Skip to main content

คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูน

หากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้


การออกแบบเรือล้วนยึดถือความสะดวกของเรือแต่ละลำในแม่น้ำแต่ละสายเป็นหลักใหญ่ ขนาดของเรือที่คนทำเรือแต่ละคนทำออกมาจึงขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก เช่น เรือขนาดสั้น ๓-๔ วาก็จะใช้ในแม่น้ำไม่ใหญ่ เรือกระแซงถึงแม้จะใช้ในแม่น้ำไม่ใหญ่ คนทำทำเรือก็นิยมทำเรือชนิดนี้ออกมาให้มีขนาดใหญ่ เพราะเรือกระแซงเอาไว้ใช้บรรทุกสินค้า นอกจากนั้นแล้วชื่อของเรือแต่ละชนิดยังบ่งบอกถึงสถานะของเรืออีกด้วย เช่น เรือพาย เรือแจว เรือกลไฟ เรือยนต์ เรือเมล์ เรือโดยสาร


นอกจากลักษณะของแม่น้ำในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปแล้ว เรือที่ถูกนำมาใช้ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย ในยุคสมัยก่อนคนทำเรือที่ทำเรือเก่งๆ ทั้งทำไว้ใช้เอง และทำขาย แต่ละคนล้วนพิถีพิถันในการขัดเกลาท่อนไม้ท่อนซุงให้ค่อยๆ กลายเป็นเรือ ว่ากันว่าหากทำเรือขุดลำใหญ่ๆ ต้องใช้เวลาร่วมเดือน เรือจึงจะออกไปเผชิญสายน้ำได้


ในขณะที่ลักษณะของแม่น้ำแตกต่างกันออกไป ผู้คนริมฝั่งน้ำก็มีวิถีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับเรือแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น คนในชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูนหลายหมู่บ้าน พวกเขามีวิถีชีวิตผูกผันอยู่กับเรือตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน เพราะบางคนประกอบอาชีพหาปลา


ยุคสมัยก่อนกว่าจะได้เรือมาสักลำนั้นลำบากกว่าปัจจุบันเยอะมาก เพราะการทำเรือมีวิธีการสลับสับซ้อน ไหนจะต้องดูวันดี ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นวันอังคารกับวันพฤหัสบดี เพื่อเดินทางออกไปแสวงหาไม้ในป่ามาทำเรือ พอได้ไม้มาแล้วไหนจะต้องนำไม้มาถางมาขึ้นรูปจนเป็นเรือ กระบวนการทำเรือหนึ่งลำ คนทำเรือบางคนบอกว่าต้องใช้เวลาไม่ตำกว่า ๗
-๘ วันเป็นอย่างน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ


พ่อสมเกียรติ พ้นภัย คนหาปลาผู้อยู่กับเรือมาแต่เด็กจนโตได้เล่าถึงกระบวนการอันสลับซับซ้อนในการทำเรือให้ฟังว่า สมัยก่อนนี่คนในหมู่บ้านถ้าอยากได้เรือนี่ก็จะชวนกัน เดินถามกันทั่วหมู่บ้านว่า มีใครอยากจะไปฟันเรือ พอได้ทีมแล้วก็หาวันดี พอได้วันก็แต่งเครื่องกันห่อข้าวสาร ห่อของกิน จัดแจงเครื่องมือแล้วก็เดินทางเข้าไปในป่า สมัยก่อนนี่คนแถบน้ำมูนตอนปลายจะเข้าไปเอาไม้จากป่าดงใหญ่ พอไปถึงก็จะเล็งหาไม้แคน (ตะเคียน) ไม้กะยอม (พยอม) ไม้ชาด ไม้กุงเป็นอันดับต้นๆ พอได้แล้วก็จัดการล้มไม้ลง คนทำเรือนี่จะไม่เอาไม้ต้นเล็กจะเลือกเอาต้นที่หน้ากว้างประมาณ ๓ กำมือขึ้นไป เพราะจะขุดง่ายกว่า ส่วนความยาวนั้นก็แล้วแต่เจ้าของเรือจะพอใจ สำคัญเลยนี่ไม้ต้นหนึ่งจะเอาทำเรือเพียงลำเดียว แม้ไม้จะยาวขนาดไหนก็ตามที พอได้มาแล้วก็เริ่มลงมือขุด ตอนขุดนี้ต้องเอาคนทำเรือที่ชำนาญการใช้ขวาน เพราะมันต้องค่อยๆ ถาก ค่อยๆ ขุดจากไม้ทั้งต้นที่เห็นเป็นท่อนก็จะกลายร่างเป็นเรือ


ถ้าเรือลำไหนที่ขุดแล้วมันมีตาเยอะ และส่วนมากจะเป็นตาไม่ดีกับเจ้าของเรือ คนทำเรือก็ไม่เอาต้องไปหาไม้กันใหม่ กว่าไม้ท่อนหนึ่งจะมาเป็นเรือให้เราเห็นผ่านกระบวนการเยอะจนจำแทบไม่หมด


สมัยก่อนกับเดี๋ยวนี้มันต่างกัน สมัยนี้ไปสั่งเขาทำไม่เกิน ๓ วันเรือมาส่งแล้ว เรือขุดแทบไม่มีคนขุด ต้องใช้เรือแป้นหรือเรือกาบที่เราเห็นอยู่เป็นหลัก ตอนนี้ถ้าไปสั่งเขาทำลำหนึ่งก็ประมาณ ๔,๐๐๐ บาทขึ้น ซึ่งก็แล้วแต่ขนาดของเรือ


คนสมัยก่อนนี่ได้เรือมาแล้วเขามีพิธีกรรมเยอะตอนจะเอาเรือลงน้ำนี่เขาก็จะผูกตรงหวัเรือด้วยด้ายขาวด้ายแดงมีสรวยดอกไม้ ตอนจะเลี้ยงเรือแล้วผูกด้วยให้เรือนี่คนเป็นเจ้าของก็จะพูดไปด้วยว่า พอมาอยู่ก็ขอให้ได้โชค หาอยู่หากินง่ายอย่าได้มีอันตราย การพูดนี่ก็แล้วแต่คนเป็นเจ้าของเรือจะพูด เดี๋ยวนี้หาคนทำแบบนี้ยากแล้ว

 

คนหาปลาสมัยใหม่พอได้เรือมาแล้วก็เลี้ยงอยู่บ้าง แต่เลี้ยงไม่ค่อยดี บางคนเวลาขึ้นเรือก็ขึ้นแรงๆ จนเรือจะล่มก็มี คนสมัยนี้ความเชื่อมันค่อยๆ หายไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่หมด พอๆ กับการทำเรือนั้นแหละ คนทำเรือแถบแม่น้ำมูนนี่นับวันก็ค่อยๆ หายไป เพราะมันไม่ค่อยมีคนมาสืบสานภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้ อีกไม่นานหรอกเรือไม้นี้จะหายหมด  ในแม่น้ำจะมีแต่เรือเหล็ก คนทำเรือก็จะกลายเป็นช่างเชื่อมเหล็กแทน...

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
    ...เสียงปืนดังลั่นเปรี้ยง-คล้ายเสียงชะนีหวน
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมเริ่มพัดเปลี่ยนทิศจากเหนือลงใต้ ฤดูฝนใกล้พ้นผ่านแล้ว ฤดูหนาวกำลังเดินทางมาแทน ขณะอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าถัดจากกระท่อมหลังสุดท้ายตรงหาดทรายไปไม่ไกล คนจำนวนมากกำลังวุ่นวายอยู่กับการเก็บเครื่องมือทำงาน หากนับตั้งแต่วันแรกถึงวันนี้ก็ล่วงเข้าไป ๔ วันแล้วที่ช่างในหมู่บ้านถูกไหว้วานให้มาช่วยกันทำเรือไฟ เพื่อให้ทันใช้ในวันออกพรรษา หลังจมอยู่กับงานมาทั้งวัน เมื่อโรงงานต่อเรือไฟปิดประตูลงในตอนเย็น โรงมหรสพริมฝั่งน้ำก็เข้ามาแทน
สุมาตร ภูลายยาว
แม่น้ำนิ่งงันลงชั่วการกระพริบตาของพญามังกร ชาวบ้านริมฝั่งน้ำไม่มีใครรู้ว่า พญามังกรกระพริบตากี่ครั้ง หรือด้วยอำนาจใดของพญามังกร แม่น้ำจึงหยุดไหล ทั้งที่แม่น้ำเคยไหลมาชั่วนาตาปี วันที่แม่น้ำหยุดไหล คนหาปลาร้องไห้ปานจะขาดใจ เพราะปลาจำนวนมากได้หนีหายไปจากแม่น้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
แดดร้อนของเดือนมีนาคมแผดเผาหญ้าแห้งกรัง หน้าร้อนปีนี้ร้อนกว่าทุกปี เพราะฝนไม่ตก ยอดมะม่วงอ่อนจึงไม่ยอมแตกช่อ มะม่วงป่าเริ่มออกดอกรอฝนพรำ เพื่อให้ผลได้เติบโต ความร้อนมาพร้อมกับความแห้งแล้ง ในความแห้งแล้ง ดอกไม้ป่าหลากสีกำลังผลิบาน มีทั้งดอกสีส้ม แดง ม่วง ความแห้งแล้งดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาบ้าง
สุมาตร ภูลายยาว
‘ย่างเข้าเดือนห้า น้ำท่าก็เริ่มขอดแล้ง’ คนแก่บางคนว่าอย่างนั้น (ถ้าผมจำไม่ผิด) คำพูดนี้ได้สะท้อนบางอย่างออกมาด้วย นั่นคือสิ่งที่ผู้คนในยุคสมัยก่อนเห็น พอถึงเดือนห้า น้ำที่เคยมีอยู่ก็แห้งขอดลงเป็นลำดับ ผู้คนในสมัยก่อนที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ทำอะไรบ้าง ในสังคมภาคกลางยุคที่ทำการเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม หน้าแล้งไม่มีใครทำนา เพราะทุกคนต่างรู้ว่า หน้าแล้งแล้วนะ น้ำท่าจะมาจากไหน แต่พอยุคอุตสาหกรรมเกษตรเรืองอำนาจ หน้าแล้งผู้คนก็ยังคงทำนา เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมการเกษตรกันอยู่
สุมาตร ภูลายยาว
ผู้ดีตีนแดง-ขอ โทษ เท้าแดง ตะแคงเท้าเดิน เวลาเหยียบปุ่มปมของพรมผืนนุ่มนิ่มราวกับปุยเมฆ นั่นแหละเท้าของผู้ดี และโลกของผู้ดีมีแต่น้ำครำ –น้ำคำ แห่งการหลอกลวง ทั้งผู้ดีจริง และผู้ดีกลวง ขณะเดินย่ำไปบนเส้นทางสู่ร้านอาหารเลิศหรู เมนูไข่คาเวียกับบรั่นดีแก้วทรงสูงดัดจริตวางรอ ผู้ดีน้ำครำละเลียดเมรัยรสคมผ่านลำคอ และละเลียดไข่คาเวียที่มีอยู่นับจำนวนได้บนจานราคาแพงกว่าการขึ้นห้องกับปอง ของโฉน ไพรำ ผู้ดี น้ำครำมองออกไปนอกหน้าต่างสูงลิบของห้องอาหารโรงแรมเสียดฟ้า เบื้องล่างแม่น้ำไหลเอื่อยเหนื่อยปานจะขาดใจตาย ผู้ดีน้ำครำละเลียดไข่คาเวียราคาแพง เพื่อเลิศหรูมีหน้ามีตา…
สุมาตร ภูลายยาว
สายลมหนาวพัดมาพร้อมกับสายฝนที่โปรยสายลงมา ว่ากันว่านี่คือฝนหลงฤดู! กาแฟแก้วของวันเป็นคาปูชิโน่ร้อนสองแก้ว แต่ไม่ใช่ของผมเป็นของลูกค้าต่างชาติ รสชาติของกาแฟเป็นอย่างไรในเช้านี้ ผมไม่อาจรู้ เพราะไม่ได้ชิม หลังสตรีมนมสดจนร้อนได้ที่ กลิ่นกาแฟสดหอมกรุ่นโชยออกมา และพร้อมแล้วสำหรับการดื่ม-กิน
สุมาตร ภูลายยาว
เนิ่นนานหลายปีแล้วที่ผมพเนจรจากบ้านเกิด แต่หลายๆ ความรู้สึกเกี่ยวกับบ้าน ผมไม่มีทางลืมได้เด็ดขาด บางค่ำคืนที่มีโอกาสอยู่กับตัวเองเพียงลำพัง ด้วยความสงบเงียบ ภาพบ้านเกิดจะย้อนกลับมาสู่ความทรงจำ-ความทรงจำในวัยเยาว์เกี่ยวกับบ้านเกิด
สุมาตร ภูลายยาว
เวลาผ่านไปเร็ว ยามที่เราโตขึ้น เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราโหยหาเวลาของวัยเยาว์ เมื่อเราเติบโตขึ้นเป็นลำดับมีหลายความรู้สึกของวัยเยาว์ที่หล่นหายไปอย่างไม่อาจเรียกคืนกลับมา ราวกับสายน้ำที่ไหลไกลออกไปทุกทีๆ มิอาจหวนกลับมาเป็นสายน้ำได้เช่นเดิม แต่กลายเป็นสายฝนพรำลงมาแทน หากพูดถึงอดีตแล้ว บางด้านที่เลวร้าย เราอยากผ่านเลย แต่กลับจำได้ฝังใจ...
สุมาตร ภูลายยาว
บุนทะนอง ซมไซผล แปลโดย สุมาตร ภูลายยาว    ๑.ผลน้ำเต้าบุ่ง และวรรณคดีพื้นเมือง ถ้าจะให้พูดถึงความสัมพันธ์ไทย-ลาว ความเชื่อมโยงด้านวรรณคดีของชนชาติเผ่าพันธุ์ต่างๆ ในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำของ สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดถึงคือ น้ำเต้าบุ่ง
สุมาตร ภูลายยาว
ดอกเกดเป็นดอกไม้ชนิดหนึ่งที่ลำต้นมีลักษณะเหมือนต้นปาล์ม เวลาออกดอก ดอกจะส่งกลิ่นหอม คนเฒ่าคนแก่จะนิยมนำไปบูชาพระและนำมาทัดหู ผมไม่รู้เหมือนกันว่าดอกไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยหรือมีเฉพาะที่ภาคอีสานและประเทศลาว
สุมาตร ภูลายยาว
จากใบไม้ใบสุดท้ายถึงซิ่นไหมผืนเก่าๆ: ๒ เรื่องสั้นซีไรต์บนแผ่นดินเบื้องซ้ายแม่น้ำของ (โขง) เมื่อพูดถึงวรรณกรรมบนแผ่นดินฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้ว หลายคนคงอดที่จะพูดถึงวรรณกรรมชิ้นคลาสสิกเช่น ‘สังสินไซ’ ไม่ได้ เพราะสังสินไซเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านที่คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงรู้จักมากที่สุดชิ้นหนึ่ง นอกจากสังสินไซแล้ว ผลงานของนักเขียนลาวหลายคนในความรับรู้ของคนไทยคงหนีไม่พ้นผลงานเขียนของท่านมหาสีลา วีระวงค์ ผู้รจนางานมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ในนาม ‘ท้าวฮุ่งและขุนเจือง’