Skip to main content

ไม่ว่าจะในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง หรือท้องทะเล ทุกหนแห่งที่กล่าวมาล้วนมีคนกลุ่มหนึ่งอาศัยพึ่งพามาตลอด เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึงแม่น้ำ เราก็จะนึกถึงคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกๆ นอกจากนึกถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ...


เรากำลังกล่าวถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ผู้คนทั่วไปรู้จักพวกเขาในนาม ‘คนหาปลา’


เมื่อกล่าวถึงคนกลุ่มนี้คงไม่ต้องอธิบายมากว่า พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการทำอาชีพอะไร แต่เมื่อเพ่งพิศลงไปในอาชีพ และวิถีทางแห่งการดำรงอยู่ของพวกเขา เราจะพบว่า การดำรงตนด้วยการหาปลานั้นเป็นสิ่งยากยิ่ง แน่ละ มันมีหลายเหตุผลที่จะกล่าวเช่นนี้ เหตุผลอย่างที่หนึ่ง เมื่อเราจะออกสู่แม่น้ำ ลำคลอง หรือแม้แต่ทะเล เราต้องรู้อะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับพื้นที่ที่เราจะไป


ในการออกทะเลเพื่อหาปลา อย่างน้อยๆ คนหาปลาต้องรู้ว่าปลาน่าจะมีอยู่ตรงจุดไหน ฤดูไหน ปลาอะไรที่สามารถจับได้ ฟ้าเป็นสีดำคล้ายจะมีพายุมา สมควรที่จะเอาเรือออกจากฝั่งหรือไม่ นอกจากที่กล่าวมายังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ในรายละเอียดเหล่านี้ คนหาปลาอาศัยจดจำมา รวมทั้งเรียนรู้ ทดลองทำ ลองผิดลองดูจนมันถูกสังเคราะห์ให้กลายเป็นภูมิปัญญา ภูมิความรู้ที่มีอยู่เฉพาะกลุ่มคนหาปลาเท่านั้น


เมื่อพูดถึงภูมิปัญญาเหล่านี้ ในแต่ละพื้นที่ แต่ละแม่น้ำ และท้องทะเลที่แตกต่างกัน ภูมิปัญญาอันเป็นลักษณะเฉพาะของพื้นที่ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย อย่างเช่น คนหาปลาที่อำเภอจะนะ บางคนยังคงดำรงวิถีของคนหาปลาแบบโบราณคือการดำดิ่งลงสู่ท้องทะเล เพื่อฟังเสียงปลา เมื่อรู้ว่าเสียงมาจากทางไหนก็จะบอกคนที่อยู่บนเรือเหนือผืนน้ำให้นำเรือไปตรงจุดนั้น เพื่อจับเอาปลา


คนหาปลาบึกที่อำเภอเชียงของในอดีตเมื่อราว ๓๐ กว่าปีก่อนยังใช้ภูมิปัญญาแบบดั้งเดิมคือการทำห้างเสือตาไฟไว้ริมฝั่งน้ำ เพื่อขึ้นไปนั่งดูว่าปลาบึกอพยพขึ้นมาแล้วหรือยัง การขึ้นไปนั่งสังเกตการอพยพของปลาบึกบนห้างเสือไฟนั้นต้องอาศัยความชำนาญ และประสบการณ์มิใช่น้อย เพราะคนที่จะขึ้นไปนั่งบนห้างเสือตาไฟต้องแยกแยะให้ได้ว่า ริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้าที่มองเห็นนั้นคือสัญญาณบอกเหตุว่า ปลาบึกกำลังว่ายทวนน้ำขึ้นเหนืออยู่บริเวณริ้วคลื่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า


นอกจากจะเอาเรือออกหาปลา หรือแม้แต่ไปวางเครื่องมือหาปลา คนหาปลาก็ไม่เคยละเลยที่จะสังเกตธรรมชาติรอบตัวที่ปรากฏขึ้นมาให้เห็น


ปลาบึกกับนกนางนวล

คนหาปลาบึกที่บ้านหาดไคร้ เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงของ นอกจากจะทำห้างเสือตาไฟ เพื่อคอยดูการอพยพขึ้นมาของปลาบึกแล้ว หลายคนยังเฝ้าสังเกตการอพยพของปลาบึกโดยการเฝ้าดูนกนางนวล หากว่าในช่วงปลายเดือนเมษายน นกนางนวลโผบินจากทิศใต้สู่ทิศเหนือหรือบินโฉบเฉี่ยวไปมาเหนือดอนแวง นั่นแหละคือนิมิตหมายที่บอกว่า อีกไม่เกิน ๑-๒ วันปลาบึกก็จะขึ้นมา คนจับปลาบึกก็จะเตรียมเรือเตรียมเครื่องมือเพื่อออกจับปลาบึก


ปลากับดอกไม้ ต้นไม้

คนหาปลาในแม่น้ำโขงเคยเล่าให้ฟังว่ามีดอกไม้และต้นไม้อย่างน้อย ๒ ชนิดที่บ่งบอกให้คนหาปลาได้รู้ว่าฤดูกาลอพยพของปลาบางชนิดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ดอกไม้ ๒ ชนิดที่ว่าคือ ดอกซอมพอ (ดอกหางนกยูง) และดอกงิ้ว


คนหาปลาบ้านหาดไคร้เล่าให้ฟังว่า หากวันใดที่ต้นซอมพอออกดอกดางสะพรั่งเต็มริมฝั่งน้ำ นั้นแหละฤดูกาลจับปลาบึกได้เดินทางมาถึงแล้ว


นอกจากจะดูดอกซอมพอแล้วยามใดที่ดอกงิ้วบานอยู่ตามสองฝากฟั่งแม่น้ำโขงแล้ว ก็หมายถึงว่าฤดูหนาวกำลังเดินทางมา และเมื่อวันใดที่ดอกงิ้วโรยราร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นั่นก็หมายความว่า ฝูงปลาสร้อย ปลาบอกได้ว่ายทวนน้ำอพยพขึ้นมาแล้ว


ปลากับปลา

คนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาด้วยหมายเอาช่วงระยะเวลาของแต่ละเดือนเป็นสำคัญ เช่น ในช่วงเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงที่ปลาแกงอพยพ หลังจากปลาแกงอพยพขึ้นมาได้ระยะหนึ่งก็จะเป็นสัญญาณบอกว่าต่อจากนี้ไป ปลาเพี้ย ปลาโมงจะตามขึ้นมา ในช่วงที่คนหาปลาจับปลาเพี้ยได้เยอะ นั่นก็หมายความว่าฤดูกาลอพยพของปลาแกงได้สิ้นสุดลงแล้ว


คนหาปลากับคนหาปลา

นอกจากคนหาปลาจะสังเกตการอพยพของปลาจากธรรมชาติรอบตัวแล้ว คนหาปลายังได้อาศัยความเป็นคนทำมาหากินในอาชีพเดียวกันสืบข่าวคราวการอพยพของปลาด้วย เช่น เช้านี้คนหาปลาที่เชียงของจับปลาหมูได้เยอะ คนหาปลาบ้านอื่นๆ ที่อยู่เหนือเขตเชียงของขึ้นไปก็จะเริ่มคำนวณแล้วว่าฝูงปลาหมูจะเดินทางมาถึงบ้านตัวเองต้องใช้ระยะเวลากี่วัน เมื่อทราบข้อมูลที่แน่ชัดแล้ว คนหาปลาก็เริ่มเตรียมเครื่องมือ เพื่อรอเวลาในการหาปลา


คนหาปลากับเรด้าที่แม่นพอๆ อย่างตาเห็น

เคยมีเพื่อนในแถบภาคใต้เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้เรด้าที่ใช้หาพิกัดของปลา และตำแหน่งแห่งที่ที่ปลาอยู่เข้ามามีอิทธิพลต่อคนหาปลาในแถบอ่าวไทย และอันดามันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเรด้าช่วยชี้เป้าหมายในการลงอวนได้ดีเยี่ยม และไม่เคยพลาดเป้าหมาย


ในวิถีทางของคนหาปลาที่เป็นอยู่ในแต่ละพื้นที่ เราผู้อยู่นอกเหนือภูมิปัญญาความรู้ของคนหาปลาได้แต่ชื่นชมภูมิปัญญาความรู้เหล่านั้น และได้แต่แอบหวังว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ว่าจะเป็นภูมิปัญญาแบบใดขอให้มันอยู่คู่กับคนหาปลาไปนานๆ พอๆ กับขอให้แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลได้มีปลาให้คนหาปลาจับไปนานๆ เช่นกัน


ใครละจะกล้าปฏิเสธว่า ภูมิปัญญาของคนหาปลาไม่ใช่ภูมิปัญญาที่กินได้....


บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…