Skip to main content


ตั้งแต่โบราณ

ไม่มีใครที่ไม่ปรารถนาความสุข เพราะความสุขนี่เอง คือ เป้าหมายอันแรกและอันสุดท้ายของมนุษย์เรา ทั้งๆที่การศึกษา การอบรมขัดเกลา และความเพียรพยายาม เป็นสิ่งที่จะทำให้ได้ความสุขมา แต่จะมีคนสักกี่คน ที่ได้พบกับความสุขตามที่ตนหวังไว้


คนส่วนใหญ่

คิดถึงความสุขกันอยู่เสมอ แต่แล้วกลับต้องตกอยู่ในความทุกข์ และจากโลกนี้ไป โดยไม่ได้พบกับความปีติยินดี นี่คือสภาพความเป็นจริงของผู้คนโดยทั่วไป ถ้าเป็นเช่นนั้น ความสุขเป็นสิ่งที่ได้มา ด้วยความยากลำบากนักหรือ


เปล่าเลย

ทุกคนย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่า สิ่งที่เรียกว่าความสุขนั้น จะต้องมีรากฐานอยู่ที่การแก้ปัญหา 3 ประการ

คือ

โรคภัยไข้เจ็บ

ความยากจน

และการวิวาทบาดหมาง

แต่การพูดนั้นง่ายกว่าการทำ เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ จึงตัดใจเลิกล้ม ความคิดในเรื่องนี้ไปโดยปริยาย


ทุกสิ่งทุกอย่าง

ถ้ามีผลก็ต้องมีสาเหตุ ถ้าจะให้เกิดความสุข เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ จะต้องรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความสุข จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจสาเหตุอย่างแน่ชัด ถึงแม้จะพยายามสักเพียงใด ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่จะให้ความสุขปรากฏเป็นจริงขึ้นมา สาเหตุมันคืออะไร ขอให้เรามาดูกันต่อไป


คำกล่าวตั้งแต่โบราณที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”

อันที่จริงเป็นสัจธรรมที่ยั่งยืนตลอดกาล ถ้าเราทราบถึงกฎเกณฑ์นี้ และพยายามทำให้ผู้อื่นมีความสุข สิ่งนี้ย่อมเป็นเงื่อนไข ที่จะทำให้ตัวเรามีความสุขไปด้วยอย่างแน่นอน ในสังคมของเรา มีผู้คนจำนวนมาก ที่มุ่งหวังแต่ความสุขของตนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ของผู้อื่น

นับเป็นเรื่องที่โง่เขลามาก

ที่หวังผลแห่งความสุข

แต่กลับหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความทุกข์ลงไป

เหมือนการผลักน้ำออกไปจากตัวเรา

น้ำก็จะไหลกระเพื่อมเข้ามาหา

แต่ถ้าเราวักน้ำเข้ามาหาตัวเรา

น้ำก็จะไหลกระเพื่อมออกไป


เพราะฉะนั้น

ศาสนาจะมีความจำเป็นต่อมนุษย์เราเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับประเด็นนี้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความรักในศาสนาคริสต์ หรือความเมตตาในศาสนาพุทธ ล้วนแต่มีความหมายอันแท้จริง

อยู่ที่การปลูกฝังให้นึกถึงผู้อื่น

และทำให้ผู้อื่นมีความสุข

หลักความจริงง่ายๆนี้ เป็นสิ่งที่คนเรารู้ แต่เข้าใจกันค่อนข้างยาก ดังนั้นพระเยซูคริสต์และพระพุทธเจ้า จึงกำหนดให้มีหลักคำสอนแบบต่างๆขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีการสอนถึงสิ่งที่มีอยู่จริง แต่มองไม่เห็น และทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอด เพื่อนำผู้คนไปสู่ความศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจ


ฉะนั้น

การช่วยเหลือคนๆหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องง่าย คนทั่วไปได้รับการศึกษาไม่ให้เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น ทำให้เกิดความคิดแบบวัตถุนิยมขึ้นอย่างมากมาย และไม่ยอมรับรู้เรื่องของจิตใจกันเลย เขาจึงต้องตกอยู่ในความหลง ต้องระหกระเหินไปในความมืดอย่างทุกข์ทรมาน ผลที่สุดก็ต้องจากไป จึงกล่าวได้ว่า เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่าเลย


ถ้ามีวิธีใดวิธีหนึ่ง

ที่สามารถทำให้คนเรามีชีวิตอยู่อย่างชื่นบาน เต็มไปด้วยความปีติยินดี มีอายุยืนนาน และเป็นผู้มีความสุขอย่างแท้จริงได้แล้ว โลกนี้จะเป็นสวรรค์และเรียกได้ว่า มีชีวิตอยู่อย่างคุ้มค่า

อย่างไรก็ดี

คนทั่วไป มักจะตัดสินใจเลิกล้ม ความหวังในสิ่งนี้เสียหมด

เพราะคิดว่า

ในโลกแห่งความทุกข์ทรมานนี้

ไม่มีทางใดเลย ที่ผู้คนจะได้พบความสุขเช่นนั้น

แต่สำหรับพวกเราขอยืนยันว่า

เคล็ดลับที่จะทำให้เป็นผู้มีความสุข

ตามที่กล่าวข้างต้นนั้นมีจริง.


คุณผู้อ่านครับ

บทความชื่อ ความสุข ที่คุณเพิ่งอ่านจบข้างบนนี้ เป็นบทความของท่านเมชุซามะ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณขององค์การศาสนา “เซไคคิวเซเคียว” หรือที่ทางบ้านเราเรียกกัน “โยเร” เป็นผู้เขียนเผยแผ่แด่สมาชิกเซไคคิวเซเคียว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2491 สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ผมได้อ่านบทความที่เป็นงานแปลบทนี้จากหนังสือ “ปรัชญาท่านเมชุซามะรากฐานแห่งสวรรค์” เล่มสอง ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 5 ปี พ.. 2544 จัดพิมพ์โดย : มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา องค์การศาสนาเซไคเซเคียว สำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย (ไทยโคกุโอมบุ) 20/1 ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน 9 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 – 2271 – 4961 และ 0 – 2279 -3060


ที่น้องชายผมคนหนึ่ง ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์โยเรประจำจังหวัดเชียงใหม่นำมาให้อ่าน รวมทั้งหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับเซไคคิวเซเคียวและท่านเมชุซามะ ผมชอบบทความที่เป็นเสมือนคำสอนของท่านบทนี้มากๆ เพราะพิจารณาดูแล้ว มันเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้


ยิ่งได้อ่านประวัติของท่านเมชุซามะที่เล่าว่า ตัวท่านเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยชอบทำให้ผู้อื่นมีความสุขมาตั้งแต่วัยเยาว์ จนกลายเป็นอุปนิสัยของท่าน ที่ต้องการให้ทุกแห่งมีสันติและสงบสุข จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และเปลี่ยนชีวิตจากนักธุรกิจ มาเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของเซไคเซเคียว เพราะอุปนิสัยอันนี้ ว่ากันว่า นอกจากเคล็ดลับเกี่ยวความสุขที่ท่านเปิดเผยให้โลกได้รับรู้ - จากบทความชิ้นนี้แล้วนี้ สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังชอบพูดสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ฟังแล้วประทับใจ ให้สมาชิกเซไคคิวเซได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอว่า

หากไม่ช่วยผู้อื่นให้มีความสุข ตนเองย่อมเป็นสุขไม่ได้”


นี่คือสัจธรรมที่ดีงามและยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิต

ที่ผมได้รับรู้และตระหนักแน่ชัดแล้ว

รู้สึกเหมือนคนที่ตายแล้วเกิดใหม่เป็นเทวดา

ในทันทีทันใด

สาธุ !


กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่


** ภาพประกอบโดย ปลา จันจิราพร

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
บุญญฤทธิ์ ตุลาพันธ์พงศ์นามนี้เป็นที่รู้จักกันมานาน และยังเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการสื่อมวลชนภาคเหนือตอนบน ในฐานะนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นอาวุโสของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมรู้จักเขามานาน ก่อนที่เขาจะเป็นนักหนังสือพิมพ์เสียอีกนั่นคือ รู้จักเขาตั้งแต่เขายังเป็นเด็กหนุ่มเอวบางร่างน้อย จากดินแดนแห่งขุนเขาและม่านหมอกอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ที่เดินทางจากบ้านเกิดหน้าที่ว่าการอำเภอ ไปบวชเรียนเป็นเณรอยู่ที่วัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท ต.บางจาก อ.พระโขนง กรุงเทพฯ ภายใต้ร่มเงาพุทธธรรมของท่านอาจารย์วิริยังค์ ซึ่งเป็นพระนักปฏิบัติชื่อเสียงโด่งดัง สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เมื่อคนสองคนหรือผู้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง ที่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ได้เกิดความขัดแย้งกัน  ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็แล้วแต่ แล้วต่อมา ความขัดแย้งนี้ได้ลุกลามถึงขั้น โกรธ เกลียด และแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย แล้วต่างฝ่ายต่างก็ตั้งหน้าตั้งตา ดุด่า ใส่ร้ายป้ายสี ทะเลาะวิวาทกัน  เพื่อเอาชนะคะคานกัน เพื่อทำลายกันให้พินาศไปข้างหนึ่งเมื่อปรากฏการณ์ที่เลวร้ายนี้ได้เกิดขึ้น แทนการยุยงส่งเสริม หรือเข้าไปร่วมถือหางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างที่พวกเรามักจะเป็นกันเพราะมีอคติ รักหรือว่าชอบ-คนนั้นพวกนั้น  ผิด ถูก ชั่ว ดี อย่างไร ก็ขอเข้าข้างกันเอาไว้ก่อนแต่เรื่องนี้…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
   
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ภาพจาก http://gotoknow.org/file/i_am_mana/DSC04644.1.jpg คุณที่รักผมลงมือเขียนต้นฉบับนี้ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2550 ซึ่งนับจากวันนี้ไปอีก 3-4 วันก็จะถึงวันเลือกตั้ง แต่จนป่านนี้ ผมซึ่งเป็นประชาชนคนหนึ่งของประเทศที่มีสิทธิไปลงคะแนนเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส.ในเขต 2 อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ยังนึกไม่ออกเลยว่าควรจะใช้สิทธิอันชอบธรรมนี้ไปเลือกใครหรือพรรคใด หรือว่า...ควรจะโนโหวต คือไม่เลือกใครเลยเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากเป็นเพราะว่า ผมเป็นคนที่หน่อมแน้มในเรื่องการเมืองจริง ๆ  จึงไม่สามารถวิเคราะห์และตัดสินด้วยตัวเองได้อย่างเชื่อมั่น ว่าใครหรือพรรคการเมืองใดเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเป็นคนที่วิตกกังวลกับทุกสิ่งทุกอย่าง ผมวิตกว่าตัวผมผอมไป วิตกว่าผมจะร่วงจนหมดศีรษะ กลัวไปว่าแต่งงานแล้วจะหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ไม่พอ กลัวว่าจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ๆ ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ตัวผมเองมีชีวิตไม่ค่อยเป็นสุขนัก ผมจึงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเองที่ปรากฏต่อคนอื่นเพราะความวิตกกังวล ทำให้ผมเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผมทำงานไม่ไหวอีกต่อไปต้องหยุดงานอยู่กับบ้าน ผมวิตกกังวลมากเกินไปจนเลยขีดขั้นจำกัด คล้ายกับหม้อน้ำเดือดที่ปราศจากวาล์วปิดกั้น จนทำให้ผมต้องเป็นโรคประสาทอย่างหนัก ผมไม่สามารถพูดกับใครได้เลย แม้แต่กับคนในครอบครัวของผมเอง ผมควบคุมความคิดของตัวเองไม่อยู่ และรู้สึกหวาดกลัวไปหมด…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
โอ้ นางฟ้าของคนยากจากไปแล้วดั่งดวงแก้วตกต้องแผ่นผาจากไปไกลลิบลับไม่กลับมาจากไปแล้วหนา...วนิดา คนดีคนดีของคนยากของแผ่นดินยุคทมิฬ รัฐ บรรษัท ทำบัดสีถืออำนาจอยุติธรรมคอยย่ำยีขยำขยี้คนจนปล้นทรัพยากรสารพัดในนามของความผิดที่เขาคิดมากล่าวหามาถอดถอนเพื่อขับไล่ไสส่งจากดงดอนจากสิงขร จากน้ำฟ้า ป่าบรรพชนด้วยกฎหมายที่เขาตราขึ้นมาเองใช้เป็นเหตุยำเยงทุกแห่งหนที่มาดหมายครอบครองเป็นของตนขับไล่คนเหมือนหมูหมาเหมือนกาไก่เธอจึงเกิดขึ้นมาเพื่อต่อสู้อยุติธรรมแด่ผู้ที่ยากไร้ทั้งชีวิตอุทิศทั้งกายใจควรกราบไหว้ควรเชิดชู ควรบูชาโอ้ นางฟ้าของคนยากจากไปแล้วดั่งดวงแก้วตกต้องแผ่นผาจากไปแล้วคุณคนดี วนิดาต่อแต่นี้น้ำตา...…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
- สวัสดีครับ- สวัสดีค่ะ- ต้องการพูดกับใครไม่ทราบครับ- ดิฉันต้องการพูดกับ คุณแดนทิวา คนที่เป็นนักเขียนบทกวีค่ะ- ผมกำลังพูดกับคุณอยู่พอดีครับ- โอ๋ ดีจังเลย- เอ...ผมรู้สึกว่า ผมไม่เคยได้ยินน้ำเสียงนี้ทางโทรศัพท์มาก่อนเลยนะ - ถูกต้องค่ะ- ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าคุณกับผมเคยเป็นคนรู้จักกันมาก่อนหรือเปล่านะ- คุณไม่รู้จักดิฉันหรอกคะ แต่ดิฉันบังเอิญรู้จักคุณจากหนังสือรวมบทกวีเล่มหนึ่งของคุณ ที่ดิฉันได้มาจากร้านขายหนังสือเก่าแห่งหนึ่ง พร้อมกับเบอร์โทรศัพท์และที่อยู่ของคุณค่ะ- (หัวเราะ) แค่นี้เองหรือครับที่คุณรู้จักผม- ค่ะ แค่นี้เองค่ะ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
คนที่ผ่านโลกและชีวิตมาอย่างโชกโชนถึงขั้นที่เรียกได้ว่า เป็นคนที่เข้าใจมนุษย์ พวกเขามักจะมีคำตอบที่เกี่ยวกับชีวิตอย่างง่าย ๆ สั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง ชนิดที่เราฟังแล้ว...บางทีถึงกับสะอึก และต้องจดจำไปจนชั่วชีวิต เพราะมันเป็นคำตอบที่เต็มไปด้วยพลังทะลุทะลวงไปถึงก้นบึ้งของหัวใจวันหนึ่งนานมาแล้วผมขับมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้านเข้าเมือง ไปส่งคุณแพรจารุ พูดคุยเรื่องงานกับอาจารย์ท่านหนึ่ง ซึ่งมีบ้านอยู่ในซอยที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้หลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะคุณแพรและอาจารย์เลี่ยงไปคุยกันอีกมุมหนึ่งในห้องรับแขก ผมก็นั่งดูหนังจาก ยูบีซี ที่ท่านอาจารย์เปิดค้างไว้  รู้สึกว่าจะเป็นหนังจากยุโรป เรื่องอะไร…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากที่ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาได้จากไป เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 ตราบจนกระทั่งถึงวันนี้เป็นเวลา 6 ปีเต็ม ๆ ผมคิดว่านอกจากบทเพลงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวามากมายหลายชุด ที่เขาทิ้งไว้เป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่ทำให้เราคิดถึงถึงเขา ยามได้ยินบทเพลงของเขา ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ยังมีสถานที่และผู้คนที่เคยเกี่ยวข้องผูกพันกับชีวิตของเขา บางสถานที่บางบุคคล ที่ทำให้เราคิดถึงเขา ยามได้ไปเยือนสถานที่แห่งนั้น และได้พบใครบางคนดังกล่าว เช่นร้านอาหาร สายหมอกกับดอกไม้ที่ตั้งอยู่ริมถนนเชียงใหม่ 700 ปี หน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ มีใครต่อใครมากมายหลายคนบอกผมเป็นเสียงเดียวกันว่า…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ทำไมนะคนเราจึงมักมองเห็นแต่ความผิดพลาดของคนอื่นและชอบกล่าวคำประณามตัดสินลงโทษเขาราวกับว่าตัวเองไม่เคยทำความผิดบาปใด ๆครั้งหนึ่งเมื่อองค์พระคริสต์ทรงเสด็จประทับสอนฝูงชนอยู่ ณ มหาวิหารของกษัตริย์ซาโลมอนราชโอรสของกษัตริย์ดาวิด ผู้ที่มีความชอบเฉพาะพระเจ้าพวกธรรมาจารย์และพวกฟาริซายซึ่งต่อต้านคำสอนของพระองค์ด้วยความเชื่อที่ต่างกันว่า-พระเจ้าของเขาคือการแก้เเค้นตามคำสอนดั้งเดิมของโมเสสณ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมมีความเชื่อว่าคนที่เป็นนักปฏิบัติธรรมตามหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาบ้านเรา ถ้าหากไม่หลงไปปฏิบัติผิดที่ผิดทาง ท่านคงจะรู้กันดีทุกคนนะครับ ว่าเป้าหมายสูงสุดในการปฏิบัติธรรม คือการปฏิบัติเพื่อลดละและปล่อยวาง  ความยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นตัวของเรา – เป็นของของเรา ซึ่งทางพุทธบ้านเราถือว่าเป็นต้นตอรากเหง้าของความทุกข์ทางใจทั้งหลายทั้งปวงส่วนจะเป็นทุกข์มากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับใจของเรา ที่เข้าไปยึดเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นตัวกำหนด พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเข้าไปยึดถือมากก็ย่อมเป็นทุกข์มาก ถ้าเข้าไปยึดถือน้อยก็เป็นทุกข์น้อยนั่นเองครับนี่เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมที่เข้าใจได้ยาก…