Skip to main content

นับเป็นความสะเทือนใจอย่างยิ่งของคนทั่วโลกกับภาพความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวพม่า อันเนื่องมาจากพายุไซโคลนนาร์กิส ที่ตัวเลขของผู้เสียชีวิตนั้นหลังจากเกิดพายุนั้นแม้ผ่านมาแล้วหลายวันก็ยังไม่นิ่ง องค์กรกาชาดสากลคาดว่าอยู่ระหว่าง 60,000 – 120,000 คน และมีผู้ได้รับผลกระทบสูงถึง 1.6-2.5 ล้านคน โดยคนเหล่านี้จะต้องเผชิญกับภาวการณ์ขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ที่อยู่อาศัย และตลอดจนปัญหาสุขภาพที่จะตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้  

ท่ามกลางภาพสะเทือนใจเหล่านั้น นานาประเทศได้พยายามที่จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยมาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งวันนี้ก็ยังมีบรรดาหน่วยบรรเทาทุกข์ทั้งหลาย รวมทั้งหน่วยงานทางแพทย์ หน่วยกู้ภัย หรือแม้กระทั่งเครื่องยังชีพทั้งปวงที่พร้อมจะเข้าไปในพม่า  ทว่า รัฐบาลพม่ากลับไม่ยินดีที่จะสนองตอบต่อความช่วยเหลือเหล่านั้น แม้จะรู้ดีว่า หากให้ผู้เชี่ยวชาญในการกู้ภัยเข้าไป และการระดมสรรพกำลังจากการภายนอกเข้าไปได้อย่างทันท่วงทีแล้ว การสูญเสียชีวิตและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอาจจะน้อยลงกว่านี้แน่  แต่นั่นหมายความว่าพม่าจะต้องยอมอำนวยความสะดวกให้หน่วยงานบรรเทาทุกข์ได้เข้าไปทำงานตามระบบที่ได้รับการฝึกฝนมา และเมื่อหลายๆ ฝ่ายมีพยายามมากเข้า สุดท้ายท่าทีที่อ่อนที่สุดของรัฐบาลทหารก็คือ ส่งสิ่งของหรือเงินมาก็ได้แต่ไม่เอาคน และข้อมูลที่ไม่เป็นที่เปิดเผยนักที่พม่าได้ส่งไปถึงสหประชาชาติก็คือ สำหรับหน่วยบรรเทาทุกข์ที่พม่าจะยอมรับให้เข้าไปในประเทศพม่าได้จะมีเพียง 4 ประเทศเท่านั้น คือ จีน อินเดีย บังคลาเทศ และ ไทย เป็นการแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า “ไม่เอาตะวันตก”

เหตุผลของการไม่ยอมรับความช่วยเหลือนั้น นักวิเคราะห์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านพม่าต่างรู้กันดีว่า รัฐบาลพม่านั้นเกรงว่าจะกระทบต่ออำนาจการปกครองที่มีมาอย่างมั่นคงและยาวนานนั่นเอง  ข้อพิสูจน์ในเรื่องที่ว่ารัฐบาลเห็นแก่ความมั่นคงทางอำนาจมากกว่าชีวิตของประชาชนนั้น ก็มีตั้งแต่เรื่องการที่ยังคงให้มีการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญแม้มีเหตุการณ์ภัยพิบัติอยู่ตรงหน้า แทนที่จะระดมกำลังไปช่วยเหลือผู้คน ซึ่งในขณะเดียวกันนี้เองหากให้ต่างชาติเข้าไปในประเทศก็เกรงว่าจะไปสอดแนมว่าการลงประชามตินั้นเป็นด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมหรือไม่ หรือ ต่างชาติอาจเข้าไปรู้เห็นกิจการภายในของพม่ามากเกินไป  และ ประการที่สอง รัฐบาลทหารพม่าต้องการที่จะแสดงศักยภาพว่า มีกองทัพอันเข้มแข็งที่สามารถจัดการเรื่องภายในประเทศได้เอง โดยไม่ต้องไปง้อประเทศ อื่นๆ ส่วนจะจัดการได้ดีหรือไม่ก็ถือว่าเป็นการจัดการด้วยตนเองอย่างดีที่สุดแล้ว

ยังมีอีกประการหนึ่งของสาเหตุที่รัฐบาลทหารพม่าไม่ยินดีที่จะรับความช่วยเหลือจากต่างชาติและยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงนัก ก็คือ ความติดยึดต่ออำนาจมากๆที่ถึงกับเพิ่มความอหังการ์ให้กับรัฐบาลทหาร หรืออาจเรียกได้ว่าใช้ความหยิ่งยโสของปัจเจกที่นำมาซึ่งความเสียหายของประเทศ และปิดโอกาสการเข้าถึงความช่วยเหลือในการที่จะมีชีวิตรอดของประชาชน มีผู้ที่ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับรัฐบาลทหารพม่า เล่าให้ฟังว่า สาเหตุหนึ่งที่พม่าไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากนานาประเทศโดยเฉพาะจากตะวันตกอย่างสหรัฐอเมริกา หรืออีกหลายๆ ประเทศ ก็เพราะว่า ประเทศเหล่านี้กล่าวประณามพม่าอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้งกดดัน ทั้งประกาศตัดความสัมพันธ์  เรียกง่ายๆว่า ถือรัฐบาลทหารพม่าเป็นศัตรู ในขณะเดียวกันรัฐบาลพม่าเองก็ถือว่าประเทศเหล่านั้นเป็นศัตรู แล้วจะให้รัฐบาลพม่าไปรับความช่วยเหลือจากประเทศเหล่านั้นได้อย่างไร  เรียกได้ว่า ยอมตายแต่ไม่ยอมรับความช่วยเหลือให้เสียศักดิ์ศรี

วิธีคิดเช่นนี้ หากนับเป็นเรื่องปัจเจกแล้วอาจคิดเช่นนั้นได้ แต่นับเป็นเรื่องเศร้าสำหรับประชาชนธรรมดาสามัญชาวพม่า ที่รัฐบาลที่ปกครองประเทศที่ควรจะเข้ามาดูแลประชาชนและควรจะให้ความสำคัญกับการมีชีวิตรอดของประชาชนเป็นอันดับแรก กลับยินดีแลกชีวิตคนนับแสน นับล้านของประชาชน เพื่ออำนาจของคนเพียงหยิบมือเดียว ที่สำคัญคนหนึ่งหยิบมือนั้นก็ไม่ได้รับความเดือดร้อนดังที่ประชาชนได้รับเสียด้วย  

เห็นการปฎิบัติของรัฐบาลทหารพม่าแล้ว ก็ทำให้ฉุกใจคิดขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่งว่า ในบางครั้งเวลาพูดถึงเรื่องความมั่นคงของชาตินั้น หลายๆ คนก็คิดถึงเรื่องความมั่นคงของรัฐบาล เคยมีโพลล์ต่างๆ สำรวจความน่าลงทุนในประเทศต่างๆ ว่าหนึ่งในปัจจัยของความน่าเชื่อถือในการลงทุนก็คือประเด็นที่ว่าประเทศนั้นๆ มีรัฐบาลที่มีความมั่นคง นี่นับเป็นเรื่องที่ตลกร้ายมากว่า รัฐบาลพม่านี่เองก็เป็นรัฐบาลที่มั่นคงมากๆ คือเป็นรัฐบาลที่ปกครองประเทศมาตั้งแต่ปี 2531 ซึ่งได้มาโดยการปฎิวัติรัฐประหารมาแล้วก็คงอยู่มาเรื่อยๆ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีกันบ้างแต่ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มอำนาจเดิมๆและภายใต้อำนาจทหารมาโดยตลอด

ทว่า น่าเสียดายที่การปกครองโดยรัฐบาล (เผด็จการ) ที่มั่นคงแบบนี้ มีแต่ทำให้ประเทศแย่ลง ยากจนลง ใครเลยจะคิดว่า ประเทศพม่า ที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของโลก ทุกวันนี้ผู้คนจะยากไร้แทบไม่มีอาหารกิน ประเทศที่ประชากรเคยมีมีการศึกษาอยู่ในลำดับต้นๆ ของเอเชียถึงวันนี้ลองไปดูกันสิว่าอัตราคนรู้หนังสืออยู่ที่เท่าไร  การคมนาคมขนส่งหรือ แม้กระทั่งเรื่องของสุขภาพอนามัยการเข้าถึงยา การเข้าถึงการดูแลรักษาเป็นอย่างไร และ เป็นไปได้อย่างไรที่ประเทศที่เคยมั่งคั่งกลับกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

คำตอบของเรื่องนี้ก็คือ ผลพวงจากการมีรัฐบาลที่มีความมั่นคงมาก แต่เป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร และกลายเป็นเผด็จการที่มั่นคงนั่นเอง   

หากย้อนกลับมามองประเทศไทย ถ้าหากว่าเราจะมีรัฐบาลที่ไม่มั่นคงไปบ้าง เปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไปบ้างก็ขอให้เป็นการเปลี่ยนแปลงตามครรลองประชาธิปไตยก็น่าจะถือเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะมีบทพิสูจน์มานักต่อนักแล้วว่า การปกครองโดยรัฐบาลทหารหรือการปกครองที่มั่นคงภายใต้เผด็จการนั้น ไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าและทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่เย็นเป็นสุขได้เลย...

บล็อกของ สุทธิดา มะลิแก้ว

สุทธิดา มะลิแก้ว
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ
สุทธิดา มะลิแก้ว
    ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว…
สุทธิดา มะลิแก้ว
  เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด…
สุทธิดา มะลิแก้ว
    “พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว  
สุทธิดา มะลิแก้ว
“การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สุทธิดา มะลิแก้ว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า อินโดนีเซียมีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นอย่างยิ่งที่มาเลเซียนำเพลง ราซา ซายัง เอห์ ( Rasa Sayang Eh) มาเป็นเพลงประกอบโฆษณาการท่องเที่ยว โดยระบุว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของอินโดนีเซียและบอกว่าเนื้อเพลงที่ร้องนั้นเป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะอัมบน
สุทธิดา มะลิแก้ว
ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 
สุทธิดา มะลิแก้ว
ดูเหมือนเหตุการณ์จะประจวบเหมาะมากที่จู่ๆ ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้าไปบ้านพักของนางออง ซานซูจีจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในช่วงที่นางจะหมดวาระการถูกกักบริเวณเพียงไม่กี่วัน และหากนางอองซาน ซูจีถูกตัดสินจำคุกก็เท่ากับว่านางและพรรคฝ่ายค้ายนั้นอาจไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับแผน แผนปรองดองแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Road Map for Democracy) เป็นแน่แท้ซึ่งเรื่องนี้ชาวโลกต่างให้ความสนใจว่า จริงๆ แล้วพม่ามีความจริงใจที่จะดำเนินการให้เกิดประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน
สุทธิดา มะลิแก้ว
1   ในระหว่างที่เห็นการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมเรื่องเด็กชายเคอิโงะ ลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ออกมาตามหาพ่อ ก็คิดต่อทันทีว่า ไม่นานก็จะมีเด็กแบบเดียวกับเคอิโงะออกกันมาอีกแน่ๆ เพราะรู้ดีว่าเด็กแบบนี้ไม่ได้มีคนเดียวในประเทศไทยและยังคิดต่ออีกว่า หลังจากสื่อสามารถทำเรื่องชีวิตเด็กคนหนึ่งให้ฮือฮาได้แล้ว เรื่องของเด็กคนอื่นก็ไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วทั้งรัฐและเอกชนที่โหมกระหน่ำความช่วยเหลืออย่างเช่นกรณีเคอิโงะก็จะหายไปด้วย
สุทธิดา มะลิแก้ว
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผาจนผิวไหม้เกรียมแทบจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียว  แม้จะสี่โมงเย็นแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าแสงแดดในบ้านเราจะยอมอ่อนแรงลงเลย  ยังคงสาดแสงอย่างเกรี้ยวกราดทำให้คนที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละอ่อนแรงลงไปก่อน และแล้วก็ตั้งใจจะเรียกแท๊กซี่ (อีกแล้ว) แต่ก็ต้องยอมทนอีกนิดข้ามสะพานลอยไปเรียกรถอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า เพื่อความสะดวกให้กับแท๊กซี่ไม่ต้องกลับรถ
สุทธิดา มะลิแก้ว
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนนเห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ)…
สุทธิดา มะลิแก้ว
"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์…