Skip to main content
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนน

เห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ) เมื่อเป็นเช่นนี้ก็คิดว่าน่าจะสนุกดีเหมือนกันหากจะได้เก็บเอาเรื่องราวที่เราได้พบเห็นระหว่างที่อยู่บนรถแท็กซี่ หรือจากบทสนทนากับคนขับแท็กซี่มาแลกเปลี่ยนกันในที่นี้ และ ตอนนี้เขียนเอาไว้ว่า เป็นตอนที่ 1 ก็หมายความว่าจะมีตอนต่อๆ ไปอีก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต่อกันในทันใด อาจจะมีเรื่องอื่นๆ มาคั่นก็ได้ แต่ทุกๆครั้งที่จะเขียนถึงแท๊กซี่ก็จะใช้ชื่อนี้แหละ "ร้อยแปดเรื่องราวจากชาวแท๊กซี่"

สำหรับในตอนแรกนี้ เหตุเพิ่งเกิดขึ้นมาสดๆ ร้อนๆ  เนื่องจากบังเอิญช่วงนี้อ่านหนังสือธรรมะมาพอสมควร แล้วระหว่างที่นั่งรถแท๊กซี่อยู่ก็คิดถึงเรื่อง "ความสุข" และ "ความทุกข์" ขึ้นมา และพอดีกับที่แท๊กซี่ก็บ่นเรื่องรถติด แสดงอาการอึดอัดขัดใจพอสมควรที่รถติด ทั้งๆ ที่รถก็ติดทุกวัน ในฐานะของคนขับแท๊กซี่ก็ต้องเห็นอยู่ทุกวันน่าจะทำใจได้   วันนั้นแท๊กซี่คันสีน้ำตาลที่ผู้เขียนนั่งมานั้นแล่นด้วยความเร็ว 1 กิโลเมตรต่อชั่วโมงสลับหยุดนิ่ง 5-10 นาที  ต่อมาเมื่อขยับมาแบบช้ากว่าเต่าคลานได้อีกระยะหนึ่งก็พบว่า ถนนเลนในเท่านั้นที่รถยังติดอยู่ แต่เลนนอกกลับวิ่งฉิว

คนขับชักอึดอัด พยายามคลานกระดึ้บๆ ออกมา ใช้เวลาไปนานกว่าครึ่งชั่วโมงเดินทางมาได้ประมาณ 2 กิโลเมตร และในที่สุดด้วยความเก่าเกม คนขับแท๊กซี่ก็สามารถออกมาข้างนอกไปพร้อมกับสามารถแล่นฉิว แท๊กซี่ถึงกับอุทานออกมาว่า "แหม มาอยู่เลนนี้เหมือนได้ขึ้นสวรรค์เลย" แล้วหันไปมองเลนที่มีแต่รถติดเต็มหมายประหนึ่งว่า "นั่นมันนรกชัดๆ"

ตอนที่ได้ยินคำที่แท๊กซี่พูดออกมาอย่างฉับพลันทันใด ก็เลยได้คิดว่า เออ จริงนะ คนเรา จริงๆ ไปสวรรค์ก็ไม่ยากเท่าไร แท๊กซี่พูดด้วยน้ำเสียงที่เต็มไปด้วยความพอใจ เรียกได้ว่า เกิดความสุขขึ้นแล้วชั่วขณะหนึ่ง  ก็เลยทำให้ได้คิดว่า จริงๆ แล้วความสุขของคนเรานั้นหาได้ไม่ยากหรอกเพียงแต่มองโลกให้เป็นหรือหาจุดเล็กจุดน้อยมาคิดให้ได้ว่ามันเป็นความสุข  นอกจากคำอุทานของคนขับแท๊กซี่คันสีน้ำตาลที่นั่งมานี้ จากประสบการณ์การสนทนากับแท๊กซี่ก็พบว่า ความสุขของแท๊กซี่นั้นหาได้ง่ายมากหรือเกิดขึ้นได้บ่อยมาก แต่ส่วนใหญ่พวกเขาจะไม่รู้ตัวหรือไม่ทันสังเกตก็ได้ เช่น แท็กซี่ส่วนใหญ่จะเป็นสุขมากในวันที่รถไม่ติดถนนโล่ง และมีผู้โดยสารมาเรียกให้เขาวิ่งไปเส้นทางไกล แท๊กซี่หลายคนพูดถึงอย่างสอดคล้องต้องกันด้วยน้ำเสียงเปรมปรีดิ์มากว่า "วันนี้โชคดีมากมีแต่คนเรียกไปที่รถไม่ติด แล้วก็ได้เที่ยวไกลๆตั้งหลายเที่ยว"  หรือถ้าเป็นแท๊กซี่สนามบิน "วันนี้ได้ผู้โดยสารไปพัทยา (โว้ย) เหมาขากลับด้วย" น้ำเสียงของการพูดถึงเรื่องนี้ล้วนแต่เป็นเสียงที่แสดงถึง "ความสุข"

ในทางกลับกันบางคนก็บอกว่า "เมื่อวานแย่เลย ตื่นเช้ามาผู้โดยสารเรียกเข้าไปสุขุมวิท ติดแหง็กอยู่ที่นั่นเลย วันนี้ได้วิ่งไม่กี่เที่ยวก็ต้องส่งรถแล้ว" หรือ "เสร็จแน่ ส่งรถไม่ทันแล้ว" น้ำเสียงบ่งบอกถึงความทุกข์

ในวันเดียวกันนี้เอง  บนท้องถนนอีกเช่นกัน แท๊กซี่สีแดงที่เรียกกลับมาบ้าน  พอเหลือบมองเวลาว่า ใกล้จะสี่โมงเต็มทนเหลียวมองรอบด้าน รถติดมากๆ แทบไม่ขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ จิตใจร้อนรุ่มว่าจะส่งรถไม่ทันไหนจะต้องไปเติมแก๊สก่อน เห็นได้ชัดว่าแท๊กซี่คนนี้กำลังเป็นทุกข์ ผู้เขียนก็ถามไปว่า ถ้าส่งไม่ทันแล้วจะเป็นยังไง แท๊กซี่ตอบว่า จะถูกปรับ 200 บาท ให้กับคู่กะ "แย่เลยวันนี้รถนี้รถติดทั้งวัน เพิ่งขับได้ไม่กี่เที่ยวเองด้วย" ผู้เขียนนั่งฟังอย่างไม่รู้จะช่วยอะไรได้ เพราะรถยังไม่ขยับเขยื้อนไปไหนอยู่ดี พอกระตึ้บได้บ้างแท๊กซี่ก็พยายามหาว่าเส้นทางไหนจะดีที่สุด แต่ไม่รู้เป็น "ดั่งนรกชังหรือสวรรค์แกล้ง" ที่ออกมาเส้นไหนๆ ก็ติดแหง็กไปเสียหมด

ในที่สุดแท๊กซี่ตัดสินใจว่า เมื่อออกจากถนนใหญ่จะเจอปั๊มแก๊สพอดี ขอให้ผู้เขียนลงก่อนแล้วเดินต่อหรือหารถต่อไปเองได้มั้ย เพราะหากเขาไปส่งผู้เขียนในฐานะผู้โดยสาร (ซึ่งตามหน้าที่จะต้องส่ง) ให้ถึงจุดหมายปลายทาง จะทำให้เขาต้องยูเทิร์นรถกลับมาที่ปั๊มแก๊สอีกทีแล้วรถติดขนาดนี้รับรองว่าเขาจะต้องเสียค่าปรับหนักแน่  ผู้เขียนก็คิดอยู่ในใจว่ารถก็ติดซะขนาดนี้ ถ้าลงไปแล้วจะมีรถที่ไหนมารับเรามั้ยนี่ และวันนี้ก็เพิ่งกลับมาจากงานสัปดาห์หนังสือเลยแบกหนังสือมาหลายเล่มเสียด้วย หนักน่าดูเหมือนกัน  แต่ในที่สุดก็บอกเขาว่าจะลงตรงถนนใหญ่ก่อนเข้าปั๊ม พอแท๊กซี่ได้ยินดังนั้นก็คลายกังวลอย่างเห็นได้ชัด ความสุขก็บังเกิดขึ้นกับเขาอีกเล็กน้อย พอรถจอดแท๊กซี่ก็มีน้ำใจบอกว่า จ่ายผมร้อยเดียวก็พอ (จากมิเตอร์ 110 บาท) พร้อมกล่าวขอบคุณด้วยความโล่งใจ เรียกได้ว่าคลายทุกข์ไปได้อีกเปราะหนึ่ง

แท๊กซี่อีกรายหนึ่ง แท๊กซี่สีเขียวเหลือง ขับมาจากทางหน้าหมู่บ้าน ออกมาถึงปากซอยเจอรถติด เขาก็เริ่มกังวลทันที  "ติดอะไรกันนี่" เป็นคำพูดแรก และ พอรถกระดึ้บๆ มาได้เล็กน้อย แท๊กซี่ก็บอกว่า พี่ครับเดี๋ยวขอแวะป๊มหน่อยนะครับ ทีแรกนึกว่าจะไปเติมแก๊ส แต่เขาบอกต่อว่า ผมอั้นมาตั้งแต่สุวรรณภูมิแล้ว  ซึ่งเท่ากับประมาณ 1 ชั่วโมง  ผู้เขียนบอกไปว่า ได้เลย ถ้าอั้นนาน ๆ เดี๋ยวท่อปัสสาวะอักเสบแล้วจะเป็นเรื่องใหญ่ พอถึงปั๊ม เขาบอกว่า ขอ 2 นาทีเท่านั้นแหล่ะครับ หลังจากออกมาจากห้องน้ำได้ คนขับแท๊กซี่มีสีหน้าแช่มชื่นพร้อมกับกล่าวว่า "เอาล่ะครับพี่ คราวนี้ถึงเชียงใหม่ก็ได้แล้ว"

เห็นไหมว่า ความสุขจริงๆ แล้วก็อยู่ใกล้แค่เอื้อมหากมองหาให้เจอ  สำหรับแท๊กซี่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นสุขมากเมื่อถนนโล่ง แต่จะทุกข์ทันทีที่รถติด แล้วเหตุการณ์สุขทุกข์ของคนขับรถแท็กซี่ก็วนเวียนอยู่บนท้องถนนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดวัน หรือหมดเวลาขับรถกลับบ้าน ส่วนจะไปเจอกับสุขหรือทุกข์อย่างไรที่บ้าน อันนี้ก็แล้วแต่ชีวิตใครชีวิตมันที่จะกำหนดกันเอง

บล็อกของ สุทธิดา มะลิแก้ว

สุทธิดา มะลิแก้ว
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ
สุทธิดา มะลิแก้ว
    ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว…
สุทธิดา มะลิแก้ว
  เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด…
สุทธิดา มะลิแก้ว
    “พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว  
สุทธิดา มะลิแก้ว
“การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สุทธิดา มะลิแก้ว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า อินโดนีเซียมีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นอย่างยิ่งที่มาเลเซียนำเพลง ราซา ซายัง เอห์ ( Rasa Sayang Eh) มาเป็นเพลงประกอบโฆษณาการท่องเที่ยว โดยระบุว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของอินโดนีเซียและบอกว่าเนื้อเพลงที่ร้องนั้นเป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะอัมบน
สุทธิดา มะลิแก้ว
ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 
สุทธิดา มะลิแก้ว
ดูเหมือนเหตุการณ์จะประจวบเหมาะมากที่จู่ๆ ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้าไปบ้านพักของนางออง ซานซูจีจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในช่วงที่นางจะหมดวาระการถูกกักบริเวณเพียงไม่กี่วัน และหากนางอองซาน ซูจีถูกตัดสินจำคุกก็เท่ากับว่านางและพรรคฝ่ายค้ายนั้นอาจไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับแผน แผนปรองดองแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Road Map for Democracy) เป็นแน่แท้ซึ่งเรื่องนี้ชาวโลกต่างให้ความสนใจว่า จริงๆ แล้วพม่ามีความจริงใจที่จะดำเนินการให้เกิดประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน
สุทธิดา มะลิแก้ว
1   ในระหว่างที่เห็นการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมเรื่องเด็กชายเคอิโงะ ลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ออกมาตามหาพ่อ ก็คิดต่อทันทีว่า ไม่นานก็จะมีเด็กแบบเดียวกับเคอิโงะออกกันมาอีกแน่ๆ เพราะรู้ดีว่าเด็กแบบนี้ไม่ได้มีคนเดียวในประเทศไทยและยังคิดต่ออีกว่า หลังจากสื่อสามารถทำเรื่องชีวิตเด็กคนหนึ่งให้ฮือฮาได้แล้ว เรื่องของเด็กคนอื่นก็ไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วทั้งรัฐและเอกชนที่โหมกระหน่ำความช่วยเหลืออย่างเช่นกรณีเคอิโงะก็จะหายไปด้วย
สุทธิดา มะลิแก้ว
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผาจนผิวไหม้เกรียมแทบจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียว  แม้จะสี่โมงเย็นแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าแสงแดดในบ้านเราจะยอมอ่อนแรงลงเลย  ยังคงสาดแสงอย่างเกรี้ยวกราดทำให้คนที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละอ่อนแรงลงไปก่อน และแล้วก็ตั้งใจจะเรียกแท๊กซี่ (อีกแล้ว) แต่ก็ต้องยอมทนอีกนิดข้ามสะพานลอยไปเรียกรถอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า เพื่อความสะดวกให้กับแท๊กซี่ไม่ต้องกลับรถ
สุทธิดา มะลิแก้ว
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนนเห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ)…
สุทธิดา มะลิแก้ว
"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์…