Skip to main content

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันใดที่ผู้คนจำนวนมากขาดความรู้ความเข้าใจต่อเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง รัฐในฐานะผู้คุ้มครองสิทธิประชาชนและยังต้องทำหน้าที่กระตุ้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจด้วย จึงมีภาระหนักในการสถาปนาความ “เชื่อมั่น” ให้เกิดขึ้นในใจประชาชนที่ลังเลต่อการเข้าร่วมสังฆกรรมในตลาดและสังคมใหม่ที่เรียกว่าสังคมดิจิทัล

แนวทางที่น่าสนใจ คือ การแสดงบทบาทของรัฐและเจ้าของแพลตฟอร์มในฐานะตัวแสดงสำคัญของระบบความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับสังคม (Techno-Social) คือการเชื่อมต่อเข้ากันระหว่างผู้คน หรือพึ่งพาการทํางานร่วมกันของปัจเจกบุคคล ในมิติความไว้วางใจระหว่างบุคคล  โดยอินเตอร็เน็ตและสัญญาอัจฉริยะบนบล็อกเชนนั้นตั้งอยู่ในบริบทของกระจายความสัมพันธ์ของปัจเจกชนให้แตกย่อยออกเป็นความสัมพันธ์ย่อย ๆ ตามชุดความสัมพันธ์ที่ผสานเข้าหากันในแต่ละเรื่อง (Tributed Technologies) เพื่อสร้างความไว้วางใจที่สามารถแตกย่อยได้ออกเป็นหลายมิติ 

ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า เหตุใด ปัจเจกบุคคลจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความไว้วางใจแก่บุคคลอื่นที่อยู่ในระบบ (มักจะไม่ปรากฏตัวตน เป็นรูปแบบนิรนาม (Anonymous) ซึ่งเป็นคนแปลกหน้าที่อยู่ในระบบเดียวกันเท่านั้น แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้ในระบบต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งต่อระบบหากพิจารณาจากด้านสถาบันของความไว้วางใจ คําถามหลักจึงมีอยู่ว่า เทคโนโลยีที่เราใช้นั้นน่าเชื่อถือเพียงใด 

ข้อเสนอว่าถ้ารัฐหรือตัวกลางเจ้าของแพลตฟอร์มสามารถกําหนดเทคโนโลยีในวิธีที่แคบ สร้างความไว้วางใจในและ ความน่าเชื่อถือให้แก่ระบบทางเทคนิค และจะง่ายต่อการประดิษฐ์เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือทางเทคนิค เช่น ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์, การแก้ไขข้อผิดพลาดและข้อบกพร่อง, ความสามารถในการใช้งานและการโฆษณา  ผู้คนก็ย่อมไว้วางใจและเข้าใช้งานถี่ขึ้นและมีแนวโน้มที่ตลาดจะขยายตัวมากขึ้นจากการบอกปากต่อปากของคนที่เคยใช้

วิธีการในการสร้างความไว้วางใจแบบใหม่นี้ จะคล้ายกับรูปแบบดั้งเดิมของความไว้วางใจต่อสถาบัน (Institutional Trust) ผ่านการกํากับดูแลเทคโนโลยีให้ครอบคลุมถึงองค์ประกอบของมนุษย์และสถาบัน สิ่งเหล่านี้จะสร้างผลกระทบต่อการกํากับดูแล เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบเทคโนโลยี  มีระบบทางเทคนิคบางระบบที่ได้ใช้วิธีไกล่เกลี่ยและสร้างความไว้วางใจในตัวระบบขึ้นอีกครั้งตัวอย่างเช่น ระบบสร้างความเชื่อมั่น “Trust Producing Systems” บนฐานของเศรษฐกิจแบ่งปันที่เชื่อมโยงคนแปลกหน้าเข้าหากันอย่างไพศาล

การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ ภายใต้ Sharing economy ได้สร้างความท้าทายด้านกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่อง ความไว้วางใจ ความเสี่ยง ความรับผิด และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล

ปัญหาเกี่ยวกับ แรงงาน/ สภาพการทํางาน คือ: ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มคือผู้เข้าร่วม  ไม่ได้อยู่ในฐานะ 'ลูกจ้าง' (‘Employees’) แต่มักจะถูกเรียกเป็นอย่างอื่นเช่น 'ผู้ประกอบการรายย่อย'   ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมได้อย่างอิสระ และสามารถถอนข้อเสนอของพวกเขาได้ตลอดเวลา ในแง่นี้ พวกเขาจึงไม่ใช่พนักงาน การมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจแบบ Sharing Economy จึงเป็นเพียงสิ่งทดแทน ที่มีความรู้สึกเหมือน 'งาน'ในผู้ที่ไม่มีงานประจำ อาจมองว่า เป็นงานกิ๊ก ที่จะสร้างรายได้พิเศษ Sharing Economy จึงได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างคนงาน และนายจ้าง โดยผู้เข้าร่วมมีความเสี่ยงมากขึ้น ในการขาดการประกันรายได้ ความมั่นคงในการทํางานลดลง ข้อท้าทายจึงมีอยู่ว่า ทำอย่างไร Sharing Economy จึงจะสามารถปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ของคนงานได้

สาเหตุสำคัญของ ความไม่ไว้วางใจ หรือ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ลดลง ก็เนื่องมาจากการไม่เปิดเผยตัวตน และการที่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะมีข้อมูลซึ่งกันและกันที่น้อยกว่ารูปแบบเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ  การตัดสินใจ และความน่าเชื่อถือจึงอยู่ที่ระบบการให้คะแนน และการให้คะแนนของผู้ใช้อาจเป็นความคิดเห็นที่ไม่ซื่อสัตย์ หรือเป็นความคิดเห็นที่มีเจตนาร้าย หรืออาจเป็นความคิดเห็นที่มีอคติ แม้ว่าความน่าเชื่อถือที่แสดงอยู่ในการจัดอันดับของผู้ใช้ อาจมีนัยสำคัญ แต่ความเสี่ยงจริง ๆ นั้นเกิดจากผู้เข้าร่วมแต่ละคน

ปัญหาอีกประการเกี่ยวกับ ความเสี่ยงและความรับผิด คือ ข้อกําหนดสำหรับการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม  และการตรวจสอบสถานะอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงาน คือ ผู้เข้าร่วมแต่ละคนในเครือข่าย Sharing Economy มีข้อจํากัดในทําธุรกรรม เนื่องจาก แพลตฟอร์มมีมาตรฐานแบบปิด และทำโดยไม่ระบุตัวตน และปัญหาการจำกัดราคาโดยผู้ประกอบการแพลตฟอร์ม ที่เปลี่ยนแปลงไปตามอัลกอริทึม  (เช่นการกําหนดราคากระชาก) ซึ่งผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการควบคุมน้อย ผู้เข้าร่วมอาจพบว่าตัวเองถูกล็อคไว้ในแพลตฟอร์มเดียว และตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่เอื้ออํานวย


อ้างอิง
Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021): 3.
Balázs Bodó, “Mediated Trust: A Theoretical Framework to Address the Trustworthiness of Technological Trust Mediators,” New Media & Society (2020). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Karen Clarke, Trust in Technology: A Socio-Technical Perspective (Dordrecht, Netherlands: Springer, 2006). อ้างอิงใน Moritz Becker and Balázs Bodó, Moritz Becker and Balázs Bodó, “Trust in Blockchain-Based Systems,” Internet Policy Review 10, no. 2 (April 20 2021).
Shehzad Nadeem, Juliet B. Schor, Edward T. Walker, Caroline W. Lee, Paolo Parigi, and Karen Cook, “On the Sharing Economy,” Contexts, 14(1), (February 23, 2015): 12-19. อ้างอิงใน Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016).
Kristofer Erickson and Inge Sørensen, “Regulating the Sharing Economy,” Internet Policy Review 5, no. 2 (2016): 7.

 

*ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คลินิกกฎหมาย ฉบับสมบูรณ์ 41 ตอน พร้อมเชิงอรรถอ้างอิงข้อกฎหมายเป๊ะๆ วางแผงแล้ว 
ทศพล ทรรศนพรรณ
วิกฤตการเมืองการปกครองไทยในหลากหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นช่วง 4-5 ปีหลัง   ประเด็นทางกฎหมายที่อยู่ในความสนใจของสาธารณชนนั้นมุ่งตรงมาที่ “การใช้อำนาจอธิปไตยในการวินิจฉัยชี้ขาดของศาล”   เนื่องจากการทำหน้าที่ของศาลนับแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ได้อยู่ในความสนใจของสังคมเป็นอย่างยิ่ง &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งพึ่งมารู้จักกันด้วยเหตุแห่งความซวยครับ   ปัญหาจากการขับขี่มอเตอร์ไซค์นั่นเอง แต่ไม่ใช่การประสบอุบัติเหตุหรอกนะครับ แต่เป็นเรื่องของความซวยที่มากระแทกหน้าเสียมากกว่า   คงสงสัยกันแล้วว่าเป็นมาอย่างไร ไปติดตามเรื่องที่น้องเขา
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับปรัชญากฎหมาย สำนักกฎหมายธรรมชาติ และสำนักกฎหมายบ้านเมือง ในการตอบโต้ทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง   และตำราด้านปรัชญากฎหมายไทยก็มีความเฉื่อยกว่าพัฒนาการด้านปรัชญากฎหมายที่ถกเถียงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องในระดับโลก   จึงขออธิบายให้เข้าใจดังต่อไปนี้
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องถัดมาเกี่ยวเนื่องกับการใช้โทรศัพท์มือถือนะครับ เพราะเดี๋ยวนี้จะเห็นแผงขายมือถือ บัตรเติมเงิน และการออกประกาศแจกซิมการ์ดโทรศัพท์ฟรีๆ กันตามสถานที่ทั่วไป ทั้งป้ายรถเมล์ ในห้าง วินมอเตอร์ไซค์ ท่าน้ำ ในตลาด และแหล่งชุมชนที่คนพลุกพล่าน   พอมารับเรื่องร้องทุกข์จึงได้รู้ว่ามีคนจำนวนมากที
ทศพล ทรรศนพรรณ
ค่าไฟ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใกล้ตัวเรามากในสมัยนี้ เพราะ ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่ไม่ว่าบ้านไหนก็คงต้องใช้ขับเคลื่อนเครื่องใช้ไฟฟ้ากันใช่ไหมครับ แต่ผมก็เคยออกไปลงพื้นที่กับคลินิกกฎหมายในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าอยู่บ้างเหมือนกันครับ ซึ่งชีวิตของคนในพื้นที่นั้นจะต่างจากในเมืองหรือบ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงเลยครั
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องราวความสัมพันธ์ของชายหญิงคู่หนึ่งที่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันแต่ประการใด หลังจากนั้นมีปัญหาเรื่องมือที่สามเข้ามา ทำให้ครอบครัวฝ่ายชายมาปรึกษาเพราะกลัวว่าจะถูกหลอกและปอกลอกทรัพย์สินไปจนหมด
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้ผู้ที่มาปรึกษาเล่าว่า “บิดาข้าพเจ้าไปเซ็นค้ำประกันการซื้อรถยนต์ให้กับเพื่อนที่สนิทกันมานาน เนื่องจากเพื่อนไม่มีญาติเป็นข้าราชการ อีกทั้งสินทรัพย์ต่างๆก็ไม่มีจะเอาไปค้ำประกัน   แต่จำเป็นต้องซื้อรถเพื่อเอามาขนส่งของทำมาหากิน พ่อของข้าพเจ้าเห็นว่าควรช่วยให้เพื่อนมีช่องทางทำมาหากิน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องของสัตว์ในบางครั้งก็สร้างความยุ่งยากให้กับคน ยิ่งสัตว์เลี้ยงไปสร้างความเสียหายให้กับคนอื่นก็ย่อมเป็นเรื่องปวดหัวให้เจ้าของต้องจัดการ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามกลายเป็นการทรมานหรือสังหารสัตว์อย่างที่เห็นสื่อนะครับ   ในทางกฎหมายเรื่องสัตว์เลี้ยงนี้เป็นข้อพิพาทในทางทรัพย์สิน จึงอยู่ที่การใช้การ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อไปนี้ขยายวงกว้างไปมากหลังจากบัตรเครดิต/เดบิต กลายเป็นเงินพลาสติกที่เราพกพาไปไหนได้ง่าย ไม่ต้องกลัวว่าแบบพกเงินสดว่าถ้าตกหายไปแล้วมันจะสูญเสียไปทันที  แถมยังมีข้อดีตรงที่เรามีวงเงินเพิ่มเติมได้หากต้องการใช้เงินฉุกเฉินหรือใช้เงินเกินกวาที่วางแผนล่วงหน้าไว้นิดหน่อย   แม้มีหลา
ทศพล ทรรศนพรรณ
คราวนี้เราจะกล่าวถึงเรื่องใด?