Skip to main content

 

pic1

 

 

pic2

 

1

ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ข่าว คงจะรับรู้กันแล้วถึงสถานการณ์ในพม่าที่บานปลายมากขึ้นเรื่อยๆ  รัฐบาล ทหารพม่าออกมาปราบปรามผู้ชุมนุมประท้วงซึ่งส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ที่ปกติแล้วเป็นที่เคารพยิ่งของ ประชาชนชาวพม่าซึ่งหมายรวมถึงบรรดาผู้คนในรัฐบาลด้วย  แต่การปราบปรามผู้ชุมนุมในครั้งนี้นั้นไม่ได้ทำให้ผู้คนหวาดกลัวไม่กล้าชุมนุมกันต่อ กลับยิ่งทำให้เหตุการณ์ในพม่าทวีความเลวร้าย และรุนแรงหนักขึ้นไปอีก

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มีประเด็นให้ขบคิดต่อได้หลายประการทีเดียว เริ่มตั้งแต่ว่าทำไมชาวพม่านับตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ปี 1988 เป็นต้นมา หรือที่ เรียกกันว่า เหตุการณ์ 8888 นั้นสามารถทนอยู่ในสภาพ ที่เสรีภาพถูกปิดกั้นมาได้อย่างยาวนาน รวมถึงการยินยอมให้รัฐบาลทหารใช้อำนาจในทางมิชอบ และทนอยู่ในสภาวะหวาดกลัวมาได้นานถึงเกือบ 20 ปี แล้วทำไม มาถึงตอนนี้ชาวพม่าถึงกล้าออกมา กระทำการต่อต้านรัฐบาล  ประเด็นที่น่าสนใจถัดไปคือบทบาทของพระสงฆ์ และประเด็นสุดท้ายคือบทบาทของไทยต่อเหตุการณ์นี้

ก่อนอื่นก็ต้องขอย้อนกลับมาดูที่มาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกันก่อน การชุมนุมในครั้งนี้นับว่า เป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุด และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เริ่มต้นมาจากการเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ปกติเป็นประเด็นหลักในการเรียกร้องของชาวพม่า และมักจะเกิดขึ้นนอกประเทศ เพราะยากที่จะมีการรวมตัวกันได้ในประเทศ  แต่เหตุการณ์ครั้งนี้กลับไม่ใช่ เพราะมีเหตุจากความไม่พอใจที่รัฐบาลขึ้นราคาน้ำมัน

ทำไมแค่ขึ้นราคาน้ำมัน ผู้คนต้องออกมาประท้วงกันขนาดนี้เชียวหรือ คำตอบก็คือใช่ การขึ้นราคาน้ำมันสูง ขึ้นถึง 3 เท่า เท่ากับเป็นการผลักภาระให้กับประชาชน  ปกติประชาชนก็ยากจนอยู่แล้ว ส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายค่ารถเมล์ หรือค่าพาหนะต่างๆ ที่ราคาสูงขึ้นเพื่อสัญจรไปมาหรือเพื่อไปทำงานได้

ภายใต้การปกครองโดยรัฐบาลทหารมานานเกือบสองทศวรรษ ประชาชนชาวพม่ามีแต่จะจนลงทุกวันๆ ความขัดสนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย เดิมที่ต้องทนอยู่กับความกลัว ความกดดันและขาดสิทธิในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในเรื่องข่าวสารข้อมูลและการแสดงความเห็นก็ทำให้อึดอัดมากพออยู่แล้ว  แต่นี่ยังมีเรื่องปากท้องซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเพื่อการดำรงอยู่ของผู้คนเพิ่มเข้าไปอีก

ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้มองเห็นในอีกมุมหนึ่งว่า เอาเข้าจริงๆ แล้ว ประชาธิปไตยอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ของการปกครองประเทศ จะเป็นการปกครองระบอบใดก็ได้หากประชาชนยังมีกินมีใช้ การออกมาเรียกร้องเรื่องสิทธิอื่นๆ นั้นยังมีได้น้อยกว่ามาก อีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนคือ  ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งก็รู้กันดีอยู่ว่า มีการเลือกตั้งกันแต่ในนามเท่านั้น ในทางปฏิบัติกลับไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเลย เห็นได้ชัดว่าเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและ เสรีภาพของสื่อมวลชนแทบจะไม่มีเลยในสิงคโปร์ แต่ประชาชน สิงคโปร์กลับยินดีที่จะเป็นอย่างนั้น พร้อมทั้งยืนยันว่ารัฐบาลสิงคโปร์นั้นดีมากๆ เพราะว่าทำให้ฐานะ ทางเศรษฐกิจของชาวสิงคโปร์นั้นดี มีอยู่มีกินถึงขั้นกินดีอยู่ดี ผู้คนจึงไม่ได้เดือดร้อนที่จะออกมาเรียกร้อง หาเสรีภาพอื่นๆ อีก  กรณีพม่าก็เช่นเดียวกัน ผู้คนยอมตกอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแสดงความคิดเห็นมาได้ อย่างยาวนาน แต่เรื่องเศรษฐกิจ หรือเรื่องกินอยู่นั่นเองที่ทำให้คนทนไม่ได้อีกต่อไป  ต้องลุกขึ้นสู้

2

ประเด็นต่อมา เรื่องบทบาทของพระสงฆ์ในพม่า หากเทียบกับความคาดหวังของคนไทยจำนวนหนึ่งแล้ว ก็อาจคิดว่าคงไม่ใช่กิจของสงฆ์ที่จะมาข้องเกี่ยวกับการเมือง แต่หากดูในบริบทหน้าที่ของพระสงฆ์ในพม่า ซึ่งมีส่วนร่วมกับกิจการสังคมอยู่มาก  พระสงฆ์มีบทบาทในการร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจาก รัฐบาลให้กับประชาชนมานานพอสมควร   จึงไม่แปลกที่ครั้งนี้ พระสงฆ์จะมาเป็นผู้นำเพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ที่สำคัญประชาชนเองก็อุ่นใจที่พระสงฆ์ออกมาเป็นแกนนำ  ชาวพม่านั้นได้ชื่อว่า ให้ความเคารพและให้ความสำคัญกับพระสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นเรื่องที่อาจคาดการณ์กันไว้ว่า  รัฐบาลคงไม่โหดร้ายที่จะใช้ความรุนแรงทำร้ายพระได้

การชุมนุมโดยมีพระสงฆ์ร่วมด้วยนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่  ในเหตุการณ์ 8888 พระสงฆ์ก็มีส่วนร่วม และรัฐบาลทหารก็เคยสังหารพระสงฆ์ จับเข้าคุก หรือปราบปรามตามวัดต่างๆ มาแล้ว แต่การปราบปรามพระสงฆ์ในครั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลอาจหาความชอบธรรม ด้วยการอ้างว่าพระสงฆ์เหล่านี้ อาจจะมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นคนของพรรคเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซูจี ที่แฝงตัวบวชอยู่ด้วย   ซึ่งนั่นก็เป็นการแสดงให้เห็นอีกครั้งว่า สิ่งที่อยู่คู่กับรัฐบาลทหารคืออำนาจนิยมเท่านั้น หาใช่ธรรมนิยมไม่

สิ่งที่ต้องมองกันต่อไปคือ การใช้ความรุนแรงของรัฐบาลนั้นมีแต่ทำให้เรื่องบานปลายมากขึ้น  เพราะประชาชนก็คงถอยไม่ได้แล้ว การรับมือกับเรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องเล็กทั้งของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายประชาชน

3

หันกลับมามองที่ไทย ขณะที่เกิดสถานการณ์เช่นนี้กับเพื่อนบ้านของเรา   ปฎิกิริยาจากทั่วโลกส่งไปยัง ประเทศพม่ากันแล้ว  ประเทศไทยในยุคที่มีรัฐบาลทหารเป็นผู้นำเช่นกันกลับเฉยๆ  ยังมิได้ริเริ่มปฎิกิริยาใดๆ ต่อพม่าเลย ด้วยสาเหตุสะท้อนใจว่า “ช่างเหมือนกันกับเราเหลือเกิน” หรืออย่างไร

ในภาคประชาชน คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชนหลายองค์กรร่วมกับกลุ่มต่างๆ ทั้งนักศึกษา กลุ่มแรงงานพม่า ในประเทศไทย ออกมาเดินขบวนกันที่สถานทูตพม่า มีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลพม่า ยุติการกระทำที่รุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุม  ซึ่งก็มีเสียงจากประชาชนบางคนที่ค่อนขอดกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องนี้ในทำนองว่า “ทำบ้านตัวเองให้ดีเสียก่อนเถอะ แล้วค่อยยุ่งเรื่องชาวบ้าน”  ซึ่งแม้จะเป็นการมองที่คับแคบ ไปหน่อย แต่ก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง

นอกจากนี้ มีพระสงฆ์ไทยออกมาเจริญภาวนาให้แก่บรรดาพระสงฆ์ในพม่า เพื่อให้ประเทศพม่า เกิดความสงบสุขโดยเร็วด้วย  การแสดงออกต่อสถานการณ์นี้เกิดขึ้นในหลายภาคส่วน แต่ยังไม่มีการ ริเริ่มปฏิบัติการใดๆ ที่ออกมาจากรัฐบาลไทย ในฐานะเพื่อนใกล้ชิดและในฐานะสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ซึ่งในปีหน้านี้ไทยก็จะเป็นประธานด้วย นอกจากที่ไทยจะไม่ได้แสดงท่าทีหรือจุดยืนที่ชัดเจนต่อเรื่องนี้แล้ว ในวันที่เริ่มมีการปราบปรามโดยใช้กำลังและมีการเสียชีวิตเกิดขึ้นแล้วนั้น  ท่านประธาน คมช. ก็ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวในทำนองว่า สถานการณ์คงไม่รุนแรงมากหรอก ภาพที่เห็นว่ามีการทำร้ายผู้ประท้วง นั้นอาจเป็นเพราะผู้ประท้วงนั้นยั่วยุเจ้าหน้าที่ก็เป็นได้   ซึ่งก็เป็นการให้สัมภาษณ์ที่ไม่ได้สร้างความ ประหลาดใจให้แม้แต่น้อย แต่ยิ่งเป็นการยืนยันว่า นี่คือวิธีคิดของคนพันธุ์เดียวกัน

ถึงแม้ว่าได้พูดไว้ตั้งแต่ต้นว่า ประชาธิปไตยอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับบางประเทศ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ตอนนี้อยากให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ  เสียจริง เพราะอย่างน้อยเราคงจะไม่ต้องตกอยู่ในความหวาดกลัว และประเทศไทยคงจะกล้าหาญที่จะริเริ่มทำอะไรได้มากกว่านี้ สามารถพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากกว่านี้ในการร่วมเรียกร้องให้เพื่อนบ้านของเรามีประชาธิปไตย หรือไม่ใช้ความรุนแ แต่ตอนนี้คงได้แต่เพียง ก้มหน้าหลบๆ เลี่ยงๆ และพูดอะไรออกไปก็คงทำได้เพียงพอเป็นพิธีเท่านั้น...

ภาพประกอบบทความนำมาจาก: ข่าว-ชมภาพพระพม่านำประชาชนนับแสนเดินขบวนใหญ่ต้านรัฐบาลทหาร (ประชาไท)  

บล็อกของ สุทธิดา มะลิแก้ว

สุทธิดา มะลิแก้ว
กลายเป็นเรื่องฮือฮาสำหรับการฉลองสงกรานต์ในปีนี้ (2554) เมื่อมีคนนำคลิปของเด็กสาวขึ้นเต้นโชว์เปลือยอกในการฉลองสงกรานต์ย่านสีลมที่มีผู้คนชมและเชียร์กันอย่างเมามันมาเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายผ่านทางสังคมออนไลน์ รวมทั้งนักข่าวทุกสำนักก็ให้ความสนใจและนำเสนอกันอย่ากว้างขวาง มีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากมายว่า นี่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือการกระทำที่ทำลายวัฒนธรรม บางคนถึงขั้นกล่าวหาเด็กสาวเหล่านี้ว่าเป็นโรคจิตด้วยซ้ำ
สุทธิดา มะลิแก้ว
    ญี่ปุ่น นับเป็นประเทศที่มีพัฒนาการอย่างมากในเรื่องของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางวัตถุอย่างรวดเร็ว มีรถไฟหัวกระสุนที่มีความเร็วสูง มีตึกสูงๆที่สามารถรองรับแผ่นดินไหวได้ หรือแม้แต่โรงปฎิกรณ์ปรมาณูนั้นก็ยืนยันว่ามีระบบความปลอดภัยเป็นเยี่ยม นอกจากนั้นยังเป็นประเทศที่มีประชากรที่มีระเบียบวินัยและคุณภาพที่พร้อมรับมือกับภัยร้ายๆได้อย่างดี ทว่า สุดท้ายแล้วเมื่อธรรมชาติพิโรธอย่างหนัก ประเทศระดับญี่ปุ่นเองก็ยังยากที่จะรับมือ ประสาอะไรกับประเทศที่ไร้ระเบียบและขาดการเตรียมการอีกหลายประเทศ เห็นภาพภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับญี่ปุ่นแล้ว…
สุทธิดา มะลิแก้ว
  เป็นเวลานานหลายสิบปีที่พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งยังไม่มีการปักปันเขตแดนที่ชัดเจนนั้นไม่ได้ถูกให้ความสนใจ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่น แม้ต่างตอบตัวเองได้ว่าตัวเองเป็นพลเมืองของชาติใดหากต้องติดต่อกับทางราชการแต่ก็อยู่ร่วมกันด้วยดี ถ้อยทีถ้อยอาศัยต่อกันและทำมาหากินร่วมกันมายาวนาน การเดินข้ามไปข้ามมาในบริเวณนั้นก็มิได้เป็นปัญหา มิได้คิดว่าใครจะเข้ามารุกล้ำดินแดนใคร และในการใช้ชีวิตนั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข ทว่า บัดนี้มาเกิดกรณีพิพาทอันเนื่องมาจากการอ้างสิทธิ์บนพื้นที่นี้เกิดขึ้นจากรัฐบาลทั้งสองประเทศและยังไม่อาจแน่ใจว่าข้อพิพาทนี้จะยุติลงได้เมื่อใด…
สุทธิดา มะลิแก้ว
    “พี่รีบๆไปดูเถอะ ตอนนี้ยังดีอยู่ ได้ข่าวว่านายทุนเข้าไปซื้อที่ตรงนั้นไปเยอะแล้ว ไม่ช้าก็คงจะเปลี่ยนไปแน่นอน” ผู้จัดการเกสต์เฮาส์แห่งหนึ่งใน อ.ปาย บอก เมื่อถามว่า อำเภอใหม่เป็นไงบ้าง เพราะว่าดูจะไม่ไกลจากปายมากนัก และในอนาคตอาจไม่เห็นความเป็นธรรมชาติของที่นั่นแล้ว  
สุทธิดา มะลิแก้ว
“การย้ายถิ่นไม่ได้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติทางประวัติศาสตร์แต่เป็นมิติของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน” ตอนหนึ่งในรายงานการพัฒนามนุษย์ปี 2552 (Human Development Report 2009) จัดทำขึ้นโดยโครงการการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme –UNDP) ที่เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อไม่นานมานี้
สุทธิดา มะลิแก้ว
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวว่า อินโดนีเซียมีความไม่พอใจมาเลเซียเป็นอย่างยิ่งที่มาเลเซียนำเพลง ราซา ซายัง เอห์ ( Rasa Sayang Eh) มาเป็นเพลงประกอบโฆษณาการท่องเที่ยว โดยระบุว่าเพลงนั้นเป็นเพลงของอินโดนีเซียและบอกว่าเนื้อเพลงที่ร้องนั้นเป็นภาษาท้องถิ่นของเกาะอัมบน
สุทธิดา มะลิแก้ว
ไม่ว่าการตัดสินคดีของอองซาน  ซูจีจะปรากฎออกมาเยี่ยงใดก็ตาม  มินท์ เมี้ยต รู้ดีว่า คงไม่ได้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายใดๆหรอก แต่คำตัดสินนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าผู้นำรัฐบาลทหารพม่าต้องการให้ออกมาเช่นไร ตัวเขาเองนั้นรู้ซึ้งในเรื่องนี้ดีเพราะเคยมีโอกาสได้เข้าไปสู่กระบวนการนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว และเขารู้ดีว่า ชะตากรรมของชาวพม่านั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือเสียอีก หากคนๆ นั้นบังเอิญไปทำอะไรขวางหูขวางตารัฐบาลเข้า เช่นเดียวกับตัวเขาและภรรยาที่เป็นวิศวกรอยู่ดีๆ ก็ต้องมากลายเป็นนักโทษ และสุดท้ายต้องมาลงเอยด้วยการเป็นแรงงานข้ามชาติอยู่ในประเทศไทย 
สุทธิดา มะลิแก้ว
ดูเหมือนเหตุการณ์จะประจวบเหมาะมากที่จู่ๆ ชายชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้าไปบ้านพักของนางออง ซานซูจีจี ผู้นำพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ในช่วงที่นางจะหมดวาระการถูกกักบริเวณเพียงไม่กี่วัน และหากนางอองซาน ซูจีถูกตัดสินจำคุกก็เท่ากับว่านางและพรรคฝ่ายค้ายนั้นอาจไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมกับแผน แผนปรองดองแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (Road Map for Democracy) เป็นแน่แท้ซึ่งเรื่องนี้ชาวโลกต่างให้ความสนใจว่า จริงๆ แล้วพม่ามีความจริงใจที่จะดำเนินการให้เกิดประชาธิปไตยมากน้อยแค่ไหน
สุทธิดา มะลิแก้ว
1   ในระหว่างที่เห็นการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมเรื่องเด็กชายเคอิโงะ ลูกครึ่งญี่ปุ่นที่ออกมาตามหาพ่อ ก็คิดต่อทันทีว่า ไม่นานก็จะมีเด็กแบบเดียวกับเคอิโงะออกกันมาอีกแน่ๆ เพราะรู้ดีว่าเด็กแบบนี้ไม่ได้มีคนเดียวในประเทศไทยและยังคิดต่ออีกว่า หลังจากสื่อสามารถทำเรื่องชีวิตเด็กคนหนึ่งให้ฮือฮาได้แล้ว เรื่องของเด็กคนอื่นก็ไม่น่าสนใจอีกต่อไป แล้วทั้งรัฐและเอกชนที่โหมกระหน่ำความช่วยเหลืออย่างเช่นกรณีเคอิโงะก็จะหายไปด้วย
สุทธิดา มะลิแก้ว
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดเผาจนผิวไหม้เกรียมแทบจะกลายเป็นเนื้อแดดเดียว  แม้จะสี่โมงเย็นแล้วก็ยังไม่มีวี่แววว่าแสงแดดในบ้านเราจะยอมอ่อนแรงลงเลย  ยังคงสาดแสงอย่างเกรี้ยวกราดทำให้คนที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละอ่อนแรงลงไปก่อน และแล้วก็ตั้งใจจะเรียกแท๊กซี่ (อีกแล้ว) แต่ก็ต้องยอมทนอีกนิดข้ามสะพานลอยไปเรียกรถอีกฝั่งหนึ่งดีกว่า เพื่อความสะดวกให้กับแท๊กซี่ไม่ต้องกลับรถ
สุทธิดา มะลิแก้ว
ตอนที่ 1 สุข-ทุกข์อยู่บนท้องถนนเห็นจะต้องยอมรับเสียทีว่า ตัวเองนั้นเป็นที่ใช้รถเปลืองมากๆ ส่วนใหญ่ถ้าวันไหนต้องออกจากบ้านก็คงจะใช้อย่างน้อย 2 คันทีเดียว ทั้งหมดนี้ไม่ได้อวดโอ้แต่ประการใด เพียงแต่ว่า พาหนะหลักในการเดินทางของผู้เขียนเวลาที่อยู่กรุงเทพฯ นั้นก็คือแท็กซี่ แม้จะใช้รถไฟฟ้าหรือใต้ดินบ้างก็ยังต้องนั่งแท๊กซี่ไปที่สถานีรถไฟฟ้าหรือใต้ดินอยู่ดี   ตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีมานี้จึงได้พบเรื่องราวหลากหลายในระหว่างการนั่งรถแท๊กซี่ และผ่านบทสนทนากับคนขับแท๊กซี่ที่ผู้เขียนได้ใช้บริการไม่ว่าสีไหนก็ตาม (อันนี้หมายถึงสีของรถแท๊กซี่ไม่เกี่ยวกับสีในอุดมการณ์ของคนขับ)…
สุทธิดา มะลิแก้ว
"It's your responsibility" หรือ "คุณนั่นแหละต้องรับผิดชอบ" เป็นคำพูดที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนพูดย้ำหลายครั้งต่อหน้าผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1 พันคนเมื่อบ่ายวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ที่ห้องประชุมมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเวทีมหกรรมภาคประชาชนอาเซียนครั้งที่ 4 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 -22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวย้ำด้วยความภาคภูมิใจถึงการมีกฎบัตรอาเซียน โดยบอกว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถก้าวไปข้างหน้า เพราะถือเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประเทศสมาชิกจะต้องปฎิบัติตาม การมีกฎบัตรจะทำให้อาเซียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล และสิ่งที่ ดร.สุรินทร์…