Skip to main content

ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มดิจิทัลมีรายได้และผลกำไรจำนวนมหาศาลจากการประมวลผลข้อมูลการใช้งานของผู้บริโภคในระบบของตน แต่ยังไม่มีระบบการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม    เนื่องจากยังมีข้อถกเถียงเรื่องใครเป็นเจ้าของข้อมูลและมีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นบ้าง    จึงจำเป็นต้องมีการแสวงหาทางออกโดยปรับปรุงกฎหมายให้สอดรับกับการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเรื่องความเป็นเจ้าของข้อมูล


ประเด็นพิพาทภายในกลุ่มประเทศที่อยู่ในระบอบประชาธิปไตยและใช้ระบบตลาดเสรีโลกาภิวัฒน์ซ่อนเร้น ก็คือ การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่าง รัฐเจ้าของสัญชาติบรรษัทเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม กับ รัฐเจ้าของสัญชาติผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ซึ่งถ้ามองอย่างหยาบๆ ก็คือ ระหว่างสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นฐานของบริษัทแม่เจ้าของเทคโนโลยี กับ ประเทศอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้งานใช้ชีวิตมีภูมิลำเนาอยู่


ข้อพิพาทนี้เริ่มปรากฏชัดขึ้นหลังจากสหภาพยุโรปได้ประกาศกฎคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (General Data Protection Regulation) อันมีผลบังคับใช้ในทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2561 ยังผลให้ประเทศคู่ค้ากับสหภาพยุโรปต้องปรับกฎหมายตามเพื่อให้สอดคล้องและสามารถเสนอขายบริการต่าง ๆ ให้กับพลเมืองของรัฐในสหภาพยุโรปและเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้ ซึ่งคลาดยุโรปถือเป็นตลาดพรีเมี่ยมที่บรรษัททั้งหลายต้องการเข้าไปเจาะแล้วดูดข้อมูลมาประมวลผล


ประเทศไทยก็ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ออกมาเช่นกัน โดยให้องค์กรทั้งหลายที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลต้องปรับมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายภายในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563  กฎหมายดังกล่าวเกี่ยวพันกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับคุ้มครองในฐานะสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดีกฎหมายได้เปิดโอกาสให้มีการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและสถิติได้ แต่ก็กำหนดเงื่อนไขในการป้องกันมิให้ข้อมูลรั่วไหล ทั้งผู้ควบคุมระบบต้องจัดมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลให้ได้มาตรฐานเดียวกันเมื่อส่งข้อมูลต่อให้บุคคลภายนอกหรือส่งไปนอกราชอาณาจักร 


หากเจ้าของแพลตฟอร์มได้จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ประโยชน์จำต้องวางข้อกำหนดและมาตรการทั้งหลายให้สอดคล้องกับกฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนเจ้าของข้อมูล และแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรมกับประชาชนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้น  คำถามตามมาคือ รัฐไทยจะเลือกยุทธศาสตร์อย่างไร จะเป็นรัฐเจ้าของเทคโนโลยี หรือ รัฐเจ้าของตลาด เพื่อวางมาตรการในการใช้ แบ่งปัน ผลประโยชน์จากข้อมูลที่อยู่ในแพลตฟอร์ม

หากรัฐไทยต้องการวางยุทธศาสตร์ และเดินเกมส์เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ ต้องพยายามปรับระบอบกฎหมายและปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้บรรลุผล โดยการสร้างยุทธศาสตร์และกำหนดยุทธวิธีอย่างน้อยต้องมีประเด็นการศึกษาวิจัย ดังต่อไปนี้
1) การศึกษาความคิดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ในขอบเขตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในแพลตฟอร์มดิจิทัล 4 ประการ คือ การผลิต การบริโภค การแลกเปลี่ยน และการกระจาย ที่สร้างฐานข้อมูลขึ้นพร้อมให้นำไปแสวงหาผลประโยชน์
2) ประเด็นธุรกรรมทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับผลทางกฎหมายจะเน้นไปที่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” เพื่อการรับรองสิทธิในข้อมูลดิจิทัลของประชาชน สร้างความโปร่งใสในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล และมีกลไกแบ่งปันผลประโยชน์ ไปจนถึงการระงับข้อพิพาทที่เป็นธรรม
3) การศึกษาเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้มีขอบเขตเกี่ยวข้องกับ กฎหมายไทยจำนวนหนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายสากลที่อยู่ในระบบส่งเสริมกฎหมายทางการค้าของสหประชาชาติ และหลักการที่น่าสนใจในกฎหมายต่างประเทศของกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในฟากผู้ผลิต และฟากผู้บริโภค ไปจนถึงกลุ่มประเทศที่ต้องการพัฒนาสวัสดิการของประชาชนและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
4) ขอบเขตเวลาที่จะสืบย้อนค้นหาความรู้จะเริ่มต้นในทศวรรษที่ 1990 มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อได้ศึกษาใน 4 ประเด็นข้างต้นแล้ว ก็จะได้องค์ความรู้ที่ได้ไปผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้วยการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจดิจิทัลโดยเชื่อมกับการปฏิรูประบอบกฎหมายและแก้ไขบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) องค์ความรู้เกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างในการกำกับดูแลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐโดยเฉพาะประเด็นความเป็นเจ้าของในข้อมูลที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์
2) ชุดความคิดทางกฎหมายที่จำเป็นในการรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลของผู้ใช้งาน โดยนำหลักการ “อวัตถุทรัพย์” มาทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” ในกฎหมายไทย
3) ประเด็นใหม่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิที่เกี่ยวกับ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” ที่ระบอบกฎหมายทางเศรษฐกิจของรัฐไทยต้องปรับตัวเพื่อรักษาผลประโยชน์ให้ประชาชนเจ้าของข้อมูล
4) อุปสรรคทางกฎหมายจากบทบัญญัติกฎหมายปัจจุบันที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องทรัพย์สิน และนิติกรรมสัญญา ประมวลกฎหมายอาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หลังจากนั้นต้องผลักดันให้ความรู้กลายเป็นอาวุธด้วยการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และคนทำงานเกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างความเปลี่ยนทางนโยบาย เปลี่ยนแปลงกฎหมาย และสร้างแนวทางปฏิบัติใหม่ให้เป็นประโยชน์กับทั้ง ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่พยายามจะใช้ไทยเป็นสปริงบอร์ดผงาดขึ้นเป็นม้ามีปีกเขาเดี่ยว และผู้ที่ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มทั้งหลาย ซึ่งเกาะเกี่ยวกับรัฐไทยอยู่ โดยต้องขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้
1)  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงระบบกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิในข้อมูลของผู้บริโภคและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลโดยเจ้าของแพลตฟอร์ม
2)  หลักการประกอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1 หลักทั่วไป ลักษณะ 3 ทรัพย์ และ บรรพ 4 ทรัพย์สิน นำไปสู่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” และ “ทรัพย์สิน” เพื่อการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูล
3)  หลักการประกอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ นำไปสู่การทบทวนนิยามของ “ทรัพย์” เพื่อการคุ้มครองสิทธิเจ้าของข้อมูล
4)  แนวทางการนำพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาเสริมสร้างการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูลอย่างเป็นธรรม

หากต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริงต้องสร้างการตื่นตัวของพลเมืองทั้งโลกออนไลน์และโลกจริงให้เห็นถึง “ช่องทางทำกินจากการเล่นเน็ต” ประกอบไปกับการขับเคลื่อนอย่างเป็นทางการการด้วย  เนื่องจาก เวทีนิติบัญญัติของรัฐเป็นเพียงช่องทางหนึ่งในการยิงนโยบาย แต่พื้นที่อื่นยังมีพลังของประชาชนเจ้าของประเด็นแวดล้อมอยู่อีกมากมายเพื่อให้เกิดการรับรู้และวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับประเด็น กฎหมายทรัพย์สิน กฎหมายสัญญา กฎหมายอาญา และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


เมื่อได้ร่างหลักการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็พร้อมผลักดันสู่ คณะอนุกรรมาธิการศึกษาวิเคราะห์ทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบ เพื่อลดอุปสรรคและส่งเสริมโอกาสในการพัฒนาของภาคธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ แห่งรัฐสภา ให้เกิดการสร้างยุทธศาสตร์ในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจการเมืองดิจิทัลระหว่างประเทศบนฐานข้อมูลงานวิจัย


*ปรับปรุงจากบทนำ วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
คำถามที่สำคัญในเศรษฐกิจการเมืองยุคดิจิทัล ก็คือ บทบาทหน้าที่ของภาครัฐรัฐท่ามกลางการเติบโตของตลาดดิจิทัลที่ภาคเอกชนเป็นผู้ผลักดันและก่อร่างสร้างระบบมาตั้งแต่ต้น  ซึ่งสร้างผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในรัฐให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง   อย่างไรก็ดีความเจริญก้าวหน้าของตลาดย่อมเกิดบนพื้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
แนวทางในการส่งเสริมสิทธิคนทำงานในยุคดิจิทัลประกอบไปด้วย 2 แนวทางหลัก คือ1. การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นภายในความสัมพันธ์ระหว่าง แพลตฟอร์ม กับ คนทำงาน2. การพัฒนารัฐให้รองรับสิทธิคนทำงานอย่างถ้วนหน้า
ทศพล ทรรศนพรรณ
เนื่องจากการทำงานของคนในแพลตฟอร์มดิจิทัลในช่วงก่อนหน้าสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำให้ปริมาณคนที่เข้ามาทำงานมีไม่มากนัก และเป็นช่วงทำการตลาดของเหล่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ ในการดึงคนเข้ามาร่วมงานกับแพลตฟอร์มตนยังผลให้สิทธิประโยชน์เกิดขึ้นมากมายเป็นที่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมทำงานกับแพลตฟ
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐชาติในโลกปัจจุบันไม่เปิดโอกาสให้บุคคลเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ที่อยู่ แหล่งทำมาหากินได้อย่างอิสระ เสรีมาตั้งแต่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก   เช่นเดียวกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง ไทย พม่า ลาว หรือกัมพูชา   ก็ล้วนเกิดพรมแดนระหว่างรัฐในลักษณะที
ทศพล ทรรศนพรรณ
นับตั้งแต่เกิดปรากฏการณ์ “สีเสื้อ”   สื่อกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นตัวสะท้อนภาพของคนและสังคมเพื่อขับเน้นประเด็นเคลื่อนไหวทางสังคมให้ปรากฏเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีผู้คนเข้าร่วมอย่างมากมายมหาศาล และมีกิจกรรมทางการเมืองหลากหลายรูปแบบ   ดังนั้นอำนาจในการสื่อสารและการมีส่วนร่วมใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
สังคมไทยเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง แตกแยก และปะทะกันอย่างรุนแรงทั้งในด้านความคิด และกำลังประหัตประหารกัน ระหว่างการปะทะกันนั้นระบบรัฐ ระบบยุติธรรม ระบบคุณค่าเกียรติยศ และวัฒนธรรมถูกท้าทายอย่างหนัก จนสูญเสียอำนาจในการบริหารจัดการรัฐ   ในวันนี้ความตึงเครียดจากการเผชิญหน้าอาจเบาบางลง พร้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เศรษฐกิจและการเมืองยุคดิจิทัล ใช้ข้อมูลของประชาชนและผู้บริโภคเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจตลาดการเมืองและเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดีเจ้าของข้อมูลทั้งหลายได้รับประกันสิทธิในความเป็นส่วนตัวและข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้ตามอำเภอใจไม่ได้ เว้นแต่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กฎหมายยอมรับ หรือได้รับความยินยอมจากเจ
ทศพล ทรรศนพรรณ
หากรัฐไทยต้องการสร้างกรอบทางกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลพันธุกรรมมนุษย์ในช่วงเวลาที่ยังไม่มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ มาบังคับกับการวิจัยในพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวจำต้องมีมาตรการประกันสิทธิเจ้าของข้อมูลพันธุกรรมให้สอดคล้องกับมาตร
ทศพล ทรรศนพรรณ
กองทัพเป็นรากเหง้าที่สำคัญของความขัดแย้งเนื่องจากทหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซงทางการเมืองมานาน โดยการข่มขู่ว่าจะใช้กำลัง การใช้อิทธิพลกดดันนโยบายของรัฐบาล กดดันเพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรี และการยึดอำนาจโดยปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งทหารมักอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ ระบบการเมืองไม่เป็นประชาธิปไตยเท่าที่ควรมีการฉ้อ
ทศพล ทรรศนพรรณ
 ปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเรียกร้องมาตลอด คือ การผูกขาด ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจของกลุ่มผลประโยชน์ที่ทรงอำนาจ แล้วนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ขบวนการความเป็นธรรมทางสังคมเสนอให้แก้ไข   บทความนี้จะพยายามแสดงให
ทศพล ทรรศนพรรณ
การแสดงออกไม่ว่าจะในสื่อเก่าหรือสื่อใหม่ย่อมมีขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้นรัฐจึงได้ขีดเส้นไว้ไม่ให้ประชาชนใช้สิทธิเสรีภาพจนไปถึงขั้นละเมิดสิทธิของผู้อื่นเอาไว้ในกรอบกฎหมายหลายฉบับ บทความนี้จะพาชาวเน็ตไปสำรวจเส้นพรมแดนที่มิอาจล่วงล้ำให้เห็นพอสังเขป
ทศพล ทรรศนพรรณ
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติที่อดอยากหิวโหยที่นั้นดำเนินการได้โดยตรงด้วยมาตรการความช่วยเหลือด้านอาหารโดยตรง (Food Aid) ซึ่งมีทั้งมาตรการระหว่างประเทศ และมาตรการภายใน   ในบทความนี้จะนำเสนอมาตรการและกรณีศึกษาที่ใช้ในการช่วยเหลือด้านอาหารในสถานการณ์ฉุกเฉินเหล่านั้น แต่ความแตกต่างจากการสงเ