Skip to main content


ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง

ที่ขัดแย้งกันมานาน ระหว่างรัฐบาลและฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ที่ดูเหมือนว่า นอกจากจะมองไม่เห็นทางที่จะสมานฉันท์กันได้แล้ว ยังมีแนวโน้มว่า สถานการณ์ที่ต่างฝายต่างก็ไม่ยอมลดราวาศอกให้กัน ยังมีทีท่าว่าจะทวีความรุนแรงไปสู่การนองเลือดที่น่าสยดสยอง ดังที่คาดหมายกันว่าจะเกิดขึ้น ตั้งแต่ วันที่ 23 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป ตามที่เขาประกาศศึกกันแบบเอาเป็นเอาตายกัน ซึ่งเราไม่ปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะให้เกิดขึ้นในสังคมไทย

 


ดังเช่น โศกนาฏกรรมนองเลือด
6 ตุลาคม 19 และพฤษภาคมทมิฬ 35 ในอดีตที่ผ่านมา แต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีพลังแห่งความปรารถนาดีใดๆในสังคม สามารถเข้าไปยับยั้งได้ และเราผู้ไม่อยากเห็นคนไทยด้วยกัน ลงมือเข่นฆ่ากัน ก็คงได้...แต่ทำใจ และเฝ้ามองดู เท่านั้น เพราะได้พยายามช่วยกันตะโกนจนเสียงแหบแห้งแล้วว่า อย่าทำร้ายกัน ! อย่าทำร้ายกัน ! ตกลงกันด้วยการพูดจากันดีๆก็ได้ เราคนไทยด้วยกัน ก็กลายเป็นเพียงแค่ วาทกรรมทางสังคมเชยๆ ที่ถูกหัวเราะเยาะเย้ย และแทบไม่มีใครเขารับฟังกัน

 


แถมบางที
...ยังถูกตวาดกลับมา จากผู้ที่ยังมิเคยเห็น โลงศพ และ น้ำตา ของตัวเอง ราวกับว่า มันเป็นความขัดแย้งที่มีเหตุปัจจัย ที่มีความจำเป็น จะต้องเกิดการนองเลือดแบบท่วมแผ่นดินเท่านั้น ความขัดแย้งจึงจะยุติ และกลับคืนไปสู่ความสงบ อันเยือกเย็นและเงียบเหงาวังเวง ท่ามกลางรอยเลือด น้ำตา และกองกระดูก !


ผมก็ได้รับข่าวดี !

จาก พิบูลศักดิ์ ละครพล มิตรสหายเก่าแก่ และนักเขียนที่ได้รับฉายาว่า เจ้าชายโรแมนติก ที่ยังคงมีผลงานยืนหยัดทรงเสน่ห์ อยู่ในแวดวงวรรณกรรมไม่รู้เสื่อมคลาย และเป็นแรงบันดาลใจของคนหนุ่มสาว มาแทบทุกยุคทุกสมัย.


ซึ่งปัจจุบัน พิบูลศักดิ์ ละครพล เป็นคอลัมนิสต์ภาษาประณีต ประจำคอลัมน์ “กระท่อมดิน - ทุ่งดาว” นิตยสารหญิงไทยรายปักษ์ และเป็นเจ้าของบล็อกแก๊งค์ “สัญจร ดาวส่องทาง” ที่อบอุ่นด้วยแฟนคลับรสนิยมวิไล

 

พิบูลศักดิ์ ละครพล

มีข่าวดี บอกผ่านมาทาง บล็อกแก๊งค์ ยอดนิยม “พ่อพเยีย” ของ โดม วุฒิชัย ผ่านมาถึงตัวผม

เป็นข่าวดี ที่ผมได้รับรู้แล้ว ก็อดไม่ได้ที่จะนำมาเผยแพร่ต่อ โดยเฉพาะท่านที่มีอารมณ์สุนทรียะอยู่ในหัวใจ

รักธรรมชาติ ดอกไม้ เสียงเพลง และเกลียดการดูถูกเหยียดหยามคนจน”

ที่กำลังเซ็งสุดขีด ทั้งเรื่องการเมืองและเศรษฐกิจ ที่เลวร้ายขึ้นทุกวัน - ดังนี้


วันที่ 19 ธันวาคม 2551 ถึง วันที่ 20 มกราคม 2552 ณ หอศิลป์ ริมน่าน

ขอชวนเชิญท่านไปชม !

นิทรรศการสีน้ำ เปิดตัวหนังสือ กระท่อมดิน-ทุ่งดาว

และบุ๊คโปสการ์ด Pai By The way ของ พิบูลศักดิ์ ละครพล”

วันเปิดงาน

วันที่ 19 ธันวาคม 2551

เชิญฟัง !

ดนตรี มาชารี ใต้แสงจันทร์

และ

การอ่านบทกวีของหนุ่มสาวกลุ่ม POAT LIVE

นำทีมโดย เสรี ทัศนศิลป์ / มูฮัมหมัดฮาริส กาเหย็ม / ซะการีย์ยา อมตยา / ลัดดา สงกระสินธุ์ / มัคคุเทศก์ทางวิญญาณ ฯลฯ


ขอเชิญคุณ เตรียมบทกวีของคุณมาร่วมอ่านด้วยกัน

สำหรับผู้มาจากแดนไกล มีที่พักเรือนหลังใหญ่รับรอง

หรือคุณจะเตรียมเต้นท์มาเองก็ได้


หอศิลป์ริมน่าน

ก่อตั้งและดูแล โดยท่านอาจารย์ วินัย ปราบริปู ศิลปินชื่อดังชาวน่าน จากรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งอยู่ ตำบลบ่อ อ.เมือง อยู่ติดถนนสาย อ.เมือง – อ.ท่าวังผา กิโลเมตรที่ 20 บนเนื้อที่ 13 ไร่ ที่แวดล้อมด้วย แม่น้ำ ทุ่งนา ป่า ภูเขา และลำธาร ฯลฯ

โทรศัพท์ ติดต่อสอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0 - 9962 -1332 และ 0 -1332 – 2912

หรือ www.nanart gallery.com


ครับ ผมหวังว่าข่าวดีจาก พิบูลศักดิ์ ละครพล คงจะเป็นข่าวดีที่มีความหมาย สำหรับใครสักคนหนึ่ง ไม่มากก็น้อย ณ ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่มีแต่ข่าวร้ายๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่แตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย คุณจะไม่มีวันผิดหวังอย่างเด็ดขาด! ถ้าคุณหอบเอาหัวใจที่อาจจะกำลังป่วยไข้ เพราะพิษร้ายจากสังคมของคุณ ไปพบกับ พิบูลศักดิ์ ละครพล และงานนิทรรศการของเขา ณ ที่หอศิลป์ ริมน่าน ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ที่กำลังจะมาถึง ด้วยความระทึกใจ!

 


และบางที

ถ้าหากตัวผม ไม่เกิดความขัดข้องทางเทคนิค

ที่มักจะขัดข้องอยู่เสมอ

จนเป็นปรกติธรรมดา มาตลอดปีตลอดชาติ (ฮา)

คุณอาจจะได้พบ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

พาสมัครพรรคพวก และสาวสวยสะคราญ จากกระท่อมทุ่งเสี้ยว

เดินระทดระทวย หอบหัวใจเหี่ยวๆ

ไปร่วมอ่านบทกวี โรแมนติก ในงานนี้ด้วยก็ได้

ใครจะไปรู้

อนาคตเป็นของไม่แน่นอน (โว้ย).


กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”