Skip to main content

ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ...


เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’


เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือแม้แต่ทะเล เราต้องรู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพื้นที่ที่เราจะไป


ในการออกทะเลเพื่อหาปลา อย่างน้อยๆ คนหาปลาต้องรู้ว่าปลาน่าจะมีอยู่ตรงจุดไหน ฤดูไหน ปลาอะไรที่สามารถจับได้ ฟ้าเป็นสีดำคล้ายจะมีพายุมา สมควรที่จะเอาเรือออกจากฝั่งหรือไม่ นอกจากที่กล่าวมายังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ในรายละเอียดเหล่านี้ คนหาปลาอาศัยจดจำมา รวมทั้งเรียนรู้ ทดลองทำ ลองผิดลองดูจนมันถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็นภูมิปัญญา ภูมิความรู้ที่มีอยู่เฉพาะกลุ่มคนหาปลาเท่านั้น


เมื่อพูดถึงภูมิปัญญาเหล่านี้ ในแต่ละพื้นที่ แต่ละแม่น้ำ และท้องทะเลที่แตกต่างกัน ภูมิปัญญาอันเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่น คนหาปลาที่อำเภอจะนะ บางคนยังคงดำรงวิถีของคนหาปลาแบบโบราณคือการดำดิ่งลงสู่ท้องทะเล เพื่อฟังเสียงปลา เมื่อรู้ว่าเสียงมาจากทางไหนก็จะบอกคนที่อยู่บนเรือเหนือผืนน้ำให้นำเรือไปตรงจุดนั้น เพื่อจับเอาปลา


คนหาปลาบึกที่อำเภอเชียงของในอดีตเมื่อราว ๓๐ กว่าปีก่อนยังใช้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมคือการทำห้างเสือตาไฟไว้ริมฝั่งน้ำ เพื่อขึ้นไปนั่งดูว่าปลาบึกอพยพขึ้นมาแล้วหรือยัง การขึ้นไปนั่งสังเกตการอพยพของปลาบึกบนห้างเสือไฟนั้นต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์มิใช่น้อย เพราะคนที่จะขึ้นไปนั่งบนห้างเสือตาไฟต้องแยกแยะให้ได้ว่า ริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าที่มองเห็นนั้นคือสัญญาณบอกเหตุว่า ปลาบึกกำลังว่ายทวนน้ำขึ้นเหนืออยู่บริเวณริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า


นอกจากจะเอาเรือออกหาปลา หรือแม้แต่ไปวางเครื่องมือหาปลา คนหาปลาก็ไม่เคยละเลยที่จะสังเกตธรรมชาติรอบตัวที่ปรากฏขึ้นมาให้เห็น


ปลาบึกกับนกนางนวล

คนหาปลาบึกที่บ้านหาดไคร้ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ นอกจากจะทำห้างเสือตาไฟ เพื่อคอยดูการอพยพขึ้นมาของปลาบึกแล้ว หลายคนยังเฝ้าสังเกตการอพยพของปลาบึกโดยการเฝ้าดูนกนางนวล หากว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน นกนางนวลโผบินจากทิศใต้สู่ทิศเหนือหรือบินโฉบเฉี่ยวไปมาเหนือดอนแวง นั่นแหละคือนิมิตหมายที่บอกว่า อีกไม่เกิน ๑-๒ วันปลาบึกก็จะขึ้นมา คนจับปลาบึกก็จะเตรียมเรือเตรียมเครื่องมือเพื่อออกจับปลาบึก


ปลากับดอกไม้ ต้นไม้

คนหาปลาในแม่น้ำโขงเคยเล่าให้ฟังว่ามีดอกไม้และต้นไม้อย่างน้อย ๒ ชนิดที่บ่งบอกให้คนหาปลาได้รู้ว่าฤดูกาลอพยพของปลาบางชนิดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ดอกไม้ ๒ ชนิดที่ว่าคือ ดอกซอมพอ (ดอกหางนกยูง) และดอกงิ้ว


คนหาปลาบ้านหาดไคร้เล่าให้ฟังว่า หากวันใดที่ต้นซอมพอออกดอกดางสะพรั่งเต็มริมฝั่งน้ำ นั้นแหละฤดูกาลจับปลาบึกได้เดินทางมาถึงแล้ว


นอกจากจะดูดอกซอมพอแล้วยามใดที่ดอกงิ้วบานอยู่ตามสองฝากฟั่งแม่น้ำโขงแล้ว ก็หมายถึงว่าฤดูหนาวกำลังเดินทางมา และเมื่อวันใดที่ดอกงิ้วโรยราร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นั่นก็หมายความว่า ฝูงปลาสร้อย ปลาบอกได้ว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นมาแล้ว


ปลากับปลา

คนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาด้วยหมายเอาช่วงระยะเวลาของแต่ละเดือนเป็นสำคัญ เช่น ในช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่ปลาแกงอพยพ หลังจากปลาแกงอพยพขึ้นมาได้ระยะหนึ่งก็จะเป็นสัญญาณบอกว่าต่อจากนี้ไป ปลาเพี้ย ปลาโมงจะตามขึ้นมา ในช่วงที่คนหาปลาจับปลาเพี้ยได้เยอะ นั่นก็หมายความว่าฤดูกาลอพยพของปลาแกงได้สิ้นสุดลงแล้ว


คนหาปลากับคนหาปลา

นอกจากคนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาจากธรรมชาติรอบตัวแล้ว คนหาปลายังได้อาศัยความเป็นคนทำมาหากินในอาชีพเดียวกันสืบข่าวคราวการอพยพของปลาด้วย เช่น เช้านี้คนหาปลาที่เชียงของจับปลาหมูได้เยอะ คนหาปลาบ้านอื่นๆ ที่อยู่เหนือเขตเชียงของขึ้นไปก็จะเริ่มคำนวณแล้วว่าฝูงปลาหมูจะเดินทางมาถึงบ้านตัวเองต้องใช้ระยะเวลากี่วัน เมื่อทราบข้อมูลที่แน่ชัดแล้ว คนหาปลาก็เริ่มเตรียมเครื่องมือ เพื่อรอเวลาในการหาปลา


คนหาปลากับเรด้าที่แม่นพอๆ อย่างตาเห็น

เคยมีเพื่อนในแถบภาคใต้เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เรด้าที่ใช้หาพิกัดของปลา และตำแหน่งแห่งที่ที่ปลาอยู่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนหาปลาในแถบอ่าวไทย และอันดามันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรด้าช่วยชี้เป้าหมายในการลงอวนได้ดีเยี่ยม และไม่เคยพลาดเป้าหมาย


ในวิถีทางของคนหาปลาที่เป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ เราผู้อยู่นอกเหนือภูมิปัญญาความรู้ของคนหาปลาได้แต่ชื่นชมภูมิปัญญาความรู้เหล่านั้น และได้แต่แอบหวังว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาแบบใดขอให้มันอยู่คู่กับคนหาปลาไปนานๆ พอๆ กับขอให้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลได้มีปลาให้คนหาปลาจับไปนานๆ เช่นกัน


ใครละจะกล้าปฏิเสธว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ใช่ภูมิปัญญาที่กินได้....


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’