Skip to main content

คนทำเรือแห่งแม่น้ำมูน

หากเปรียบ ปู ปลาคือผลผลิตจากนาน้ำของคนไม่มีนาโคก เรือก็คงไม่ต่างอะไรจากรถไถนา ‘เรือ’ คำสั้นๆ แต่ดูเปี่ยมด้วยความหมายยิ่งใหญ่สำหรับผู้คนริมฝั่งน้ำ นอกจากจะใช้เป็นพาหนะในการเดินทางแล้ว ยังใช้ในการหาปลาอีกด้วย เรือในแม่น้ำย่อมมีขนาดแตกต่างกันออกไป แม่น้ำใหญ่เรือก็ใหญ่ แม่น้ำเล็กเรือก็ลำเล็ก นอกจากขนาดของเรือในแต่ละแม่น้ำจะแตกต่างกันออกไปแล้ว ท้องเรือที่จมอยู่ในแม่น้ำยังแตกต่างกันออกไปด้วย เรือในแม่น้ำสาละวินท้องเรือมีลักษณะแบน แต่เรือในแม่น้ำโขงท้องเรือมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายสิ่วเจาะไม้


การออกแบบเรือล้วนยึดถือความสะดวกของเรือแต่ละลำในแม่น้ำแต่ละสายเป็นหลักใหญ่ ขนาดของเรือที่คนทำเรือแต่ละคนทำออกมาจึงขึ้นอยู่กับการใช้งานเป็นหลัก เช่น เรือขนาดสั้น ๓-๔ วาก็จะใช้ในแม่น้ำไม่ใหญ่ เรือกระแซงถึงแม้จะใช้ในแม่น้ำไม่ใหญ่ คนทำทำเรือก็นิยมทำเรือชนิดนี้ออกมาให้มีขนาดใหญ่ เพราะเรือกระแซงเอาไว้ใช้บรรทุกสินค้า นอกจากนั้นแล้วชื่อของเรือแต่ละชนิดยังบ่งบอกถึงสถานะของเรืออีกด้วย เช่น เรือพาย เรือแจว เรือกลไฟ เรือยนต์ เรือเมล์ เรือโดยสาร


นอกจากลักษณะของแม่น้ำในแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันออกไปแล้ว เรือที่ถูกนำมาใช้ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย ในยุคสมัยก่อนคนทำเรือที่ทำเรือเก่งๆ ทั้งทำไว้ใช้เอง และทำขาย แต่ละคนล้วนพิถีพิถันในการขัดเกลาท่อนไม้ท่อนซุงให้ค่อยๆ กลายเป็นเรือ ว่ากันว่าหากทำเรือขุดลำใหญ่ๆ ต้องใช้เวลาร่วมเดือน เรือจึงจะออกไปเผชิญสายน้ำได้


ในขณะที่ลักษณะของแม่น้ำแตกต่างกันออกไป ผู้คนริมฝั่งน้ำก็มีวิถีชีวิตเกี่ยวเนื่องกับเรือแตกต่างกันออกไปด้วย เช่น คนในชุมชนริมฝั่งแม่น้ำมูนหลายหมู่บ้าน พวกเขามีวิถีชีวิตผูกผันอยู่กับเรือตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน เพราะบางคนประกอบอาชีพหาปลา


ยุคสมัยก่อนกว่าจะได้เรือมาสักลำนั้นลำบากกว่าปัจจุบันเยอะมาก เพราะการทำเรือมีวิธีการสลับสับซ้อน ไหนจะต้องดูวันดี ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นวันอังคารกับวันพฤหัสบดี เพื่อเดินทางออกไปแสวงหาไม้ในป่ามาทำเรือ พอได้ไม้มาแล้วไหนจะต้องนำไม้มาถางมาขึ้นรูปจนเป็นเรือ กระบวนการทำเรือหนึ่งลำ คนทำเรือบางคนบอกว่าต้องใช้เวลาไม่ตำกว่า ๗
-๘ วันเป็นอย่างน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ


พ่อสมเกียรติ พ้นภัย คนหาปลาผู้อยู่กับเรือมาแต่เด็กจนโตได้เล่าถึงกระบวนการอันสลับซับซ้อนในการทำเรือให้ฟังว่า สมัยก่อนนี่คนในหมู่บ้านถ้าอยากได้เรือนี่ก็จะชวนกัน เดินถามกันทั่วหมู่บ้านว่า มีใครอยากจะไปฟันเรือ พอได้ทีมแล้วก็หาวันดี พอได้วันก็แต่งเครื่องกันห่อข้าวสาร ห่อของกิน จัดแจงเครื่องมือแล้วก็เดินทางเข้าไปในป่า สมัยก่อนนี่คนแถบน้ำมูนตอนปลายจะเข้าไปเอาไม้จากป่าดงใหญ่ พอไปถึงก็จะเล็งหาไม้แคน (ตะเคียน) ไม้กะยอม (พยอม) ไม้ชาด ไม้กุงเป็นอันดับต้นๆ พอได้แล้วก็จัดการล้มไม้ลง คนทำเรือนี่จะไม่เอาไม้ต้นเล็กจะเลือกเอาต้นที่หน้ากว้างประมาณ ๓ กำมือขึ้นไป เพราะจะขุดง่ายกว่า ส่วนความยาวนั้นก็แล้วแต่เจ้าของเรือจะพอใจ สำคัญเลยนี่ไม้ต้นหนึ่งจะเอาทำเรือเพียงลำเดียว แม้ไม้จะยาวขนาดไหนก็ตามที พอได้มาแล้วก็เริ่มลงมือขุด ตอนขุดนี้ต้องเอาคนทำเรือที่ชำนาญการใช้ขวาน เพราะมันต้องค่อยๆ ถาก ค่อยๆ ขุดจากไม้ทั้งต้นที่เห็นเป็นท่อนก็จะกลายร่างเป็นเรือ


ถ้าเรือลำไหนที่ขุดแล้วมันมีตาเยอะ และส่วนมากจะเป็นตาไม่ดีกับเจ้าของเรือ คนทำเรือก็ไม่เอาต้องไปหาไม้กันใหม่ กว่าไม้ท่อนหนึ่งจะมาเป็นเรือให้เราเห็นผ่านกระบวนการเยอะจนจำแทบไม่หมด


สมัยก่อนกับเดี๋ยวนี้มันต่างกัน สมัยนี้ไปสั่งเขาทำไม่เกิน ๓ วันเรือมาส่งแล้ว เรือขุดแทบไม่มีคนขุด ต้องใช้เรือแป้นหรือเรือกาบที่เราเห็นอยู่เป็นหลัก ตอนนี้ถ้าไปสั่งเขาทำลำหนึ่งก็ประมาณ ๔,๐๐๐ บาทขึ้น ซึ่งก็แล้วแต่ขนาดของเรือ


คนสมัยก่อนนี่ได้เรือมาแล้วเขามีพิธีกรรมเยอะตอนจะเอาเรือลงน้ำนี่เขาก็จะผูกตรงหวัเรือด้วยด้ายขาวด้ายแดงมีสรวยดอกไม้ ตอนจะเลี้ยงเรือแล้วผูกด้วยให้เรือนี่คนเป็นเจ้าของก็จะพูดไปด้วยว่า พอมาอยู่ก็ขอให้ได้โชค หาอยู่หากินง่ายอย่าได้มีอันตราย การพูดนี่ก็แล้วแต่คนเป็นเจ้าของเรือจะพูด เดี๋ยวนี้หาคนทำแบบนี้ยากแล้ว

 

คนหาปลาสมัยใหม่พอได้เรือมาแล้วก็เลี้ยงอยู่บ้าง แต่เลี้ยงไม่ค่อยดี บางคนเวลาขึ้นเรือก็ขึ้นแรงๆ จนเรือจะล่มก็มี คนสมัยนี้ความเชื่อมันค่อยๆ หายไปกับเทคโนโลยีสมัยใหม่หมด พอๆ กับการทำเรือนั้นแหละ คนทำเรือแถบแม่น้ำมูนนี่นับวันก็ค่อยๆ หายไป เพราะมันไม่ค่อยมีคนมาสืบสานภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้ อีกไม่นานหรอกเรือไม้นี้จะหายหมด  ในแม่น้ำจะมีแต่เรือเหล็ก คนทำเรือก็จะกลายเป็นช่างเชื่อมเหล็กแทน...

 

บล็อกของ สุมาตร ภูลายยาว

สุมาตร ภูลายยาว
วารสารวรรณศิลป์บนแผ่นดินลาว ลมหนาวและความร้อนแล้งโชยผ่านยอดขุนเขาด้านทิศตะวันตกแห่งเมืองหลวงของราชอาณาจักรล้านนามาแผ่วๆ แล้วฤดูกาลแห่งความเหน็บหนาวก็เดินทางมาอีกครั้งพร้อมกับลมสายลมนั้น
สุมาตร ภูลายยาว
สี่พันดอน: บ้านของคนและปลา เมื่อเอ่ยถึงสี่พันดอนเชื่อว่าหลายคนที่เคยไปเยือนคงจินตนาการถึงได้ แต่สำหรับคนที่ไม่เคยไปเยือนคงงุนงงไม่น้อยว่าหมายถึงอะไร คำว่า ‘สี่พันดอน’ เป็นชื่อเรียกเกาะ ดอนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสัก ภาคใต้ของประเทศลาว ดินแดนแห่งนี้ได้ถูกเรียกขานว่า สี่พันดอน เพราะเต็มไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ที่มีจำนวนมากมายเรียงรายอยู่ในแม่น้ำโขงที่มีความกว้างกว่า ๑๔ กิโลเมตร เกาะต่างๆ เริ่มขึ้นที่เมืองโขงและยาวลงไปจนถึงชายแดนลาว-กัมพูชาที่บ้านเวินคามกับเมืองสตรึงเตร็ง ในจำนวนเกาะที่มีอยู่มากมาย เกาะใหญ่ที่สุดชื่อ ‘ดอนโขง’ คำว่า ‘ดอน’…
สุมาตร ภูลายยาว
เจ้าม้าศึกสีเทา ๒,๒๐๐ ซีซี ทะยานไปตามทางลูกรังสีแดงเบื้องหลังฝุ่นคลุ้งตลบ หากมีรถวิ่งตามมาคงบอกได้คำเดียวว่า ‘ขอโทษ’ ก่อนจะถึงทางแยกเสียงโทรศัพท์ของผู้ไปถึงก่อนก็บอกให้ตรงมาตามทางอย่าได้เลี้ยวซ้ายเป็นอันขาด เพราะนั่นหมายถึงการหลงทางจะเกิดขึ้น
สุมาตร ภูลายยาว
การเดินทางเที่ยวนี้มีผู้หญิงนำ เช้านี้เป็นอีกวันที่ตื่นเช้ากว่าวันอื่น แต่หากว่าเมื่อเทียบกับชาวบ้านทั่วไปแล้ว ถือว่ายังสาย โดยเฉพาะกับพ่อค้าแม่ค้าการตื่นนอนตอน ๖ โมงเช้านั้นถือว่าสายมากแล้ว เช้านี้กว่าจะเปิดเปลือกตาตื่นช่างหนักหนาสาหัส ราวกับว่าเปือกตาทั้งสองข้างถูกปิดทับไว้ด้วยเทปกาวชั้นดี หลังล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ สมองยังคงงุนงง อาจเป็นเพราะช่วงนี้พักผ่อนไม่ค่อยพอ รวมทั้งมีเรื่องหลายเรื่องให้ได้คิด แต่เพราะงานที่ทำจึงต้องบังคับตัวเองให้ลุกจากที่นอน
สุมาตร ภูลายยาว
จะแกคนเลี้ยงวัวผู้ไม่เคยขุ่นมัวในหัวใจ ผมจำได้ว่าพบชายคนนี้ครั้งแรกเมื่อเข้าไปบ้านสองพี่น้อง เขาดูแปลกกว่าคนอื่นในหมู่บ้าน เพราะเขาเป็นผู้ชายคนเดียวในหมู่บ้านที่ไว้ผมยาว เค้าโครงใบหน้าของเขาราวกับถอดแบบออกมาจากหัวหน้าชนเผ่าของอินเดียนแดง
สุมาตร ภูลายยาว
การงานของชีวิตที่ตกค้าง ฝนเทลงมาอีกวันแล้ว...เสียงสังกะสีดังราวกับมีก้อนหินนับล้านร่วงลงมาใส่ เย็นวันนี้มีเรื่องราวให้ขบคิดมากมาย กลับมาจากการประชุมที่เคร่งเครียด อันนับว่าเป็นการงานส่วนหนึ่งของชีวิต เล่นเอาเหนื่อยสายตัวแทบขาด แล้วยังมีงานอะไรที่ยังไม่ได้ทำอีกไหมนี่
สุมาตร ภูลายยาว
บันทึกในค่ำคืนที่เปลี่ยนผ่านกับนิทรรศการที่ไม่ได้จัด สายฝนของเดือนกันยายนโปรยสายลงมาทั้งวัน เราออกเดินทางจากเชียงของมาแต่ตอนเช้าด้วยรถคันเล็ก บนกระบะทางตอนท้ายบรรทุกเอกสารต่างๆ รวมทั้งนิทรรศการมาเต็ม รถต้องจดหลายครั้ง เพื่อห่มผ้ายางกันฝนให้ของบนกระบะรถ เราผ่านมากว่าครึ่งทาง ฝนยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตก ซ้ำร้ายยังตกลงมาหนักกว่าเดิม รถวิ่งทำความเร็วได้ไม่มากนัก ทั้งที่ความเป็นจริงแม้ฝนจะไม่ตก มันก็ไม่เคยวิ่งได้เร็วกว่าที่วิ่งอยู่เท่าใดนัก
สุมาตร ภูลายยาว
เมฆสีดำเหนือฟ้าด้านตะวันออกส่งสายฝนลงมาตั้งแต่เช้าจนล่วงบ่าย แม่น้ำเป็นสีชานมเย็น เศษขยะ ขอนไม้ ท่อนไม้ และต้นไม้ลอยมากับสายน้ำ และไหลไปตามแรงเฉื่อยของกระแสน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
เช้านี้เหมือนกับทุกเช้าในช่วงนี้พ่อท่อน ยาแก้วเดินทอดน่องในสวนบนดอนทรายริมฝั่งแม่น้ำโขงเพื่อดูแปลงมะเขือราว ๔ ไร่ ในใจพ่อท่อนเองไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้แม้ว่าจะถึงช่วงเวลาในการเก็บแล้ว สาเหตุที่ทำให้พ่อท่อนไม่อยากเก็บมะเขือในตอนนี้ เพราะราคามะเขือต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ปีนี้มะเขือหนึ่งหมื่น (๑๒ กิโลกรัม) ขายส่งจากสวนได้เงิน ๑๒ บาท
สุมาตร ภูลายยาว

รถตู้วิ่งไปบนถนนลาดยางมะตอยที่บางช่วงเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนสายนี้เป็นเส้นทางจากจังหวัดกระแจะไปอำเภอสามบอ เพราะถนนไม่ค่อยดีนัก ระยะทาง ๓๕ กิโลเมตรต้องใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมงจึงถึงจุดหมาย เมื่อรถตู้ทั้ง ๓ คันจอดสงบนิ่งลงตรงประตูหน้าวัด ผู้โดยสารในรถตู้ก็พากันทยอยลงจากรถ เบื้องล่างของถนนเป็นแม่น้ำสายใหญ่ คนท้องถิ่นเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า ‘โตนเลของ-แม่น้ำของ-โขง’ แม้ยังไม่สายมากนัก แต่แสงแดดก็ส่องประกายร้อนแรงเหนือสายน้ำ ฟ้ากว้างเปล่าแปนเป็นสีฟ้าไกลสุดสายตาหยั่งถึง บนสายน้ำเรือหลายลำจอดลอยลำอยู่ ใกล้กับเรือตรงโคนต้นจามจุรีมีเด็ก ๓-๔ คนนั่งอยู่ ถัดจากโคนต้นจามจุรีไปมีเรือลำหนึ่งลอยลำอยู่…
สุมาตร ภูลายยาว
จากพื้นที่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำที่แม่น้ำโขงไหลผ่าน ผู้คนสองฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำที่มีความยาว ๔,๙๐๔ กิโลเมตรสายนี้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่สภาพของพื้นที่ ในช่วงที่ไหลผ่านประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีผู้คนไม่จำนวนไม่น้อยได้ใช้ประโยชน์ในด้านแตกต่างกันออกไป ผู้ใหญ่ใช้หาปลา และใช้พื้นที่ตามหาดทรายที่โผล่พ้นน้ำ และริมฝั่งทำการเกษตร เด็กๆ ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับฝึกหาปลา และว่ายน้ำ
สุมาตร ภูลายยาว
  ผาชันเป็นหมู่บ้านอีกแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำโขงอยู่ในเขตอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านแห่งนี้มีเรื่องราวน่าสนใจหลายอย่าง เริ่มแรกเดิมทีก่อนเดินทางไปถึง ผมจินตนาการถึงหมู่บ้านแห่งนี้ในรูปแบบต่างๆ และพอเดินทางไปถึงบ้านผาชันเป็นครั้งแรก ซึ่งอยู่ในหน้าฝน ผมก็พบว่า ในฤดูฝนหมู่บ้านแห่งนี้กลายเป็นเกาะขนาดย่อมๆ ชาวบ้านบอกว่า "ในฤดูฝน น้ำจากห้วยจะไหลจนท่วมสะพาน และถนนที่เข้าสู่หมู่บ้าน การเดินทางเข้าหมู่บ้านต้องใช้เรือข้ามลำห้วยแล้วไปต่อรถ" ร่องรอยของคำพูดปรากฏให้เห็นเมื่อผมเดินทางเข้าสู่หมู่บ้าน รถข้ามสะพานที่น้ำในลำห้วยเริ่มปริ่มอยู่ใต้สะพาน…