Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมในตลาดและสังคมใหม่ที่เรียกว่าสังคมดิจิทัล

แนวทางที่น่าสนใจ คือ การแสดงบทบาทของรัฐและเจ้าของแพลตฟอร์มในฐานะตัวแสดงสำคัญของระบบความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคม (Techno-Social) คือการเชื่อมต่อเข้ากันระหว่างผู้คน หรือพึ่งพาการทํางานร่วมกันของปัจเจกบุคคล ในมิติความไว้วางใจระหว่างบุคคล  โดยอินเตอร็เน็ตและสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนนั้นตั้งอยู่ในบริบทของกระจายความสัมพันธ์ของปัจเจกชนให้แตกย่อยออกเป็นความสัมพันธ์ย่อย ๆ ตามชุดความสัมพันธ์ที่ผสานเข้าหากันในแต่ละเรื่อง (Tributed Technologies) เพื่อสร้างความไว้วางใจที่สามารถแตกย่อยได้ออกเป็นหลายมิติ 

ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า เหตุใด ปัจเจกบุคคลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความไว้วางใจแก่บุคคลอื่นที่อยู่ในระบบ (มักจะไม่ปรากฏตัวตน เป็นรูปแบบนิรนาม (Anonymous) ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ในระบบต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งต่อระบบหากพิจารณาจากด้านสถาบันของความไว้วางใจ คําถามหลักจึงมีอยู่ว่า เทคโนโลยีที่เราใช้นั้นน่าเชื่อถือเพียงใด 

ข้อเสนอว่าถ้ารัฐหรือตัวกลางเจ้าของแพลตฟอร์มสามารถกําหนดเทคโนโลยีในวิธีที่แคบ สร้างความไว้วางใจในและ ความน่าเชื่อถือให้แก่ระบบทางเทคนิค และจะง่ายต่อการประดิษฐ์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเทคนิค เช่น ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์, การแก้ไขข้อผิดพลาดและข้อบกพร่อง, ความสามารถในการใช้งานและการโฆษณา  ผู้คนก็ย่อมไว้วางใจและเข้าใช้งานถี่ขึ้นและมีแนวโน้มที่ตลาดจะขยายตัวมากขึ้นจากการบอกปากต่อปากของคนที่เคยใช้

วิธีการในการสร้างความไว้วางใจแบบใหม่นี้ จะคล้ายกับรูปแบบดั้งเดิมของความไว้วางใจต่อสถาบัน (Institutional Trust) ผ่านการกํากับดูแลเทคโนโลยีให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบของมนุษย์และสถาบัน สิ่งเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อการกํากับดูแล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบเทคโนโลยี  มีระบบทางเทคนิคบางระบบที่ได้ใช้วิธีไกล่เกลี่ยและสร้างความไว้วางใจในตัวระบบขึ้นอีกครั้งตัวอย่างเช่น ระบบสร้างความเชื่อมั่น “Trust Producing Systems” บนฐานของเศรษฐกิจแบ่งปันที่เชื่อมโยงคนแปลกหน้าเข้าหากันอย่างไพศาล

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้ Sharing economy ได้สร้างความท้าทายด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่อง ความไว้วางใจ ความเสี่ยง ความรับผิด และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ปัญหาเกี่ยวกับ แรงงาน/ สภาพการทํางาน คือ: ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มคือผู้เข้าร่วม  ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ลูกจ้าง' (‘Employees’) แต่มักจะถูกเรียกเป็นอย่างอื่นเช่น 'ผู้ประกอบการรายย่อย'   ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมได้อย่างอิสระ และสามารถถอนข้อเสนอของพวกเขาได้ตลอดเวลา ในแง่นี้ พวกเขาจึงไม่ใช่พนักงาน การมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จึงเป็นเพียงสิ่งทดแทน ที่มีความรู้สึกเหมือน 'งาน'ในผู้ที่ไม่มีงานประจำ อาจมองว่า เป็นงานกิ๊ก ที่จะสร้างรายได้พิเศษ Sharing Economy จึงได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนงาน และนายจ้าง โดยผู้เข้าร่วมมีความเสี่ยงมากขึ้น ในการขาดการประกันรายได้ ความมั่นคงในการทํางานลดลง ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไร Sharing Economy จึงจะสามารถปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ของคนงานได้

สาเหตุสำคัญของ ความไม่ไว้วางใจ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลง ก็เนื่องมาจากการไม่เปิดเผยตัวตน และการที่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะมีข้อมูลซึ่งกันและกันที่น้อยกว่ารูปแบบเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ  การตัดสินใจ และความน่าเชื่อถือจึงอยู่ที่ระบบการให้คะแนน และการให้คะแนนของผู้ใช้อาจเป็นความคิดเห็นที่ไม่ซื่อสัตย์ หรือเป็นความคิดเห็นที่มีเจตนาร้าย หรืออาจเป็นความคิดเห็นที่มีอคติ แม้ว่าความน่าเชื่อถือที่แสดงอยู่ในการจัดอันดับของผู้ใช้ อาจมีนัยสำคัญ แต่ความเสี่ยงจริง ๆ นั้นเกิดจากผู้เข้าร่วมแต่ละคน

ปัญหาอีกประการเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและความรับผิด คือ ข้อกําหนดสำหรับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม  และการตรวจสอบสถานะอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงาน คือ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนในเครือข่าย Sharing Economy มีข้อจํากัดในทําธุรกรรม เนื่องจาก แพลตฟอร์มมีมาตรฐานแบบปิด และทำโดยไม่ระบุตัวตน และปัญหาการจำกัดราคาโดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอัลกอริทึม  (เช่นการกําหนดราคากระชาก) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการควบคุมน้อย ผู้เข้าร่วมอาจพบว่าตัวเองถูกล็อคไว้ในแพลตฟอร์มเดียว และตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เอื้ออํานวย


อ้างอิง
Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021): 3.
Balázs Bodó, “Mediated Trust: A Theoretical Framework to Address the Trustworthiness of Technological Trust Mediators,” New Media & Society (2020). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Karen Clarke, Trust in Technology: A Socio-Technical Perspective (Dordrecht, Netherlands: Springer, 2006). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Shehzad Nadeem, Juliet B. Schor, Edward T. Walker, Caroline W. Lee, Paolo Parigi, and Karen Cook, “On the Sharing Economy,” Contexts, 14(1), (February 23, 2015): 12-19. อ้างอิงใน Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016).
Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016): 7.

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
Nick Srnicek ได้สรุปภาพรวมของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่แตกต่างกัน 5 ประเภท คือ1.แพลตฟอร์มโฆษณา, 2.แพลตฟอร์มจัดเก็ยข้อมูล, 3.แพลตฟอร์มอุตสาหกรรม, 4.แพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์, และ 5.แพลตฟอร์มแบบลีน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ.
ทศพล ทรรศนพรรณ
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นกา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์ปรับปรุงเกระบวนการระงับข้อพิพาทของบรรดาผู้บริโภคในแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยืนยันว่าระบบสามารถใช้เพื่อทำการแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้บริโภคจํานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) ที่ได้รับการรับรองจากสาธารณะให้เป็นมากกว่ากลไกการระงับข้อพิพาทใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การสร้างความเชื่อถือให้กับผู้บริโภคจึงเป็นผลดีต่อการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ และการตัดสินใจของผู้บริโภคที่จะทำธุรกรรมออนไลน์กับผู้ขายต่อไป ทำให้ประเทศต่าง ๆ  รวมถึงประเทศไทยให้ความสนใจและมุ่งให้เกิดการคุ้มครองอย่างจริงจังต่อปัญหาการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมใน
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริงเป็นสื่อใหม่ในโลกยุคดิจิทัลที่แสดงด้วยภาพและเสียงสามมิติซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นสังคม (Community) ภายในโลกเสมือนจริงที่ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ แต่มิใช่เพียงการเข้าไปรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสเพียงเท่านั้น นอก
ทศพล ทรรศนพรรณ
การทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ตมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมการเข้าร่วมสัญญาอย่างรวดเร็วสะดวกลดอุปสรรค ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ด้วยไม่ต้องการเดินทางหรือไม่ต้องมีตัวกลางในการประสานความร่วมมือหรือต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับผู้รับรองสถานะของสัญญาในลักษณะตัวกลางแบบที่ต้องทำในโลกจริง ที่อาจถูกกฎหมายบังคับให้ทำตามแบ
ทศพล ทรรศนพรรณ
โลกเสมือนจริง (Virtual World) คือสภาพแวดล้อมเสมือนซึ่งสร้างและปฏิบัติการด้วยซอฟต์แวร์ (Software) ที่อยู่ในเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของเจ้าของแพลตฟอร์ม (Platform) สิ่งแวดล้อมเสมือนเหล่านี้ออกแบบมาให้ผู้เล่นหรือผู้ใช้โลกเสมือนจริงสามารถใช้ตัวตนเสมือนหรืออวตาร (Avatar) ในการท่องไปในโลกนั้น โดยสามารถติดต
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัลตั้งอยู่บนพื้นฐานของเสรีภาพในการแสดงออกบนโลกออนไลน์ โดยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเด็นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์สามารถห้ามปรามการเผยแพร่ความคิดหรือการแสดงออกในงานสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอ้างเหตุแห่งการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชนอย
ทศพล ทรรศนพรรณ
ความเฟื่องฟูของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการจำนวนมหาศาลแต่นำมาซึ่งความกังขาว่า สังคมได้อะไรจากการเติบโตของบรรษัทขนาดใหญ่ผู้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีและควบคุมแพลตฟอร์มเหล่านี้ อันเป็นที่มาของเรื่อง การจัดเก็บภาษีดิจิทัลได้กลายเป็นข้อกังวลที่สำคัญสำหรับหลาย ๆ รัฐบาล ในยุโรป เช่นใน เยอรมนี