Skip to main content


ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 

\\/--break--\>
มินท์ เมี้ยต ปัจจุบันอายุ 40 ปี สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ที่เดียวกันกับ ถั่น ตาร์ ภรรยาของเขา ซึ่งเรียนทางด้านวิศวกรรมโยธาด้วยกัน หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว เขาก็ได้ทำงานเป็นวิศวกรโยธาอยู่กระทรวงพลังงาน ส่วนภรรยานั้นทำงานที่อีกกระทรวงหนึ่งในตำแหน่งวิศวกรเช่นกัน  และแม้ว่าการเป็นข้าราชการภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร พลเรือนอาจไม่มีความก้าวหน้าได้มากนัก แต่ในฐานะของผู้ที่ความชำนาญการแล้ว ทำให้เขาได้รับตำแหน่งสุดท้ายคือ วิศวกรโครงสร้างที่ทำการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงพลังงาน รับผิดชอบโครงการก่อสร้างเขื่อน 2 แห่งในพม่า  เขาตั้งใจทำงานอย่างสุดฝีมือด้วยความซื่อสัตย์สุจริต แต่การทำงานที่ดีนั้นที่สุดแล้วกลับไม่ได้นำเขาไปในสิ่งที่ดี เพราะสิ่งที่เขาทำนั้นไปขัดหูขัดตารัฐบาล 


ย้อนกลับไปวันที่ 31 ธันวาคม 2005 ที่คนทั่วโลกเตรียมตัวเฉลิมฉลองรับศักราชใหม่ เขากับภรรยากลับต้องเดินเข้าไปในคุกแทน “Happy New Year in Jail” (ฉลองปีใหม่ในคุก) เขาพูดติดตลกเมื่อเล่าเรื่องราวให้ฟัง 

สาเหตุที่เขากลับต้องเข้าคุกแทนที่จะได้เฉลิมฉลองปีใหม่นั้น เกิดขึ้นเมื่อเขาพบว่ามีการทุจริตขึ้นในโครงการการสร้างเขื่อนแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างถึง 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และคนที่กระทำการทุจริตนั้นก็คือ วิศวกรใหญ่ (chief engineer) ผู้ควบคุมโครงการนั่นเอง และด้วยหน้าที่ของพลเมืองดีเขาจึงได้ส่งเรื่องราวการทุจริตนี้ไปยังรัฐบาล โดยส่งหนังสือร้องเรียนไปยังกระทรวงต้นสังกัด ทว่า การรายงานการทุจริตโชคร้ายอย่างยิ่งสำหรับเขาเพราะ คนที่เขาร้องเรียนนั้นเป็นคนของทางฝ่ายทหาร และเป็นคนที่มีหน้าที่ตรวจสอบการคอรัปชั่นเสียเอง และเขาโชคร้ายไปยิ่งกว่านั้นคือ ไม่เพียงแค่สิ่งที่เขาร้องเรียนไม่ถูกสนใจ ในทางตรงกันข้ามได้มีความพยายามสร้างหลักฐานเท็จ เพื่อมัดตัวให้เขากลายเป็นคนผิดเสียเอง

ก่อนหน้านั้น มีพายุเกิดขึ้นที่เมือง Pang Hlaing (บริเวณที่มีการสร้างเขื่อน) สร้างความเสียหายพอสมควร แม้อาจจะน้อยกว่านาร์กิสก็ตาม ผมได้เข้าร่วมไปช่วยเหลือผู้คนไปช่วยคนออกจากพื้นที่บ้าง เอาข้าวสารไปให้บ้าง แต่ในขณะเดียวกันไม่ว่าผมจะไปทำอะไร ผมก็เห็นว่ามีการติดตามถ่ายภาพของผม และในที่สุดผมก็ถูกเรียกไปสอบสวนโดยกล่าวหาว่า ผมทำเกินหน้าที่ รวมทั้งผมอาจคอรัปชั่นเสียเองและพยายามกล่าวหาว่าผมเอาของที่ไหนไปช่วยเหลือคนเหล่านี้”  

การช่วยหลือนั้นไม่ว่าจะเปนข้าวสารหรือการขนคนล้วนแล้วเป็นน้ำพักน้ำแรงของเขา และเงินทุกบาททุกสตางค์ก็เป็นเงินของเขาเองทั้งสิ้น หลังจากนั้นชีวิตของเขาก็ไม่ปกติอีกต่อไป เขาถูกติดตามและสอดส่องตลอดเวลา ซึ่งเขาเองก็รู้ จนกระทั่งวันหนึ่งเพื่อนที่อยู่ในหน่วยข่าวกรองมาบอกเขาว่า  “จะหนีไปไหนก็รีบไปซะเพราะว่า ตอนนี้เขากำลังจะจัดการคุณแล้ว รับรองได้เลยว่าอย่างน้อยๆ ก็ต้องติดคุกแน่ๆ” เพื่อนเขาบอกอย่างนั้น แต่เขาบอกกับเพื่อนว่า “อยากจะทำอะไรผมก็เชิญ ผมไม่ได้ทำอะไรผิด ผมไม่หนี ผมอยู่บ้านทุกวัน” 

เมื่อได้รับความไม่เป็นธรรมและถูกคุกคามจนสุดที่จะทน ตอนนั้นภรรยาเขาช่วยคิดว่า หรือว่าถ้าอย่างนั้นเราส่งข่าวให้ชาวโลกรู้ไปเลยดีมั้ย เพราะอยู่เฉยๆ ก็คงไม่มีใครช่วยเราแล้ว ในที่สุดเขาเลยแอบส่งข่าวไปที่ สถานีวิทยุบีบีซี เพื่อจะให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในประเทศ  ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม มีเจ้าหน้าที่ของทางการมาตามหาเขา เมื่อไม่เจอตัวก็เลยจับภรรยาของเขาไป ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆ ว่าเธอทำอะไรผิด และในวันที่ 31 ธันวาคม 2005 หรืออีกสองสัปดาห์ต่อมาเขาก็ถูกจับตัว โดยทั้งคู่ถูกตั้งข้อหาในการกระทำความผิดภายใต้กฎหมายความมั่นคงใน 3 มาตราคือ 1. ติดต่อกับกลุ่มและองค์กรที่ก่อความไม่สงบ 2. กระทำการต่อต้านรัฐบาล ซึ่งข้อกล่าวหานี้เขาจำได้ดีว่าอยู่ภายใต้มาตรา 505 B และ 3. มาตรา 5 N กระทำการอันขัดต่อความมั่นคงของรัฐ

ตอนนี้เองที่เขาได้เห็นตระหนักด้วยตัวของเขาเองถึงเรื่องกระบวนการยุติธรรมในพม่า เริ่มตั้งแต่การไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะมัดตัวเขาได้ ก็ได้มีสร้างพยานเท็จ การไม่ยอมให้พบกับทนาย และ จนกระทั่งขั้นตอนการถูกทรมานในคุก  เขาเปรียบให้เห็นว่า อย่างกรณีของออง ซาน ซูจีนั้น เขาจึงเชื่อว่า ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะให้มันออกมาแบบไหน  ทางศาลนั้นคงไม่ได้สนใจว่าพยานจะจริงหรือเท็จ และการไม่ยอมให้พบทนายเราก็เห็นแล้วว่าเป็นกระบวนการแบบไหน 

เห็นมั้ยว่า เขาไม่ยอมให้นางซูจีได้พบกับทนาย ผมก็เหมือนกัน ตอนที่เขามาจับผมนั้นผมถามเขาว่าข้อหาอะไร เขาบอกผมถึงความผิดตามกฎหมาย 3 ข้อที่ว่า และผมก็ถามว่าไหนล่ะหลักฐาน เขาก็ไม่มีหลักฐานอะไร แต่เขาบอกว่าเขารู้ว่าผมติดต่อนักข่าว ผมก็บอกว่าเอาหลักฐานมายืนยันสิ จะเป็นฟิล์มที่แพร่ภาพ หรือ เทปเสียง หรือ งานเขียนหากเขาเชื่อว่ามีการเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์หรือเว็บไซต์ แต่ก็ไม่มี” มิน เมี้ยตกล่าวด้วยน้ำเสียงแห่งความคับข้องใจ

เมื่อถึงกระบวนการขึ้นสู่ศาล เขาได้รับอนุญาตให้เจอกับทนายได้เพียง 15 นาทีก่อนขึ้นศาลเท่านั้น และเขาได้ทำหน้าที่แก้ต่างให้ตัวเองโดยตั้งคำถามต่างๆ เหล่านี้กับศาลเช่นกัน แต่ทางศาลก็กลับตั้งคำถามกับเขาว่าทำไมไม่ให้ทนายพูด ทำไมต้องตอบเอง เขาแย้งออกไปว่า ทนายจะมารู้เรื่องเขาได้ยังไงก็ในเมื่อได้พบกันแค่ 15 นาที คำตอบยิ่งสร้างความไม่พอใจ และเมื่อไม่สามารถหาหลักฐานใดๆ มามัดตัวเขาได้ การไต่สวนดำเนินการไปเป็นเวลา 3 เดือนก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานมามัดตัวเขาได้ ปรากฎว่าในการขึ้นศาลตั้งสุดท้าย ทางการกลับมีพยานถึง 6 คน บอกว่าเป็นคนที่รู้จัก และทำงานร่วมกับเขาและรู้ว่าเขาติดต่อนักข่าว 

ขอโทษเถอะนะ คนทั้ง 6 คนนี้เป็นทหาร ผมก็บอกเขาไปแล้วว่า ผมไม่เคยรู้จักพวกเขาเลย และ ผมก็ถามผู้พิพากษาว่า คุณจะเชื่อถือเขาได้อย่างไร แม้กระทั่งตอนให้การเป็นพยานนั้นเขาไม่ได้กล่าวคำสาบานด้วยซ้ำ แต่ผู้พิพากษาได้แต่ส่ายหน้าและบอกว่า นี่คือพยาน ก็ช่วยไม่ได้นะ เพราะว่าถึงอย่างไรนี่ก็คือพยานที่เราได้มา”  

หลังจากมีพยานมาให้การแล้ว มินท์ เมี้ยต ก็ถูกตัดสินให้มีความผิดตามกฎหมายความมั่นคงของรัฐ ตามข้อกล่าวหาที่อยู่ในมาตรา 505 B ที่ว่าด้วย การกระทำการต่อต้านรัฐบาล และตัดสินให้จำคุก 2 ปี ภรรยาเขาก็ติดคุกเช่นกัน และถูกจับขังแยกจากกัน โดยภรรยาไปอยู่ที่แดนหญิงและในระหว่างที่ถูกจำคุกอยู่นั้น เขากับภรรยาไม่ได้เจอหน้ากันเลย

ในคุกนั้น เขาพบความยากลำบากยิ่ง เขาถูกใส่โซ่ตรวนที่เท้า และมักจะถูกทรมานเสมอ การทรมานนั้นหนักจนกระทั่งทำให้เขาต้องกลายเป็นเหน็บชาไปครึ่งตัว และ นิ้วหักไปหนึ่งนิ้ว ทุกวันนี้นิ้วหัวแม่มือที่ข้างหนึ่งของเขาเป็นนิ้วปลอม 

เขาบอกว่า เหตุผลที่เขาต้องซ้อมผมนั้น เพราะผมชอบเรียกร้องความเป็นธรรม” เขาเล่าต่ออีกว่า ได้เอา หนังสือเกี่ยวกับมาตรฐานการปฎิบัติต่อนักโทษไปอ่านให้ผู้คุม และบอกเขาว่า ผู้คุมควรจะปฎิบัติต่อเขาอย่างไร แต่นี่ก็ไม่ได้ทำให้การอยู่ในคุกของเขาดีขึ้น แต่เขาก็ไม่เคยยินยอมก้มหน้ารับกรรม เขายังข่มขู่ผู้คุมเอาไว้ด้วย 

คอยดูนะ อย่าให้ออกไปได้เชียวนะ ถ้าออกไปได้ให้ระวังตัวเอาไว้ให้ดี จะแฉให้หมด ว่าผมถูกปฎิบัติอย่างไรบ้างในคุกแห่งนี้”


มีเรื่องที่ไม่น่าเชื่อเกิดขึ้นกับเขาก็คือ อยู่มาวันหนึ่ง ซึ่งเขาเพิ่งจะมารู้ตอนหลัง ว่าในขณะที่เขาพูดเรื่องนี้นั้นอีกไม่กี่วันต่อมาก็จะมีการเยือนพม่าของ นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติในวันที่ 6 มีนาคม 2008 ระหว่างที่นายกัมบารีมาเยือนนั้น ดูเหมือนว่า ผู้คุมคงจะรู้ว่าอาจจะให้มีการปล่อยตัวนักโทษด้วย ดังนั้น ผู้คุมจึงเชิญเขาไปที่บ้าน และกล่าวขออภัยถ้าทำอะไรที่ไม่ดีไปในช่วงที่อยู่ในคุก และเขาเองก็เพิ่งรู้ตอนนั้นเช่นกันว่า ความจริงแล้วน้องสาวของเขาได้ให้เงินกับผู้คุมจำนวนหนึ่ง เพื่อฝากฝังให้ผู้คุมดูแลเขาและภรรยาเป็นกรณีพิเศษ ทว่า ตลกร้ายมาก ก็คือเขากลับถูกดูแลอย่างเจ็บปวดเป็นพิเศษ ที่เขาว่าน้องสาวเขาเอาเงินไปให้ผู้คุมเพราะว่า หลังจากที่ผู้คุมขอโทษเขาแล้ว ผู้คุมได้คืนเงินทั้งหมดให้กับเขา โดยส่งให้ทางไปรษณีย์ ต่อจากนั้น เขาก็ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุก ส่วนเงินที่ได้รับคืนมานั้นเขาก็ได้นำไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ให้กับนักโทษในคุก

 

มีนาคม 2008 เขารอดมาจากคุกแล้วแต่เคราะห์กรรมเขาคงยังไม่หมดสิ้น เพราะคงเขายังคงถูกติดตามอยู่ ต่อมาหลังจากได้ออกจากคุกมาได้ไม่นาน พายุโซโคลนนาร์กิสได้โหมกระหน่ำเข้าโจมตีประเทศพม่า และหนึ่งในพื้นที่ที่ถูกพายุโจมตีนั้นก็เป็นชุมชนที่พ่อแม่ขอเขาอาศัยอยู่ มินท์ เมี๊ยตเลยจะเข้าไปช่วยเหลือพ่อแม่ของเขา แต่สภาพที่เขาเห็นนั้น ก็คือ ผู้คนจำนวนมากหนีกระเจิดกระเจิงกันมา และมีจำนวนมากที่เข้าไปอยู่ในวัด จนแน่นไปหมด  

ด้วยความประสงค์ดีแทนที่เขาจะเข้าไปดูแลเพียงพ่อแม่เขาเท่านั้น เขากลับไปเอาเงินจากภรรยามาจำนวน 500,000 จ๊าต มาซื้อข้าวเพื่อบริจาคให้คน แต่เนื่องจากในวัดนั้นคนแน่นมาก เขาจึงเอามาที่บ้านพ่อแม่ของเขาแล้วนิมนต์พระมา 3 รูปมาช่วยแจกข้าวสาร ขณะนั้นข้าวสารราคาแพงขึ้นมากถึงกว่า 20 เท่าจากราคาเดิม การกระทำการต่างๆ ของเขานั้น ไม่ได้รอดพ้นสายตาของหน่วยข่าวกรองที่ติดตามถ่ายรูปเขาในทุกหนทุกแห่ง และ การช่วยเหลือคนที่เผชิญกับภัยพิบัตินี้ แทนที่จะเป็นความดีความชอบ แต่กลับกลายเป็นว่ายิ่งกลายเป็นสร้างปัญหาให้เขาเพิ่มขึ้น 


มีตำรวจเข้ามาเชิญตัวเขาไปสอบสวน ตั้งข้อกล่าวหาเขาในหลายเรื่อง ตั้งแต่ว่า เขาเข้าไปช่วยเหลือคนโดยไม่แจ้งทางการก่อน หรือ ว่ารถมอเตอร์ไซด์ที่เขาใช้นั้นไม่มีทะเบียน 

ตอนที่หน่วยข่าวกรองมาถามผมว่า ทำไมไปช่วยคนโดยไม่แจ้งทางการก่อน ผมก็เลยถามว่า คนจะตายกันหมดแล้วจะต้องให้ผมรายงานและขออนุญาตก่อนหรือ แล้วคำถามต่อมาว่า เอาเงินมาจากไหน ผมก็บอกว่าของภรรยาผม เพราะเธอมีเงิน คำถามต่อมาคือ แล้วทำไมมาแจกที่บ้าน ผมก็บอกว่า ก็ที่วัดคนแน่น แต่สิ่งทีเขากล่าวหาต่อก็คือ พระ 3 รูปที่ผมขอให้ช่วยนั้นเป็นพระปลอม ก็เลยถามว่า แล้วผมจะไปรู้ได้อย่างไรว่าพระไหนจริงพระไหนปลอม บ้านเมืองเราเป็นเมืองพุทธ พระที่เจอก็ย่อมจะเป็นพระจริง ถ้าพวกคุณรู้ว่าคนไหนเป็นพระปลอมทำไมไม่ไปจับ มากล่าวหาผมทำไม” 


เมื่อเขาจะกลับ เขาก็ถามหารถมอเตอร์ไซด์ของเขา ตำรวจบอกว่ายึดไปแล้ว เพราะรถของเขานั้นไม่มีทะเบียน  ซึงเขาก็โต้แย้งออกไปอีก  “ก็ดี ผมน่ะอยากเห็นตำรวจทำตามกฎหมายเสียที แต่ว่าช่วยจับมาให้หมดด้วยนะ เพราะว่ารถมอเตอร์ไซด์ที่ขับอยู่ในพม่านั้น แทบจะร้อยทั้งร้อยที่ไม่มีทะเบียน” 


ในที่สุดความยุ่งยากก็เกิดกับเขามากขึ้น  เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนก็ตามก็จะมีคนคอยจับผิดและติดตามอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดเขากับภรรยาจึงตัดสินใจ รวบรวมเงินส่วนหนึ่งเอาไปให้แม่ของเขาเพื่อไว้ใช้สำหรับดูแลลูกชายของเขา ส่วนเขาและภรรยาหนีเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับผู้ประสบภัยนาร์กิสคนอื่นๆ โดยเขาไม่ได้เข้ามาขอความช่วยเหลือ แต่เขาเข้ามาเพราะคิดว่าสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยนาร์กิสที่เข้ามาพักพิงอยู่ที่ แม่ตาว อ .แม่สอดได้


วันนี้จากชีวิตวิศวกรอย่างเขาต้องกลายมาเป็นแรงงานข้ามชาติที่แม่สอด อาจจะดูเหมือนว่าสถานะของตกต่ำลง แต่จะว่าไปแล้ว ชีวิตเขาก็ดีกว่าแรงงานข้ามชาติทั่วๆ ไปที่แม่สอด ที่มีรายได้เพียงวัน 50 – 100 บาท ในขณะที่เขาได้ทำงานในบริษัทผลิตเบรครถจักรยาน มีรายได้วันละ 250 บาท และหากทำงานล่วงเวลาก็จะได้อีก ชั่วโมงละ 30 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นวันละ 3 ชั่วโมง ส่วนภรรยาของเขาเป็นครูสอนเด็กเล็กได้เงินเดือนๆ ละ 3,000 บาท จากรายได้นี้ทำให้เขาไม่ค่อยเดือดร้อนมากนัก เพราะเขาสองคนใช้เงินวันละ 100 บาท ที่เหลือแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนหนึ่งส่งกลับไปให้ลูกที่พม่า และอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้ช่วยเหลือชาวพม่าที่อยู่ในประเทศไทยที่ยากลำบาก

นอกเหนือจากการสู้ชีวิตเพื่ออยู่รอดแล้ว ความมุ่งมั่นที่จะเห็นประชาธิปไตยพม่าของเขาก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารทั้งหลายที่รวมกลุ่มกัน  เพียงแต่เขาคิดว่า แม้คนเดียวเขาก็จะสู้ และเขาก็ยึดมั่นในคำที่อองซาน ซูจี  รวมทั้งเขาก็เห็นด้วยว่า คนจะสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้นอาจต้องพร้อมใน 3 ประการ คือ จะต้องมีสุขภาพดี (Healthy) สามารถเอาตัวรอดได้ (Survive) และต้องยึดมั่นในหลักการ (principle)

ผมคิดว่า ผมมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการนี้ ผมมีสุขภาพกายที่ดี ผมมีความสามารถดูแลครอบครัวให้อยู่รอด ไม่อดอยาก และ ผมยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยไม่มีวันเปลี่ยนแน่นอน และผมเองก็มีแนวทางในการต่อสู้ของผม แม้จะทำคนเดียวผมก็ทำ” เขากล่าวด้วยความมุ่งมั่น


ทุกวันนี้เขาจึงพยายามพบปะผู้คนให้มากที่สุดเพื่อว่าจะเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และเป็นโอกาสให้เขาได้เผยแพร่ข้อมูลที่เขาประสบมาด้วยตนเองในพม่า และเพื่อส่งเสริมการเรียกร้องประชาธิปไตย แม้จะรู้ว่าถูกติดตาม แต่นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างของคนที่แม้ถูกตามล่าก็ไม่หวั่นไหว ยังคงมุ่งมั่น ทำงานเพื่อสังคมและประชาธิปไตยต่อไป

 

 

บล็อกของ สุทธิดา มะลิแก้ว

สุทธิดา มะลิแก้ว
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ
สุทธิดา มะลิแก้ว
    ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว…
สุทธิดา มะลิแก้ว
  เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด…
สุทธิดา มะลิแก้ว
    “พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว  
สุทธิดา มะลิแก้ว
“การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สุทธิดา มะลิแก้ว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า อินโดนีเซียมีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นอย่างยิ่งที่มาเลเซียนำเพลง ราซา ซายัง เอห์ ( Rasa Sayang Eh) มาเป็นเพลงประกอบโฆษณาการท่องเที่ยว โดยระบุว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของอินโดนีเซียและบอกว่าเนื้อเพลงที่ร้องนั้นเป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะอัมบน
สุทธิดา มะลิแก้ว
ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 
สุทธิดา มะลิแก้ว
ดูเหมือนเหตุการณ์จะประจวบเหมาะมากที่จู่ๆ ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้าไปบ้านพักของนางออง ซานซูจีจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในช่วงที่นางจะหมดวาระการถูกกักบริเวณเพียงไม่กี่วัน และหากนางอองซาน ซูจีถูกตัดสินจำคุกก็เท่ากับว่านางและพรรคฝ่ายค้ายนั้นอาจไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับแผน แผนปรองดองแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Road Map for Democracy) เป็นแน่แท้ซึ่งเรื่องนี้ชาวโลกต่างให้ความสนใจว่า จริงๆ แล้วพม่ามีความจริงใจที่จะดำเนินการให้เกิดประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน
สุทธิดา มะลิแก้ว
1   ในระหว่างที่เห็นการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมเรื่องเด็กชายเคอิโงะ ลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ออกมาตามหาพ่อ ก็คิดต่อทันทีว่า ไม่นานก็จะมีเด็กแบบเดียวกับเคอิโงะออกกันมาอีกแน่ๆ เพราะรู้ดีว่าเด็กแบบนี้ไม่ได้มีคนเดียวในประเทศไทยและยังคิดต่ออีกว่า หลังจากสื่อสามารถทำเรื่องชีวิตเด็กคนหนึ่งให้ฮือฮาได้แล้ว เรื่องของเด็กคนอื่นก็ไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วทั้งรัฐและเอกชนที่โหมกระหน่ำความช่วยเหลืออย่างเช่นกรณีเคอิโงะก็จะหายไปด้วย
สุทธิดา มะลิแก้ว
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผาจนผิวไหม้เกรียมแทบจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียว  แม้จะสี่โมงเย็นแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าแสงแดดในบ้านเราจะยอมอ่อนแรงลงเลย  ยังคงสาดแสงอย่างเกรี้ยวกราดทำให้คนที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละอ่อนแรงลงไปก่อน และแล้วก็ตั้งใจจะเรียกแท๊กซี่ (อีกแล้ว) แต่ก็ต้องยอมทนอีกนิดข้ามสะพานลอยไปเรียกรถอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า เพื่อความสะดวกให้กับแท๊กซี่ไม่ต้องกลับรถ
สุทธิดา มะลิแก้ว
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนนเห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ)…
สุทธิดา มะลิแก้ว
"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์…