Skip to main content

 

คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา  ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรณี ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล  จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 11 -12  มกราคม 2553  ประกอบด้วยนายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย             ประธานคณะกรรมาธิการฯ   นายสุรจิต  ชิรเวทย์       รองโฆษกคณะกรรมาธิการฯและคณะ

10.00 น.คณะกรรมาธิการฯได้เดินทางมายังบ้านสวนกง หมู่ที่ 7  ตำบลนาทับ  เพื่อดูสภาพพื้นที่ของชายหาดที่ยังอยู่สภาพที่ยังสมบูรณ์ เพื่อเปรียบเทียบกับสภาพชายหาดที่ถูกกัดเซาะไปในพื้นที่อื่นๆในจังหวัดสงขลา และพื้นที่ดังกล่าวกำลังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2  และเพื่อรับฟังปัญหาจากชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาการกัดเซาะชายหาดจากกรณีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นของกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีในพื้นที่ร่องน้ำปากคลองสะกอม

นายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย กล่าวว่า เนื่องจากได้รับการร้องเรียนประเด็นปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดสงขลา จึงได้นำเรื่องเข้าสู่กรรมาธิการวุฒิสภา และได้เชิญผู้ที่มีความรู้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อมาชี้แจงข้อมูล และในวันนี้ทางคณะลงมาเพื่อรับฟังปัญหาข้อเท็จจริงจากประชาชนในพื้นที่ ข้อมูลที่ได้จะจัดทำเป็นรายงานการศึกษาเสนอต่อรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาให้ถูกต้องและเป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนต่อไป

จากนั้นทางคณะได้รับฟังข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายชาดจากการสร้างคลื่นกันทรายและกันคลื่น

ตัวแทนชาวบ้านปากบาง หมู่ที่ 4 อดีตชายหาดสะกอมชายหาดที่สวยงาม มีทรายที่สวยงามคนอัมพาตในสมัยก่อนจะไปฝังทรายซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ สภาพชายหาดสะกอมธรรมชาติสรรสร้างอย่างสวยงาม ซึ่งการสรรสร้างของธรรมชาติไม่เคยทำร้ายประชาชน ไม่เคยทำลายธรรมชาติมีแต่มนุษย์ที่ไม่ขัดขวางการสรรสร้างของธรรมชาตินี่เป็นความคิดของชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง แม้จะฤดูมรสุมคลื่นอาจจะทำให้ชายหาดได้พังไป แต่โดยธรรมชาติคลื่นจะตกแต่งชายหาดให้มีความอุดมสมบูรณ์กว้างใหญ่ทวีขึ้นทุกๆปี ที่ผ่านมาหลังสร้างเขื่อนกันทรายที่บริเวณร่องน้ำปากคลองสะกอมทำให้บริเวณบ้านบ่อโชน บ้านโคกสักพังทลาย การสร้างเขื่อนไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนอย่างที่รัฐบาลคิดคิดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน การสร้างเขื่อนเป็นการแก้ปัญหาโดยกลุ่มหนึ่งได้ประโยชน์ แต่อีกกลุ่มหนึ่งจะเสียประโยชน์ ทำให้ชุมชนมีความขัดแย้งทางความคิดกัน  แม้สร้างเขื่อนกันทรายทุกกรมขนส่งทางน้ำฯมีการขุดลอกปากร่องน้ำทุกปี ต้องเสียงบประมาณทุกปีทั้งที่มีการทำเขื่อนแล้ว สมัยก่อนที่จะมีการสร้างเขื่อนไม่มีการขุดลอกร่องน้ำปากคลองในช่วงมรสุมพี่น้องในพื้นที่จะช่วยกันเข็นเรือออกไปทะเลเป็นวัฒนธรรมการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  และไม่มีการสร้างปัญหาการกัดเซาะให้กับพื้นที่อื่นๆ

            

 

ตัวแทนชาวบ้านโคกสัก หมู่ที่ 6 ต.สะกอม กล่าวว่า สภาพชายหาดต.สะกอมในอดีตก่อนการสร้างเขื่อนชายทะเลจะเป็นลักษณะหาด 2 ชั้น หาดหนึ่ง หาดสอง แต่พอสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณปากน้ำสะกอมชายหาดจะหายไป จะมีเฉพาะการกัดเซาะในแต่ละปีจะไม่มีการงอกของชายหาดอีกเลยในส่วนตำบลสะกอม   ตอนนี้วิตกกังวลที่สุดจากเดิมบ้านโคกสักห่างจากทะเล 100 เมตร ปัจจุบันเหลือไม่ถึง 50 เมตร จาก 10 ปีที่มีการสร้างเขื่อน อดีตก่อนการสร้างเขื่อนจะมีการกัดเซาะปีละ 1-2 เมตร บางปีจะไม่กัดเซาะและมีการงอกของชายหาดสวยงามมาก เด็กๆในตำบลสะกอมได้เป็นวิ่งเล่น  จากกการสังเกตตลอดระยะเวลา 10 หลังสร้างเขื่อนปลาหลายชนิดและกุ้งเคยหายไป  ในอ่าวบริเวณนั้น เวลานี้มีลักษณะเป็นโคลนถึงหัวเข่า การแก้ปัญหาในการเอาเงินมาถมคิดว่าไม่มีความเหมาะสมกับชายหาดที่ถูกกัดเซาะไป การทำเขื่อนกันคลื่น(ตัวที)นั้นไม่คุ้มค่ากับงบประมาณครั้งละ 200-300 ล้านบาท เป็นการลงทุนแก้ปัญหาแล้วไม่เกิดผล จริงๆมีตัวอย่างให้เห็นในอำเภอเทพาพื้นที่ใกล้เคียงตำบลสะกอมมีเกาะขาม ซึ่งเป็นเกาะธรรมชาติขนาดใหญ่ยังไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะได้  แล้วกรมขนส่งทางน้ำฯเอาหินมาทิ้งในทะเลทำลักษณะเป็นเกาะเชื่อว่าแก้ปัญหาไม่ได้  วิธีที่ดีสุดในเวลานี้คือที่ทำไปแล้วขอให้หยุดการก่อสร้างไว้ก่อน  อย่าไปกีดขวางทะเลยิ่งทำยิ่งกัดเซาะเห็นจากทั่วประเทศที่ทำตัวทีแล้วไม่ได้ผลเลยทุกแห่งป้องกันได้ด้านเดียว อีกด้านหนึ่งกัดเซาะไม่คุ้ม เพราะเป็นการใช้งบประมาณแผ่นดินในการแก้ไขปัญหาแล้วไม่เกิดผล พูดถึงชายชายหาดที่ถูกกัดเซาะไปในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท  หากคิดค่าความเสียหายปีละเท่าไรแล้วหากลงทุนแล้วไม่เกิดผลเป็นลงทุนเป็น 100 ล้านคิดว่าไม่คุ้มค่า

ตัวแทนชาวบ้านบ่อโชน หมู่ที่ 7 ต.สะกอม  ในตำบลสะกอมทั้งที่ก่อนหน้านี้เป็นชายหาดที่สวยงามแต่เริ่มมีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นในปี 2539 แล้วเสร็จในปี2540  หลังการสร้างเขื่อนทำให้เกิดปัญหาการกัดเซาะชายหาดอย่างรุนแรง และทำให้วิถีประมงพื้นบ้านริมชายหาดเปลี่ยนแปลงไปมาก การปลาริมหาดหายไปเพราะน้ำลึกขึ้น ไม่มีชายหาดให้ปลาวางไข่ โดยเฉพาะที่สูญหายคือเต่าทะเลทั้งที่ก่อนหน้าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมีนาคมเต่าจะขึ้นมาวางไข่แต่หลังสร้างเขื่อนเต่าหายไปเลย การแก้ไขปัญหาในปัจจุบันไม่ควรทำอะไรเพิ่มเติมในทะเลเป็นดีที่สุด ไม่ว่าพื้นที่ใดๆปล่อยให้เป็นธรรมชาติให้คลื่นแต่งหาดตามฤดูกาลอดีตการกัดเซาะชายหาดมีเป็นปกติในช่วงมรสุมพอช่วงฤดูแล้งคลื่นจะแต่งชายหาดให้เหมือนเดิม แต่หลังจากที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายชายหาดด้านหนึ่งงอกและอีกด้านหนึ่งหายไปอย่างต่อเนื่อง  ที่สำคัญก่อนการก่อสร้างทางกรมขนส่งทางน้ำฯไม่ได้ชี้แจง ไม่เคยทำเวทีสาธารณะว่าจะเกิดผลกระทบดังกล่าวทั้งที่มีการศึกษาแล้วว่าจะมีผลกระทบ สร้างจะเกิดผลกระทบ 20 ปีแต่นี่เพียง 10 ปียังสร้างผลกระทบอย่างมาก 

มีแนวโน้มว่าจะมีการสร้างเขื่อนกันทรายและกันคลื่นตลอดแนวทะเลอ่าวไทย เพราะทำตัวหนึ่งกัดเซาะและทำต่อๆไปก็จะกัดเซาะไป  ถามว่า งบประมาณก็เสียไป  แผ่นดินก็เสียไปถามว่าประเทศไทยพัฒนาแบบนี้จะคุ้มทุนไหม  

อยากให้กรรมาธิการตรวจสอบรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าทำแบบนี้ประเทศชาติคุ้มทุนไหม มีชาวบ้านบางส่วนฟ้องกรมขนส่งทางน้ำฯเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่ถูกทาง ซึ่งกรมขนส่งทางน้ำฯมีการพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของแนวกันทรายและกันคลื่นในรูปแบบของเขื่อนใต้น้ำที่อ้างว่าเป็นรูปแบบปะการังเทียมนั้นขอยืนยันว่าการทำรูปแบบเช่นนั้น  เป็นอันตรายกับชาวประมงพื้นบ้านเป็นขนาดเล็กอย่างมาก เพราะเรือประมงสามารถวิ่งชนและปิดช่องทางทำให้เรือประมงพื้นบ้านไม่สามารถเอาเรือเข้าออกได้  แม้ทางกรมขนส่งฯจะอ้างว่าต่างประเทศก็ทำรูปแบบเช่นนี้  ขอยืนยันว่าที่นี่เมืองไทย จะลอกรูปแบบมาใช้ไม่ได้  เพราะต่างประเทศไม่มีเรือประมงขนาดเล็กแบบบ้านเรา ต่างประเทศเป็นเรือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่

                                

และตัวแทนชาวบ้านสวนกง หมู่ที่ ๗ ต.นาทับ ให้ข้อมูลต่อทางคณะกรรมาธิการว่า ชายหาดบ้านสวนกงเป็นชายหาดที่ยังอุดมสมบูรณ์ แต่ในอนาคตความอุดมสมบูรณ์กำลังจะเลือนหายเพราะกรมขนส่งทางน้ำฯกำลังจะมีโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ที่บริเวณนี้ หากเป็นเช่นนั้นจริงชายหาดที่สวยงาม       และอุดมสมบูรณ์คงหมดไปที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่สวนกงไม่เคยอดอยาก เพราะมีอาหารทะเลที่สมบูรณ์ สามารถพึ่งตนเองด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายพอเพียง ที่ผ่านมาชาวบ้านสวนกงไม่เคยทำลายทรัพยากรธรรมชาติและชายหาด มีแต่นักการเมืองและนายทุนที่เข้ามาทำลาย ซึ่งตามแบบของการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกต้องมีการสร้างแนวกันคลื่นถึงจำนวน 15 ตัว ยาวขนานไปกับแนวชายหาดระยะทางยาวประมาณ 5 กิโลเมตร เพื่อป้องกันแนวกันตัวท่าเทียบเรือไว้ ซึ่งการสร้างแนวกันคลื่นยาวยอมส่งผลต่อการกัดเซาะชายหาดอย่างแน่นอนในลักษณะเว้าเป็นเสี้ยวพระจันทร์ จะส่งผลกระทบต่ออาชีพประมงอย่างแน่นอน และจะมีการโยกย้ายชาวบ้านออกจากพื้นที่เพื่อเอามาสร้างท่าเรือน้ำลึก

จนกระทั่งเวลา 11.00 น.ได้เดินทางต่อไปยังบ่อโชนรีสอร์ท ม.7 ต.สะกอม เพื่อรับฟังปัญหาจากตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล  ตัวแทนองค์การบริหารส่วนจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งชาวบ้านและตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบล ที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เกิดความเข้าใจผิดคิดว่าคณะกรรมาธิการฯจะมาทำการรื้อเขื่อนกันทรายและกันคลื่น  เพราะมีการปล่อยกระแสดังกล่าว  จึงค่อนข้างแสดงท่าทีไม่เป็นมิตรกับทางกรรมาธิการ จนทางคณะกรรมาธิการต้องชี้แจงทำความเข้าใจกับทางชาวบ้าน ชาวบ้านจึงเกิดความเข้าใจบทบาทของกรรมาธิการว่าเพียงมาศึกษาพื้นที่ว่ามีปัญหาจริงหรือไม่และปัญหาการกัดเซาะรุนแรงเพียงใดแล้ว มาเพื่อรับฟังข้อมูลทุกฝ่ายเพื่อประกอบกับหลักทฤษฎีที่ทางคณะกรรมาธิการได้ศึกษาข้อมูลไว้แล้ว และไม่ได้มาเพื่อสั่งให้รื้อเขื่อน จึงอยากให้ทุกฝ่ายให้ข้อมูลโดยสุจริตใจและไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะชายหาดเป็นสมบัติของแผ่นดินที่ทุกคนควรจะรักษา

นายสมชาย สุมนัสขจรกุล ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะด้านฯรักษาการผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรม กรมเจ้าท่า ซึ่งสังกัดส่วนกลางที่กรุงเทพมหานคร  ชี้แจงข้อมูลว่า ปัญหาการกัดเซาะชายหาดมีทั่วประเทศ ปัญหาเกิดจากโลกร้อนและและปัญหาของการวางผังเมือง ที่ไม่มีการจัดโซนนิ่งพื้นที่เกี่ยวกับกิจกรรมของมนุษย์ที่อยู่ใกล้ชายหาด เช่น รีสอร์ท หลังจากที่กรมขนส่งทางน้ำฯถูกฟ้องศาลปกครองจังหวัดสงขลา  จึงตั้งงบประมาณ 7 ล้านบาททำการศึกษาโมเดลการแก้ปัญหาที่รับกันได้  อะไรที่ไม่สวยไม่เหมาะสม เขื่อนแบบไหนที่จะเป็นทางเลือก แต่เนื่องจากการตั้งงบประมาณดังกล่าวไม่ได้รวมถึงการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งกฎหมายระบุไว้ตาม หากนำงบประมาณดังกล่าวมาทำการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมก็จะไม่มีงบประมาณในการก่อสร้าง และกล่าวว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการรื้อเขื่อนที่สร้างแล้วคงเป็นไปได้ยาก  ปัจจุบันมีการพยายามวางแผนที่จะทำการย้ายทรายจากด้านที่งอกมาทดแทนด้านที่กัดเซาะ ซึ่งคาดว่าในปี 2553 น่าจะเริ่มได้ในตำบลสะกอม จ.สงขลาและจะดำเนินการในพื้นที่อื่นต่อไปในอนาคต

นายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย  กล่าวหลังจากการลงพื้นที่ว่า  การกัดเซาะชายหาดเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศในเวลานี้ ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเล ทำให้ทิศทางน้ำถูกกีดขวาง ธรรมชาติของน้ำมีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่เคยหยุดนิ่ง การสร้างเขื่อนป้องกันจุดหนึ่งได้แต่ไปกัดเซาะอีกหลายจุด ทำให้สภาพชายหาดแปรสภาพเว้าแหว่งตลอดแนว การแก้ไขปัญหาเราต้องเข้าใจระบบธรรมชาติกันใหม่ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการสร้างสิ่งกีดขวางใต้ทะเล เช่น การทำเขื่อนใต้น้ำในลักษณะปะการังเทียม เป็นการปิดกันระบบการถ่ายเทเม็ดทรายในชาดหาด โดยหลักเม็ดทรายมีการถ่ายเทตลอดเวลา ดังนั้นการสร้างสิ่งปลูกสร้างในทะเลควรทบทวน

การปัญหาของหน่วยราชการ ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและขาดการบูรณาการ ความรู้  ประสบการณ์และความคิดทั้งระดับส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น คล้ายอยู่ในเรือลำเดียวกันแต่ต่างคนต่างพาย ไม่มีเป้าหมายเดียวกัน อยากเสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจปัญหาอย่างจริงจัง จากการลงพื้นที่มีปัญหาหลายแห่งแต่ไม่มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องลงมาแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ขาดการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทำงานร่วมกันและขาดการฟังชาวบ้าน ซึ่งปัญหาของชายหาดนอกจากมีปัญหาผลกระทบทางระบบนิเวศกายภาพแล้วยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวประมงพื้นบ้าน

 

               

บล็อกของ suchana

suchana
  คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา  ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกรณี ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล  จังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 11 -12  มกราคม 2553  ประกอบด้วยนายสุรชัย  เลี้ยงบุญเลิศชัย             ประธานคณะกรรมาธิการฯ   นายสุรจิต  ชิรเวทย์       รองโฆษกคณะกรรมาธิการฯและคณะ 10.00 น.คณะกรรมาธิการฯได้เดินทางมายังบ้านสวนกง หมู่ที่ 7  ตำบลนาทับ  เพื่อดูสภาพพื้นที่ของชายหาดที่ยังอยู่สภาพที่ยังสมบูรณ์…
suchana
                                      ท่ามกลางสถานการณ์ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตลอดทั้งแนวตั้งแต่จังหวัดนราธิวาสถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี  คนรักและผูกพันกับชายหาดในจังหวัดสงขลา จึงร่วมกันจัดกิจกรรมคิดถึงเธอ...ชายหาดขึ้น เพื่อพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ศูนย์เรียนรู้วิถีธรรมชาติเพื่อชุมชน ตำบลบ้านนา ร่วมกับ  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้(กป.อพช.ใต้) สมาคมดับบ้านดับเมือง …
suchana
                เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมามีโอกาสเดินทางไปแถบถนนเก้าเส้ง ทอดยาวไปถึงชายหาดชลาทัศน์  บริเวณแหลมสมิหลา จังหวัดสงขลา แนวต้นสนที่บางตาลง เห็นกระสอบทราย กองหิน ล้อยางรถยนต์วางกองเรียงรายบนฟุตบาธถนน เห็นป้ายประกาศเตือนขนาดเขื่องว่า “ระวังต้นสนล้มทับ” เดินลงไปสำรวจแนวชายหาดพบว่ามีการนำล้อยางรถยนต์เก่าที่ไม่ใช้งานมารียงรายบริเวณแนวชายหาดและซ้อนทับด้วยกระสอบทราย  ภาพที่เห็นไม่แน่ใจว่าคือประติมากรรมหรือนวตกรรม ที่เกิดจากความรู้ ภูมิปัญญาหรือเป็นการทดลองเทคโนโลยีใหม่กันแน่ …
suchana
            ทันทีที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยให้นักธุรกิจและหอการค้า 5  จังหวัดชายแดนใต้เข้าพบ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาที่ทางหอการค้าต้องการ ซึ่งในวันนั้นนายกอภิสิทธิ์พูดชัดว่าหากก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล         และท่าเทียบเรือน้ำลึกที่ตำบลนาทับ จ.สงขลา หากมีเพียงท่าเทียบเรืออย่างเดียวไม่คุ้มการลงทุน ต้องมีถนน โครงข่ายท่อน้ำมัน รางรถไฟ และอุตสาหกรรมโดยโยนเผือกร้อนใส่คนสงขลา ว่า “คนสงขลาต้องช่วยผมกำหนด…
suchana
            ช่วงวันหยุดเข้าพรรษาที่ผ่านมามีน้องๆเยาวชนในนามของกลุ่ม “โหมเรารักษ์จะนะ”ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาได้ร่วมกันจัดค่ายเยาวชนโหมเรารักษ์จะนะครั้งที่ 2 “ตามหาชายหาด...หายไป”ขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2552 ณ บ่อโชนรีสอร์ท ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากที่มีการจัดค่ายเยาวชนครั้งแรกไปเมื่อปีกลายที่ผ่านมา เวลานั้นเป็นค่าย“ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ”             เช้าวันที่ 7…
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ  : ตอนที่ 2 ตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะ             น้องๆชาวค่ายตื่นกันตั้งแต่ ๐๕.๓๐ น. เบิกบานด้วยโยคะยามเช้าริมทะเล ฝึกลมหายใจเข้าออกสูดอากาศบริสุทธิ์เพื่อความผ่องแผ้วของชีวิต หลังอาหารเช้าน้องทุกคนกระตือรือร้นขึ้นรถเพื่อออกตามรอยเรื่องเล่าเมืองจะนะจากสองวิทยากรเมื่อวานนี้  จุดแรกจะไปเรียนรู้เมืองเก่าที่บ้านเขาจันทร์ หมู่ที่๑๐  ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หลังจากนั้นจะตามรอยส้มจุกสายพันธุ์ดั้งเดิมของเมืองจะนะ         …
suchana
  ค่ายโหมเรารักษ์จะนะ : ตอนที่ ๑ ตามรอยประวัติศาสตร์เมืองจะนะ               ช่วงเดือนตุลาคมเป็นช่วงที่โรงเรียนต่างๆปิดภาคการเรียนการสอน  เด็กๆหลายคนมีกิจกรรมต่างๆมากมายระหว่างปิดภาคเรียน  แต่มีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งได้นั่งพุดคุยจนนำไปสู่การจัดกิจกรรมค่ายเยาวชนในช่วงเวลาแบบนี้ให้กับลูกหลานและเด็กๆในชุมชนค่ายโหมเรารักษ์จะนะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑  ณ บ่อโชนรีสอร์ท  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลา  โดยมีน้องๆเยาวชนจากหลากหลายพื้นที่จากอำเภอจะนะ …
suchana
              จากเหตุการณ์ของเช้าวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๑ เชื่อว่าคนไทยทั้งประเทศคงสลดใจกับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลนายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  คงไม่มีใครอยากเห็นภาพคนไทยต้องฆ่าคนไทยด้วยกันเอง(เว้นเสียแต่นายทักษิณ  ชินวัตรที่คงสาแก่ใจ)            ภาพเหตุการณ์ในวันนั้นที่สื่อสารผ่านสื่อโทรทัศน์โดยเฉพาะTHAI TPS    ASTVและหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับต่างๆในวันรุ่งขึ้น…
suchana
  ใครจะเชื่อว่าคนอย่างพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรและครอบครัวที่ร่ำรวยเงินทองและอำนาจอย่างมหาศาลต้องขึ้นศาลในคดีฉ้อโกงและคดีอื่นๆมากมาย    ใครจะคาดคิดว่าคนอย่างพลตำรวจเอกสันต์ ศรุตานนท์  อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต้องเดินเชิดหน้าขึ้นศาลจังหวัดสงขลาในฐาน "จำเลย" บุคคลทั้งสองได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของขบวนการต่อสู้ของพี่น้องภาคประชาชนในการคัดค้านโครงการยักษ์ใหญ่ กรณีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย  อำเภอจะนะ  จังหวัดสงขลานับช่วงเวลาจากเหตุการณ์เมื่อวันที่  ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๕ จนถึงวันนี้ร่วมระยะเวลาห้าปีเศษ …
suchana
suchana
        ระยะเวลาช่วง 10 ปีที่ผ่านมาหลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ "ลานหอยเสียบ" เภอจะนะ  จังหวัดสงขลา เพราะลานหอยเสียบคือที่ตั้งของศูนย์คัดค้านโครงการท่อส่งก๊าซและดรงแยกก๊าซธรรมชาติไทย-มาเลเซีย  ที่ทางกลุ่มคัดค้านปักหลักในการต่อสู้ และบริเวณดังกล่าวเดิมถูกกำหนดให้เป็นจุดขึ้นของแนวท่อส่งก๊าซจากทะเลอ่าวไทยขึ้นบนบก เมื่อทางกลุ่มได้ปักหลักต่อสุ้และตั้งเป็นศูนย์คัดค้านดังกล่าว ทางรัฐบาลสมัยพ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตรจึงได้ประกาศเลื่อนจุดขึ้นของแนวท่อออกไป        "ลานหอยเสียบ" ตั้งอยู่ริมชายทะเลในพื้นที่ตำบลสะกอม …