Skip to main content

          

ภาพ ชายหาดชลาทัศน์และถุงทรายกันการกัดเซาะ บันทึกไว้เมื่อกันยายน 2552

     เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมามีโอกาสเดินทางไปแถบถนนเก้าเส้ง ทอดยาวไปถึงชายหาดชลาทัศน์  บริเวณแหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา แนวต้นสนที่บางตาลง เห็นกระสอบทราย กองหิน ล้อยางรถยนต์วางกองเรียงรายบนฟุตบาธถนน เห็นป้ายประกาศเตือนขนาดเขื่องว่า ระวังต้นสนล้มทับ เดินลงไปสำรวจแนวชายหาดพบว่ามีการนำล้อยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้งานมารียงรายบริเวณแนวชายหาดและซ้อนทับด้วยกระสอบทราย  ภาพที่เห็นไม่แน่ใจว่าคือประติมากรรมหรือนวตกรรม ที่เกิดจากความรู้ ภูมิปัญญาหรือเป็นการทดลองเทคโนโลยีใหม่กันแน่  คำถามที่เกิดขึ้นในหัวใจคือเรากำลังปฐมพยาบาลบาดแผลของชายหาด เพื่อปกป้องรักษาชายหาดไว้ให้ลูกหลานในอนาคต หรือเรากำลังวางยาเพื่อฆาตกรรมชายหาดให้ค่อยตายไป  แล้วสุดท้ายก็ไม่รู้ว่าใครเป็นฆาตกร  เข้าใจความรู้สึกของการแก้ไขปัญหาโดยการเอาล้อยางรถยนต์มาวางเรียงรายบนชายหาดนั้นเฉพาะหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อชะลอความแรงของคลื่น ไม่ให้กัดเซาะชายหาดพังหรือป้องกันไม่ให้ต้นสนล้ม  แต่ในความเป็นจริงเพียงแค่ล้อยางรถยนต์และกระสอบทรายไม่สามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายหาดชลาทัศน์ได้เลยได้   เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น

 

 

 

 

โจทย์ใหญ่ที่ควรคิดในเวลานี้คือการพังทลายของชายหาดอะไรคือต้นตอของปัญหากันแน่?  เพราะในเวลานี้คลื่นลมแรงและภาวะโลกร้อนกำลังตกเป็นจำเลย ของการพังทลายของชายหาด

            คำถามคือชายหาดในวันนี้บาดเจ็บแสนสาหัสเกินกว่าเยียวยาแล้วจริงหรือ? หรือเรากำลังใช้วิธีการเยียวยาปฐมพยาบาลที่ผิดทิศผิดทางกันแน่  มีใครบ้างคนเคยพูดว่าชายหาดสงขลาตายแล้ว มีคนบางกลุ่มต้องการทำให้ตาย เพื่อให้ชายหาดหมดความสวยงามและหมดคุณค่าที่จะปกป้องรักษา เพื่อสร้างความชอบธรรมในการทำลายชายหาดด้วยการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่สองในอนาคต   

ภาพชายคนหนึ่งกำลังนอนเอกเขนกพักผ่อนร่างกายบนกองถุงทรายที่วางเรียงรายโอบอุ้มโค่นต้นสน แทนที่เขาจะได้ทอดกายลงบนชายหาดที่ขาวสะอาด ได้สัมผัสกับเม็ดทรายที่ละเอียดเยียดยาว เขากลับต้องนอนทอดกายบนถุงทรายที่แข็งกระด้าง เราจะยังปล่อยให้การดูแลและแก้ปัญหาการกัดเซาะชายหาดพังเป็นหน้าที่ของผู้บริหารบ้านเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ เป็นผู้ผูกขาดความคิดในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายหาดเช่นนี้ต่อไป 

ต้นตอของปัญหาการกัดเซาะชายหาดที่แท้จริงเกิดจาก การสร้างสิ่งก่อสร้างรุกล้ำชายฝั่งทั้งหลายทั้งของท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง โครงการสร้างเขื่อนกันทรายและเขื่อนกันคลื่น ของกรมเจ้าท่าปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี เพื่อแก้ไขการตกตะกอนของทรายบริเวณร่องน้ำปากบางคลองสะกอมและปากบางคลองนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  เขื่อนบริเวณปากคลองสะกอมเป็นเขื่อนหินทิ้ง 2 ตัว ความยาวประมาณ 620 เมตรและสร้างเกาะกันกัดเซาะบริเวณด้านทิศเหนือของเขื่อนอีกจำนวน 4 ตัว

หลังจากการสร้างเขื่อนดังกล่าวปรากฎว่าไม่สามารถกั้นทรายได้จริง เพราะชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสะกอมเล่าว่าทุกปีกรมเจ้าท่ายังต้องใช้เรือขุดลอกปากคลองเป็นประจำทุกปี และในปี2541 หลังจากการสร้างเขื่อนกันทรายกันคลื่นชายหาดสะกอมถูกน้ำทะเลกัดเซาะอย่างรุนแรงและพังทลายลง โดยในปีแรกชายฝั่งของบ้านบ่อโชนถูกกัดเซาะกว่า 10 เมตร ขณะนี้ถูกกัดเซาะลึกถึง 80 เมตร ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร  วิธีเหล่านี้วิศวกรผู้ออกแบบเชื่อว่าจะแก้ไขปัญหาชายหาดพังได้  แต่ในความเป็นจริง ส่งผลให้เกิดการพังทลายอย่างรุนแรงของชายหาดตั้งแต่อำเภอเทพา ตำบลสะกอม ตำบลนาทับ บ้านบ่ออิฐ บ้านเก้าเส้งเป็นระยะยาวตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ถนนบริเวณบ้านปึก บ่ออิฐยังถูกคลื่นกัดเซาะทุกปีและในปีนี้สุสาน(กุโบร์)บ้านปึกถูกคลื่นกัดเซาะจนพังทั้งที่มีแนวหินกั้นคลื่นตลอดแนวชายหาด

ปัจจุบันชาวบ้านในพื้นที่ตำบลสะกอมได้ยื่นฟ้องคดีต่อกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีและอธิบดีที่ศาลปกครองจังหวัดสงขลา ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำละเมิด เพราะการสร้างเขื่อนกั้นทรายและคลื่นทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดเสียหายกระทบกับการทำมาหากิน

ความเชื่อว่าเขื่อนกั้นทรายกั้นคลื่นเป็นต้นเหตุของปัญหาการเกาะเซาะชายหาดไม่ใช่การกล่าวอ้างลอยๆหรือเป็นการโยนความผิดให้ใคร เห็นได้จากงานศึกษาวิทยานิพนธ์ การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งลุ่มน้ำปากพนังของอาจารย์ปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ได้อ้างข้อมูลการศึกษาของกรมเจ้าท่าว่า เมื่อเวลาผ่านไป 20 ปีจะมีการกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นทางทิศเหนือของตัวเขื่อนเป็นระยะประมาณ 18 กิโลเมตรจากเส้นชายฝั่ง  หรือแม้แต่รายงานผลการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิ์มนุษยชนแห่งชาติ ตามหนังสือร้องเรียนขอให้ตรวจสอบโครงการก่อสร้างเขื่อนริมทะเลทำลายชายหาดจังหวัดสงขลาระหว่างบ้านนาทับ อำเภอจะนะและบ้านบ่ออิฐ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีความเห็นว่าการกัดเซาะชายฝั่ง ต้นเหตุของปัญหาคือ การสร้างเขื่อนกันคลื่นกันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลบริเวณปากคลองและปากแม่น้ำ ซึ่งก่อสร้างกรมการขนส่งทางน้ำฯทราบผลการศึกษาว่าด้านหนึ่งจะเกิดทรายงอก อีกด้านหนึ่งจะมีการกัดเซาะชายฝั่งขึ้นอยู่กับความยาวของเขื่อนกันคลื่นและกันทรายที่ยื่นออกไปในทะเล โดยเสนอมาตรการการแก้ไขปัญหา คือ ให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี รื้อเขื่อนด้านทิศเหนือของคลองนาทับที่เป็นต้นเหตุของการกัดเซาะทั้งหมด และลดขนาดความยาวของเขื่อนด้านทิศใต้ให้มีขนาดที่เหมาะสมและให้กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวียุติการสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณที่มีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและบริเวณปากคลองและปากแม่น้ำ

 

นี่คงเป็นคำตอบได้ว่าการแก้ปัญหาชายหาดแบบนี้มาถูกทางหรือไม่ บ่อยครั้งที่งานด้านวิศวกรรมมองแต่วัตถุและสิ่งก่อสร้าง แต่ไม่ถูกหลักและกฎของธรรมชาติ การแก้ไขปัญหาของธรรมชาติ เราต้องเข้าใจธรรมชาติของคลื่นด้วย นักสมุทรศาสตร์เคยบอกว่าคลื่นทะเลควรปล่อยให้มันซัดอย่างเป็นอิสระอย่าไปขวางกั้น การที่คลื่นปะกับสิ่งก่อสร้างจะเพิ่มความแรงขึ้นและทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในวงกว้างขึ้น   เราลองนึกไปถึงเหตุการณ์สึนามิคนรอดชีวิตจากคลื่นยักษ์ เพราะป่าชายเลนที่เป็นปราการสำคัญในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน วันนี้คงพิสูจน์แล้วว่าหิน อิฐ ปูนไม่สามารถปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนตลอดแนวชายหาดได้

ที่สำคัญเราควรหยุดการโฆษณาชวนเชื่อว่าการพังทลายของชายหาดพังต้นเหตุมาจากคลื่นและโลกร้อน ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายน้ำทะสูงขึ้นทำให้คลื่นลมในทะเลสูงขึ้นและคลื่นลมแรง มนุษย์ควรหยุดโยนบาปให้ธรรมชาติ พอหรือยังกับการสร้างวาทกรรมทางวิชาการเหล่านี้เพื่อให้สังคมหลงเชื่ออย่างผิดๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่นักวิชาการที่มีความรู้มีการศึกษาเหล่านี้จะพูดความจริงว่าที่ชายหาดพัง เป็นเพราะฝีมือมนุษย์ จำเป็นต้องบอกความจริงและให้ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง เพื่อสร้างการเรียนรู้และการรับรู้ของสังคมด้วยความรู้ที่ถูกต้องไม่ใช่ความรู้ที่ครอบงำหรือหมกเหม็ดซ่อนเร้นด้วยตัวเลขงบประมาณมหาศาลในโครงการต่างๆที่จะใช้เป็นมาตรการป้องกันชายหาดพัง     ซึ่งเป็นทั้งการที่ผูกขาดแนวทางการแก้ไขปัญหา ทั้งที่ยังมีนักวิชาการที่มีความรู้  ที่สำคัญยังมีชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกับชายหาดมาตลอดชีวิต สั่งสมความรู้ในการเฝ้ามอง เฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงไปของชายหาดจนเกิดเป็นภูมิปัญญา 

ชาวบ้านที่อยู่กับทะเลมาชั่วชีวิตเล่าว่าสมดุลของชายฝั่งจะผันแปรตามฤดูกาล มีการกัดเซาะและคืนสภาพ ในช่วงฤดูมรสุมทรายชายหาดจะจะถูกหอบไปกองเป็นสันดอนใต้น้ำ และนำกลับคืนมาในฤดูแล้งเป็นวัฎจักรเช่นนั้นนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นไม่รุนแรง ต่างจากเมื่อมีการสร้างเขื่อนกั้นทรายกันคลื่น  ดังนั้นสิ่งก่อสร้างล่วงล้ำทางน้ำไม่ว่าเขื่อนกันทรายและกันคลื่น ท่าเทียบเรือน้ำลึก หรือการปลูกสร้างอาคารรุกล้ำลงไปในทะเล คือต้นเหตุสำคัญของปัญหาการกัดเซาะชายหาดไม่ใช่คลื่นลมในทะเลหรือภาวะโลกร้อน คนสงขลาคงไม่ลืมว่าหลังจากที่มีการสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกที่สิงนครส่งผลให้ธรรมสถานหาดทรายแก้วถูกกัดเซาะจากเนื้อที่ราว 80 ไร่ ปัจจุบันเหลือเนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่

ชายหาดชลาทัศน์เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมีการทบทวนแนวทางการแก้ไขปัญหาของชายหาด และหยุดสร้างสิ่งล่วงล้ำทางน้ำในรูปต่างๆ เช่น เขื่อนกั้นทรายและคลื่น ท่าเทียบเรือน้ำลึก  และยกระดับการแก้ปัญหาการพังทลายของชายหาดเป็นเรื่องราวของสาธารณะที่ประกอบด้วยนักวิชาการที่หลากหลายมุมมอง การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง ประกอบกับหน่วยงานในการดูแลทรัพยากรชายหาดชายฝั่งไม่ใช่จากแนวคิดผูกขาดของผู้บริหารฯและนักเทคโนโลยีบางคนบางกลุ่มเท่านั้น  การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะคงแก้ไม่ได้ด้วยหลักและความเชื่อทางด้านเทคนิควิศวกรรมศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องอาศัยภูมิปัญญาของชาวบ้านและหลักของการเคารพและการเข้าใจธรรมชาติร่วมด้วย

เราควรใช้หลักอริยสัจสี่ในการมองปัญหาการกัดเซาะชายหาด ก่อนอื่นต้องหาต้นเหตุแห่งทุกข์ให้พบว่าอะไรคือต้นตอของปัญหาที่ทำให้เกิดทุกข์ในเวลานี้ เมื่อเจอต้นเหตุแล้วเรายอมรับกับต้นเหตุนั้นหรือไม่ จากนั้นใช้สติปัญญาพิเคราะห์พิจารณาแล้วหาทางออกจากปัญหา เราจึงจะพ้นทุกข์และสามารถรักษาชายหาดไว้ให้ลูกหลาน

 

 

หากปล่อยการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายหาดเป็นเรื่องของคนบางกลุ่มเช่นนี้ต่อไป  ผลงานสุดท้ายที่จะทำเพื่อชายหาดคงไม่พ้นการจัดงานฌาปนกิจ แล้วเก็บเถ้ากระดูกของชายหาดไว้ในความทรงจำของผู้คนที่เคยพบเห็นความงดงามของชายหาดไว้ตลอดไป

 

บล็อกของ suchana

suchana
  คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา  ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรณี ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล  จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 11 -12  มกราคม 2553  ประกอบด้วยนายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย             ประธานคณะกรรมาธิการฯ   นายสุรจิต  ชิรเวทย์       รองโฆษกคณะกรรมาธิการฯและคณะ 10.00 น.คณะกรรมาธิการฯได้เดินทางมายังบ้านสวนกง หมู่ที่ 7  ตำบลนาทับ  เพื่อดูสภาพพื้นที่ของชายหาดที่ยังอยู่สภาพที่ยังสมบูรณ์…
suchana
                                      ท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตลอดทั้งแนวตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี  คนรักและผูกพันกับชายหาดในจังหวัดสงขลา จึงร่วมกันจัดกิจกรรมคิดถึงเธอ...ชายหาดขึ้น เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา ร่วมกับ  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้(กป.อพช.ใต้) สมาคมดับบ้านดับเมือง …
suchana
                เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมามีโอกาสเดินทางไปแถบถนนเก้าเส้ง ทอดยาวไปถึงชายหาดชลาทัศน์  บริเวณแหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา แนวต้นสนที่บางตาลง เห็นกระสอบทราย กองหิน ล้อยางรถยนต์วางกองเรียงรายบนฟุตบาธถนน เห็นป้ายประกาศเตือนขนาดเขื่องว่า “ระวังต้นสนล้มทับ” เดินลงไปสำรวจแนวชายหาดพบว่ามีการนำล้อยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้งานมารียงรายบริเวณแนวชายหาดและซ้อนทับด้วยกระสอบทราย  ภาพที่เห็นไม่แน่ใจว่าคือประติมากรรมหรือนวตกรรม ที่เกิดจากความรู้ ภูมิปัญญาหรือเป็นการทดลองเทคโนโลยีใหม่กันแน่ …
suchana
            ทันทีที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้นักธุรกิจและหอการค้า 5  จังหวัดชายแดนใต้เข้าพบ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาที่ทางหอการค้าต้องการ ซึ่งในวันนั้นนายกอภิสิทธิ์พูดชัดว่าหากก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล         และท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ตำบลนาทับ จ.สงขลา หากมีเพียงท่าเทียบเรืออย่างเดียวไม่คุ้มการลงทุน ต้องมีถนน โครงข่ายท่อน้ำมัน รางรถไฟ และอุตสาหกรรมโดยโยนเผือกร้อนใส่คนสงขลา ว่า “คนสงขลาต้องช่วยผมกำหนด…
suchana
            ช่วงวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมามีน้องๆเยาวชนในนามของกลุ่ม “โหมเรารักษ์จะนะ”ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาได้ร่วมกันจัดค่ายเยาวชนโหมเรารักษ์จะนะครั้งที่ 2 “ตามหาชายหาด...หายไป”ขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2552 ณ บ่อโชนรีสอร์ท ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากที่มีการจัดค่ายเยาวชนครั้งแรกไปเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เวลานั้นเป็นค่าย“ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ”             เช้าวันที่ 7…
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ  : ตอนที่ 2 ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ             น้องๆชาวค่ายตื่นกันตั้งแต่ ๐๕.๓๐ น. เบิกบานด้วยโยคะยามเช้าริมทะเล ฝึกลมหายใจเข้าออกสูดอากาศบริสุทธิ์เพื่อความผ่องแผ้วของชีวิต หลังอาหารเช้าน้องทุกคนกระตือรือร้นขึ้นรถเพื่อออกตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะจากสองวิทยากรเมื่อวานนี้  จุดแรกจะไปเรียนรู้เมืองเก่าที่บ้านเขาจันทร์ หมู่ที่๑๐  ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นจะตามรอยส้มจุกสายพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองจะนะ         …
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ ๑ ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ               ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่โรงเรียนต่างๆปิดภาคการเรียนการสอน  เด็กๆหลายคนมีกิจกรรมต่างๆมากมายระหว่างปิดภาคเรียน  แต่มีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งได้นั่งพุดคุยจนนำไปสู่การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนในช่วงเวลาแบบนี้ให้กับลูกหลานและเด็กๆในชุมชนค่ายโหมเรารักษ์จะนะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑  ณ บ่อโชนรีสอร์ท  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  โดยมีน้องๆเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่จากอำเภอจะนะ …
suchana
              จากเหตุการณ์ของเช้าวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศคงสลดใจกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลนายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  คงไม่มีใครอยากเห็นภาพคนไทยต้องฆ่าคนไทยด้วยกันเอง(เว้นเสียแต่นายทักษิณ  ชินวัตรที่คงสาแก่ใจ)            ภาพเหตุการณ์ในวันนั้นที่สื่อสารผ่านสื่อโทรทัศน์โดยเฉพาะTHAI TPS    ASTVและหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆในวันรุ่งขึ้น…
suchana
  ใครจะเชื่อว่าคนอย่างพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรและครอบครัวที่ร่ำรวยเงินทองและอำนาจอย่างมหาศาลต้องขึ้นศาลในคดีฉ้อโกงและคดีอื่นๆมากมาย    ใครจะคาดคิดว่าคนอย่างพลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์  อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต้องเดินเชิดหน้าขึ้นศาลจังหวัดสงขลาในฐาน "จำเลย" บุคคลทั้งสองได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของขบวนการต่อสู้ของพี่น้องภาคประชาชนในการคัดค้านโครงการยักษ์ใหญ่ กรณีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลานับช่วงเวลาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่  ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ จนถึงวันนี้ร่วมระยะเวลาห้าปีเศษ …
suchana
suchana
        ระยะเวลาช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ "ลานหอยเสียบ" เภอจะนะ  จังหวัดสงขลา เพราะลานหอยเสียบคือที่ตั้งของศูนย์คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและดรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย  ที่ทางกลุ่มคัดค้านปักหลักในการต่อสู้ และบริเวณดังกล่าวเดิมถูกกำหนดให้เป็นจุดขึ้นของแนวท่อส่งก๊าซจากทะเลอ่าวไทยขึ้นบนบก เมื่อทางกลุ่มได้ปักหลักต่อสุ้และตั้งเป็นศูนย์คัดค้านดังกล่าว ทางรัฐบาลสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตรจึงได้ประกาศเลื่อนจุดขึ้นของแนวท่อออกไป        "ลานหอยเสียบ" ตั้งอยู่ริมชายทะเลในพื้นที่ตำบลสะกอม …