Skip to main content

ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจำเป็นต้องมีการแสวงหาทางออกโดยปรับปรุงกฎหมายให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเรื่องความเป็นเจ้าของข้อมูล


ประเด็นพิพาทภายในกลุ่มประเทศที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบตลาดเสรีโลกาภิวัฒน์ซ่อนเร้น ก็คือ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่าง รัฐเจ้าของสัญชาติบรรษัทเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม กับ รัฐเจ้าของสัญชาติผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ซึ่งถ้ามองอย่างหยาบๆ ก็คือ ระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นฐานของบริษัทแม่เจ้าของเทคโนโลยี กับ ประเทศอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้งานใช้ชีวิตมีภูมิลำเนาอยู่


ข้อพิพาทนี้เริ่มปรากฏชัดขึ้นหลังจากสหภาพยุโรปได้ประกาศกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation) อันมีผลบังคับใช้ในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ยังผลให้ประเทศคู่ค้ากับสหภาพยุโรปต้องปรับกฎหมายตามเพื่อให้สอดคล้องและสามารถเสนอขายบริการต่าง ๆ ให้กับพลเมืองของรัฐในสหภาพยุโรปและเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ ซึ่งคลาดยุโรปถือเป็นตลาดพรีเมี่ยมที่บรรษัททั้งหลายต้องการเข้าไปเจาะแล้วดูดข้อมูลมาประมวลผล


ประเทศไทยก็ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกมาเช่นกัน โดยให้องค์กรทั้งหลายที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องปรับมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563  กฎหมายดังกล่าวเกี่ยวพันกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับคุ้มครองในฐานะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดีกฎหมายได้เปิดโอกาสให้มีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและสถิติได้ แต่ก็กำหนดเงื่อนไขในการป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหล ทั้งผู้ควบคุมระบบต้องจัดมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลให้ได้มาตรฐานเดียวกันเมื่อส่งข้อมูลต่อให้บุคคลภายนอกหรือส่งไปนอกราชอาณาจักร 


หากเจ้าของแพลตฟอร์มได้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ประโยชน์จำต้องวางข้อกำหนดและมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเจ้าของข้อมูล และแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมกับประชาชนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น  คำถามตามมาคือ รัฐไทยจะเลือกยุทธศาสตร์อย่างไร จะเป็นรัฐเจ้าของเทคโนโลยี หรือ รัฐเจ้าของตลาด เพื่อวางมาตรการในการใช้ แบ่งปัน ผลประโยชน์จากข้อมูลที่อยู่ในแพลตฟอร์ม

หากรัฐไทยต้องการวางยุทธศาสตร์ และเดินเกมส์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ ต้องพยายามปรับระบอบกฎหมายและปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุผล โดยการสร้างยุทธศาสตร์และกำหนดยุทธวิธีอย่างน้อยต้องมีประเด็นการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้
1) การศึกษาความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในขอบเขตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแพลตฟอร์มดิจิทัล 4 ประการ คือ การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการกระจาย ที่สร้างฐานข้อมูลขึ้นพร้อมให้นำไปแสวงหาผลประโยชน์
2) ประเด็นธุรกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับผลทางกฎหมายจะเน้นไปที่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” เพื่อการรับรองสิทธิในข้อมูลดิจิทัลของประชาชน สร้างความโปร่งใสในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล และมีกลไกแบ่งปันผลประโยชน์ ไปจนถึงการระงับข้อพิพาทที่เป็นธรรม
3) การศึกษาเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้มีขอบเขตเกี่ยวข้องกับ กฎหมายไทยจำนวนหนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายสากลที่อยู่ในระบบส่งเสริมกฎหมายทางการค้าของสหประชาชาติ และหลักการที่น่าสนใจในกฎหมายต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในฟากผู้ผลิต และฟากผู้บริโภค ไปจนถึงกลุ่มประเทศที่ต้องการพัฒนาสวัสดิการของประชาชนและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
4) ขอบเขตเวลาที่จะสืบย้อนค้นหาความรู้จะเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1990 มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้ศึกษาใน 4 ประเด็นข้างต้นแล้ว ก็จะได้องค์ความรู้ที่ได้ไปผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้วยการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลโดยเชื่อมกับการปฏิรูประบอบกฎหมายและแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) องค์ความรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างในการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐโดยเฉพาะประเด็นความเป็นเจ้าของในข้อมูลที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์
2) ชุดความคิดทางกฎหมายที่จำเป็นในการรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้งาน โดยนำหลักการ “อวัตถุทรัพย์” มาทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” ในกฎหมายไทย
3) ประเด็นใหม่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” ที่ระบอบกฎหมายทางเศรษฐกิจของรัฐไทยต้องปรับตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้ประชาชนเจ้าของข้อมูล
4) อุปสรรคทางกฎหมายจากบทบัญญัติกฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องทรัพย์สิน และนิติกรรมสัญญา ประมวลกฎหมายอาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หลังจากนั้นต้องผลักดันให้ความรู้กลายเป็นอาวุธด้วยการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และคนทำงานเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างความเปลี่ยนทางนโยบาย เปลี่ยนแปลงกฎหมาย และสร้างแนวทางปฏิบัติใหม่ให้เป็นประโยชน์กับทั้ง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่พยายามจะใช้ไทยเป็นสปริงบอร์ดผงาดขึ้นเป็นม้ามีปีกเขาเดี่ยว และผู้ที่ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มทั้งหลาย ซึ่งเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยอยู่ โดยต้องขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้
1)  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงระบบกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในข้อมูลของผู้บริโภคและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลโดยเจ้าของแพลตฟอร์ม
2)  หลักการประกอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 3 ทรัพย์ และ บรรพ 4 ทรัพย์สิน นำไปสู่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” เพื่อการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูล
3)  หลักการประกอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นำไปสู่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” เพื่อการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูล
4)  แนวทางการนำพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาเสริมสร้างการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลอย่างเป็นธรรม

หากต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงต้องสร้างการตื่นตัวของพลเมืองทั้งโลกออนไลน์และโลกจริงให้เห็นถึง “ช่องทางทำกินจากการเล่นเน็ต” ประกอบไปกับการขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการการด้วย  เนื่องจาก เวทีนิติบัญญัติของรัฐเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการยิงนโยบาย แต่พื้นที่อื่นยังมีพลังของประชาชนเจ้าของประเด็นแวดล้อมอยู่อีกมากมายเพื่อให้เกิดการรับรู้และวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับประเด็น กฎหมายทรัพย์สิน กฎหมายสัญญา กฎหมายอาญา และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


เมื่อได้ร่างหลักการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็พร้อมผลักดันสู่ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อลดอุปสรรคและส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาของภาคธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แห่งรัฐสภา ให้เกิดการสร้างยุทธศาสตร์ในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจการเมืองดิจิทัลระหว่างประเทศบนฐานข้อมูลงานวิจัย


*ปรับปรุงจากบทนำ วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2