Skip to main content

 

เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด ที่น่าเศร้าคือปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่นั้นไม่ได้ถูกสร้างโดยคนในพื้นที่และคนในพื้นที่เองไม่ได้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา>

ปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ หากพูดด้วยใจเป็นธรรมแล้วสามารถเรียกได้ว่า ขิงก็ราข่าก็แรงทั้งสองฝ่าย กล่าวคือทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชาต่างยึดจุดยืนของตนเองโดยไม่ได้เอาประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง ปัญหาถูกโยงไปด้วยเรื่องทางการเมืองของทั้งสองประเทศ เริ่มตั้งแต่ที่นายกรัฐมนตรีฮุน เซ็น ของกัมพูชาที่ต้องการแสดงแสนยานุภาพให้เทียบเท่ากษัตริย์สีหนุ ผู้เคยสามารถทำให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้การครอบครองของกัมพูชาได้สำเร็จ โดยฮุน เซ็นดำเนินการต่อด้วยการพยายามนำปราสาทพระวิหารไปจดทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว แม้ว่าพื้นที่รอบๆปราสาทประวิหารนั้นก็ยังไม่ได้รับการปักปันเขตแดนกันอย่างชัดเจน โดยการบริหารจัดการมรดกโลกนั้นจะต้องหมายรวมถึงพื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารด้วย จึงเป็นเหตุว่าไทยไม่สามารถให้กัมพูชาบริหารจัดการฝ่ายเดียวได้ เพราะยืนยันว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นอาณาเขตของไทย

การเจรจาภายใต้ข้อตกลงระดับทวิภาคีจึงเกิดขึ้น ทว่า ในขณะเดียวกันฝ่ายไทยเอง ก็มีกลุ่มการเมืองที่เชื่อว่าการเจรจาและข้อตกลงระหว่างสองประเทศที่รู้จักกันดีในชื่อย่อว่า  MOU 43  นั้นฝ่ายไทยจะเสียเปรียบและอาจต้องเสียพื้นที่ทับซ้อนนั้นให้กับกัมพูชาไปทั้งหมด กลุ่มการเมืองกลุ่มนี้จึงสร้างกระแสรักชาติโดยอ้างวาทกรรม “ไม่ยอมเสียดินแดนแม้ตารางนิ้วเดียว” และใครก็ตามที่ทำให้เสียดินแดนก็กลายเป็น “คนขายชาติ” ไม่สมควรมีหน้าอยู่ในประเทศนี้ฐานที่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียอธิปไตย ฝ่ายรัฐบาลเอง เพื่อรักษาสถานภาพทางการเมืองและเพื่อแสดงให้เห็นรัฐบาลชุดปัจจุบันนั้นมีศักยภาพจึงไปติดกับดักวาทกรรมดังกล่าวโดยย้ำว่า “ไม่ยอมทำให้เราต้องเสียดินแดนเด็ดขาด” จึงทำให้การเจรจาในแต่ละครั้งล้มเหลวมาโดยตลอด เพราะเป้าหมายที่วางไว้นั้นอยู่คนละจุดกัน ทั้งที่จริงๆ แล้วดินแดนของใครอยู่ตรงไหนกันแน่ก็ยังไม่แน่ชัดเพราะต่างก็รู้กันว่าการปักปันเขตแดนยังไม่แล้วเสร็จ ครั้นจะอ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็คงยิ่งจะสับสนว่าจะให้อ้างไปถึงยุคไหน พ.ศ.ใด และต่างฝ่ายก็ถือหลักฐานทางประวัติศาสตร์คนละชุดกันในการเจรจา

ความตึงเครียดเกิดขึ้นหนักจนถึงขั้นต้องใช้กำลังทหาร ที่ฝ่ายไทยนั้นใช้คำว่า “การปะทะตามแนวชายแดน” เพื่อให้เห็นว่านี่เป็นเรื่องการกระทบกระทั่งกันเพียงเล้กน้อย แต่กัมพูชายกระดับโดยใช้คำว่า “เป็นสงครามระหว่างไทยกับกัมพูชา”  ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่าการจัดการกันเองโดยการเจรจานั้นเป็นไปไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยกองกำลังสหประชาชาติเข้ามาดูแลพื้นที่เพื่อความสงบสุขของประชาชนในพื้นที่ และที่เหนือกว่านั้นสิ่งที่รับรู้กันภายในก็คือ เป็นการเสริมบารมีให้กับบุตรชายของนายกรัฐมนตรีฮุน เซ็นเองที่ผู้เป็นพ่อเพิ่งแต่งตั้งให้ไปเป็นผู้บัญชาการทหาร โดยการก้าวข้ามลำดับอาวุโสของอีกหลายๆ คนไป การรบก็จะถือเป็นการประกาศศักดาได้ระดับหนึ่ง

ทั้งนี้  ในการแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องเขตแดนนั้นเกิดมาแล้วทั่วโลกและแม้กระทั่งของไทยเองกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่การแก้ไขปัญหานั้นยุติได้โดยไม่มีการรบด้วยอาวุธ เพราะเป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในโลกยุคใหม่นั้นการสู้รบกันจนสามารถไปยึดดินแดนกันได้นั้นเป็นไปได้น้อยมาก การสู้รบจะนำมาซึ่งการสูญเสียของทั้งสองฝ่าย ทั้งในเรื่องของงบประมาณ ทรัพยากร กำลังคน ความเสียหายทางเศรษฐกิจและที่สำคัญที่สุดคือ ภาวะทางจิตใจของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่สู้รบ ที่อาจต้องใช้เวลานานในการเยียวยา

ดังนั้น การแก้ปัญหาในแนวทางอย่างประเทศในยุโรปหลังสงครามโลกนั้นก็มีหลายประเทศที่มีปัญหาเรื่องเขตแดนกันอยู่ อย่างเช่น เยอรมันกับฝรั่งเศสที่สู้รบกันมายาวนานเช่นกัน แต่ในที่สุดการเกิดขึ้นของสหภาพยุโรปก้าวพ้นเรื่องปัญหาทางการเมือง เน้นให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจ หาทางสร้างความมั่งคั่งร่วมกัน ทำการค้าร่วมกัน เมื่อมีผลประโยชน์ร่วมกัน สงครามก็ไม่เกิดอีก ในขณะเดียวกันกรณีปัญหาไทยกับมาเลเซียในอดีตก็เคยใช้การแลกที่ศาลเจ้ากับมัสยิดซึ่งอยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ ประชาชนทั้งสองฝั่งก็มีความสุขดี และสามารถปักปันเขตแดนกันได้ชัดเจนกันไปว่าส่วนไหนเป็นของใคร  หรือในยุคใหม่ปัจจุบันที่มีพื้นที่ทับซ้อนกันเมื่อมองเห็นประโยชน์ร่วมกันเป็นที่ตั้งก็ใช้วิธีการจัดตั้งคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย (Thailand-Malaysia Committee on Joint Development Strategy for border areas–JDS) มาดูแลร่วมกัน

ในกรณีพื้นที่พระวิหารนั้นหากยืนอยู่ในความเป็นปัจจุบันและมุ่งไปยังอนาคตโดยมองเอาประโยชน์ระยะยาวของทั้งสองประเทศ และความสงบสุขของประชาชนเป็นที่ตั้งแล้ว แนวทางที่จะทำได้นั้นก็เป็นได้ทั้ง 3 แนวทาง ในแนวทางของสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งปัจจุบันเราก็มี ชุมชน ASEAN  ที่ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่าภายในปี 2015 หรือ อีก 4 ปีต่อจากนี้ไปเราก็จะเป็นชุมชนเดียวกัน “One ASEAN, One Community”  ที่ประชาชนชาวอาเซียนนั้นสามารถไปมาหาสู่หรือทำมาหากินร่วมกันในฐานะคนในชุมชนเดียวกันอยู่แล้ว ดังนั้นควรจะหันมาสร้างความมั่งคั่งด้วยกันแทนที่จะรบหรือเอาชนะคะคานกันด้วยกำลังทหาร  สร้างจิตใจที่ผูกพันเป็นหนึ่งเดียว “Spirit of ASEAN” เช่นเดียวกับชุมชน EU  

ทว่า ในกรณีที่มองว่า จะอย่างไรเสีย เรายังไม่สามารถไปถึงขั้นเดียวกับ EU ได้และ spirit of ASEAN ไม่มีจริง ปัญหานี้ก็เป็นปัญหาของ 2 ประเทศที่จะต้องแก้กันเองนั้น จะใช้วิธีการแลกดินแดนกันแบบไทย –มาเลเซียก็ได้ เพราะบนพื้นที่ 800 กิโลเมตรที่เป็นชายแดนไทย-กัมพูชานี้ แน่นอนว่าพื้นที่ทับซ้อนไม่ได้มีเฉพาะพื้นที่ตรงบริเวณรอบเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น ก็ลองพิจารณาดูพื้นที่ๆ สมเหตุสมผลก็ได้

ถ้าวิธีนี้เป็นเรื่องที่ยังรับไม่ได้ วิธีการที่ดีที่สุดซึ่งคิดว่าคนส่วนใหญ่ก็ย่อมจะรับได้และมีใครต่อใครก็ออกมาเสนอแนวทางนี้แล้วและประโยชน์ก็จะตกอยู่กับประชาชนทั้งสองฝั่ง รวมทั้งในระดับประเทศทั้งสองประเทศด้วยก็คือ การบริหารจัดการร่วมกัน โดยอาจเรียกว่า “พื้นที่พัฒนาวัฒนธรรมร่วมกัมพูชา-ไทย” หรือ ไทย-กัมพูชา ตามแต่สะดวกปาก จัดตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาช่วยกันดูแล ให้ทางขึ้นเขาพระวิหารอยู่ทั้งสองทางทั้งในเขตไทยและเขตกัมพูชา ผู้คนทั้งสองฝั่งก็จะได้ทำมาหากินอยู่ในบริเวณนั้นและได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวจากทั้งสองฝั่ง อย่างนี้จึงจะเป็นได้กับได้ หรือ win-win กันทั้งสองฝ่าย

หากทั้งสองประเทศจะถอยไปตั้งหลักคิดเรื่องนี้เสียใหม่ ในฝ่ายไทยนั้น กลุ่มที่กล่าวอ้างวาทกรรม “เราจะไม่ยอมสูญเสียดินแดนอีกแม้แต่ตารางนิ้วเดียว” นั้น อาจต้องทบทวนใหม่ว่า จริงๆ แล้วอะไรควรเสียหรืออะไรไม่ควรเสีย และบางครั้งได้อย่างก็ต้องเสียอย่างก็ได้ มีบางกลุ่มถวายสัตย์ปฎิญาณต่อพระบรมรูปของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ห้า ว่าจะไม่ยอมเสียดินแดน แต่หากพิจารณาให้ถ้วนถี่ การที่มีเอกราชอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะกุศโลบายหรือวีธีการแก้ปัญหาที่พระองค์ใช้ก็คือ “การยอมสูญเสียส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่” ดังนั้น การเสียจึงเท่ากับการได้ เช่นการยินยอมให้บริหารจัดการพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารร่วมกัน ที่บางกลุ่มมองว่าเท่ากับว่าไทยได้เสียดินแดนไปให้กับกัมพูชานั้นย่อมไม่จริง เพราะเป็นการยอมเพื่อให้ได้มาซึ่งความสงบสุขและยอมเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ทางเศรษฐกิจและอื่นๆ ต่างจากการที่ไม่ยอมสูญเสียในนั้นนี้แต่กลับยิ่งเสียไปแล้วอย่างมากทั้งชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร์ทั้งสองฝ่าย เช่นกัน กัมพูชาเองก็ควรที่จะยอมรับเงื่อนไขการบริหารจัดการร่วมกันของสองฝ่าย แทนที่จะเอาฝ่ายที่สาม สี่ ห้า เข้ามาเป็น “ตาอยู่” ในพื้นที่นี้ 

ในโลกปัจจุบันคงจะไม่มีใครสามารถตีใครเป็นเมืองขึ้นได้  และการอยู่ร่วมกันนั้นก็มีข้อตกลงมากมายในทุกระดับทั้งข้อตกลงระหว่างกันสองประเทศหรือทวิภาคี หรือ ระดับสากล ที่ทุกประเทศพึงต้องปฎิบัติ หากทั้งประเทศไทยและกัมพูชาจะยอมรับกันในหลักการและมีความจริงใจในการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติแล้ว หลักการต่างๆ ที่ทำร่วมกันมาทั้งในระดับทวิภาคีและระดับสากลก็ควรที่จะได้รับความเคารพและปฎิบัติตาม ทว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนเกิดขึ้นจากการมีวาระซ่อนเร้นของกลุ่มการเมือง และนักการเมืองทั้งของไทยและกัมพูชา โดยมีประชาชนเป็นเหยื่อและตัวประกัน หากผู้นำทั้งสองประเทศ กลุ่มการเมืองต่างๆ ที่อ้างความรักชาติ รักแผ่นดิน และสื่อมวลชนของทั้งสองประเทศมองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมของชาติและเอาประชาชนในพื้นที่เป็นที่ตั้งแล้ว ปัญหานี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่จะใหญ่เกินกว่าจะแก้ไขไม่ได้

แม้จะรู้ว่า ทางออกในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันนั้น ควรจะต้องหลีกเลี่ยงการปะทะและหันหน้ามาพัฒนาพื้นที่ที่เป็นเขตทับซ้อนร่วมกันเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่ยังประโยชน์ให้กับทั้งสองประเทศ ทว่า ดูเหมือน เงื่อนไขที่รัฐบาลทั้งสองประเทศต้องเผชิญอยู่นั้นยิ่งหาทางแก้ก็ยิ่งข้ามพ้นเป้าหมายการอยู่ร่วมกันหรือได้ประโยชน์ร่วมกัน จากพื้นที่ปัญหาที่เป็นพื้นที่เดียวกันแต่รัฐบาลทั้งสองประเทศนั้นกลับ “หันหน้ากันคนละทาง สร้างดาวกันคนละดวงดู” ตั้งเป้าที่ต่างกัน ความระแวงที่มีให้แก่กันได้ทำให้บรรยากาศการเจรจาที่จะบริหารจัดการร่วมกันถูกละเลยไปจนดึงกลับมาไม่ได้อีก การอ้างความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายต่างก็กล่าวหากันไปมานั้นจึงไม่ช่วยแก้ปัญหาใดๆ และดูเหมือนว่า ยิ่งนานวันเป้าหมายก็ไม่สามารถมาบรรจบกันได้ ความทุกข์หนักก็คงไม่พ้นต้องตกอยู่กับประชาชนตาดำๆ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่พิพาทของสองประเทศที่ต้องแขวนชีวิตอยู่บนเส้นด้ายแห่งความไม่แน่นอนและไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเลย

ที่มา: http://www.vmekongmedia.com/content/view.php?code=anl16021118030162

 

 

บล็อกของ สุทธิดา มะลิแก้ว

สุทธิดา มะลิแก้ว
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ
สุทธิดา มะลิแก้ว
    ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว…
สุทธิดา มะลิแก้ว
  เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด…
สุทธิดา มะลิแก้ว
    “พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว  
สุทธิดา มะลิแก้ว
“การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สุทธิดา มะลิแก้ว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า อินโดนีเซียมีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นอย่างยิ่งที่มาเลเซียนำเพลง ราซา ซายัง เอห์ ( Rasa Sayang Eh) มาเป็นเพลงประกอบโฆษณาการท่องเที่ยว โดยระบุว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของอินโดนีเซียและบอกว่าเนื้อเพลงที่ร้องนั้นเป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะอัมบน
สุทธิดา มะลิแก้ว
ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 
สุทธิดา มะลิแก้ว
ดูเหมือนเหตุการณ์จะประจวบเหมาะมากที่จู่ๆ ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้าไปบ้านพักของนางออง ซานซูจีจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในช่วงที่นางจะหมดวาระการถูกกักบริเวณเพียงไม่กี่วัน และหากนางอองซาน ซูจีถูกตัดสินจำคุกก็เท่ากับว่านางและพรรคฝ่ายค้ายนั้นอาจไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับแผน แผนปรองดองแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Road Map for Democracy) เป็นแน่แท้ซึ่งเรื่องนี้ชาวโลกต่างให้ความสนใจว่า จริงๆ แล้วพม่ามีความจริงใจที่จะดำเนินการให้เกิดประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน
สุทธิดา มะลิแก้ว
1   ในระหว่างที่เห็นการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมเรื่องเด็กชายเคอิโงะ ลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ออกมาตามหาพ่อ ก็คิดต่อทันทีว่า ไม่นานก็จะมีเด็กแบบเดียวกับเคอิโงะออกกันมาอีกแน่ๆ เพราะรู้ดีว่าเด็กแบบนี้ไม่ได้มีคนเดียวในประเทศไทยและยังคิดต่ออีกว่า หลังจากสื่อสามารถทำเรื่องชีวิตเด็กคนหนึ่งให้ฮือฮาได้แล้ว เรื่องของเด็กคนอื่นก็ไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วทั้งรัฐและเอกชนที่โหมกระหน่ำความช่วยเหลืออย่างเช่นกรณีเคอิโงะก็จะหายไปด้วย
สุทธิดา มะลิแก้ว
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผาจนผิวไหม้เกรียมแทบจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียว  แม้จะสี่โมงเย็นแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าแสงแดดในบ้านเราจะยอมอ่อนแรงลงเลย  ยังคงสาดแสงอย่างเกรี้ยวกราดทำให้คนที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละอ่อนแรงลงไปก่อน และแล้วก็ตั้งใจจะเรียกแท๊กซี่ (อีกแล้ว) แต่ก็ต้องยอมทนอีกนิดข้ามสะพานลอยไปเรียกรถอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า เพื่อความสะดวกให้กับแท๊กซี่ไม่ต้องกลับรถ
สุทธิดา มะลิแก้ว
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนนเห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ)…
สุทธิดา มะลิแก้ว
"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์…