนฐานของเศรษฐกิจแบ่งปันที่เชื่อมโยงคนแปลกหน้าเข้าหากันอย่างไพศาล

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้ Sharing economy ได้สร้างความท้าทายด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่อง ความไว้วางใจ ความเสี่ยง ความรับผิด และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ปัญหาเกี่ยวกับ แรงงาน/ สภาพการทํางาน คือ: ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มคือผู้เข้าร่วม  ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ลูกจ้าง' (‘Employees’) แต่มักจะถูกเรียกเป็นอย่างอื่นเช่น 'ผู้ประกอบการรายย่อย'   ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมได้อย่างอิสระ และสามารถถอนข้อเสนอของพวกเขาได้ตลอดเวลา ในแง่นี้ พวกเขาจึงไม่ใช่พนักงาน การมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จึงเป็นเพียงสิ่งทดแทน ที่มีความรู้สึกเหมือน 'งาน'ในผู้ที่ไม่มีงานประจำ อาจมองว่า เป็นงานกิ๊ก ที่จะสร้างรายได้พิเศษ Sharing Economy จึงได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนงาน และนายจ้าง โดยผู้เข้าร่วมมีความเสี่ยงมากขึ้น ในการขาดการประกันรายได้ ความมั่นคงในการทํางานลดลง ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไร Sharing Economy จึงจะสามารถปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ของคนงานได้

สาเหตุสำคัญของ ความไม่ไว้วางใจ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลง ก็เนื่องมาจากการไม่เปิดเผยตัวตน และการที่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะมีข้อมูลซึ่งกันและกันที่น้อยกว่ารูปแบบเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ  การตัดสินใจ และความน่าเชื่อถือจึงอยู่ที่ระบบการให้คะแนน และการให้คะแนนของผู้ใช้อาจเป็นความคิดเห็นที่ไม่ซื่อสัตย์ หรือเป็นความคิดเห็นที่มีเจตนาร้าย หรืออาจเป็นความคิดเห็นที่มีอคติ แม้ว่าความน่าเชื่อถือที่แสดงอยู่ในการจัดอันดับของผู้ใช้ อาจมีนัยสำคัญ แต่ความเสี่ยงจริง ๆ นั้นเกิดจากผู้เข้าร่วมแต่ละคน

ปัญหาอีกประการเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและความรับผิด คือ ข้อกําหนดสำหรับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม  และการตรวจสอบสถานะอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงาน คือ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนในเครือข่าย Sharing Economy มีข้อจํากัดในทําธุรกรรม เนื่องจาก แพลตฟอร์มมีมาตรฐานแบบปิด และทำโดยไม่ระบุตัวตน และปัญหาการจำกัดราคาโดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอัลกอริทึม  (เช่นการกําหนดราคากระชาก) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการควบคุมน้อย ผู้เข้าร่วมอาจพบว่าตัวเองถูกล็อคไว้ในแพลตฟอร์มเดียว และตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เอื้ออํานวย


อ้างอิง
Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021): 3.
Balázs Bodó, “Mediated Trust: A Theoretical Framework to Address the Trustworthiness of Technological Trust Mediators,” New Media & Society (2020). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Karen Clarke, Trust in Technology: A Socio-Technical Perspective (Dordrecht, Netherlands: Springer, 2006). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Shehzad Nadeem, Juliet B. Schor, Edward T. Walker, Caroline W. Lee, Paolo Parigi, and Karen Cook, “On the Sharing Economy,” Contexts, 14(1), (February 23, 2015): 12-19. อ้างอิงใน Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016).
Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016): 7.

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,