sutthida's picture

<p>ใช้ชีวิตวนเวียนอยู่ในประเทศลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียนมาเป็นเวลานานพอสมควรทั้งในฐานะของผู้สื่อข่าว และคนทำงานในประเด็นสังคมที่มีโอกาสได้ร่วมงานกับองค์กรทั้งระดับชาติและนานาชาติ </p><p>จนปัจจุบันหันมาเป็นที่ปรึกษาอิสระให้กับองค์กรต่างๆ ในโครงการด้านเอชไอวี/ เอดส์ แรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ แต่ก็ไม่เคยตัดใจจากงานเขียนและงานข่าวได้เลย </p><p>ยังคงต้อง &ldquo;เก็บมาคิด แล้ว เอามาเขียน&rdquo; อยู่เสมอ</p>

บล็อกของ sutthida

ร้อยแปดเรื่องราวจากชาวแท๊กซี่

ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนน

เห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็คิดว่าน่าจะสนุกดีเหมือนกันหากจะได้เก็บเอาเรื่องราวที่เราได้พบเห็นระหว่างที่อยู่บนรถแท็กซี่ หรือจากบทสนทนากับคนขับแท็กซี่มาแลกเปลี่ยนกันในที่นี้ และ ตอนนี้เขียนเอาไว้ว่า เป็นตอนที่ 1 ก็หมายความว่าจะมีตอนต่อๆ ไปอีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต่อกันในทันใด อาจจะมีเรื่องอื่นๆ มาคั่นก็ได้ แต่ทุกๆครั้งที่จะเขียนถึงแท๊กซี่ก็จะใช้ชื่อนี้แหละ "ร้อยแปดเรื่องราวจากชาวแท๊กซี่"

ประชาชนอาเซียน คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ

"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์ เน้นเรื่องความรับผิดชอบของประชาชนนั้นก็มาจากที่เขามองว่า อาเซียนโฉมใหม่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเป็นหลักในการเข้ามาร่วมทำงานกับอาเซียน ช่วยกันผลักดันรัฐบาลของประเทศตัวเองให้ปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎบัตรของอาเซียน

 

"อาเซียนมีพื้นที่ให้กับภาคประชาชนแล้ว ดังนั้นหากหลายๆ สิ่งไม่ได้ก้าวไปอย่างที่หวัง คงไม่ใช่เรื่องที่จะไปตำหนิรัฐบาล หรือผู้นำแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่พวกคุณประชาชนเองก็มีส่วนต้องรับผิดชอบ ที่จะเข้ามาทำงานร่วมกับอาเซียน คุณต้องเข้าไปผลักดันรัฐบาลของประเทศตัวเอง ...." ความตอนหนึ่งจากสุรินทร์ พิศสุวรรณ บนเวทีดังกล่าวพร้อมกับบอกด้วยว่า อย่าปล่อยให้เขาทำงานคนเดียว ประชาชนต้องมาร่วมกับเขาเพื่อทำงานนี้

ดอกไม้ในสวนแม่ : ความสงบท่ามกลางความรุนแรง

1

ทั้งๆที่มีทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่ที่นนทบุรีมามากกว่า 10 ปี แล้ว และก่อนหน้านั้นก็อยู่ กรุงเทพฯ ขอนแก่น อุบลฯ ชลบุรี และอื่นๆอีกหลายแห่ง แต่เวลาที่มีใครก็ตามมาถามว่าเป็นคนที่ไหน (ไม่ได้ต้องการคำตอบแบบมุขตลกว่า ที่ไหนๆ ก็เป็นคนนะ) ผู้เขียนก็ตอบว่า “เป็นคนปัตตานี” แม้ว่าจริงๆ แล้วไปปัตตานีไม่เคยเกิน 7 วันต่อปีเลยสักครั้ง และบางปีก็ไม่ได้ไปเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าการใช้ชีวิตอยู่ปัตตานีค่อนข้างน้อย มาถึงวันนี้ที่แม้มีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ในยามที่เดินทางไปปัตตานี ก็จะเรียกว่า “กลับบ้าน” อีกเช่นกัน

เรื่องการบอกว่าเป็นคนที่ไหนของไทยนั้น เชื่อว่าคนอื่นๆ ก็เช่นกันคงไม่พ้นต้องตอบตามที่เกิดของตนเอง หรือบ้านที่พ่อแม่อยู่ เพื่อนฝูง คนรู้จักส่วนใหญ่ หรือแม้แต่บุคคลสำคัญๆ ที่แม้ว่าจะอยู่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่เด็กก็ยังบอกว่าตัวเองเป็นคนจากจังหวัดที่เป็นบ้านเกิด หรือคนกรุงเทพฯ ที่ย้ายไปอยู่ที่อื่นนานหลายสิบปีก็ยังเรียกตัวเองว่าเป็นคนกรุงเทพฯ อยู่นั่นเอง

พูดถึงที่ปัตตานีบ้านเกิด ในวันนั้นเผอิญได้แวะไปแบบไม่ได้ตั้งใจกลับบ้าน แล้วบังเอิญอีกเช่นกันว่ามาตรงกับที่รัฐบาลประกาศปรับคณะรัฐมนตรีพอดี นั่งชมข่าวอยู่กับครอบครัว หลังข่าวจบก็มีเสียงระเบิดดังขึ้น 1 ชุด แต่ก็ไม่ได้เหนือความคาดหมายแต่ประการใดจากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาของคนที่นั่นว่าเหตุการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้น คนที่นั่นต่างเดาได้ว่า “นี่เป็นการระเบิดต้อนรับ ครม.ชุดใหม่” หมายถึงว่าหยั่งเชิงอำนาจดูว่า จะทำอะไรได้หรือไม่ (แล้วก็ไม่มีใครทำอะไรได้จริงๆ)

'คนไม่ดี' กินเหล้าวันเข้าพรรษา

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า โดยส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยกับเรื่อง การไม่ขับรถหลังจากได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือที่ที่มีการรณรงค์ที่เรียกว่า “เมาไม่ขับ” และเห็นด้วยกับการรณรงค์ไม่ให้ดื่มเหล้าในวัด หรือศาสนสถานต่างๆ และยังเห็นด้วยอีกกับการรณรงค์ให้คนลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลงบ้าง เพื่อเห็นแก่สุขภาพและเพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณในการรักษาพยาบาล อันเนื่องมาจากโรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดื่มสุรา รวมทั้ง การเชิญชวนให้งดดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษา สำหรับประชาชนที่เป็นพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการถือศีลถือเป็นการสร้างมงคลให้กับชีวิตก็เป็นเรื่องที่เห็นด้วยเช่นกัน

ทว่า กลับรู้สึกไม่สบายใจอย่างยิ่งที่เห็นแคมเปญที่นำเสนอออกมาทางโทรทัศน์เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้คนเลิกดื่มเหล้าในช่วงเข้าพรรษา ขออนุญาตเล่าให้ฟังในที่นี้สักเล็กน้อยเผื่อท่านที่ไม่ได้ชมโฆษณา คือ มีฉากที่เป็นร้านประมาณร้านข้าวต้ม หรือ ลาบ น้ำตก (อาจประมาณร้านข้างทาง) คนที่นั่งกันอยู่กลุ่มหนึ่งเป็นผู้ชายล้วนๆ ที่ดูก็รู้ว่าตั้งใจจะเสนอให้เป็นคนในชนชั้นผู้ใช้แรงงาน

ผู้ชายคนหนึ่งกำลังปรับทุกข์กับผู้ชายที่ท่าทางอาวุโสกว่า และคล้ายกับว่าเคยมีบุญคุณต่อกันยกมือไหว้พร้อมพูดว่า “ผมนับถือเหมือนพ่อผมเลย” ในขณะที่คนที่ถูกไหว้นั้นนั่งอยู่แสดงความเห็นใจ และขณะเดียวกันก็ตะโกนออกไปสั่งอาหารว่า “น้อง เอาเหมือนเดิม แบนนึง” คนทั้งร้านถึงกับชะงักหันมามองด้วยสายตาตำหนิ และคนที่นั่งร่วมโต๊ะเดียวกัน 2-3 คน รวมทั้งคนที่พูดว่านับถือก็ลุกขึ้นเดินหนี ในขณะเดียวกันก็มีเสียงบรรยาย “เอ้า เสียเลย” แล้ว ก็เป็นเสียงบรรยายต่อด้วยน้ำเสียงประชดประชันและเน้นๆ ว่า “คนที่กินเหล้าช่วงเข้าพรรษานี่ แย่ ต่อจากนั้นก็มีเบอร์โทรศัพท์สายด่วนเลิกเหล้าขึ้นมาโดยไม่มีเสียงบรรยายใดๆ

ประชาชนชาวพม่ากับรัฐบาล (เผด็จการ) ที่มั่นคง

นับเป็นความสะเทือนใจอย่างยิ่งของคนทั่วโลกกับภาพความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวพม่า อันเนื่องมาจากพายุไซโคลนนาร์กิส ที่ตัวเลขของผู้เสียชีวิตนั้นหลังจากเกิดพายุนั้นแม้ผ่านมาแล้วหลายวันก็ยังไม่นิ่ง องค์กรกาชาดสากลคาดว่าอยู่ระหว่าง 60,000 – 120,000 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบสูงถึง 1.6-2.5 ล้านคน โดยคนเหล่านี้จะต้องเผชิญกับภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย และตลอดจนปัญหาสุขภาพที่จะตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้  

ท่ามกลางภาพสะเทือนใจเหล่านั้น นานาประเทศได้พยายามที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งวันนี้ก็ยังมีบรรดาหน่วยบรรเทาทุกข์ทั้งหลาย รวมทั้งหน่วยงานทางแพทย์ หน่วยกู้ภัย หรือแม้กระทั่งเครื่องยังชีพทั้งปวงที่พร้อมจะเข้าไปในพม่า  ทว่า รัฐบาลพม่ากลับไม่ยินดีที่จะสนองตอบต่อความช่วยเหลือเหล่านั้น แม้จะรู้ดีว่า หากให้ผู้เชี่ยวชาญในการกู้ภัยเข้าไป และการระดมสรรพกำลังจากการภายนอกเข้าไปได้อย่างทันท่วงทีแล้ว การสูญเสียชีวิตและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอาจจะน้อยลงกว่านี้แน่  แต่นั่นหมายความว่าพม่าจะต้องยอมอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานบรรเทาทุกข์ได้เข้าไปทำงานตามระบบที่ได้รับการฝึกฝนมา และเมื่อหลายๆ ฝ่ายมีพยายามมากเข้า สุดท้ายท่าทีที่อ่อนที่สุดของรัฐบาลทหารก็คือ ส่งสิ่งของหรือเงินมาก็ได้แต่ไม่เอาคน และข้อมูลที่ไม่เป็นที่เปิดเผยนักที่พม่าได้ส่งไปถึงสหประชาชาติก็คือ สำหรับหน่วยบรรเทาทุกข์ที่พม่าจะยอมรับให้เข้าไปในประเทศพม่าได้จะมีเพียง 4 ประเทศเท่านั้น คือ จีน อินเดีย บังคลาเทศ และ ไทย เป็นการแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า “ไม่เอาตะวันตก”

เพื่อนบ้านไฟไหม้ หรือไทยจะนั่งดูเฉยๆ

 

pic1

 

 

pic2

 

1

ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ข่าว คงจะรับรู้กันแล้วถึงสถานการณ์ในพม่าที่บานปลายมากขึ้นเรื่อยๆ  รัฐบาล ทหารพม่าออกมาปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ที่ปกติแล้วเป็นที่เคารพยิ่งของ ประชาชนชาวพม่าซึ่งหมายรวมถึงบรรดาผู้คนในรัฐบาลด้วย  แต่การปราบปรามผู้ชุมนุมในครั้งนี้นั้นไม่ได้ทำให้ผู้คนหวาดกลัวไม่กล้าชุมนุมกันต่อ กลับยิ่งทำให้เหตุการณ์ในพม่าทวีความเลวร้าย และรุนแรงหนักขึ้นไปอีก

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีประเด็นให้ขบคิดต่อได้หลายประการทีเดียว เริ่มตั้งแต่ว่าทำไมชาวพม่านับตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ปี 1988 เป็นต้นมา หรือที่ เรียกกันว่า เหตุการณ์ 8888 นั้นสามารถทนอยู่ในสภาพ ที่เสรีภาพถูกปิดกั้นมาได้อย่างยาวนาน รวมถึงการยินยอมให้รัฐบาลทหารใช้อำนาจในทางมิชอบ และทนอยู่ในสภาวะหวาดกลัวมาได้นานถึงเกือบ 20 ปี แล้วทำไม มาถึงตอนนี้ชาวพม่าถึงกล้าออกมา กระทำการต่อต้านรัฐบาล  ประเด็นที่น่าสนใจถัดไปคือบทบาทของพระสงฆ์ และประเด็นสุดท้ายคือบทบาทของไทยต่อเหตุการณ์นี้

ก่อนอื่นก็ต้องขอย้อนกลับมาดูที่มาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกันก่อน การชุมนุมในครั้งนี้นับว่า เป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุด และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เริ่มต้นมาจากการเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ปกติเป็นประเด็นหลักในการเรียกร้องของชาวพม่า และมักจะเกิดขึ้นนอกประเทศ เพราะยากที่จะมีการรวมตัวกันได้ในประเทศ  แต่เหตุการณ์ครั้งนี้กลับไม่ใช่ เพราะมีเหตุจากความไม่พอใจที่รัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน

ทำไมแค่ขึ้นราคาน้ำมัน ผู้คนต้องออกมาประท้วงกันขนาดนี้เชียวหรือ คำตอบก็คือใช่ การขึ้นราคาน้ำมันสูง ขึ้นถึง 3 เท่า เท่ากับเป็นการผลักภาระให้กับประชาชน  ปกติประชาชนก็ยากจนอยู่แล้ว ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายค่ารถเมล์ หรือค่าพาหนะต่างๆ ที่ราคาสูงขึ้นเพื่อสัญจรไปมาหรือเพื่อไปทำงานได้

ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลทหารมานานเกือบสองทศวรรษ ประชาชนชาวพม่ามีแต่จะจนลงทุกวันๆ ความขัดสนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย เดิมที่ต้องทนอยู่กับความกลัว ความกดดันและขาดสิทธิในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในเรื่องข่าวสารข้อมูลและการแสดงความเห็นก็ทำให้อึดอัดมากพออยู่แล้ว  แต่นี่ยังมีเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเพื่อการดำรงอยู่ของผู้คนเพิ่มเข้าไปอีก

ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้มองเห็นในอีกมุมหนึ่งว่า เอาเข้าจริงๆ แล้ว ประชาธิปไตยอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ของการปกครองประเทศ จะเป็นการปกครองระบอบใดก็ได้หากประชาชนยังมีกินมีใช้ การออกมาเรียกร้องเรื่องสิทธิอื่นๆ นั้นยังมีได้น้อยกว่ามาก อีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนคือ  ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งก็รู้กันดีอยู่ว่า มีการเลือกตั้งกันแต่ในนามเท่านั้น ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเลย เห็นได้ชัดว่าเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ เสรีภาพของสื่อมวลชนแทบจะไม่มีเลยในสิงคโปร์ แต่ประชาชน สิงคโปร์กลับยินดีที่จะเป็นอย่างนั้น พร้อมทั้งยืนยันว่ารัฐบาลสิงคโปร์นั้นดีมากๆ เพราะว่าทำให้ฐานะ ทางเศรษฐกิจของชาวสิงคโปร์นั้นดี มีอยู่มีกินถึงขั้นกินดีอยู่ดี ผู้คนจึงไม่ได้เดือดร้อนที่จะออกมาเรียกร้อง หาเสรีภาพอื่นๆ อีก  กรณีพม่าก็เช่นเดียวกัน ผู้คนยอมตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นมาได้ อย่างยาวนาน แต่เรื่องเศรษฐกิจ หรือเรื่องกินอยู่นั่นเองที่ทำให้คนทนไม่ได้อีกต่อไป  ต้องลุกขึ้นสู้

2

ประเด็นต่อมา เรื่องบทบาทของพระสงฆ์ในพม่า หากเทียบกับความคาดหวังของคนไทยจำนวนหนึ่งแล้ว ก็อาจคิดว่าคงไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะมาข้องเกี่ยวกับการเมือง แต่หากดูในบริบทหน้าที่ของพระสงฆ์ในพม่า ซึ่งมีส่วนร่วมกับกิจการสังคมอยู่มาก  พระสงฆ์มีบทบาทในการร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจาก รัฐบาลให้กับประชาชนมานานพอสมควร   จึงไม่แปลกที่ครั้งนี้ พระสงฆ์จะมาเป็นผู้นำเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ที่สำคัญประชาชนเองก็อุ่นใจที่พระสงฆ์ออกมาเป็นแกนนำ  ชาวพม่านั้นได้ชื่อว่า ให้ความเคารพและให้ความสำคัญกับพระสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นเรื่องที่อาจคาดการณ์กันไว้ว่า  รัฐบาลคงไม่โหดร้ายที่จะใช้ความรุนแรงทำร้ายพระได้

การชุมนุมโดยมีพระสงฆ์ร่วมด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่  ในเหตุการณ์ 8888 พระสงฆ์ก็มีส่วนร่วม และรัฐบาลทหารก็เคยสังหารพระสงฆ์ จับเข้าคุก หรือปราบปรามตามวัดต่างๆ มาแล้ว แต่การปราบปรามพระสงฆ์ในครั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลอาจหาความชอบธรรม ด้วยการอ้างว่าพระสงฆ์เหล่านี้ อาจจะมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นคนของพรรคเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจี ที่แฝงตัวบวชอยู่ด้วย   ซึ่งนั่นก็เป็นการแสดงให้เห็นอีกครั้งว่า สิ่งที่อยู่คู่กับรัฐบาลทหารคืออำนาจนิยมเท่านั้น หาใช่ธรรมนิยมไม่

สิ่งที่ต้องมองกันต่อไปคือ การใช้ความรุนแรงของรัฐบาลนั้นมีแต่ทำให้เรื่องบานปลายมากขึ้น  เพราะประชาชนก็คงถอยไม่ได้แล้ว การรับมือกับเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กทั้งของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายประชาชน

3

หันกลับมามองที่ไทย ขณะที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้กับเพื่อนบ้านของเรา   ปฎิกิริยาจากทั่วโลกส่งไปยัง ประเทศพม่ากันแล้ว  ประเทศไทยในยุคที่มีรัฐบาลทหารเป็นผู้นำเช่นกันกลับเฉยๆ  ยังมิได้ริเริ่มปฎิกิริยาใดๆ ต่อพม่าเลย ด้วยสาเหตุสะท้อนใจว่า “ช่างเหมือนกันกับเราเหลือเกิน” หรืออย่างไร

ในภาคประชาชน คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กรร่วมกับกลุ่มต่างๆ ทั้งนักศึกษา กลุ่มแรงงานพม่า ในประเทศไทย ออกมาเดินขบวนกันที่สถานทูตพม่า มีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลพม่า ยุติการกระทำที่รุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม  ซึ่งก็มีเสียงจากประชาชนบางคนที่ค่อนขอดกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องนี้ในทำนองว่า “ทำบ้านตัวเองให้ดีเสียก่อนเถอะ แล้วค่อยยุ่งเรื่องชาวบ้าน”  ซึ่งแม้จะเป็นการมองที่คับแคบ ไปหน่อย แต่ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง

นอกจากนี้ มีพระสงฆ์ไทยออกมาเจริญภาวนาให้แก่บรรดาพระสงฆ์ในพม่า เพื่อให้ประเทศพม่า เกิดความสงบสุขโดยเร็วด้วย  การแสดงออกต่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้นในหลายภาคส่วน แต่ยังไม่มีการ ริเริ่มปฏิบัติการใดๆ ที่ออกมาจากรัฐบาลไทย ในฐานะเพื่อนใกล้ชิดและในฐานะสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งในปีหน้านี้ไทยก็จะเป็นประธานด้วย นอกจากที่ไทยจะไม่ได้แสดงท่าทีหรือจุดยืนที่ชัดเจนต่อเรื่องนี้แล้ว ในวันที่เริ่มมีการปราบปรามโดยใช้กำลังและมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นแล้วนั้น  ท่านประธาน คมช. ก็ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในทำนองว่า สถานการณ์คงไม่รุนแรงมากหรอก ภาพที่เห็นว่ามีการทำร้ายผู้ประท้วง นั้นอาจเป็นเพราะผู้ประท้วงนั้นยั่วยุเจ้าหน้าที่ก็เป็นได้   ซึ่งก็เป็นการให้สัมภาษณ์ที่ไม่ได้สร้างความ ประหลาดใจให้แม้แต่น้อย แต่ยิ่งเป็นการยืนยันว่า นี่คือวิธีคิดของคนพันธุ์เดียวกัน

ถึงแม้ว่าได้พูดไว้ตั้งแต่ต้นว่า ประชาธิปไตยอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับบางประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ตอนนี้อยากให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ  เสียจริง เพราะอย่างน้อยเราคงจะไม่ต้องตกอยู่ในความหวาดกลัว และประเทศไทยคงจะกล้าหาญที่จะริเริ่มทำอะไรได้มากกว่านี้ สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากกว่านี้ในการร่วมเรียกร้องให้เพื่อนบ้านของเรามีประชาธิปไตย หรือไม่ใช้ความรุนแ แต่ตอนนี้คงได้แต่เพียง ก้มหน้าหลบๆ เลี่ยงๆ และพูดอะไรออกไปก็คงทำได้เพียงพอเป็นพิธีเท่านั้น...

ภาพประกอบบทความนำมาจาก: ข่าว-ชมภาพพระพม่านำประชาชนนับแสนเดินขบวนใหญ่ต้านรัฐบาลทหาร (ประชาไท)  

Pages

Subscribe to RSS - บล็อกของ sutthida