Skip to main content

บทความนี้จะทำการรวบรวมข้อเสนอทางกฎหมายในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับลักษณะความสัมพันธ์ของนิติบุคคลเจ้าของแพลตฟอร์มที่มักเป็นบรรษัทข้ามชาติ กับรัฐและองค์การระหว่างประเทศ อันเป็นการเตรียมความพร้อมของกฎหมายในการรองรับปรากฏการณ์การใช้ข้อมูลจากแพลตฟอร์มดิจิทัล ว่าสามารถบริหารจัดการให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลดิจิทัลระหว่างบุคคลทั้งหลายให้เกิดความเป็นธรรม เมื่อต้องเผชิญกับการส่งข้อมูลหรือการลงทุนข้ามพรมแดน

การคุ้มครองข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ: ระดับระหว่างประเทศ
เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลยังมีความไม่แน่นอนและมีช่องโหว่ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ทำให้ธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูลมีความไม่แน่ไม่นอนและคาดเดาไม่ได้ ขัดขวางนวัตกรรมและการเติบโตของอุตสาหกรรมและวงการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่สัญญาฝ่ายที่ด้อยกว่าในสัญญาที่เกี่ยวกับข้อมูล กล่าวคือ คู่สัญญาเช่นผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง มีความเสี่ยงที่จะประสบกับความไม่เป็นธรรมในสัญญาที่เกี่ยวกับข้อมูลที่ทำขึ้นกับบริษัทขนาดใหญ่  ดังนั้น ในบางประเทศ หรือในระดับระหว่างประเทศ ก็ได้มีการริเริ่มเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูล หรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับข้อมูล ในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อลดช่องโหว่และความไม่แน่นอนของกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูล

 

1) UNCITRAL (United Nations Commission on International Trade Law)
UNCITRAL มีแผนที่จะพัฒนาองค์ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูล เช่น อาจมีการสั่งให้ secretariat ทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูล (data rights) โดยมุ่งศึกษาการริเริ่มเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับผู้เล่นฝ่ายต่าง ๆ ที่มีสิทธิในข้อมูล (classes of right holders) และเนื้อหาของสิทธิในข้อมูลที่กฎหมายรับรอง และนอกจากนี้ก็ยังเริ่มที่จะศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ co-generated data หรือข้อมูลที่ร่วมกันสร้างขึ้นด้วย ซึ่งการค้นคว้าเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนากฎหมายต้นแบบเกี่ยวกับสิทธิในข้อมูลต่อไป

 

2) ALI/ELI (American Law Institute (ALI) and European Law Institute (ELI))
ALI/ELI Principles for a Data Economy เป็นโครงการทางกฎหมายร่วมกันระหว่าง American Law Institute (ALI) และ European Law Institute (ELI) ในประเด็นด้านเศรษฐกิจดิจิทัล โดยหลักการต่าง ๆ ของ ALI/ELI เป็นหลักการที่มุ่งตอบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการรับรองสิทธิต่าง ๆ ในข้อมูลโดยมุ่งเน้นประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ ในเศรษฐกิจดิจิทัลและประโยชน์สาธารณะ  และวิธีการรับรองสิทธิ ไม่ใช่การพยายามแก้ไขหลักการของสิทธิในทรัพย์สินเดิม แต่เป็นการตราขึ้นซึ่งสิทธิใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล ซึ่งไม่ใช่สิทธิที่อ้างได้ต่อเพียงคู่สัญญาเท่านั้น แต่ยังอ้างต่อบุคคลทั่วไปได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น มีการเสนอหลักการ “leapfrogging” ซึ่งหมายถึงการอนุญาตให้ผู้มีสิทธิในข้อมูล (เช่นเจ้าของข้อมูล) สามารถกำกับควบคุมบุคคลต่อ ๆ มาซึ่งใช้หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อเป็นทอด ๆ (downstream actors)  เกี่ยวกับการใช้และการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้ แม้จะไม่มีความสัมพันธ์ในทางนิติกรรมสัญญาต่อกัน

ที่สำคัญ มีการเสนอหลักการเกี่ยวกับสิทธิใน “co-generated data” หรือข้อมูลที่ร่วมกันสร้างขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิที่จะให้แก่บุคคลที่มีส่วนสำคัญในการสร้างหรือก่อให้เกิดข้อมูลนั้นขึ้นมา เป็นการสะท้อนนโยบายที่ว่า บุคคลที่มีส่วนร่วมในการสร้างหรือก่อให้เกิดข้อมูลใดขึ้นมา ควรมีสิทธิบางประการในข้อมูลนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเกี่ยวกับการใช้งานในข้อมูลดังกล่าว (เช่น มีสิทธิร้องขอให้คนที่นำข้อมูลไปใช้หยุดการใช้ข้อมูล หรือขอให้แก้ไขหรือลบข้อมูล) หรือสิทธิเกี่ยวกับประโยชน์หรือคุณค่าที่ข้อมูลดังกล่าวสร้างขึ้นมา (เช่น มีสิทธิในส่วนแบ่งทางเศรษฐกิจในผลกำไรที่เกิดจากการนำข้อมูลไปใช้) (A/CN.9/1117 (2022) หน้า 13) สิทธิใน co-generated data นี้ หมายถึงการที่บุคคลที่มีส่วนร่วมในการสร้างหรือก่อให้เกิดข้อมูลขึ้นมา มีสิทธิต่าง ๆ (คล้ายสิทธิในทรัพย์สิน) ต่อผู้ที่นำข้อมูลไปใช้ เช่น 1) สิทธิในการเข้าถึง ขอคัด หรือเคลื่อนย้ายข้อมูล 2) ขอให้หยุดการใช้ข้อมูล 3) ขอให้แก้ไขข้อมูล และ 4) ส่วนแบ่งในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ บรรดาสิทธิเหล่านี้ยังเป็นไปในแนวทางเดียวกับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย 

 

3) OECD (Organization for Economic Cooperation and Development)
OECD ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูล (data governance) และการสนับสนุนการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล เป็นจำนวนหลายฉบับ โดยบทความนี้จะยก OECD Recommendation on Enhancing Access to and Sharing of Data (EASD) ขึ้นมาอธิบาย เนื่องจากเป็นแนวนโยบายฉบับแรกที่ทำขึ้นในฐานะข้อตกลงในระดับนานาชาติ  (กล่าวคือไม่ใช่เพียงแค่เอกสารที่นำเสนอข้อมูลโดยไม่มุ่งให้มีผลผูกพัน)


OECD Recommendation on Enhancing Access to and Sharing of Data (EASD) เป็นหลักการและแนวนโยบายฉบับแรกทีทำขึ้นในฐานะข้อตกลงในระดับนานาชาติ โดยเป็นแนวทางสำหรับรัฐในการวางหลักการและนโยบายเพื่อให้เกิดผลดีที่สุดต่อการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล ในขณะที่ยังสามารถคุ้มครองสิทธิประการต่าง ๆ ของบุคคลและองค์กร  โดยในเอกสาร EASD พบว่ามีหลักการอยู่อย่างน้อย 2 ข้อที่อาจเกี่ยวข้องกับการแบ่งปันผลประโยชน์จากการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์แก่เจ้าของข้อมูล


หลักการแรก อยู่ในหัวข้อใหญ่ Section 1. Reinforcing Trust Across the Data Ecosystem (การทำให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบนิเวศข้อมูล) ข้อ 3 a) ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการนับรวมผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ ในระบบนิเวศข้อมูล โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มชายขอบ เป็นต้น และหลักการที่ 2 อยู่ในหัวข้อใหญ่ Section 2. Stimulating Investment in Data and Incentivising Data Access and Sharing (การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในข้อมูลและการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล) ข้อ 6 d) ได้แก่การสนับสนุนให้มีระบบที่ให้แรงจูงใจหรือผลตอบแทนที่เหมาะสม กล่าวคือ ต้องทำให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ของการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และต้องรับประกันว่าผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ จะได้รับการสนับสนุน การยอมรับ และได้รับผลตอบแทนจากการมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการเข้าถึงและแบ่งปันข้อมูล


อีกตัวอย่างหนึ่ง คือการที่ OECD ได้พิจารณานโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น Trade Union Advisory Committee ภายใต้ OECD ได้ระบุเกี่ยวกับธรรมาภิบาลข้อมูล (data governance) ว่า มีความจำเป็นจะต้องสร้างระบบกฎหมายและระบบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ data governance ที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ โดยท้ายสุดแล้ว Trade Union Advisory Committee แนะนำให้กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับ ความเป็นเจ้าของในข้อมูล ซึ่งรวมถึงสิทธิในการเข้าถึง ประมวลผล ลบ และกำหนดราคาของข้อมูล


ส่วน secretariat ของ OECD ก็เคยระบุว่า หนึ่งในข้อท้าทายของการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล คือประเด็นเรื่องความเป็นเจ้าของในข้อมูล อย่างไรก็ตาม secretariat ของ OECD ก็ยอมรับว่าการจะให้มีกรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของในข้อมูล ก็จะทำให้เกิดข้อท้าทายด้านอื่น ๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการเข้าถึง สร้าง แก้ไข แสวงหาประโยชน์ ขาย รวมถึงการโอนหรือให้สิทธิเหล่านี้แก่บุคคลอื่น

 


องค์กรในระดับนานาชาติหลายองค์กร ไม่ว่าจะเป็น UNCITRAL, American Law Institute, European Law Institute รวมถึง OECD ต่างเล็งเห็นว่าหลักกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลในบริบทของเศรษฐกิจดิจิทัล ยังมีความไม่ชัดเจนแน่นอน หรือไม่เหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ และทำให้เกิดเป็นประเด็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นมา ดังนั้นองค์กรเหล่านี้จึงพยายามที่จะเสนอหลักการใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อกำหนดสถานะทางกฎหมาย สิทธิและหน้าที่ และแนวปฏิบัติอื่น ๆ ต่อข้อมูล และแม้หลักการใหม่ ๆ เหล่านี้อาจยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าข้อมูลเป็นทรัพย์สินหรือไม่ และใครเป็นเจ้าของข้อมูล แต่ต่างมีหลักการร่วมกันว่า ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างข้อมูลใดขึ้นมา ควรมีสิทธิเข้าถึงประโยชน์บางประการ แรงจูงใจ หรือผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากข้อมูลนั้นด้วย

 

อ้างอิง
United Nations, General Assembly (United Nations Commission on International Trade Law Fifty-third session), Legal issues related to the digital economy – data transactions, A/CN.9/1012/Add.2 (Accessed 12 May 2022).
ALI/ELI Principles, ALI Council Draft No. 1, principles 17 –22, quoted in United Nations, General Assembly (United Nations Commission on International Trade Law Fifty-third session), Legal issues related to the digital economy – data transactions, A/CN.9/1012/Add.2 (Accessed 12 May 2022).
“Data Governance: Enhancing Access to and Sharing of Data,” Organisation for Economic Cooperation and Development, accessed August 13, 2022, https://www.oecd.org/digital/ieconomy/enhanced-data-access.htm#:~:text=Adopted%20in%20October%202021%2C%20the,%2C%20open%2C%20proprietary% 2C%20public%20and.
Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD), Trade Union Advisory Committee, Digitalization and the Digital Economy: Trade Union Key Messages (February 2017).

*ปรับปรุงจากบทวิเคราะห์ทางกฎหมาย โดย วัชรพล ศิริ ใน วิจัย โครงการสังเคราะห์องค์ความรู้ทางกฎหมายเพื่อสนับสนุนการแบ่งปันผลประโยชน์จากข้อมูลดิจิทัลอย่างเป็นธรรม, 2565. โดย สถาบันพระปกเกล้า.

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2