Skip to main content

การบังคับใช้ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ผลักดันออกมาในปี พ.ศ. 2550 และแก้ไขปรับปรุงออกมาในปี 25660 ภายใต้สถานการณ์ทางการเมือง โดยเดินทางผ่านรัฐบาลมาหลายยุคหลายสมัย แต่บริบททางการเมืองของการออกกฎหมายและการแก้ไขหรือพิจารณาร่างฎหมายฉบับนี้ ถูกผลักดันให้แก้ไขสำเร็จภายหลังการรัฐประหารด้วยกันทั้งสิ้น ครั้งแรกเป็นการเร่งผลักดันให้กฎหมายรีบมีผลบังคับใช้ เกิดขึ้นภายหลังการรัฐประหาร 2549 โดยกลุ่มคนที่ผลักดันการพิจารณากฎหมายก็คือกลุ่มของคณะรัฐประหาร ต่อมาในพ.ศ. 2554 มีการผลักดันให้แก้ไขกฎหมายในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่ภาคประชาชนคัดค้านไว้ การผลักดันกฎหมายจึงถูกชะลอไป ต่อมา พ.ศ. 2557 การรัฐประหารครั้งล่าสุดของประเทศไทย มีการเสนอให้รีบแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยหาฟังเสียงคัดค้านใดจากประชาชน และถูกเสนอให้พิจารณาจนเกิดการบังคับใช้ฉบับแก้ไขใหม่สำเร็จในปี 2560 ขึ้น และบังคับใช้เป็นระยะเวลาเกินครึ่งทศวรรษแล้วจนถึงปัจจุบัน


สิ่งที่ปรากฎขึ้นหลังจากผ่านรัฐบาลมามากถึง 8 รัฐบาล พบว่าการบังคับใช้ในแต่ละช่วงมีความแตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการและความต้องการของผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายในขณะนั้นด้วย


จากข้อมูลที่ปรากฏในสองช่วงของการศึกษาทำให้เห็นความแตกต่างของการบังคับใช้ พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน โดยขอยกผลวิจัยของ วิชญาดา อำพนกิจวิวัฒน์ เรื่อง “พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ภายใต้การเมือง 3 ยุค ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปี 2560” จากวิทยานิพนธ์นิติศาสตรบัณฑิต มหาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2564 มาบอกเล่า ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง ในช่วงแรกของการบังคับใช้กฎหมายถูกใช้อำนาจไปกับการปิดกั้นเว็บไซต์ โดยเนื้อหาที่ถูกปิดกั้นมากที่สุดคือ เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ตามด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับภาพลามกอนาจาร และเนื้อหาเกี่ยวกับยาและการทำแท้ง ซึ่งสอดคล้องไปกับเจตนารมณ์ในการบังคับใช้กฎหมายด้วยการเพิ่มอำนาจดังกล่าวเข้ามา ส่วนลักษณะของการฟ้องร้องดำเนินคดีจะเป็นคดีหมิ่นประมาท, คดีอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และสุดท้ายคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพฯ ตามลำดับ
บทบาทหน้าที่ของการบังคับใช้ พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในช่วงแรกจะเห็นชัดต่อการใช้เป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหา เพราะจะเน้นหนักไปกับเว็บไซต์ที่มีการเผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง ต่อต้านรัฐบาล หรือมีเนื้อหาพาดพิงสถาบันกษัตริย์ การปิดกั้นทำให้ประชาชนถูกจำกัดสิทธิและออกมาเคลื่อนไหวตอบโต้อย่างรุนแรง เพราะบางเว็บไซต์ที่ถูกปิดก็จะทำการเปิดเว็บไซต์ใหม่เพื่อเคลื่อนไหวตอบโต้ต่อไป และบางกรณีหากเป็นเว็บไซต์ที่มีเซิร์ฟเวอร์ (server) อยู่ต่างประเทศ ก็ไม่สามารถปิดกั้นการเข้าถึงได้ หรือต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างนาน ทำให้ประชาชนยังสามารถเคลื่อนไหวตอบโต้ได้เรื่อยมาก แต่ภายหลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลได้อาศัยความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจากต่างประเทศ ทำการปิดกั้นเนื้อหาที่รัฐบาลเห็นว่าไม่เหมาะสมดังกล่าว ซึ่งทำให้ประชาชนตกอยู่ในสภาวะของการโดยจำกัดสิทธิและเสรีภาพอย่างรุนแรง
ส่วนการฟ้องร้องดำเนินคดีโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกใช้กับประชาชนที่ออกมาชุมนุมประท้วงบนท้องถนน หรือตามพื้นที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งลักณะของการฟ้องคดีจะเกี่ยวกับกับความมั่นคงฯ และสถาบันกษัตริย์ เป็นส่วนใหญ่ แต่การฟ้องร้องคดีทำให้บรรยากาศทางการเมืองอ่อนลง ประชาชนถูกบบรรยากาศความกลัวปกคลุม ทำให้การเคลื่อนไหวบนท้องถนน หรือการชุมนุมประท้วงลดจำนวนลง ซึ่งทำให้ประชาชนหันไปเคลื่อนไหวบนพื้นที่อินเตอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับจำนวนของการปิดกั้นเว็บไซต์ที่สูงขึ้น
การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทำให้นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีหมิ่นประมาทบนพื้นที่อินเตอร์เน็ต ซึ่งถูกดำเนินคดีตาม พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทำให้เห็นอำนาจในการบังคับใช้ที่ถูกขยายออกไปสู่การปกป้องคุ้มครองรัฐบาลและบุคคลในรัฐบาล จำนวนคดีที่เกิดขึ้นเพิ่มสูงขึ้นอีกหลังจากที่ประชาชนตกอยู่ภายใต้การละเมิดสิทธิและเสรีภาพอีกครั้ง แต่ถึงอย่างไรนั้นการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้เข้มข้น หนักมากดังที่ปรากฏในยุค คสช.

ประการที่สอง การบังคับใช้ในช่วงที่สอง คสช. สร้างภาระหนักให้กับ พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งปรากฏเป็นจำนวนของคดีที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ประชาชนทั้งที่ออกมาเคลื่อนไหวบนท้องถนน หรือเคลื่อนไหวบนพื้นที่อินเตอร์เน็ต ถูกเรียกมาดำเนินคดีด้วยกันทั้งหมด รวมถึงบุคคลที่ คสช. เห็นว่ากระทำการไม่เหมาะสมก่อนการรัฐประหาร ก็ถูกเรียกตัวมาดำเนินคดีด้วย โดยให้เหตุผลว่า เพราะข้อมูลหรือเนื้อหาดังกล่าวยังปรากฏอยู่บนพื้นที่อินเตอร์เน็ตจึงยังถือว่ามีการกระทำความผิดอยู่ ทำให้ประเภทคดีที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, คดีเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และคดีเกี่ยวกับหมิ่นประมาท ตามลำดับ
แต่ลักษณะของการปิดกั้นเว็บไซต์มีรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม นอกจากจะไม่ใช้อำนาจตาม พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แล้ว ยังเน้นไปที่การขอความร่วมจากผู้ให้บริการที่อยู่ต่างประเทศ ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่เคลื่อนไหวบนพื้นที่อินเตอร์เน็ตมากขึ้น และแพลตฟอร์มที่ใช้มีผู้ให้บริการต่างชาติเป็นเจ้าของ การจะปิดกั้นการเข้าถึงเพียงลำพังคำสั่ง คสช. และ พ.ร.บ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถปิดกั้นได้ทั้งหมด จึงทำให้ต้องขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาที่ถูกยื่นคำขอต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตจากต่างประเทศปิดกั้นมากที่สุดคือ เนื้อหาเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยจะอยู่ในรูปแบบของการโพสต์หรือการตั้งสเตตัสเป็นส่วนใหญ่ จะมีรูปแบบของเพจหรือกลุ่มเป็นลำดับถัดมา
นอกจากนี้แล้ว คสช. ยังใช้อำนาจตาม พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ คุ้มครองตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลด้วย ด้วยเหตุผลว่า หากรัฐบาลหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลถูกวิพากษ์วิจารณ์ จะส่งผลทำให้รัฐบาลเกิดความเสียหายและไม่มีความเชื่อถือหรือไม่ถูกเคารพจากประชาชนได้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความกระด้างกระเดื่องต่อรัฐได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้รัฐสร้างความชอบธรรมในการใช้กฎหมายไปละเมิดสิทธิของประชาชนได้โดยง่าย การขยายอำนาจทำให้เห็นถึงการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของรัฐด้วย

ประการที่สาม หลังจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองช่วง ทำให้เห็นว่ากฎหมาย พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ถูกบังคับใช้ในการกดขี่ข่มเหงประชาชนหรือบุคคลด้วยเหตุผลทางการเมือง โดยเฉพาะการถูกใช้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ โดยมีจุดประสงค์เพื่อที่จะกีดกัน ขัดขวางสิทธิ หรือการมีส่วนร่วมทางการเมือง ผ่านการใช้อำนาจโดยชอบธรรมตามกฎหมาย ทั้งการสร้างภาระให้กับฝ่ายต่อต้านรัฐบาล การจำกัดสิทธิในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น และรวมถึงสิทธิอย่างอื่นทางการเมืองอีกด้วย”

แม้รัฐบาลจะแปลงร่างผ่านการเลือกตั้งมาอยู่ในรูปรัฐบาลพลเรือนจากการเลือกตั้งแล้วแต่อุดมการณ์ยังคงเดิม แนวทางการบังคับใช้กฎหมายจึงยังมิต่างกัน ด้วยเหตุที่ฝ่ายความมั่นคงเป็นผู้ยึดกุมอำนาจนำในรัฐอยู่

หากลองพิจารณาเชิงยุทธศาสตร์และยุทธวิธีอาจเห็นร่องรอยการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของรัฐซึ่งแต่เดินใช้ความรุนแรงที่อาจเผชิญแรงกดดันจากประชาคมโลกเนื่องจากมีลักษณะของการการใช้ความรุนแรงในลักษณะอื่น กล่าวคือ จากเดิมความรุนแรงอาจจะเป็นการต่อสู้ อาวุธหรือกองกำลังต่าง ๆ  มาเป็นการทำนิติสงคราม โดยมีการฟ้องตบปากผ่านหน้าจอ โดยบังคับใช้ พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะถูกใช้อย่างเข้มข้น และถูกใช้แทนที่อาวุธและการปรามบปรามแบบดั้งเดิมที่ใช้กองกำลังและบางกรณีมีการซ้อมทรมานและการบังคับให้สูญหายแบบในยุคสงครามเย็น ที่ใช้ พระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พ.ศ.2495 และกลไกของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ในการบดขยี้ศัตรูทางการเมืองโดยตรง ภายใต้การสนับสนับของมหาอำนาจโลก


สถานการณ์โลกของรัฐบาลในยุคดิจิทัลที่ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและความเป็นประชาธิปไตยนี้ เครื่องมือสำคัญในการควบคุมประชากรจึงต้องละมุนละไมมากขึ้น จึงต้องปรับกลยุทธ์มาใช้อาวุธใหม่คือสิ่งที่เรียกว่า “กฎหมาย” โดยจะทำให้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการกดปราบ บังคับควบคุมทางการเมือง ซึ่งการกดปราบหรือควบคุมจะเกิดจากการตีความกฎหมาย หรือขยายอำนาจของกฎหมายออกไปให้บังคับครอบคลุมหรือให้เป็นไปตามที่รัฐบาลวางยุทธศาสตร์ยึดครองพื้นที่ทางการเมือง โดยเฉพาะพื้นที่สื่อสารออนไลน์ ผลสะเทือนของมาตรการอย่างร้ายแรงอย่างมากที่สุด คือ การทำให้ประชาชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลตกเป็นผู้ก่ออาชญากรรม/ผู้ก่อการร้าย ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายนี้แล้ว พลเมืองผู้ตื่นตัวทางการเมืองเคลื่อนไหวบนพื้นที่อินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นผู้ก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ อันมีผลลดสิทธิในการทีส่วนร่วมของประชาชนตามครรลองประชาธิปไตย

รัฐบาลหรือฝ่ายความมั่นคงจึงเร่งระดมผลักดัน แก้ไขเพิ่มเติม ขยายขอบเขตอำนาจ ผ่านทางอาวุธมหาประลัยที่เรียกว่า “กฎหมาย”  แล้วใช้กฎหมายเป็นเกราะป้องกันอำนาจหรือประโยชน์ของตนเองที่เคยมีให้คงอยู่สืบไป โดยไม่ปล่อยให้ประชาชนเข้ามาแทรกแซงหรือตรวจสอบ โดยทำให้กลุ่มผู้เห็นต่างกลายเป็นภัยต่อความมั่นคง ซึ่งการใช้อำนาจตามกฎหมายจะทำให้คงอำนาจของตนไว้ได้โดยปราศจากความรับผิดต่อความรุนแรงที่กระทำต่อประชาชน และการคงอำนาจไว้นั้นเป็นการกดปราบลดทอนสิทธิของพลเมืองด้วย โดยรัฐอ้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงนั้นต่อไป จนกลายเป็นการสร้างวัฒนธรรมของการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

การครองความเป็นใหญ่ในพื้นที่การเมืองของรัฐบาลยุคดิจิทัลที่มีเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยเป็นกรอบการปกครองสากล  คือ การทำให้ยุทธศาสตร์สำเร็จโดยอาศัยยุทธวิธีการแปลงความรุนแรงป่าเถื่อนให้กลายเป็นกฎหมายของรัฐ  อันเป็นการแปลงอาวุธสงครามให้อยู่ในรูปของกฎหมาย ใช้เป็น “เครื่องมือในการปราบปรามทางการเมือง” อันเป็นลักษณะกฎหมายแบบอำนาจนิยมที่ประชาชนต้องชี้ว่าเป็น เผด็จการอำพรางในรูปกฎหมาย ให้ประชาคมโลกและเพื่อนพลเมืองทั่วโลกได้ถอดบทเรียน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
การนำ คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 205/2549 มาตราเป็นพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร  โดยแฝงนัยยะของการสร้าง “รัฐทหาร” ด้วยการขยับขยายขอบเขตอำนาจแก่เจ้าหน้าที่ กอ. รมน.
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังสิ้นสุดยุคสมัยสงครามเย็น หนึ่งในมรดกตกทอดจากยุคนั้น ได้แก่ หน่วยงานความมั่นคงของรัฐไทยที่มีอำนาจหน้าที่อย่างเข้มข้นในการเฝ้าระวัง สอดส่อง ควบคุมการสื่อสารและการกระทำต่าง ๆ ของประชาชนที่ผู้มีอำนาจเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง และส่งผลเสียต่อการยืนหยัดสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองช่วงนั้น อาทิ กอง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านจัดเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิและด้อยโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณะ สวัสดิการ และหลักประกันด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุที่เป็นกลุ่มซึ่งต้องปะทะโดยตรงกับการพัฒนาเมืองอย่างไม่ยั่งยืนทั้งที่สาเหตุของการออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะนั้นเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอันเป็นผลลัพธ์ของนโยบายส
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านตกอยู่ในสถานะของกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญจากการเหยียดหยามศักดิ์ความเป็นมนุษย์โดยตรงจากการละเมิด และยังอาจไม่ได้รับการดูและแก้ไขปัญหาเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ยุ่งยากต่าง ๆ เพราะถูกจัดให้อยู่ในสถานะต่ำต้อยเสี่ยงต่อการเลือกประติบัติจากรัฐ จนไปถึงการเพิกเฉย ละเลย ไม่ใส่จะแก้ปัญหาให้คนไร้บ้
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนไร้บ้านเป็นเสียงที่ไม่ถูกนับ การใช้พลังในลักษณะกลุ่มก้อนทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประโยชน์จากผู้มีอำนาจให้จัดสรรทรัพยากรให้จึงเป็นเรื่องยาก ด้วยสาเหตุหลัก 2 ประการ คือ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไร้บ้านจำเป็นต้องยืนอยู่บนฐานของกฎหมายที่ประกันสิทธิของบุคคลโดยมิคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายทางสถานภาพใด ๆ แม้คนไร้บ้านจะเป็นปัจเจกชน หรือกลุ่มคนที่มีปริมาณน้อยเพียงไร รัฐก็มีพันธกรณีในการเคารพ ปกป้อง และส่งเสริมสิทธิให้กลุ่มเสี่ยงนี้โดยเหตุแห่งความเป็นสิทธิมนุษยชนที่ร
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากต้องกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในการเข้าร่วมตลาดดิจิทัลที่มีเข้มข้นของกิจกรรมข้ามพรมแดนตลอดเวลา เพื่อแก้ไขปัญหาศักยภาพของรัฐในการบังคับใช้กฎหมายขยายไปเหนือหลักเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนของตนแบบเก่า เมื่อต้องกำกับกิจกรรมของบรรษัทข้ามชาติที่อยู่ในการบังคับของกฎหมายรัฐอื่นซึ่งมีบรรทัดฐานในหลายประเด็น
ทศพล ทรรศนพรรณ
การวิเคราะห์กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติกับรัฐ จะกระทำใน 3 ประเด็นหลัก คือ ใครเป็นเจ้าของข้อมูล ใครมีสิทธิใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากน้อยอย่างไร หรือแบ่งปันกันอย่างไร อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูล
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให
ทศพล ทรรศนพรรณ
บทความนี้จะทำการทบทวนข้อกฎหมายทั้งในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ เรื่อยมาจนถึงสำรวจความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นพื้นฐานที่รัฐต้องคิด คือ จะส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อสะสมความมั่งคั่งได้อย่างไร แล้วจึงจะไปสู่แนวทางในการแบ่งปันความมั่งคั่งให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลขึ้นมาในแพลตฟอร์ม
ทศพล ทรรศนพรรณ
Kean Birch นำเสนอปัญหาของข้อมูลส่วนบุคคลในฐานะสินค้าของตลาดนวัตกรรมเทคโนโลยีจำนวน 5 ประเด็น คือ1.ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของแพลตฟอร์มในฐานะเจ้าของข้อมูลทึ่ถูกรวบรวมโดยนวัตกรรม,