Skip to main content


เราจะแก้ปัญหาความยุ่งเหยิง วุ่นวาย ทางการเมืองในปัจจุบัน

และวิกฤติการณ์ในโลกได้อย่างไร มีอะไรที่ปัจเจกบุคคลจะสามารถทำได้ เพื่อหยุดยั้งสงครามที่กำลังจะเกิดขึ้น


สงคราม

เป็นการแสดงออกที่มีขอบข่ายกว้างขวาง และทำให้สูญเสียเลือดเนื้อของชีวิตประจำวันของเราใช่หรือไม่ สงครามเป็นเพียงการแสดงออกภายนอกของสภาพภายใน เป็นส่วนขยายของการกระทำของเราในชีวิตประจำวัน สงครามมีขอบเขตกว้างขวางกว่า นองเลือดกว่าและสร้างความพินาศได้มากกว่า แต่มันก็เป็นผลรวมของกิจกรรมแต่ละอย่างของเรา


ดังนั้น

คุณและผมก็เป็นสาเหตุของสงคราม และเราสามารถจะทำอะไรเพื่อหยุดสงครามเล่า ที่เห็นได้ชัดก็คือ สงครามที่ทำท่าจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่อาจหยุดได้โดยคุณและผม เพราะเมื่อสงครามเริ่มเคลื่อนไหวแล้ว มันก็ไม่อาจหยุดได้ สาเหตุต่างๆของสงครามมีมากเกินไป ใหญ่โตเกินไป และได้เริ่มแสดงผลแล้ว ไม่อาจเพิกถอนได้


แต่คุณกับผม

เมื่อเห็นว่าบ้านไฟไหม้ สามารถเข้าใจสาเหตุของไฟนั้น สามารถจะไปจากบ้านนั้น และสร้างบ้านใหม่ด้ายวัสดุที่ไม่ติดไฟ ไม่ทำให้เกิดสงครามอีก นี่...เป็นทั้งหมดที่เราอาจจะทำได้ คุณและผมสามารถมองเห็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงคราม และถ้าเราสนใจที่จะยุติสงคราม เราก็อาจจะเริ่มเปลี่ยนแปลงตัวเรา ซึ่งเป็นสาเหตุของสงคราม


สุภาพสตรีชาวอเมริกันท่านหนึ่ง

มาพบผมเมื่อสองปีที่แล้ว เธอกล่าวว่า ระหว่างสงครามเธอสูญเสียลูกชายในอิตาลี และเธอมีลูกชายอีกคนอายุสิบหก ซึ่งเธออยากจะปกป้องจากสงคราม เราจึงพูดกันเรื่องนี้ ผมแนะเธอว่า ถ้าเธออยากจะช่วยลูก

เธอต้องหยุดเป็นคนอเมริกัน

เธอต้องหยุดโลภ

หยุดสะสมทรัพย์สมบัติ

หยุดแสวงหาอำนาจและการครอบงำผู้อื่น

และเป็นคนง่ายๆในทุกเรื่อง

ไม่ใช่แต่ในเรื่องเสื้อผ้าหรือสิ่งภายนอก แต่เป็นคนง่ายๆในด้านความคิดความรู้สึกในสัมพันธภาพของเธอ กับคนและสิ่งอื่นๆ เธอกล่าวว่า

มันมากเกินไป ท่านกำลังขอมากเกินไป ฉันทำไม่ได้ เพราะสภาพเหตุการณ์ต่างๆ มันรุนแรงเกินกว่าที่ฉันจะเปลี่ยนแปลง ”

เช่นนั้นแล้ว เธอก็เป็นสาเหตุของความพินาศของลูกชายเธอ


เราสามารถควบคุมสภาพเหตุการณ์ได้

เพราะเราได้สร้างสภาพเหตุการณ์นี้ขึ้นเอง สังคมคือผลของสัมพันธภาพของคุณและของผมรวมกัน ถ้าเราเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพของเรา สังคมก็จะเปลี่ยนแปลง การพึ่งพากฎหมาย พึ่งพิงการบังคับ เพี่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมแต่เพียงเปลือกนอก ในขณะที่สังคมเสื่อมอยู่ภายใน ในขณะที่ยังแสวงหาอำนาจ ตำแหน่ง การครอบงำอยู่ภายใน ก็คือการทำลายเปลือกของสังคม ไม่ว่าจะสร้างเปลือกนี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และรอบคอบเพียงใด สิ่งที่อยู่ภายในย่อมชนะเปลือกนอกเสมอ


อะไรทำให้เกิดสงคราม

ทั้งสงครามศาสนา สงครามการเมือง หรือสงครามเศรษฐกิจ ที่เห็นได้ชัดก็คือความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อในเรื่องชาตินิยม ลัทธิต่างๆ ความยึดถือแบบงมงาย หรือแนวคิดใดๆ

ถ้าเราไม่มีความเชื่อ

มีแต่ความปรารถนาดี

ความรัก

ความเห็นใจ

ก็จะไม่มีสงคราม

แต่เราถูกอบรมมาเลี้ยงดูด้วยความเชื่อ ความคิด และความยึดถือแบบงมงาย ดังนั้น เราก็สร้างความไม่พอใจขึ้นมา

วิกฤติการณ์ในปัจจุบันมีลักษณะพิเศษ และเราในฐานะที่เป็นมนุษย์ ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่ง

คือ

เลือกดำเนินไปตามทางของความขัดแย้ง อันไม่หยุดหย่อน

และสงครามต่อเนื่อง

อันเป็นผลของการกระทำของเราในชีวิตประจำวัน

หรือ

เลือกมองให้เห็นสาเหตุของสงคราม

และหันหลังให้มันเสีย !


ที่เห็นได้ชัด

สิ่งที่ทำให้เกิดสงคราม คือ ตัณหา ความอยากได้อำนาจ ตำแหน่ง อภิสิทธิ์ เงิน และโรคร้ายที่เรียกว่า ลัทธิชาตินิยม ซึ่งก็คือการบูชาธงผืนหนึ่ง และโรคศาสนาที่เป็นระบบ ซึ่งคือการบูชาความเชื่องมงาย ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุของสงคราม...

ถ้าคุณในฐานะของปัจเจกชน

นับถือศาสนาที่เป็นระบบสักศาสนาหนึ่ง

ถ้าคุณละโมบอยากได้อำนาจ

ถ้าคุณอิจฉาริษยา

คุณก็มีทางที่จะผลิตสังคมที่ให้ผลในทางทำลาย...

ดังนั้น ก็อีกนั่นแหละ มันขึ้นอยู่กับคุณ ไม่ใช่ผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่เรียกกันว่า รัฐบุรุษ หรือคนอื่นๆ ทั้งหลายทั้งปวง มันขึ้นอยู่กับคุณและผม แต่ดูเราจะไม่ตระหนักในข้อนี้ ถ้าเรารู้สึกรับผิดชอบต่อการกระทำของเราอย่างจริงจังแล้ว

เราก็จะสามารถยุติสงครามทั้งหลาย

อันเป็นความทุกข์ที่น่าสะพรึงกลัวนี้อย่างรวดเร็ว

แต่คุณก็เห็นว่าเราต่างก็เฉยเมยไม่รู้สึกรู้สา

เรามีอาหารกินวันละสามมื้อ

เรามีงานทำ

เรามีสมุดบัญชีฝากเงิน ไม่ว่าจะจำนวนมากหรือน้อย

และเราก็พูดว่า

เพื่อเห็นแก่พระเจ้า โปรดอย่ารบกวนเรา ปล่อยเราไว้ตามลำพัง ”


ยิ่งเราอยู่สูงขึ้นเท่าใด

เราก็ต้องการความปลอดภัย ความมั่นคงถาวร ความสงบยิ่งขึ้นเท่านั้น เราต้องการให้ปล่อยเราไว้ตามลำพังมากขึ้น เพื่อรักษาสิ่งต่างๆ ให้คงที่ตามที่มันเป็นอยู่ แต่สิ่งทั้งหลายไม่อาจรักษาให้คงที่อย่างที่มันเป็นอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างกำลังเสื่อมสลาย เราไม่ต้องการเผชิญหน้ากับสิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องการเผชิญหน้ากับความจริงที่ว่า คุณและผมเป็นสาเหตุของสงคราม...


คุณและผมอาจคุยกันเรื่องสันติภาพ

ประชุมกัน นั่งรอบโต๊ะเจรจา แต่ภายในจิตใจแล้ว เราต้องการอำนาจ ตำแหน่ง เราถูกจูงใจโดยความละโมบ เราวางแผนแยบยล เราเป็นคนชาตินิยม เราถูกผูกมัดไว้ด้วยความเชื่อ คามงมงาย ซึ่งเรายินดีที่จะตาย หรือทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อสิ่งเหล่านี้ คุณคิดว่าสิ่งเหล่านี้ทั้งคุณและผม จะสามารถมีสันติภาพได้หรือ


เพื่อที่จะมีสันติภาพ

เราเองจะต้องเป็นผู้สงบสันติ การมีชีวิตอยู่อย่างสันติ หมายความว่าเราจะต้องไม่สร้างความเป็นศัตรูกัน สันติภาพไม่ใช่อุดมการณ์ สำหรับผม อุดมการณ์เป็นเพียงการหนี การหลบเลี่ยงสิ่งที่เป็นอยู่ ( ตามความเป็นจริง ) การขัดแย้งกับสิ่งที่เป็นอยู่ อุดมการณ์ขัดขวางการกระทำที่ตรงตามสิ่งที่เป็นอยู่จริง


เพื่อที่จะมีสันติภาพ

เราจะต้องรัก เราจะต้องเริ่มการไม่มีชีวิตอยู่ตามอุดมการณ์ แต่เริ่มการมองเห็นสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็นอยู่จริง กระทำการไปตามที่มันเป็น และเปลี่ยนแปลงมัน ตราบเท่าที่เราแต่ละคน แสวงหาความมั่นคงปลอดภัยทางใจ

ความมั่นคงปลอดภัยทางชีวภาพที่จำเป็น คือ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยจะถูกทำลาย เราแสวงหาความมั่นคงปลอดภัยทางใจที่ไม่มีอยู่ และถ้าเราทำได้ เราก็แสวงหาสิ่งนี้โดยใช้อำนาจ ตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ ชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ซึ่งทั้งหมดนี้ ทำลายความมั่นคงปลอดภัยทางชีวภาพ นี้เป็นความจริงที่มองเห็นได้ชัด ถ้าคุณจะมองดู


เพื่อทำให้เกิดสันติภาพในโลก

เพื่อที่จะหยุดสงครามทั้งหลาย จะต้องมีการปฏิวัติภายในตัวปัจเจกบุคคล ในตัวคุณและตัวผม การปฏิวัติทางเศรษฐกิจโดยไม่มีการปฏิวัติภายในจิตใจนั้น ไม่มีความหมาย เพราะความหิว เป็นผลของการปรับเศรษฐกิจที่ไม่ถูกต้อง อันเป็นผลมาจากสภาวะภายในของเรา คือความละโมบ ความริษยา ความประสงค์ร้าย และความยึดถือว่าเป็นของเรา


เพื่อที่จะยุติ

ความทุกข์โศก ความหิว สงคราม จะต้องมีการปฏิวัติภายในใจ และพวกเราไม่กี่คน เต็มใจที่จะเผชิญหน้ากับเรื่องนี้ เราจะเจรจาเรื่องสันติภาพ ออกกฎหมาย สร้างสันนิบาตใหม่ สหประชาชาติ และอะไรต่ออะไรเรื่อยไป

แต่เราไม่สามารถจะได้มาซึ่งสันติภาพ

เพราะเราไม่ยอมละทิ้งตำแหน่งของเรา

อำนาจของเรา

เงินของเรา

สมบัติของเรา

ชีวิตอันเขลาของเรา

การพึ่งพิงผู้อื่นนั้น ไร้ผลโดยชิ้นเชิง คนอื่นๆไม่สามารถนำสันติภาพมาให้เรา ไม่มีผู้นำคนใดจะให้สันติภาพแก่เรา ไม่มีรัฐบาล กองทัพใด ประเทศใด


สิ่งที่จะนำสันติภาพมาให้เรา

คือการเปลี่ยนแปลงภายใน ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติภายนอก การเปลี่ยนแปลงภายในไม่ใช่การแยกตัวออกมา ไม่ใช่การถอยจากการกระทำภายนอก ตรงกันข้ามจะมีการกระทำที่ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อมีความคิดที่ถูกต้องเท่านั้น และไม่มีความคิดที่ถูกต้อง เมื่อไม่มีความรู้จักตัวเอง ไม่มีความรู้จักตัวเองก็จะไม่มีสันติภาพ


การยุติสงครามภายนอก

คุณต้องเริ่มยุติสงครามภายในตัวคุณ พวกคุณบางคนจะพยักหน้าและกล่าวว่า

ฉันเห็นด้วย ”

แล้วก็ออกไปข้างนอก และทำอย่างเดิม

เหมือนอย่างที่คุณทำมาตลอดสิบปีหรือยี่สิบปีที่แล้ว ทุกอย่าง

การเห็นของคุณเป็นเพียงคำพูดและไม่มีความสำคัญอะไร

เพราะความทุกข์ยากทั้งหลายในโลกนี้และสงคราม

จะไม่อาจหยุดได้โดยการเห็นด้วยอย่างไม่จริงจังของคุณ


สงครามและความทุกข์จะหยุดได้

ก็ต่อเมื่อคุณตระหนักถึงอันตรายเท่านั้น

เมื่อคุณตระหนักถึงความรับผิดชอบของคุณ

เมื่อคุณไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องของคนอื่น

ถ้าคุณตระหนักถึงความทุกข์ทรมาน

ถ้าคุณเห็นความเร่งด่วนของการปฏิบัติอย่างทันควัน

และไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

คุณก็จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง

สันติภาพจะได้มาก็เมื่อตัวคุณเองมีสันติภาพ

เมื่อตัวคุณเองมีสันติภาพกับเพื่อนบ้านเท่านั้น.


หมายเหตุ ; ปาฐะกถาเรื่อง สงคราม ของ กฤษณะมูรติ บทนี้ เป็นงานแปลโดย ภาวรรณ หมอกยา ตีพิมพ์อยู่ในรวมเล่มงานของ กฤษณะมูรติ ชื่อ “ สัจจะแห่งชีวิต ” ร่วมกับนักแปลอีกสองท่าน ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.. 2530 ครั้งที่สอง 2533 จัดพิมพ์โดย “ กองทุนวุฒิธรรม เพื่อการศึกษาและปฏิบัติธรรม ”


เมื่อได้อ่านบทปาฐะกถานี้แล้ว ผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองของเรา ที่กำลังตะโกนหาสันติภาพกันเป็นอย่างยิ่ง ผมจึงนำงานชิ้นนี้มาลงแด่ท่านผู้อ่าน เพราะสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ก็เป็นสิ่งที่ กฤษณะมูรติ ได้พูดเอาไว้อย่างครอบคลุม และขออนุญาต คุณภาวรรณ หมอกยา ที่แปลงานความคิดดีๆมาให้อ่านกัน ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ.


กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่


บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”