Skip to main content

 

ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช" 

 

ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้

 

 

ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ)

 

นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย

 

กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย ถ้าบังคับแล้วจะขนาดไหน ??

 

ข้อคิดเห็นเสนอแนะค่ะ

 

1. การจัดทำทางเลือกโดยระบุว่า มี หรือไม่มี SSB นั้น ผู้วางผังไม่ควรเอานโยบายการพัฒนาที่ยังเป็นความขัดแย้งมาเป็นเงื่อนไขในลักษณะที่เป็น Policy Input  ในการจัดทำทางเลือกค่ะ

 

เพราะควรมีกระบวนการมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ ประเมินนโยบายที่จะมาเป็น Input นี้ก่อน ทุกนโยบายค่ะ  เพื่อจะได้เห็นว่า นโยบายการพัฒนาต่างๆมีข้อดี ข้อเสีย ซ้ำซ้อน ส่งผลต่อพื้นที่ และส่งผลต่อกันอย่างไร   ให้ได้ผลตรงนี้ด้วยการมีส่วนร่วม(จริงๆ ทุกภาคส่วน ทุกระดับ) ก่อนค่ะ 

( ชุมชนสามารถเสนอแนะให้ผู้ทำงานวางผังกลับไปศึกษา ประเมินผลนโยบายต่างๆ  นำเสนอข้อมูลและนำมาเข้ากระบวนการมีส่วนร่วมก่อนค่ะ)

 

โดยเฉพาะนโยบายที่เป็นปัญหา  ยังไม่ควรนำมากำหนดเป็นเงื่อนไขทางเลือกในผังค่ะ  เพราะถึงชาวบ้านไม่เห็นด้วย  ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าคณะกรรมการฯในกรมโยธาจะเห็นด้วยกับชาวบ้านค่ะ   การแทรกแซงทางนโยบาย และการพยายามให้ผู้วางผัง ซึ่งเป็นบริษัทฯนำนโยบายของรัฐไปใส่ในการวางผัง  มีตัวอย่างให้เห็นมากในการพิจารณาในกรรมการต่างๆ   ถ้าไปถึงระดับนั้น  ชุมชนอาจจะไม่ทันทราบข้อมูลข่าวสารในการพิจารณาค่ะ

 

ในกรณีนี้ ไม่ควรมีทางเลือกที่เอา SSB  ค่ะ  ควรจะเป็นทางเลือกอื่นที่คิดร่วมกันค่ะ และควรบอกว่าแต่ละทางเลือกนั้น เน้นการพัฒนาหรือการใช้พื้นที่ต่างกันอย่างไรด้วยค่ะ มีผลกระทบด้านใด ที่ต้องวิเคราะห์ให้เห็น

 

ส่วน SSB  นั้น ถ้ายังไม่มีกระบวนการการประเมินผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ในทุกด้าน และไม่มีการยอมรับจากการมีส่วนร่วมแล้ว  ก็ไม่ควรนำมาพิจารณาในการกำหนดพื้นที่รองรับการพัฒนาที่ตามมาค่ะ

 

2. การกำหนดพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนนั้น   ขอให้ถามจากผู้วางผัง หน่วยงานให้ชัดเจนค่ะ ว่าจะมีกิจกรรมใดในชุมชนบ้าง  และขอให้แสดงข้อมูล หลักเกณฑ์ในการกำหนดพื้นที่ชุมชนที่ขยายตัว ( เพราะดูในรูปชุมชนจะชิดกับพื้นที่อนุรักษ์ป่าพรุ ชุ่มน้ำ   ไม่ทราบว่าเป็นชุมชนเดิม หรือเผื่อสำหรับอนาคตด้วย  ซึ่งตรงนี้ต้องมีมาตรการไม่ให้มีผลกระทบจากชุมชนสู่พื้นที่ป่าพรุด้วยค่ะ)

 

โดยสรุปคือ 

การจัดทำผังทางเลือก 2 ทาง โดยเอาเงื่อนไขของ SSB`มาเป็น Input ในทางเลือกด้านหนึ่งนั้นไม่เห็นด้วยค่ะ  ไม่ควรนำมาพิจารณาถ้ายังมีข้อขัดแย้งไม่ยุติเป็นที่ยอมรับค่ะ

 

การทำทางเลือกอื่นมาเปรียบเทียบ  ควรนำปัจจัยด้านนโยบายการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่ง หรือการเกษตร+ประมง หรือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มาเสนอในการทำทางเลือก เพื่อเสริมความเข้มแข็งให้กับการผลิตและบริการ ที่เป็นฐานเศรษฐกิจชุมชน ที่ช่วยรักษาฐานทรัพยากรค่ะ

 

และการทำผังทางเลือก ควรชี้ให้ชัดว่า ทางเลือกนั้นได้ส่งเสริมฐานเศรษฐกิจชุมชน การเกษตร การประมง การบริการ รวมทั้งอุตสาหกรรมเดิมของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้อย่างไรค่ะ

บล็อกของ คนไม่มีอะไร

คนไม่มีอะไร
  บ่อน้ำมันทำลายธรรมชาติ ทำลายเกาะสมุย พะงัน เต่า
คนไม่มีอะไร
คนกลาย พูดดังๆ ว่า ไม่เอา...เชฟรอน            วันที่  8 มีนาคม 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ลานหน้าองค์การบริหารส่วนตำบลกลาย ทางบริษัทเชฟรอนและบริษัทที่ปรึกษา ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องการสร้างท่าเรือ และคลังเก็บวัสดุของบริษัทเชฟรอน เนื่องจากเชฟรอนต้องการย้ายฐานปฏิบัติการจาก จังหวัดชลบุรีและสงขลา มาอยู่ที่บ้านบางสาร ตำบลกลาย จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งทางบริษัทให้เหตุพลว่า ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะว่าสามารถลดต้นทุนในการขนส่งจากแท่นขุดเจาะมาบนฝั่ง…
คนไม่มีอะไร
ความเงียบได้กลับคืนสูบ้านท่าสูงบนอีกครั้งหลังจากงานสมัชชาประมงพื้นบ้านได้ผ่านไป ก็คงเหมือนลมทะเลที่พัดหอบเอาไอทะเลเข้าสู่ฝั่ง คงเหลือไว้แต่รูปภาพและความทรงจำที่ติดอยู่ในสมองของใครใครหลายคน ผมซึ่งมีโอกาสได้เข้าร่วมงานนี้ตั้งแต่วันที่เตรียมงานจนวันสุดท้าย           ภาพที่เห็นยังคงวนเวียนอยู่ในหัวกับคำถามมากมายที่ตามมาว่า งานนี้มีไว้เพื่อ.......?           มันเป็นคำถามที่ผมสงสัยเรื่อยมาจนคำตอบของคำถามเหล่านั้นค่อยๆ คลายออกมาทีละนิดทีละนิด เริ่มจากภาพของผู้คนที่เตรียมงานกันอย่างแข็งขัน…
คนไม่มีอะไร
  โครงการพัฒนาที่พยายามคืบคลาน…เข้ามา อีกนานมั้ย….??? ที่ประเทศไทยจะรอดพ้นจากโครงการพัฒนาที่ประชาชนต้องเป็นแพะรับบาป ชาวบ้านเป็นผู้รับกรรม เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นผู้ต้องสูญเสีย และเป็นผู้เสียสละ พื้นที่ สิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม “เราไม่ต้องการโครงการพัฒนาขนาดใหญ่” “เราไม่ต้องการอุตสาหกรรมปิโตรเคมี” “เราไม่ต้องการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์” “เราไม่ต้องการท่าเรือน้ำลึก” “เราไม่ต้องโรงไฟฟ้าถ่านหิน” คำเหล่านี้ประมวลสรุปจากเวทีจังหวัดภาคใต้ที่เราได้ไปจัดมา (ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล ระนอง กระบี่ ภูเก็ต และพังงา)…
คนไม่มีอะไร
เก็บตกจากเวทีโลกร้อน เมื่อ 3-5 ตุลาคม 2552 บรรยากาศการเดินขบวนรณรงค์เวทีโลกร้อน มันน่าจะบอกอะไรบางอย่างให้กับประเทศที่กำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ กำลังพลนับหมื่นคน ณ วันนั้น เพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆทบทวนนโยบายการพัฒนาที่ผิดทาง คนนครศรีธรรมราชก็มาด้วย เพราะว่ากำลังจะเจอกับแผนพัฒนาที่สวนทางกับวิถีชีวิตชาวบ้าน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คนนครศรฯ ไม่เอา
คนไม่มีอะไร
  แผนอยู่เย็นเป็นสุข : ภาพรวมการจัดเวทีจังหวัด   วัตถุประสงค์         เพื่อรับฟังข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นรายจังหวัด เพื่อที่จะเปรียบเทียบกับแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ของ สศช. การพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรของการนิคมแห่งประเทศประเทศไทย และโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดในพื้นที่ภาคใต้ รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างมติข้อเสนอในแผนพัฒนาภาคใต้ที่ยั่งยืน   พื้นที่ดำเนินการ   13    จังหวัดภาคใต้ (ยกเว้นสุราษฎร์ธานี)   กระบวนการจัดเวทีจังหวัด          …
คนไม่มีอะไร
   ภาคใต้ : อุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร   ในปัจจุบันปริมาณการใช้เหล็กในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ในแต่ละปีมีความต้องการใช้เหล็กในประเทศสูงถึงประมาณ 12.5 ล้านตัน/ปี และต้องนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศโดยเฉพาะเหล็กคุณภาพสูงประมาณ 4.5 ล้านตัน/ปี   ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแบบครบวงจร โดยขาดการผลิตเหล็กต้นน้ำซึ่งเป็นการผลิตเหล็กขั้นต้นเพื่อป้อนให้กับอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต่อไป จึงไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้เหล็กคุณภาพสูงในประเทศไทยได้…
คนไม่มีอะไร
 ผังเมืองกำลังจะเปลี่ยน "นครศรีธรรมราช"  ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ตอนนี้มีการลงมาจัดทำผังเมืองถึงครึ่งทางแล้ว ไปแอบได้ข้อมูลมา ตอนบริษัท นำเสนอ คณะกรรมการกำกับผังเมืองฯ  และตอนนี้ทางพื้นที่ต้องความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพข้างล่างนี้  ความเห็นจากแสนกล้า (นามสมมติ) นี่คือตัวอย่างหนึ่ง  ที่สะท้อนว่าถ้าเราเอาผังนโยบาย ระดับภาค ประเทศมาใช้บังคับตามกฎหมายตามที่กรมโยธาฯกำลังทำร่าง พรบ. ผังเมืองใหม่อยู่  จะเป็นอันตราย เป็นการมัดมือชกในการเอานโยบายมาใส่ในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมาย กรณีนี้ ยังเอามาใส่ทั้งๆ ที่ผัง หรือนโยบายระดับภาคยังไม่ใช้บังคับตามกฎหมาย…