Skip to main content

 9_7_01

 

ไหลมาจากป่าเขาอันเหงาเงียบ

เย็นยะเยียบลงสู่ถิ่นแผ่นดินใหญ่

พาดผ่านเมืองแห่งตำนานล้านนาไทย

คงคู่เวียงเชียงใหม่มาเนิ่นนาน

 

เป็นเส้นเลือดของชุมชนบนฟากฝั่ง

ที่ยืนยังเกลียวกลมผสมผสาน

ด้วยพืชผลนาไร่จากแรงงาน

จากสายธารแม่น้ำใหญ่ที่ไหลริน

 

ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์อันไกลโพ้น

ยังอ่อนโยนเป็นมือแม่กระแสสินธุ์

คอยหล่อเลี้ยงผองชนบนแผ่นดิน

มิรู้สิ้นกระแสแผ่กระจาย

 

ถ้าแม่ปิงถูก “ มือทุน ” มาตัดขาด

เพื่อนำสู่ตลาดไปค้าขาย

เหล่าชุมชนสองฝั่งฟากอันมากมาย

คงถึงคราวล้มละลาย...สิ้นสายน้ำ

 

เพราะนี่คือ...มือดำอำมหิต

ที่ครุ่นคิดคอยแต่จะขย้ำ

ทรัพยากรท้องถิ่นแผ่นดินธรรม

เพื่อกอบกำผลกำไรให้แก่ตน

 

ไหลมาจากป่าเขาอันเหงาเงียบ

เย็นยะเยียบในวงแวดแดดและฝน

โอ้ แม่น้ำสีทองของคนจน

จะถูกปล้นแล้วหรือไรในวันนี้.

หมายเหตุผู้เขียน กวีบทนี้ ผมเขียนให้งานนิทรรศการเกี่ยวกับแม่น้ำปิง เมื่อไม่นานมานี้ที่หอศิลป์ มช. ซึ่งจัดโดย “กลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่” ที่เป็นแกนนำต่อสู้คัดค้านรัฐที่จะทุบฝายทดน้ำพญาคำที่อยู่ห่างจากสะพานเนาวรัฐไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร


เพื่อเอี้ออำนวยทางสะดวกให้กับโครงการธุรกิจท่องเที่ยวเรือสำราญ จะได้แล่นเรือจากท่าเรือในเมืองล่องไปเวียงกุมกาม โดยไม่คำนึงถึงเกษตรกรนับพันครอบครัวที่อาศัยน้ำจากระบบส่งน้ำจากฝายพญาคำไปทำการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของพวกเขา จะต้องเดือดร้อน หากฝายพญาคำที่มีอายุมาหลายชั่วคนถูกทำลาย...

9_7_02

 


ด้วยเหตุผลที่เขาว่า เป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมเมืองเชียงใหม่ในหน้าฝน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้นและไม่เป็นความจริง เพราะมีคนคัดค้านกันมากมาย และสามารถชี้ให้เห็นสาเหตุที่แท้จริงหลายสาเหตุ แน่นอนเรื่องนี้ยังไม่ยุติ...

 

 9_7_03
ยื่นหนังสือกรมชลฯ คัดค้านการสร้างประตูระบายน้ำเพื่อทุบฝาย

 

 

และในขณะที่ผมกำลังเขียนต้นฉบับนี้ ทาง “กลุ่มภาคีคนฮักเจียงใหม่” กำลังรวบรวมบทความที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรี่องนี้จากนักคิดนักเขียนสอง-สามท่าน รวมเล่มพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ “เมืองแม่น้ำในหุบเขา” โดยได้รับทุนจัดพิมพ์จากมูลนิธิไทยรักษ์ป่า ในหนังสือเล่มนี้มีบทกวีบทนี้และบทความสั้นๆในเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับแม่น้ำปิงที่ผมเขียนอีกชิ้นหนึ่งได้รับเกียรติรวมอยู่ด้วย ครับ-นี่คือที่มาที่ไปของบทกวี “เสียงกระซิบจากแม่ปิง” ที่คุณกำลังอ่าน.

 

กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    เมื่อยังมีชีวิต จงหายใจเข้าไว้ หายใจแรงๆ และหายใจอย่างสดชื่น เพราะภาระหน้าที่ของชีวิตคือการมีชีวิต ชีวิตที่กระปรี้กระเปร่า และถ้าเป็นไปได้ควรต้องรื่นรมย์กับชีวิต บาปอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ (บางทีสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งปวง) คือการปฏิเสธชีวิต   การมีชีวิต
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น ฉันทำเท่าที่ฉันหวัง ฉันหวังเท่าที่ฉันเห็น ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันเชื่อหนึ่งมากกว่าร้อย ฉันเชื่อคนมากกว่าลัทธิ ฉันเชื่อดินมากกว่าฟ้า ฉันเชื่อต้นหญ้ามากกว่าขุนเขา ฉันเชื่อสวนหลังบ้านมากกว่าป่าหิมพานต์ ฉันเชื่อวันนี้มากกว่าวันวาน ฉันง่ายฉันงามฉันแจ่มชัด ฉันไม่เชื่ออำนาจรัฐจากกระบอกปืน   ฉันเป็นเท่าที่ฉันเป็น.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อิสรภาพ   ฉันต้องการอิสรภาพ ที่จะได้เห็น ที่จะได้ยิน ในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  เป็นที่ทราบกันดีว่า กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นกฎหมายที่สร้างความทุกข์สาหัสให้แก่ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า “หมิ่นสถาบัน” มามากมายหลายคน เพราะกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นมาอย่างกว้างๆไม่ระบุขอบข่ายความผิดให้ชัดเจน รวมทั้งกระบวนการจับกุม สอบสวน ดำเนินคดี ก็มิได้เป็นไปตามปกติทั่วไป มิหนำซ้ำการตีความบังคับใช้มาตรานี้ ว่ากันว่า เจ้าหน้าที่สามารถตีความใช้ได้อย่างกว้างขวาง และนักการเมืองมักจะใช้เป็นเครื่องมือในการทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอยู่เสมอ และผู้ต้องคดีนี้นอกจากจะติดคุกติดตะรางแล้ว ยังถูกซ้ำเติมจากสังคมที่จงรักภักดีต่อสถาบันอย่างรุนแรง    
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คือแม่น้ำและขุนเขาอันขรึมขลัง คือพลังคีตกานท์อันหวานไหว คือหนึ่งจิตวิญญาณล้านนาไทย คือดอกไม้สวยสะคราญบานนิรันดร์  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ย้อนกลับไปทบทวนดู คำประกาศหลังจากรับพระราชทานโปรดเกล้าฯของคุณยิ่งลักษณ์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า “อุปสรรคข้างหน้ายังรอเราอยู่มาก ทั้งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ แต่ทั้งหมดมิใช่อุปสรรคขวางกั้นมิให้ทำงาน พร้อมที่จะอุทิศตัวด้วยความทุ่มเท เสียสละอดทน ทำงานแข่งกับเวลา ไม่เกรงต่อความลำบากใดๆ”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    แล้ว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย หมายเลข 1 ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และ เป็นนายกหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของเมืองไทย และเป็นคนที่ 52 ของโลก อย่างสมบูรณ์ โดยได้รับการโหวตเสียงจากที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 296 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง และงดออกเสียง 197 เสียง ก่อนจะได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 เวลา 18.40 น. ณ บริเวณตึกชั้น 7 ที่ทำงานพรรคเพื่อไทย ท่ามกลางความยินดีของคนจำนวนมากมาย ที่สนับสนุนคุณยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทย  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คราวที่แล้ว ผมนำเรื่อง “คนดีของคนเมือง และ คนดีของชนบท” ที่แตกต่างกัน จากบทสัมภาษณ์ที่ชื่อว่า “ความคาดหวังและความจริงของประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ของ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ซึ่งให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนตุลาคม 2543 ผมคิดว่าจะหยุดเพียงแค่นั้น แต่ก็หยุดไม่ได้ เพราะพบว่ายังมีประเด็นที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านอีกสองประเด็น ที่ยังเป็นเรื่องราวที่ยังดำรงอยู่ในปี 2544 และต่อไปอีกนานเท่าไหร่ ก็คงไม่มีใครรู้ เพราะมันเป็นรื่องของอนาคต  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมมักจะได้ยิน ผู้คนและสื่อต่างๆเกี่ยวกับการเมือง มักจะพูดกันให้ได้ยินอยู่เสมอว่า “คนชนบทเป็นคนเลือกตั้งรัฐบาล คนเมืองเป็นคนล้ม” ซึ่งดูเหมือนจะเป็นความจริงมาโดยตลอด แต่ก็ไม่มีใครให้คำอธิบายที่ฟังดู สมเหตุสมผลและชอบธรรม ให้ฟัง ว่าทำไมคนเมืองที่หมายถึงคนชั้นกลาง จึงไม่ชอบรัฐบาลที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนบทในประเทศ และช่วยกันล้มรัฐบาลที่เขาเลือกตามกติกา 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ถึงแม้ คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้รับการรับรองจาก กกต. ให้หลุดพ้นจากข้อหาไปช่วยขบวนแห่ที่เชียงราย ให้พ้นจากข่ายความผิดด้วยมติ 5 ต่อ 0 ท่ามกลางความโล่งอกของใครต่อใครมากมายหลายคน ที่ว่ากันว่า เป็นเพราะโพลเสียงจากประชาชน 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องการคุณยิ่งลักษณ์นายกฯ (รวมทั้ง นปช.) เป็นกระแสกดดัน กกต. หรือเพราะเหตุใดก็ช่างเถิด แต่เราก็สามารถฟันธงกันได้เลยว่า อีกไม่นาน เราจะต้องได้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศอย่างแน่นอน 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
      ผมไม่แน่ใจว่า ก่อนที่คุณยิ่งลักษณ์ ว่าที่นายกฯ ยิ่งลักษณ์ คนสวย และกลุ่มมันสมองของพรรคเพื่อไทยจะชูนโยบายประชานิยม เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำให้กรรมกรผู้ใช้แรงงานจาก 221 บาท เป็น 300 บาท และเพิ่มเงินเดือนให้แก่ผู้จบปริญญาตรีที่เริ่มเข้าบรรจุงานจาก 11,028 บาท เป็น 15,000 บาท
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมกำลังจะชวนใครต่อใคร เข้ามาคุยเรื่องปัญหาที่รัฐบาลใหม่จะต้องเข้ามาสะสางและแก้ไข จากข้อมูลของนักวิเคราะห์การเมืองท่านหนึ่งที่รวบรวมและชี้แนะเอาไว้ล่วงหน้าแก่รัฐบาลของคุณยิ่งลักษณ์เอาไว้