Skip to main content


ตั้งแต่โบราณ

ไม่มีใครที่ไม่ปรารถนาความสุข เพราะความสุขนี่เอง คือ เป้าหมายอันแรกและอันสุดท้ายของมนุษย์เรา ทั้งๆที่การศึกษา การอบรมขัดเกลา และความเพียรพยายาม เป็นสิ่งที่จะทำให้ได้ความสุขมา แต่จะมีคนสักกี่คน ที่ได้พบกับความสุขตามที่ตนหวังไว้


คนส่วนใหญ่

คิดถึงความสุขกันอยู่เสมอ แต่แล้วกลับต้องตกอยู่ในความทุกข์ และจากโลกนี้ไป โดยไม่ได้พบกับความปีติยินดี นี่คือสภาพความเป็นจริงของผู้คนโดยทั่วไป ถ้าเป็นเช่นนั้น ความสุขเป็นสิ่งที่ได้มา ด้วยความยากลำบากนักหรือ


เปล่าเลย

ทุกคนย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่า สิ่งที่เรียกว่าความสุขนั้น จะต้องมีรากฐานอยู่ที่การแก้ปัญหา 3 ประการ

คือ

โรคภัยไข้เจ็บ

ความยากจน

และการวิวาทบาดหมาง

แต่การพูดนั้นง่ายกว่าการทำ เพราะฉะนั้นคนส่วนใหญ่ จึงตัดใจเลิกล้ม ความคิดในเรื่องนี้ไปโดยปริยาย


ทุกสิ่งทุกอย่าง

ถ้ามีผลก็ต้องมีสาเหตุ ถ้าจะให้เกิดความสุข เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ จะต้องรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความสุข จึงจะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา ตราบใดที่ยังไม่เข้าใจสาเหตุอย่างแน่ชัด ถึงแม้จะพยายามสักเพียงใด ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ที่จะให้ความสุขปรากฏเป็นจริงขึ้นมา สาเหตุมันคืออะไร ขอให้เรามาดูกันต่อไป


คำกล่าวตั้งแต่โบราณที่ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”

อันที่จริงเป็นสัจธรรมที่ยั่งยืนตลอดกาล ถ้าเราทราบถึงกฎเกณฑ์นี้ และพยายามทำให้ผู้อื่นมีความสุข สิ่งนี้ย่อมเป็นเงื่อนไข ที่จะทำให้ตัวเรามีความสุขไปด้วยอย่างแน่นอน ในสังคมของเรา มีผู้คนจำนวนมาก ที่มุ่งหวังแต่ความสุขของตนเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่คำนึงถึงความทุกข์ของผู้อื่น

นับเป็นเรื่องที่โง่เขลามาก

ที่หวังผลแห่งความสุข

แต่กลับหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความทุกข์ลงไป

เหมือนการผลักน้ำออกไปจากตัวเรา

น้ำก็จะไหลกระเพื่อมเข้ามาหา

แต่ถ้าเราวักน้ำเข้ามาหาตัวเรา

น้ำก็จะไหลกระเพื่อมออกไป


เพราะฉะนั้น

ศาสนาจะมีความจำเป็นต่อมนุษย์เราเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับประเด็นนี้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นความรักในศาสนาคริสต์ หรือความเมตตาในศาสนาพุทธ ล้วนแต่มีความหมายอันแท้จริง

อยู่ที่การปลูกฝังให้นึกถึงผู้อื่น

และทำให้ผู้อื่นมีความสุข

หลักความจริงง่ายๆนี้ เป็นสิ่งที่คนเรารู้ แต่เข้าใจกันค่อนข้างยาก ดังนั้นพระเยซูคริสต์และพระพุทธเจ้า จึงกำหนดให้มีหลักคำสอนแบบต่างๆขึ้น เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติ ทั้งทางกาย วาจา ใจ มีการสอนถึงสิ่งที่มีอยู่จริง แต่มองไม่เห็น และทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอด เพื่อนำผู้คนไปสู่ความศรัทธาด้วยความบริสุทธิ์ใจ


ฉะนั้น

การช่วยเหลือคนๆหนึ่ง จึงไม่ใช่เรื่องง่าย คนทั่วไปได้รับการศึกษาไม่ให้เชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น ทำให้เกิดความคิดแบบวัตถุนิยมขึ้นอย่างมากมาย และไม่ยอมรับรู้เรื่องของจิตใจกันเลย เขาจึงต้องตกอยู่ในความหลง ต้องระหกระเหินไปในความมืดอย่างทุกข์ทรมาน ผลที่สุดก็ต้องจากไป จึงกล่าวได้ว่า เป็นชีวิตที่ไม่มีคุณค่าเลย


ถ้ามีวิธีใดวิธีหนึ่ง

ที่สามารถทำให้คนเรามีชีวิตอยู่อย่างชื่นบาน เต็มไปด้วยความปีติยินดี มีอายุยืนนาน และเป็นผู้มีความสุขอย่างแท้จริงได้แล้ว โลกนี้จะเป็นสวรรค์และเรียกได้ว่า มีชีวิตอยู่อย่างคุ้มค่า

อย่างไรก็ดี

คนทั่วไป มักจะตัดสินใจเลิกล้ม ความหวังในสิ่งนี้เสียหมด

เพราะคิดว่า

ในโลกแห่งความทุกข์ทรมานนี้

ไม่มีทางใดเลย ที่ผู้คนจะได้พบความสุขเช่นนั้น

แต่สำหรับพวกเราขอยืนยันว่า

เคล็ดลับที่จะทำให้เป็นผู้มีความสุข

ตามที่กล่าวข้างต้นนั้นมีจริง.


คุณผู้อ่านครับ

บทความชื่อ ความสุข ที่คุณเพิ่งอ่านจบข้างบนนี้ เป็นบทความของท่านเมชุซามะ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็น ผู้นำทางจิตวิญญาณขององค์การศาสนา “เซไคคิวเซเคียว” หรือที่ทางบ้านเราเรียกกัน “โยเร” เป็นผู้เขียนเผยแผ่แด่สมาชิกเซไคคิวเซเคียว เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2491 สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ผมได้อ่านบทความที่เป็นงานแปลบทนี้จากหนังสือ “ปรัชญาท่านเมชุซามะรากฐานแห่งสวรรค์” เล่มสอง ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 5 ปี พ.. 2544 จัดพิมพ์โดย : มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา องค์การศาสนาเซไคเซเคียว สำนักงานใหญ่ประจำประเทศไทย (ไทยโคกุโอมบุ) 20/1 ซอยสีฟ้า ถนนพหลโยธิน 9 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 0 – 2271 – 4961 และ 0 – 2279 -3060


ที่น้องชายผมคนหนึ่ง ซึ่งเป็นสมาชิกศูนย์โยเรประจำจังหวัดเชียงใหม่นำมาให้อ่าน รวมทั้งหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวกับเซไคคิวเซเคียวและท่านเมชุซามะ ผมชอบบทความที่เป็นเสมือนคำสอนของท่านบทนี้มากๆ เพราะพิจารณาดูแล้ว มันเป็นความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้


ยิ่งได้อ่านประวัติของท่านเมชุซามะที่เล่าว่า ตัวท่านเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยชอบทำให้ผู้อื่นมีความสุขมาตั้งแต่วัยเยาว์ จนกลายเป็นอุปนิสัยของท่าน ที่ต้องการให้ทุกแห่งมีสันติและสงบสุข จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และเปลี่ยนชีวิตจากนักธุรกิจ มาเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของเซไคเซเคียว เพราะอุปนิสัยอันนี้ ว่ากันว่า นอกจากเคล็ดลับเกี่ยวความสุขที่ท่านเปิดเผยให้โลกได้รับรู้ - จากบทความชิ้นนี้แล้วนี้ สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านยังชอบพูดสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ฟังแล้วประทับใจ ให้สมาชิกเซไคคิวเซได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอว่า

หากไม่ช่วยผู้อื่นให้มีความสุข ตนเองย่อมเป็นสุขไม่ได้”


นี่คือสัจธรรมที่ดีงามและยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิต

ที่ผมได้รับรู้และตระหนักแน่ชัดแล้ว

รู้สึกเหมือนคนที่ตายแล้วเกิดใหม่เป็นเทวดา

ในทันทีทันใด

สาธุ !


กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่


** ภาพประกอบโดย ปลา จันจิราพร

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตเอย เหตุใดเล่า เจ้าจึงเศร้าโศกเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ ให้กับบางสิ่งที่เจ้าได้สูญเสียมันไป เหมือนนมที่หกออกจากแก้วไปแล้ว...ตกลงบนพื้นดิน วันแล้ววันเล่า ไม่รู้จักจบสิ้น  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
12 เมษายน 2545 วันครบรอบวันเกิด...ที่แสนจะเจ็บปวด ขณะนั่งรถจักรยานยนต์ออกตรวจพื้นที่กับคู่หู ขับรถผ่านไปทางบ้านพ่อแม่ผู้พัน นายเก่าที่มาหยิบยืมเงินเราแล้วไม่ยอมใช้คืน เมื่อสองสามปีที่แล้ว พอเจอหน้า จอดรถจะเข้าไปถาม นายกลับรีบเดินหนี อนิจจา ! นายเอ๋ยนาย...ดอกไม่ต้องขอเพียงแค่ต้นคืนได้ไหม...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  7   ครับ รายละเอียดเรื่องราวของเขา ที่ผมอยากรู้อยากเห็นเหลือเกิน เริ่มปรากฏอยู่ในบันทึกหน้านี้นี่เอง และเมื่อหยิบหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ที่เขาถ่ายสำเนาจากหนังสือนิตยสาร “ชีวิตรัก” มาให้ผม ซึ่งเป็นหน้า คอลัมน์ - ในช่วงที่เขาได้แบกเป้ออกไปตะลอนทัวร์ ช่วยคุณวนัสนันท์ ตามที่เขาตั้งปณิธานเอาไว้ออกมาอ่าน เพื่อทำความรู้จักทั้งคอลัมน์และตัวตนของคุณวนัสนันท์ ที่นำมือแห่งความเมตตาของคุณวรรณและคุณแขคนไทยในต่างประเทศ มาฉุดเขาขึ้นมาตจากขุมนรกอันลึกล้ำดำมืดแห่งหนี้สิน และมือแห่งความเมตตาอีกมากมายที่หลั่งไหลติดตามมา... ผมพบว่าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
6 หลังจากงานศพของพ่อแล้ว เขาก็เริ่มตกเข้าไปอยู่ในวังวน - ของการหมกมุ่นครุ่นคิด...เป็นทุกข์อยู่กับหนี้สินอีก และพยายามต่อสู้กับตัวเองอย่างถึงที่สุด ระหว่างการคิดทำลายตัวเองตามพ่อไป เพื่อหนีความทุกข์ปัญหาอันหนักหนาสาหัส และการพยายามคิดหาเหตุผลต่างๆนานาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
30 ตุลาคม 2539 วันนี้ นายเรียกข้าราชการตำรวจทั้งโรงพักมาประชุม เพื่อร่ำลาไปรับตำแหน่งใหม่ เห็นพวงมาลัย...ที่นายดาบหัวหน้าสายแต่ละสาย เตรียมมาให้นายแล้ว ได้แต่นึกเสียดาย... ท่านมากอบโกย...แล้วก็ไป
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3. เขากลับกรุงเทพฯไปได้หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ ผมก็ได้รับกล่องพัสดุขนาดใหญ่ หนักเกือบสองกิโลกรัมจากเขา เมื่อแกะกล่องออกมา ผมก็พบแฟ้มเก็บต้นฉบับที่เขาถ่ายสำเนามาจากหน้าคอลัมน์ “สะพานบุญ” ที่เขาเคยเขียนในนิตยสาร “ย้อนรอยกรรม”และ จากหน้าคอลัมน์ “ศาลาแรงบุญ” ในนิตยสาร “แรงบุญแรงกรรม” ที่เขาเขียนอยู่ในปัจจุบัน นับรวมกันได้ 60 กว่าเรื่อง หนาประมาณ 200 กว่าหน้ากระดาษ A4 รวมทั้งสำเนาต้นฉบับที่เขาถ่ายจากหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์ จากหนังสือ “ ชีวิตรัก” 15 แผ่น และจากกรอบหน้าคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายวันที่เขียนยกย่องชื่นชมเขา 3 - 4 แผ่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 1.  จินตวีร์ เกียงมี หรือที่มีชื่อเต็มยศว่า จ.ส.ต.จินตวีร์ เกียงมี ซึ่งปัจจุบันรับราชการตำรวจ ตำแหน่ง งานธุรการอำนวยการกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ และเลื่องลือไปถึงเมืองนอกเมืองนาในวันนี้ ในฐานะ จ่าตำรวจใจบุญ ที่แบกเป้เที่ยวตะลอนๆ ไปช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก แทบทุกหนทุกแห่งในประเทศ ที่ส่งเสียงร้องทุกข์โอดโอยมาให้เขาได้ยิน ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวของเขาจากสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ และที.วี.แทบทุกช่องที่นำเรื่องราวของเขา มาบอกเล่าแก่สาธารณะชน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 สมัยที่ผมยังทำงานเป็นนักดนตรีประจำร้าน สายหมอกกับดอกไม้ ของคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของคุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะออกมาทำงานเขียนและงานเกี่ยวกับหนังสืออย่างเต็มตัวในทุกวันนี้ ผมจำได้อย่างแม่นยำว่า ภายในร้านสายหมอกกับดอกไม้ นอกจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นเครื่องไม้ ภาพเขียน รูปปั้น และ ข้าวของเครื่องใช้ ผลงานเพลงของคุณจรัลในตู้โชว์ ตลอดจนรูปภาพของคุณจรัลตามฝาผนังห้องในอิริยาบถต่างๆแล้ว ยังมีกระจกเงาเก่าแก่บานหนึ่ง กว้างประมาณ สองฟุต สูงท่วมหัว ประดับอยู่ตรงมุมห้องโถงด้านขวามือใกล้ๆกับเวทีเล่นดนตรี…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3 กันยายน 2552 ปีนี้ นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ก่อนอาทิตย์ตกในไร่ข้าวโพดสีส้มโชติโชนอยู่อีกครู่ใหญ่แผ่ร่มเงาความเวิ้งว้างกว้างออกไปอีกหนึ่งวันกลืนวันวัยในวันนี้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเอยฉันทลักษณ์ ยากยิ่งนักจะประดิษฐ์มาคิดเขียน เป็นบทกวีงามวิจิตรสนิทเนียน มิผิดเพี้ยนตามกำหนดแห่งกฎเกณฑ์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิ่งมิตร เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม