Skip to main content

การพัฒนาบนคราบน้ำตาคนชายขอบ


ในอดีตอันยาวไกลของแม่น้ำสายนี้เคยไหลอย่างอิสระมาตลอด แต่แม่น้ำนานาชาติสายสำคัญแห่งนี้อาจมิได้ไหลอย่างอิสระต่อไปอีกแล้ว เพราะปัจจุบันแม่น้ำสายนี้ได้ถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่ในแผนพัฒนาต่างๆ แผนพัฒนาที่สำคัญ คือแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้า โดยเฉพาะกับประเทศไทย แม่น้ำสาละวินกลายเป็นแม่น้ำยุทธศาสตร์สำคัญสายหนึ่งที่น้ำในแม่น้ำจะถูกนำมาแปรเป็นกระแสไฟฟ้า


ภายใต้วาทะกรรมของนักพัฒนาที่ว่า

พื้นที่ชายขอบของประเทศมีคนอยู่น้อย และผู้ที่ได้รับผลกระทบย่อมมีส่วนน้อยเช่นกัน


บนวาทะกรรมเช่นนี้ กรอบแนวคิดการพัฒนาบนคราบน้ำตาของคนชายขอบจึงเกิดขึ้น นอกจากแม่น้ำสาละวิน จะมีโครงการก่อสร้างเขื่อนแล้ว แม่น้ำสาขาหลายสายก็ถูกหมายปองเช่นกัน


ทำไมนักลงทุนที่มาในคราบนักสร้างเขื่อนจึงลงความเห็นว่า แม่น้ำสาละวิน เป็นพื้นที่ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน หากเราได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวิน ในด้านต่างๆ แล้ว เราจะพบว่า ในทางภูมิประเทศ และข้อมูลทางอุทกศาสตร์แล้ว แม่น้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำที่มีความสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีพื้นที่รองรับน้ำกว้าง รวมทั้งสองฝั่งน้ำยังเป็นโตรกหินผา และแม่น้ำสาละวินก็มีความกว้างไม่มากนัก ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม แม่น้ำสาละวินจึงเอื้อต่อการก่อสร้างเขื่อน


หากลองนับไล่เลียงโครงการพัฒนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนลุ่มน้ำสาละวินจะพบว่า บนแม่น้ำสายนี้ไม่ได้มีเพียงโครงการสร้างเขื่อนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีโครงการผันน้ำสาละวินรวมอยู่ด้วย


โดยโครงการผันน้ำมีแนวคิดหลักอยู่ที่การผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวิน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โดยโครงการนี้เกิดขึ้นในปี พ..๒๕๒๒ โดยผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)


ซึ่งในรายละเอียดของโครงการมีทั้งการผันน้ำจากแม่น้ำโขงได้พัฒนามาเป็นโครงการผันน้ำกก-อิง-ยม-น่าน และกก-อิง-น่าน ส่วนโครงการผันน้ำบนลุ่มน้ำสาละวิน มีขอบเขตครอบคลุมพื้นที่น้ำสาขาของแม่น้ำสาละวินคือ น้ำปาย น้ำยวม น้ำเมย น้ำแม่ละเมา โดยเป้าหมายหลักของโครงการทั้งหมดคือ การนำน้ำจากลุ่มน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงลงไปเติมให้กับแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุผลของการเกิดขึ้นของโครงการนี้ก็คือ น้ำในภาคกลางไม่พอใช้ในภาคส่วนต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรม และการเกษตร แต่แนวคิดเช่นนี้ก็ไดละเลยที่จะมองคนท้องถิ่นผู้อยู่ในพื้นที่ของโครงการ เพราะโครงการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น คนท้องถิ่นบางส่วนต้องเป็นผู้เสียสละที่ดิน เพื่อให้ท่อส่งน้ำผ่าน และที่สำคัญผลประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้ ไม่ได้กลับมาถึงคนท้องถิ่นผู้อยู่ในพื้นที่ของโครงการ


นอกจากในลุ่มน้ำสาละวิน จะมีโครงการผันน้ำแล้ว ในลุ่มน้ำสาละวิน ตอนล่างยังมีโครงการเขื่อนจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน ทั้งในน้ำสาขา และบนแม่น้ำสาละวิน จากข้อมูลที่บางส่วนได้รับการเปิดเผยจากเจ้าของโครงการพบว่า เขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ตอนล่างมีทั้งหมด ๔ เขื่อนคือ เขื่อนท่าซาง เขื่อนเว่ยจี เขื่อนดา-กวิน เขื่อนฮัตจี และมีอีก ๑ เขื่อนในแม่น้ำตะนาวศรี ส่วนแม่น้ำสาละวินตอนบนที่ประเทศจีนมีโครงการสร้างเขื่อนทั้งหมดอีก ๑๓


เมื่อเขื่อนทั้งหมดบนแม่น้ำสาละวิน ตอนล่างตามแผนที่วางไว้ก่อสร้างแล้วเสร็จ เขื่อนทั้งหมดจะมีกำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ ๑๕,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็น ๑๐ เท่าของปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในประเทศพม่า ที่สำคัญกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้ามาในประเทศไทย


โดยโครงการหลักของการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ตอนล่างนั้น สามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ โครงการเขื่อนในรัฐฉาน โครงการเขื่อนบนพรมแดนไทย-พม่าในรัฐกะเหรี่ยง


โครงการเขื่อนในรัฐฉานคือ การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ในเขตรัฐฉาน โครงการนี้มีมาตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ และในปลายปี ๒๕๔๑ ก็มีความคืบหน้าในดำเนินการก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐฉานมากขึ้น


เขื่อนในเขตรัฐฉานสามารถแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อยคือ โครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้า ๒ แห่งที่ Baluchaung และโครงการเขื่อนกั้นแม่น้ำปอน ซึ่งเป็นแม่น้ำสาขาสายหลักของแม่น้ำสาละวิน ในเขตรัฐฉาน ส่วนโครงการเขื่อนที่สำคัญในเขตรัฐฉานคือ โครงการเขื่อนท่าซาง ซึ่งเป็นเขื่อนที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฉานใกล้กับท่าเรือท่าซาง อ่างเก็บน้ำของเขื่อนมีระดับกักเก็บน้ำสูงสุดประมาณ ๓๒๐-๓๗๐ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางมีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาดระหว่าง ๑,๕๐๐-,๐๐๐ เมกกะวัตต์ เขื่อนแห่งนี้ถือว่าเป็นเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดบนลุ่มน้ำสาละวิน สันเขื่อนมีด้วยความสูง ๒๒๘ เมตร ในช่วงปี ๒๕๓๙-๒๕๔๑


นอกจากจะมีเขื่อนท่าซางแล้ว ใต้เขื่อนท่าซางลงมายังมีเขื่อนลูก เพื่อควบคุมน้ำที่ถูกปล่อยออกมาจากเทอร์ไบน์ ๑๖ ชั่วโมงต่อวัน และ๖ วันต่อสัปดาห์ ในช่วงที่มีการศึกษาโครงการนั้น กองทัพพม่าได้บังคับอพยพประชาชนในพื้นที่การก่อสร้างเขื่อนถึง ๓ แสนคนให้ออกนอกพื้นที่


เขื่อนเว่ยจี หรือเขื่อนสาละวิน ชายแดนตอนบน พื้นของโครงการตั้งอยู่บริเวณวังน้ำวนขนาดใหญ่ของเมืองพะปูน รัฐกะเหรี่ยง ตรงข้ามกับอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาด ๔,๐๐-,๖๐๐ เมกกะวัตต์ ความสูงของเขื่อน ๒๒๐ เมตร ถึงแม้ว่าเขื่อนเว่ยจี จะอยู่ที่รัฐกะเหรี่ยง แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำก็จะท่วมถึงรัฐคะเรนนี และที่สำคัญก็จะมีหมู่บ้านหลายหมู่บ้านที่อยู่ทางฝั่งประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนนี้ด้วย


เขื่อนดา-กวิน หรือสาละวินชายแดนตอนล่างมีกำลังผลิตไฟฟ้าติดตั้งขนาด ๕๐๐-๙๐๐ เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ใกล้บ้านท่าตาฝั่ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน อ่างเก็บน้ำของเขื่อนแห่งนี้จะยาวไปจนจรดฐานของเขื่อนบน คือเขื่อนเว่ยจี


เขื่อนฮัตจี อยู่ในรัฐกะเหรี่ยง พื้นที่โครงการอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดตาก เขื่อนตั้งอยู่ท้ายน้ำจากชายแดนไทย-พม่าห่างจากบ้านสบเมย ตามลำน้ำลงไปในประเทศพม่าประมาณ ๔๐-๕๐ กิโลเมตร เขื่อนฮัตจี เป็นโครงการที่มีการผลักดันมากที่สุดในขณะนี้ โดย กฟผ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOA)กับกรมไฟฟ้าพลังน้ำพม่า ในการร่วมทุน และล่าสุดได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับบริษัท Sinohydro รัฐวิสาหกิจของจีน เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๙ รายงานข่าวระบุว่า กฟผ. จะกู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากประเทศจีนเพื่อลงทุนสร้างเขื่อนแห่งนี้ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว ๓,๘๐๐ ล้านบาท


เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ระดับเก็บกักน้ำของเขื่อนอยู่ที่ประมาณ ๔๘ เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นข้อมูลที่คาดการณ์เท่านั้น ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน ทั้งนี้ กฟผ. ระบุว่า เขื่อนกักเก็บน้ำอยู่ที่ระดับ ๔๘ มรทก. น้ำจึงจะไม่ท่วมในประเทศไทย พื้นที่อ่างเก็บน้ำจะท่วมเฉพาะในเขตพม่า


ปัจจุบันโครงการเขื่อนแห่งอยู่ในระหว่างการทำการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จคาดว่าเขื่อนแห่งนี้จะกำลังในการผลิตไฟฟ้าอยู่ในระดับ ๖๐๐-,๒๐๐ เมกกะวัตต์


เมื่อย้อนกลับไปที่กระบวนการตัดสินใจดูเหมือนว่า กระบวนการตัดสินใจทั้งหมดดำเนินไปอย่างเร่งรีบและรวบรัด ในขณะที่สถานะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นบริษัทมหาชน เมื่อลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับกรมไฟฟ้าพลังน้ำของพม่า ในการสร้างเขื่อนฮัตจี แต่ต่อมาศาลปกครองได้มีคำพิพากษาให้ยกเลิกแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นบริษัทมหาชน จนถึงบัดนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่า บันทึกข้อตกลงดังกล่าวยังมีผลผูกพันหรือไม่อย่างไร แต่ กฟผ. ยังคงเดินหน้าโครงการโดยลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบริษัทไซโนไฮโดร 


ในส่วนการพัฒนาแม่น้ำสาละวินตอนบน นั้นมีรายงานล่าสุดว่า มีบริษัท ๔ แห่งในจีนได้แก่ บริษัท China Huadian Corp. บริษัท Yunnan Development Investment Co. บริษัท Yunnan Electricity Group's Hydropower Consrtuction Co. และบริษัท Yunnan Nu River Electricity Group ได้ร่วมกันลงนามตั้งบริษัทใหม่ชื่อ Yunnan Huadian Nu River Hydropower Development Co. เพื่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำนู-แม่น้ำสาละวินตอนบน ในเขตประเทศจีน โดยมีนาย Qin Huadian-rong รองเลขาคณะกรรมการจังหวัดยูนานเข้าร่วมในพิธีลงนาม บริษัทที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้จะรับผิดชอบด้านการเงิน และการก่อสร้างเขื่อน เพื่อผลิตไฟฟ้าบนแม่น้ำสาละวินตอนบน ๑๑ แห่ง โดยสถานีผลิตไฟฟ้าแห่งแรกที่จะสร้างมีชื่อว่า Liuku มีกำลังผลิต ๑๘๐ เมกกะวัตต์


บริษัทร่วมที่ตั้งขึ้นมาใหม่นี้ จะเร่งให้เกิดการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าบนแม่น้ำสาละวินตอนบน และเตรียมโครงการสร้างเขื่อน Luiku รวมถึงการออกแบบโครงการเขื่อนอื่นๆ ในชุดเดียวกันคือ Maji, Bijing, Abiluo และ Lushui อย่างน้อย ๒ แห่งในช่วงแผนพัฒนาแห่งชาติแผน ๑๑ในระยะ ๕ ปี ขณะนี้สถาบันสำรวจและออกแบบพลังงานน้ำคุนหมิง (Kunming Hydropower Surveying and Design Institute) ได้จัดทำรายงานการศึกษาเพิ่มเติมของการศึกษาเบื้องต้น สำหรับโครงการเขื่อน Luiku เสร็จแล้ว


และขั้นตอนต่อไปก็อยู่ในระหว่างทำการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับกำลังผลิตติดตั้ง คาดว่าโครงการเขื่อนทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายใน ๒๐ ปี โดยคาดว่าโครงการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวประหยัดต้นทุน และให้ผลตอบแทนสูง    


สงครามที่เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อในพม่า ส่งผลให้ชนชาติพันธุ์หลายล้านคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ และอีกจำนวนมากที่หลบหนีเข้ามาฝั่งไทย โดยมีมากกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน ที่พักอาศัยตามแหล่งพักพิงชั่วคราวตามแนวพรมแดนไทยพม่า ผู้ลี้ภัยจำนวนมากมาจากพื้นที่ที่มีการวางแผนสร้างเขื่อน นับตั้งแต่ต้นปี ๒๕๔๙ เป็นต้นมา กองทัพพม่าดำเนินการกวาดล้างอย่างรุนแรงในรัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นเขตที่จะมีการสร้างเขื่อน ๓ จาก ๕ เขื่อน มีรายงานว่าทหารพม่าละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ ทั้งเผาทำลายหมู่บ้าน บังคับอพยพ และสังหาร ส่งผลให้เกิดผู้พลัดถิ่นภายในประเทศแล้วอย่างน้อย ๑๖,๐๐๐ คน และชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากอพยพเข้าสู่ไทยในฐานะผู้หนีภัยความตาย


นอกจาก กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ ในฝั่งพม่าจะไดรับความเดือดร้อนจากการสร้างเขื่อนและสงครามแล้ว พวกเขาก็ไม่เคยได้รับรู้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลของโครงการที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่เลย ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ได้แตกต่างจากฝั่งไทยเท่าใดนัก เพราะสำหรับฝั่งไทย ชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอย่างน้อย ๕๐ ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งจะเป็นประชาชนกลุ่มแรกที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างเขื่อน แต่ชาวบ้านเหล่านี้ยังไม่ได้รับข้อมูลโครงการแต่อย่างใด


แม้ในปัจจุบัน จะมีรายงานข่าว หรือแม้กระทั่งบทความเกี่ยวกับสาละวินอยู่จำนวนมาก ซึ่งในรายงานหลายๆ ชิ้นนั้นต่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกกล่าวกับสังคมทั่วไปว่า ตามริมฝั่งน้ำสาละวิน มีชาวบ้านอาศัยอยู่จำนวนมาก และเมื่อมีเขื่อน ชาวบ้านเหล่านี้จะเป็นผู้ได้รับผลกระทบมากที่สุด


โดยเฉพาะในรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนี ซึ่งคนจำนวนไม่น้อยในทั้ง ๓ รัฐที่กล่าวมามีผู้พลัดถิ่นภายในประเทศอาศัยหลบซ่อนอยู่ตามริมแม่น้ำสาละวิน จำนวนไม่น้อย ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว พวกเขาเหล่านี้น่าจะไดรับทราบข้อมูลของโครงการทั้งหมด หรือแม้แต่การปรึกษาหารือว่าโครงการเหล่านี้จะส่งผลอะไรต่อชีวิตของชาวบ้านบ้าง ถ้าถามว่าคุ้มไหมที่รัฐบาลไทยจะเอาชื่อเสียงของประเทศไปเสี่ยงต่อการถูกรุมประณามจากนานาชาติในข้อหาร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จทหารพม่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อยในนามของการพัฒนา


พวกเราในสังคมส่วนใหญ่ถูกทำให้เชื่อตลอดมาว่า เขื่อนคือคำตอบสุดท้ายของทุกคำถามในการจัดการน้ำ และการกำเนิดพลังงานไฟฟ้า หรือแม้แต่เวลาน้ำท่วมหน่วยงานรัฐก็ทำให้ประชาชนคิดเพียงแค่ว่าเราต้องสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำในการป้องกันน้ำท่วม ซึ่งไม่รู้ว่าการกักเก็บน้ำจากเขื่อนจะทำได้ดีแค่ไหน เพราะเมื่อน้ำมามากเขื่อน ก็จำเป็นต้องปล่อยน้ำออกมาอยู่ดี


อย่างเช่น ในกรณีของเขื่อนอุบลรัตน์ที่จังหวัดขอนแก่นก็เคยแตก เพราะปริมาณน้ำที่มากเกินความจุของเขื่อน แน่นอนว่าแม้ในปัจจุบันเทคโนโลยีในการก่อสร้างเขื่อนจะพัฒนาไปไกลมาก แต่ก็ไม่มีใครรู้ข้อมูลที่เท็จจริงว่า เขื่อนหนึ่งเขื่อนมีอายุการใช้งานมากน้อยเพียงใด และหากพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้ว อภิมหาโครงการเขื่อนอย่างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน ก็จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมมากมาย และการใช้งบประมาณมหาศาลเพื่อผลิตไฟฟ้านั้น คำตอบสุดท้ายอาจมิใช่การสร้างเขื่อน


ปัจจุบันทางเลือกของการนำพลังงานต่างๆ มาใช้มิได้ถูกหยิบยกมาพิจารณา เพื่อเปรียบเทียบกับการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ และระบบพลังงานรวมศูนย์ ทั้งที่การผลิตพลังงานทางเลือกแบบไม่รวมศูนย์ ซึ่งมีทั้งพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือน้ำตกขนาดเล็ก ทางเลือกเหล่านี้มีต้นทุนถูกกว่า ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า คุ้มทุนกว่าในระยะยาว และที่สำคัญที่สุดคือสามารถจัดการได้โดยชุมชน


หากแผงโซล่าร์เซลล์ ๑ ชุดสำหรับ ๑ หมู่บ้าน มีราคา ๑ ล้านบาท งบประมาณของเขื่อนบนลำน้ำสาละวิน ที่อยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ก็จะสามารถนำมาซื้อโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านต่างๆ ได้ถึง ๒ แสนหมู่บ้าน โดยไม่ต้องมีใครถูกอพยพหนีน้ำท่วม และไม่มีใครได้รับความเดือนร้อน


ทางเลือกเหล่านี้ ก็น่าจะนำมาพิจารณามิใช่หรือ ?


ปฏิเสธไม่ได้ว่า เงินทุนจากการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินตอนล่างเกินครึ่งหนึ่ง และการขายไฟฟ้าส่วนหนึ่งของรัฐบาลทหารพม่าจะถูกนำไปใช้ในการทำสงคราม เพื่อกดขี่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลทหารพม่าก็ใช้กำลังทหารโจมตีชนกลุ่มน้อยอย่างต่อเนื่อง การให้ความสนับสนุนทั้งทางการเมือง และการเงินต่อการสร้างเขื่อนในเขตที่มีการสู้รบ จึงเปรียบได้กับการสนับสนุนให้รัฐบาลเผด็จการพม่ากดขี่ชนกลุ่มน้อยนั่นเอง



บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
 แม่น้ำโขงจากหลังคาโลกสู่ทะแลจีนใต้แม่น้ำโขงได้รับการจัดอันดับว่าเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับ ๑๐ ของโลกครอบคลุมพื้นที่ ๖ ประเทศคือ จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม มีผู้คนมากกว่า ๖๐ ล้านคนได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายนี้ในด้านต่างๆ ทั้งทำการประมง ทำการเกษตร การขนส่ง และการคมนาคม แม่น้ำโขงตอนบนมีลักษณะลาดชันไหลผ่านช่องเขาที่แคบเป็นแนวยาว แม่น้ำโขงตอนบนได้รับน้ำจากการละหายของหิมะเป็นส่วนใหญ่ พื้นที่แม่น้ำโขงตอนบนอยู่ในเขตปกครองตนเองของทิเบต และจีนแม่น้ำโขงในส่วนตอนกลางมีลักษณะเป็นแก่ง และมีหน้าผาสูงอยู่ในแม่น้ำและตามริมฝั่ง ระดับน้ำในฤดูน้ำหลากและฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันถึง ๒๐ เมตร…
สุมาตร ภูลายยาว
การเรียกชื่อของสถานที่ใดสถานที่หนึ่งในแม่น้ำสายใดสายหนึ่งล้วนแตกต่างกันออกไปตามแต่ภาษาของคนท้องถิ่นนั้นๆ แต่ชื่อหลักที่ผู้คนทั่วไปรู้จักคงไม่ผิดแปลกกันนัก แม้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำจะแตกต่างกันไปตามภาษาถิ่น และความเชื่อของคนท้องถิ่น ในแม่น้ำโขงเองก็เช่นกัน มีสถานที่หลายแห่งที่ชาวบ้านทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงบนพรมแดนไทย-ลาวได้เรียกชื่อของสถานที่เหล่านั้นทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน คอนผีหลงก็เช่นกัน คณะผู้สำรวจจากประเทศจีนอ้างอิงเอาตามคำเรียกชื่อของแก่งนี้ตามคนลาวท้องถิ่นในบริเวณนั้นว่า ‘คอนผีหลวง’ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนลาวเรียกว่า ‘คอนผีหลงไม่ใช่คอนผีหลวง’ คำว่า ‘คอน’ ในพจนานุกรม…
สุมาตร ภูลายยาว
ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ... เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’ เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง…
สุมาตร ภูลายยาว
คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูนหากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้
สุมาตร ภูลายยาว
ในสมัยก่อนคนพื้นถิ่นแถบแม่น้ำของ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันว่าน้ำโขง มีการใช้เรือในแม่น้ำของเพื่อการคมนาคมและขนส่งสินค้า ซึ่งสินค้าของคนพื้นถิ่นแถบอำเภอเชียงของและเวียงแก่นก็จะมีทั้ง เกลือ ข้าว และสินค้าอื่นๆ เพื่อค้าขายและเปลี่ยนกับฝั่งลาวและคนต่างถิ่น การค้าทางน้ำในแม่น้ำของนั้นมีมานานหลายชั่วคน นอกจากประโยชน์ในการบรรทุกสินค้าแล้ว คนท้องถิ่นยังใช้เรือในการหาปลา ซึ่งก่อนที่คนหาปลาจะหันมาใช้เรืออย่างทุกวันนี้ คนหาปลารุ่น ๗๐ ปีขึ้นไปที่หาปลาในแม่น้ำของในอดีตใช้แพไม้ไผ่เพื่อหาปลา พ่ออุ้ยผุย บุปผา อายุ ๗๖ ปี ชาวบ้านปากอิงใต้เล่าว่า “แต่ก่อนตอนพ่อเป็นหนุ่ม…
สุมาตร ภูลายยาว
ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคนไทยจำนวนไม่น้อยคงได้ดีใจกับเหรียญทองเหรียญแรกในกีฬาโอลิมปิก แต่ในความดีใจนั้นก็มีความเศร้าใจปะปนมาด้วย และความเศร้าใจก็เดินทางมาพร้อมกับความสูญเสียจำนวนมหาศาลที่คิดเป็นมูลค่าของเงินแล้วไม่ตำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ความเศร้าใจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์น้ำโขงเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือน และที่สวนไร่นาจำนวนมหาศาล ที่บอกว่าเหตุการณ์อันกำลังเกิดขึ้นเป็นความเศร้าใจนั้น เพราะพืชผลทางการเกษตรจำนวนไม่น้อยกำลังอยู่ในช่วงรอการเก็บเกี่ยวผลิต บ้างก็กำลังเริ่มให้ผลผลิต ในจำนวนผู้คนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ดูเหมือนว่าในส่วนของประเทศไทย…
สุมาตร ภูลายยาว
๑.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ -บทพูด- -มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว…
สุมาตร ภูลายยาว
 ๑.ภาพเปิดก่อนนำเข้าสู่เรื่องราวทั้งหมด            -ภาพของเด็กๆ กำลังเล่นน้ำ            -ภาพของคนกำลังหาปลา            -ภาพของงานวัฒนธรรม            -ภาพของเรือจีน            -ภาพเรือหาปลาในลาว / ภาพเรือรับจ้างขนของ / เรือโดยสาร            -…
สุมาตร ภูลายยาว
เสียงไก่ขันสลับกับเสียงกลองจากวัดบนภูเขาดังกระชันถี่ขึ้น เหมือนเป็นสัญญาณบอกว่ายามเช้าใกล้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ในรอบหนึ่งเดือน เสียงกลองยามเช้าจากวัดจะดังอยู่ ๘ ครั้งต่อเดือน เพื่อเป็นสัญญาณบอกให้ชาวบ้านรู้ว่า ‘วันนี้วันพระ’ เมื่อลองมาไล่เรียงตัวเลขบนปฏิทินก็รู้ว่า วันนี้เป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ในทางพุทธศาสนาแล้ว วันนี้ถือเป็นวันก่อเกิดสิ่งมหัศจรรย์ ๓ อย่างพร้อมกัน คือวันนี้เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นปฐมบทแห่งศาสนาพุทธ ไก่ขันครั้งสุดท้ายล่วงเข้ามา หลายบ้านเริ่มตื่นขึ้นมาก่อไฟหนึ่งข้าว และทำอาหารเช้า พอพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าได้ไม่นาน…
สุมาตร ภูลายยาว
สุมาตร ภูลายยาว เฆมฝนสีดำทะมึนฉาบไปทั่วทิศทาง เรือหาปลาลำเล็กหนึ่งลำ และเรือลำใหญ่สองลำค่อยๆ เคลื่อนออกจากฝั่งริมแม่น้ำ เพื่อลอยลำไปยังเบื้องหน้าแท่งคอนกรีตอันเป็นสัญลักษ์ของความชั่วร้ายในนามการพัฒนามาหลายปี เมื่อเรือไปถึงกลางแม่น้ำ คนบนเรือค่อยๆ คลี่ผ้าขาวที่ห่อหุ้มถ่านเถ้าเบื้องหลังความตายแล้วปล่อยถ่านเถ้านั้นไหลลอยไปกับสายน้ำริมฝั่งดอกไม้ทั้งดอกจำปา ดอกเข็มแดง ดอกดาวเรือง ต่างเข้าแถวเรียงรายกันไหลไปตามแม่น้ำ หลังจากมันถูกปล่อยออกจากกรวยใบตองในมือคนริมฝั่ง ถัดออกไปจากริมฝั่งพ่อทองเจริญกับพ่อดำ ได้พาชาวบ้านจำนวนหนึ่งไปขอขมาแม่น้ำ…
สุมาตร ภูลายยาว
สำเนียงภาษาอีสานจากหนังเรื่อง ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ฉุดให้ผมคิดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับหนังขึ้นมาอีกครั้ง ผมตั้งใจเอาไว้หลายครั้งแล้วว่า อยากจะเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับผู้คน ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ซ่อนอยู่ในเนื้อในหนังอันเป็นเรื่องราวที่ผู้กำกับหนังคนนั้นๆ ต้องการอยากให้เราเห็น ฉากทุกฉากที่ปรากฏอยู่ในหนังแทบทุกเรื่อง ล้วนไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันคือความจงใจที่ผู้กำกับต้องการอยากให้เราเห็นในสิ่งที่เขาเห็น เขาจึงได้ใส่มันเข้าไปในหนัง หลังจากดู ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ จบ ผมก็มานั่งนึกว่าตัวเองได้ดูหนังอะไรบ้างที่พูดถึงแม่น้ำโขง หรือมีชาวโขงเข้าไปโลดเล่นอยู่บนจอสีขาวในโรงหนัง…
สุมาตร ภูลายยาว
‘นายน้ำ’ เป็นคำเรียกคนขับเรือที่คนลาวใช้เรียกกัน กี่ชั่วอายุคนมาแล้วก่อนที่เราจะมีถนนใช้ แม่น้ำคือถนนชนิดหนึ่งในระหว่างทางที่เรือล่องขึ้น-ลงในแม่น้ำ ยากจะคาดเดาได้ว่า บรรพบุรุษของนายน้ำคนแรกเป็นใคร บนนาวาชีวิตที่ล่องไปบนสายน้ำกว้างใหญ่ และไหลเชี่ยว ชีวิตของพวกเขาล้วนฝากไว้กับบางสิ่งบางอยางที่บางคนเรียกมันว่าชะตากรรมบ่อยครั้งที่ล่องเรือไปบนสายน้ำ เราล้วนแต่ต้องค้อมคารวะหัวใจอันยิ่งใหญ่ของพวกเขา เมื่อเดินทางสู่ฝั่ง หากมองทะลุลงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจ อะไรคือหมุดหมายที่ฉุดรั้งพวกเขาให้มุ่งหน้าสู่เส้นทางที่มองทางไม่เห็นทางเช่นนี้ในบรรดานายน้ำที่มีอยู่มากมาย พวกเขาไม่ได้คาดหวังว่าจะเป็นนายของน้ำ…