Skip to main content
แพลตฟอร์มมักเป็นระบบแบบเปิดให้ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหา จากการที่ทำให้การเข้าถึงข้ามเขตอํานาจ ในทางกลับกัน กลับมีการกําหนดให้หน่วยงานกํากับดูแลและผู้ออกกฎหมายต้องร่วมมือกันข้ามพรมแดนแห่งชาติเพื่อประสานระบอบกฎหมายและกฎระเบียบในขณะที่จัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงประเด็นการผูกขาดและการจัดการตลาด ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายมักจะอ้างถึงสถานที่เกิดความเสียหาย ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการซึ่งอาจเป็นผลลัพธ์ในบั้นปลายของการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลนั่น คือ ปัญหาความขาดแคลนทางดิจิทัล (Digital Scarcity) หมายความถึง ข้อจํากัด ที่ได้รับการดูแลจากซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล รวมไปถึงข้อมูลดิจิทัลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ความขาดแคลนทางดิจิทัล สามารถสร้างแรงจูงใจที่จะสนับสนุนรูปแบบธุรกิจ ที่ทำกําไรจากความขาดแคลน (เช่น ธุรกิจให้เช่าภาพยนตร์ หนังสือ หรือเพลง) หรือความเป็นเอกลักษณ์ในอาณาจักรดิจิทัล เช่น การขายงานศิลปะที่มีความดั้งเดิมเพียงชิ้นเดียวในโลก เป็นต้น พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดของโทรศัพท์มือถือ ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงมหาศาล และสร้างอุปทานให้แก่บรรดาผู้บริโภคที่ต้องการก้าวทันเทคโนโลยี ประกอบกันกับการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้น และมีการสร้างเนื้อหาแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้น ได้เปลี่ยนแปลงความหมายของคำว่า ‘ความขาดแคลนทางดิจิทัล’ ให้หมายถึง การจํากัดและเงื่อนไขเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาดิจิทัล ข้อมูลดิจิทัลสามารถคัดลอกได้ง่ายขึ้น และมีจำนวนมหาศาล โดยธรรมชาติแล้ว ข้อมูลดิจิทัลจึงไม่ขาดแคลน สามารถใช้ร่วมกันได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังไม่มีการลดทอนคุณภาพ ความขาดแคลนทางดิจิทัล จึงเป็นเรื่องที่อธิบายถึงข้อจํากัดในการเข้าถึงข้อมูลดิจิทัล เพื่อปกป้องรูปแบบธุรกิจ ที่ต้องอาศัยความความขาดแคลนในข้อมูลบางประเภท เช่นเดียวกับในการพัฒนาตลาดดิจิทัลและเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมที่ใช้ลิขสิทธิ์ พยายามที่จะกําหนดความขาดแคลนทางดิจิทัลเพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูล จนทำให้เกิดการผูกขาดด้วยพลังอำนาจของความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่หวงกันการเข้าถึงความรู้ของสังคมโดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนในประเทศกำลังพัฒนา หรือไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ขึ้นมาแข่งขันในตลาด เพราะไม่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาต่อยอดได้เพราะติดข้อจำกัดด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ต้น ในบริบทของบล็อกเชน Bitcoin ความขาดแคลนทางดิจิทัลหมายถึง ‘ข้อจํากัดในการจัดหา Bitcoin ทั้งหมด’ ซึ่งเป็นคนละทิศทางกับความหมายของความขาดแคลนทางดิจิทัล ก่อนหน้านี้ที่การเข้าถึงข้อมูลจะไม่ถูกจํากัด ในการเข้าใช้ระบบ Bitcoin เครือข่ายบล็อกเชนได้ให้อิสระสำหรับทุกคนที่จะคัดลอก เพื่อให้ทํางานได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่กําหนดลักษณะเฉพาะของ Bitcoin จึงไม่ใช่เอกลักษณ์ในฐานะชิ้นส่วนของข้อมูล แต่มีไว้เพื่อการตรวจสอบ ในการแยกประเภทบัญชีการใช้งานแบบกระจาย จากการที่ Bitcoin ได้มีการจํากัดอุปทานการครอบครองไว้ หมายความว่าจำนวนของการธุรกรรมทั้งหมดได้มีการกำหนดขีดจำกัด เหล่านี้เป็นตัวอย่างของความขาดแคลนในการขุด (การจำกัดจำนวนการเข้าไปหาประโยชน์ในแพลตฟอร์ม) นอกเหนือจากความขาดแคลนของ Cryptocurrencies และ 'Tokens' ก็ยังมีการเกิดขึ้นใหม่ของ 'รายการดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน' เช่น Non Fungible Tokens หรือ NFTs ที่ได้ก้าวข้ามข้อจำกัดในการครอบครองเป็นเจ้าของอย่างเป็นเหนือสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง (ออฟไลน์) ไปยังของสะสมดิจิทัล และได้รับการยอมรับและใช้งานจริง การเพิ่มขึ้นของ NFTs ได้นําไปสู่การทดลองกับคุณสมบัติดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีความตั้งใจที่กว้างขึ้น โดยไม่ลดการไหลเวียนการนำมาผลิตซ้ำของงาน แต่แทนที่จะสร้างชื่อและอนุพันธ์จากการใช้งานและการไหลเวียน ตัวอย่างเช่น การครอบครอง 'ต้นฉบับ' งานอาร์ตในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มา และพิสูจน์ได้ว่ามีความสำคัญเพียงพอที่จะวัดเป็นมูลค่าจากการเป็นวัตถุดิจิทัล 'ที่ไม่ซ้ำกันกับงานชิ้นอื่น' อ้างอิง Tom Lyons et al, “Legal and regulatory framework of blockchains and smart contracts,” Thematic Report of European Union Blockchain Observatory & Forum, (September 27, 2019). Jaya Klara Brekke and Aron Fischer, “Digital Scarcity,” Internet Policy Review 10, no. 2 (2021). *ค้นคว้าและเรียบเรียงร่วมกับ ภานุพงศ์ จือเหลียง ในงานวิจัยเรื่อง ทบทวนพรมแดนความรู้เพื่อเตรียมความพร้อมด้านนิติบัญญัติในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, 2565. สนับสนุนโดยสถาบันพระปกเกล้า

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2