Skip to main content

.แม่น้ำสาละวินและระบบนิเวศแม่น้ำ


-
บทพูด-

-มีคนบรรยายเกิ่นนำเรื่องแม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติสายหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดจากการละลายของหิมะในธิเบตแล้วไหลผ่านประเทศจีน,ไหลเข้าเขตรัฐฉาน,รัฐคะยาห์ และไหลเรื่อยมาเป็นเส้นแบ่งพรมแดนไทย-พม่ารวมระยะทาง ๑๑๘ กิโลเมตร ก่อนจะสิ้นสุดพรมแดนไทย-พม่าที่บ้านสบเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินก็จะไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะบริเวณเมืองเมาะลำเลิงหรือมะละแหม่งของรัฐมอญ รวมระยะทางทั้งสิ้น ๒,๘๐๐ กิโลเมตร แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับที่ ๒๖ ของโลก สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองลงมาจากแม่น้ำโขงเท่านั้น


ตลอดระยะการไหลของแม่น้ำสาละวินตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายน้ำ แม่น้ำสาละวินได้ไหลผ่านบริเวณพื้นที่ที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่ไม่ต่ำกว่า ๑๓ ชาติพันธุ์ กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้อยู่รวมกันเป็นสังคมทั้งตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำสาละวินและตามที่ราบลุ่มของลำห้วยสาขาของแม่น้ำสาละวิน


หากเอ่ยคำว่า “แม่น้ำสาละวิน” บนพรมแดนไทย-พม่า หลายคนคงนึกถึงสงครามระหว่างชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ กับรัฐบาลทหารพม่า แต่เรื่องราวเกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินและผู้คนที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งน้ำบนพรมแดนไทย-พม่ากลับเป็นเรื่องที่เราเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ยากเต็มที บ่อยครั้งที่โครงการพัฒนาต่างถา-โถมเข้ามา ชุมชนหรือแม้แต่ผู้คนในชุมชนที่กล่าวมาทั้งหมดกลับได้รับการมองข้าม และละเลยที่จะมีการกล่าวถึง บ่อยครั้งเช่นกันที่ผู้เป็นเจ้าของโครงการพัฒนาต่างๆ ได้บอกกับสังคมภายนอกว่าบริเวณพรมแดนไทย-พม่าริมแม่น้ำสาละวินนั้นมีคนอยู่จำนวนน้อย แต่หากว่าในความเป็นจริงแล้วมันกลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะตามริมน้ำสาละวินและตามลำห้วยสาขาลึกเข้าไปในผืนป่าสาละวินทั้งทางฝั่งไทยและพม่ามีคนอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย


การรวมกันอยู่ของชุมชนต่างๆ ตามริมฝั่งแม่น้ำสาละวินและตามลำห้วยสาขาได้ส่งผลให้คนในชุมชนเรียนรู้และมีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขาเป็นอย่างดี และความรู้เหล่านี้ก็ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของงานวิจัยที่เรียกว่า “’งานวิจัยไทบ้าน:ภูมิปัญญาสาละวิน”


-
ภาพฉากที่ ๑ ถ่ายภาพแม่น้ำสาละวินในระยะไกล-ถ่ายภาพของคนขับเรือที่ท่าเรือแม่สามแลบ-ภาพวิถีชีวิตริมฝั่ง-ภาพคนหาปลา-ภาพคนทำการเกษตรริมฝั่ง-ภาพหมู่บ้าน


---------------- จบฉากที่ ๑ ----------------


-บทพูด-


งานวิจัยไทบ้าน: ภูมิปัญาสาละวินได้มีการศึกษาวิจัยทั้งสิ้น ๗ ประเด็น โดยมีระเบียบวิธีวิจัยที่พัฒนามาจากงานวิจัยไทบ้านที่ปากมูน มีนักวิจัยจาก ๔๖ หมู่บ้านในพื้นที่ลุ่มน้ำสาละวิน การทำวิจัยในเรื่องระบบนิเวศ นักวิจัยได้ศึกษาถึงระบบนิเวศที่สลับซับซ้อนของแม่น้ำสาละวินตลอดเส้นพรมแดน ๑๑๘ กิโลเมตร จากการศึกษาวิจัยพบว่า ระบบนิเวศในแม่น้ำสาละวินมีมากถึง ๑๗ ระบบและมีระบบนิเวศย่อยตามลำห้วยสาขาอีก ๑๑ ระบบ


ระบบนิเวศในแม่น้ำสาละวินนั้นมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นอย่างสูงไม่ได้ด้อยไปกว่าแม่น้ำสายใดในภูมิภาคนี้ จากงานวิจัยไทบ้าน:ภูมิปัญญาสาละวินยังพบอีกว่า ระบบนิเวศในแม่น้ำสาละวินนอกจากจะมีความสำคัญจนทางรัฐบาลไทยประกาศให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๓ แล้ว ระบบนิเวศอันสลับซับซ้อนเหล่านี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของปลานานาชนิดอีกด้วย


-
ภาพฉากที่ ๒--ภาพเป็นภาพของการประชุมกลุ่มชาวบ้าน-ภาพระบบนิเวศแม่น้ำสาละวิน-ภาพระบบนิเวศในลำห้วย-แล้วก็มีการสัมภาษณ์หรือให้ชาวบ้านที่เป็นนักวิจัยพูดถึงเรื่องระบบนิเวศแม่น้ำหนึ่งคน....(ยังไม่ต้องมีภาพปลาขึ้นมาก็ได้ เพราะเอาไว้ไปใส่ในฉากต่อไป)


-
เพลงประกอบเป็นเพลงตอนเริ่มเรื่องใช้เสียงเตหน่า และเพลงสลับฉากเปลี่ยนไปบทที่ ๒ ใช้เสียง เตหน่าเหมือนเดิม


------------ จบฉากที่ ๒ ของบทที่ ๑ ----------


.พันธุ์ปลาลุ่มน้ำสาละวินและเครื่องมือหาปลา


-
บทพูด-

งานวิจัยไทบ้านเรื่องพันธุ์ปลานั้นได้ทำการศึกษาด้วยวิธีการระดมความรู้จากนักวิจัยหลายๆ หมู่บ้าน จากการระดมความรู้เรื่องปลา พบว่าพันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวินและลำห้วยสาขาที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวินมีประมาณ ๗๐ กว่าชนิด


นอกจากจะระดมความรู้เรื่องปลาแล้ว นักวิจัยยังได้ระดมความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของปลา รวมถึงพื้นที่ที่ใช้เครื่องมือหาปลาพื้นบ้านชนิดต่างๆ ที่มีถึง ๑๓ ชนิด ซึ่งความรู้ในเรื่องปลาและการใช้เครื่องมือหาปลาก็สอดคล้องกันกับระบบนิเวศทั้ง ๑๑ ระบบ เครื่องมือหาปลาบางชนิดก็มีไว้สำหรับผู้หญิง เพราผู้หญิงมีความสามารถในการใช้เครื่องมือได้ดีกว่า


นอกจากนั้นการหาปลาด้วยวิธีการหาปลา เช่น การตึกแค ยังได้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของคนในชุมชนด้วย เพราะการตึกแคนั้นต้องใช้คน ๓-๔ คนถึงจะทำได้ดี และนอกจากจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนแล้ว การตึกแคยังได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนต่อธรรมชาติอีกด้วย


ชาวบ้านเชื่อว่าถ้ามีการตึกแคกั้นน้ำเอาปลาออกแล้วไม่ปล่อยน้ำให้เป็นอิสระดังเดิม ในปีต่อๆ ไปหรือในเดือนต่อไป ชาวบ้านก็จะไม่มีปลากินอีก


-
ภาพเป็นภาพการเก็บข้อมูลทำวิจัย-ภาพเวทีประชุมงานวิจัยเรื่องปลา-ภาพการใช้เครื่องมือหาปลา-ภาพนักวิจัยพูดถึงเรื่องปลาและการใช้เครื่องมือหาปลากับนักวิจัย ๑ คน (-หมายเหตุภาพปลา ถ้าไม่มีภาพเคลื่อนไหวให้ใช้ภาพถ่ายรูปปลาแทน-ส่วนภาพการใช้เครื่องมือหาปลานั้นอยากให้ใช้ภาพเคลื่อนไหว)


-
เพลงประกอบก่อนสลับฉากไปบทที่ ๓


------------- จบบทที่ ๒ -----------


.การทำเกษตรริมฝั่งน้ำสาละวินและการทำเกษตรบนพื้นที่สูง


-
บทพูด-

ชุมชนที่ตั้งอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำสาละวินนอกจากจะได้เรียนรู้การใช้ประโยชน์จากแม่น้ำในการหา-ปลาแล้ว บางชุมชนยังมีการทำเกษตรบนฝั่งริมหาดทรายสาละวินอีกด้วย


การศึกษาเรื่องการทำการเกตษรในงานวิจัยไทบ้านนั้นได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๒ ส่วนคือ

.การทำเกษตรริมฝั่งแม่น้ำสาละวิน

ชาวบ้านจะลงไปปลูกพืชผักจำพวกถั่วตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ ซึ่งในแต่ละปีหาดทรายที่ทำการเพาะปลูกก็จะแตกต่างกันออกไปตามทิศทางการพัดพาของกระแสน้ำพื้นที่ในการทำการเพาะปลูกพืชริมน้ำสาละวินนั้นถูกแบ่งออกเป็น ๓ ระดับคือ

.พื้นที่บนตลิ่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง

.ที่ดินปนทรายริมน้ำ เป็นพื้นที่สูงถัดขึ้นไปถัดจากริมแม่น้ำเล็กน้อย

.หาดทรายที่น้ำท่วมถึง ลักษณะจะเป็นพื้นที่หาดทรายที่เกิดจากากรพัดพามาของน้ำ


การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์นั้น ในแต่ละปีหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ของตัวเองเอาไว้เพื่อใช้เพาะปลูกในปีต่อไป


การเพาะปลูกพืชริมน้ำสาละวินระยะเวลาในการทำการเพาะปลูกจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี


-
ภาพเป็นภาพของการทำเกษตรริมหาดทรายสาละวิน-ภาพการเก็บใบยาสูบ-ภาพเก็บถั่วหรือภาพการเตรียมพื้นที่ในการทำการเพาะปลูกหรือรูปอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการทำการเกษตรริมหาดทรายสาละวิน

-บทพูด-


.การทำการเกษตรบนพื้นที่สูง

.เรารู้จักกันในนามการ ”ทำไร่หมุนเวียน” ชาวบ้านจะทำการเพาะปลูกพันธุ์ข้าวไร่พื้นเมืองถึงกว่า ๔๐ ชนิด และปลูกพืชอาหารในไร่ ๒๕๐ ชนิด ผสมผสานไปกับข้าวไร่ ด้วยพันธุข้าวที่มีอยู่ในไร่มากถึง 40 กว่าชนิดถือได้ว่าการทำไร่หมุนเวียนนั้นได้รักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางพันธุกรรรมเป็นอย่างดี


ก่อนการลงมือทำการเพาะปลูก ชาวบ้านจะมีการถางไร่-เผาไร่ในช่วงหน้าแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนมีการเผาไร่หลังจากเลือกพื้นที่ในการทำไร่ได้แล้ว ก็จะมีการเสี่ยงทายกระดูกไก่ดูว่าพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูกนั้นเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกข้าวให้พอบริโภคในครัวเรือน หลังจากนั้นในเดือนมีนาคม ก็จะมีการถางไร่ ตัดพุ่มไม้ออกทิ้งตากแดดไว้ให้แห้ง พอถึงเดือนเมษายนก็จะมีการเอาซากพุ่มไม้มาเผาและเอาซากที่เผาแล้วออกทิ้ง เพื่อเตรียมพื้นที่ในการหว่านเมล็ดพันธุ์ พอถึงเดือนพฤษภาคมก็จะเริ่มลงมือทำการหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าว และเมล็ดพันธุ์ของพืชผักชนิดอื่นๆ การทำไร่จะสิ้นสุดลงเมื่อผ่านพ้นฤดุหนาวของทุกปีไปแล้ว


ทุกๆ เดือนตั้งแต่การเริ่มลงมือเลือกพื้นที่ในการทำการเพาะปลูก ชาวบ้านจะทำการเลี้ยงผีเป็นช่วงๆ เช่นช่วงที่เริ่มมีการหาพื้นที่ก็จะมีการเลี้ยงผีเพื่อเสี่ยงทายพื้นที่ในการทำการเพาะปลูก พอเพาะปลูกเสร็จ หลังจากข้าวออกดอกในเดือนสิงหาคมก็จะมีการเลี้ยงผีอีกครั้งหนึ่ง และในช่วงนี้ถ้าไร่ไหนมีการเลี้ยงผีจะมีการห้ามไม่ให้เจ้าของไร่เข้าไปในไร่เป็นเวลา 3 วัน และหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะมีการขนข้าวกลับบ้านก็จะมีการเลี้ยงผีอีก 1 ครั้ง


การเพาะปลูกใน ๒ พื้นดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ส่วนมากชาวบ้านจะปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น บางส่วน เช่น พืชผักที่ปลูกตามริมฝั่งแม่น้ำสาละวินที่เหลือจากการบริโภคก็ค่อยขายหรือแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นภายในชุมชนหรือแลกเปลี่ยนกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกัน


-
ภาพเป็นภาพของการทำไร่-ภาพของการเลี้ยงผีฝายเพื่อให้เห็นมิติทางสังคมและวัฒนธรรมในการจัดการน้ำและการทำไร่-ภาพของการเลือกพันธุ์ข้าว-ภาพผู้ช่วยนักวิจัยคุยกับนักวิจัยเลือกเอาคำพูดที่เป็นไฮไลต์ที่กล่าวถึงการทำไร่-ภาพการประชุมกลุ่มนักวิจัยเรื่องพันธุ์ข้าว--

-เพลงที่มีจังหวะดนตรีสนุกสนาน-เพื่อเข้ากับภาพประกอบของการทำไร่


----------- จบบทที่ ๓---------


.สัตว์ป่ากับความเชื่อเรื่องโป่ง


-
บทพูด-

เพราะความที่บนพื้นที่ในการทำการวิจัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า นักวิจัยและประเด็นการวิจัยเรื่องสัตว์ป่าจึงเกิดขึ้น ในการวิจัยเรื่องสัตว์ป่านั้น ไม่ได้หมายเอาถึงการสำรวจถ่ายภาพของสัตว์ป่าในป่าสาละวิน แต่การวิจัยเรื่องสัตว์ป่านั้นได้ทำการศึกษาถึงบริเวณที่อยู่-ที่หากิน-ความเชื่อของชุมชนที่มีต่อพื้นที่ที่สัตว์ป่าลงมาหากิน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “โป่ง”


การวิจัยในเรื่องสัตว์ป่านั้นมีการระดมความรู้ทั้งในเรื่องชื่อของสัตว์ป่าที่มีอยู่ในปัจจุบันและสูญพันธุ์ไปแล้ว นอกจากจะมีการระดมรายชื่อสัตว์ป่าแล้วนักวิจัยยังได้มีการระดมเรื่องชื่อโป่ง และความเชื่อเกี่ยวกับโป่งแต่ละแห่งอีกด้วย ในด้านสัตว์ป่านั้นมีสัตว์บางชนิดที่ชาวบ้านไม่ให้ยิงและมีกฎเกณฑ์ในการห้ามล่า-ห้ามฆ่าอย่างชัดเจน สัตว์ป่าบางชนิดก็มีความเชื่อที่เล่าสืบกันมาด้วย


ชุมชนในป่ามีความเชื่อที่เป็นกลอุบายในการรักษาทรัพยากร และพร่ำสอนลูกหลานให้จำสืบต่อๆกันมาว่า “ทุกสิ่งล้วนมีเจ้าของ เรากินเราใช้แค่พอประทังชีวิต ไม่ทำลาย เพื่อให้ลูกหลานได้มีกินสืบไป กินเขียดต้องรักษาผา”


-
ภาพเป็นภาพโป่ง-ภาพป่า-ภาพการประชุมระดมความรู้ของนักวิจัย


-----------------จบบทที่ ๔ --------------


.พืชสมุนไพรและอาหารจากป่า


-
บทพูด-

นอกจากงานวิจัยจะได้ศึกษาเรื่องสัตว์ป่าแล้ว กลุ่มนักวิจัยยังได้มีการศึกษาเรื่องพรรณพืชสมุนไพรในป่าสาละวิน และอาหารจากป่าเพิ่มเข้ามาอีกประเด็นหนึ่งด้วย การศึกษาวิจัยเรื่องพรรณพืชสมุนไพรและอาหารจากป่ามุ่งรวบรวมและบันทึกความรู้ของชุมชนเกี่ยวกับพรรณพืชสมุนไพรธรรมชาติต่างๆ ที่ชุมชนใช้เป็นอาหาร,ยารักษาโรค,


จากงานวิจัยพบว่า พรรณพืชที่เป็นพืชสมุนไพรในผืนป่าสาละวินมีมากถึง ๑๐๔ ชนิด ส่วนพืชที่เป็นอาหารนั้นมีมากถึง ๑๗๔ ชนิด


นักวิจัยบ่งลักษณะของการเกิดพรรณพืชออกเป็น ๔ ลักษณะตามระบบนิเวศที่มีการใช้ประโยชน์คือ

.พรรณพืชที่เกิดตามริมห้วยจะใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้งคือเดือนมกราคม-เมษายน

.พรรณพืชที่เกิดตามขุนห้วยซึงเป็นแหล่งต้นน้ำมีความชุ่มชื้นสูง มีพรรณพืชหลายชนิดเกิดขึ้น เช่น หวาย

.เชิงดอยและไหล่ดอยมักจะมีพรรณพืชที่ใช้ประโยชน์เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน

.ยอดดอยเป็นพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากพรรณพืชมากที่สุดและพรรณพืชที่เกิดขึ้นบนยอดดอยสามารถนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี พรรณพืชและสมุนไพรที่มีอยู่จึงมีความสำคัญกับการดำรงชีวิตของผู้คนตามริมน้ำสาละวินและในผืนป่าสาละวินเป็นอย่างยิ่ง


-
ภาพเป็นภาพการประชุมกลุ่มนักวิจัย-ภาพชาวบ้านกำลังเก็บสมุนไพร-ภาพการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร-ภาพชาวบ้านเก็บผักริมตามริมลำห้วย-ภาพสมุนไพรที่ชาวบ้านเก็บมาใช้ประโยชน์


-
เพลงเสียงเตหน่าคลอเบาๆ เพื่อสลับกับเสียงพูดของนักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัย

----------จบบทที่ ๕ --------------


.สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน


-
บทพูด-

ชุมชนหลายชุมชนในผืนป่าสาละวินได้เกี่ยวเนื่องถึงกันโดยมิติสายสัมพันธ์ของความเป็นเครือญาติ จึงไม่เป็นที่แปลกใจเลยว่า เมื่อชุมชนมีพิธีกรรมที่ประกอบขึ้นในหมู่บ้าน เช่น การเลี้ยงผีฝาย ชาวบ้านในหมู่บ้านก็จะมาร่วมพิธีกัน ซึ่งการเข้ามาร่วมในพิธีกรรมของชาวบ้านนั้นได้ก่อให้เกิดความเข้าใจกันของคนในชุมชนมากขึ้น และทำให้ระบบความสัมพันธ์ของระบบเครือญาติภายในชุมชนแน่นแฟ้นเพิ่มขึ้นด้วย


งานวิจัยไทบ้าน : ภูมิปัญญาสาละวิน ได้ศึกษาถึงเรื่องสังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวิน และพบว่า สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอแห่งลุ่มน้ำสาละวินมีความหลากหลาย และมีความเชื่อมโยงถึงกันเองภายในชุมชนและเชื่อมโยงกับชุมชนภายนอกอีกด้วย


สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอส่วนมากจะอยู่ในงานพิธีกรรมต่างๆ และอยู่ในวิถีชีวิตที่คนในชุมชนได้กระทำสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน สังคมวัฒนธรรมของชาวปกากะญอชุมชนในผืนป่าแห่งลุ่มน้ำสาละวินจึงสืบทอดยาวไกลเป็นคำสอนและการปฏิบัติให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ระลึกถึงอยู่เสมอ สายธารแห่งวัฒนธรรมจึงยาวไกลเหมือนกับการไหลของแม่น้ำสาละวิน แม่น้ำสายสำคัญสายนี้


-
ภาพ เป็นภาพพิธีกรรมการเลี้ยงผี-ภาพการบวชป่า-ภาพงานพิธีกรรมอื่นๆ

-เพลง เพลงประกอบเป็นเสียงเตหน่าเพลงชิ สุวิชาน ที่พูดถึงคำสอนของผู้เฒ่าผู้แก่ปกากะญอ


-
ภาพปิด เป็นภาพของแม่น้ำสาละวินค่อยๆ ค่ำลงและความืดโรยตัวลงมาโอบคลุมผืนน้ำ

เสียงเตหน่าเบาๆ แล้วขึ้นตัวหนังสือ

-งานวิจัยไทบ้าน : ภูมิปัญญาสาละวินสำเร็จสิ้นลงด้วยความร่วมมือของ

-เครือข่ายนักวิจัยไทบ้านลุ่มน้ำสาละวิน

-องค์กรชาวบ้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวิน

-ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน

-เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Searin)

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’