Skip to main content

pic

ผมเคยรู้จักคนบางจำพวก
ที่มีลักษณะต่างจากคนธรรมดาทั่วไปอย่างเรา ๆ ท่าน อยู่ประการหนึ่ง นั่นคือคน-คนพวกนี้ไม่ว่าจะประสบกับปัญหาชีวิตมากน้อยหรือหนักหนาสาหัสเพียงใด เมื่อถึงเวลานอนหลับ…เขาสามารถที่จะปล่อยวางปัญหานั้น ๆ ออกไปจากความคิดจิตใจ และนอนหลับได้สนิท ราวกับว่าไม่มีปัญหาใด ๆ มาแผ้วพาน

ครั้นเมื่อตื่นขึ้นมาในยามเช้าวันใหม่ เขาก็จะหยิบยกปัญหาต่าง ๆ มาครุ่นคิดพิจารณาหาทางแก้ไข ปัญหาใดที่แก้ไขได้…ก็จัดการแก้ไขให้เรียบร้อย ส่วนปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้เขาก็สามารถจะปล่อยวางปัญหานั้นเอาไว้ก่อน และหันไปทำธุระอื่น ๆ แทนที่จะเก็บมาหมกมุ่นครุ่นคิด เป็นทุกข์กังวลอยู่กับปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ เหมือนคนธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ มักจะเป็นกัน จนหลาย คนกลายเป็นโรคเครียดและนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นต้นตอของโรคร้ายอีกมากมายหลายชนิด

หากจะเปรียบความพิเศษของคนพวกนี้
ให้เห็นเป็นรูปธรรมที่เข้าใจ ได้ง่ายคนพวกนี้ก็เหมือนนักเดินทางที่แบกสัมภาระไว้บ่นบ่า เมื่อเดินทางไปจนเหนื่อยหนัก เขาก็สามารถสั่งให้ตัวเองหยุดพักและปลดวางสัมภาระลงจากบ่า พักผ่อนเอาแรง พอหายเหนื่อย…เรี่ยวแรงกลับคืนมา ก็ลุกขึ้นแบกสัมภาระเดินทางต่อ …สลับกันไป จนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทางโดยราบรื่น นี่ คือเรื่องง่าย ๆ ของชีวิตที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าใจได้ และทำได้โดยง่าย

แต่การแบกสัมภาระของชีวิต
ที่เป็นนามธรรมที่มีอยู่ในความคิดจิตใจของเรา น้อยคนนักที่จะสามารถสั่งให้ตัวเองหยุดพัก และปลดสัมภาระในหัวใจของตัวเองลงได้ง่าย ๆ เหมือนปลดสัมภาระที่เป็นวัตถุข้าวของลงจากบ่า – ในเวลาที่หัวใจของตัวเองเหนื่อยหนัก เช่นอย่างตัวผมนี่…บ่อยครั้ง-ทั้ง ๆ ที่รู้แก่ใจดีว่าปัญหาชีวิตบางอย่าง ยิ่งเก็บมาคิดยิ่งทำให้เกิดความเครียดและเป็นทุกข์กังวลแทบจะบ้า แต่ก็ไม่สามารถปลดมันออกจากหัวใจลงมาปล่อยวางได้ เพราะมันเป็นนามธรรมที่มองไม่เห็นด้วยตาจับต้องไม่ได้ด้วยมือ รู้แต่ว่ามันอยู่ในความคิดจิตใจ…รู้แต่ว่ามันทำให้เราเป็นทุกข์หนักเหมือนแบกโลกไว้ทั้งโลก แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรยกมันออกไปให้พ้น ๆ จากอกได้

ผมจึงถือว่าคนที่มีลักษณะพิเศษแบบนี้
เป็นคนเกิดมาโชคดีมีบุญ ถ้าหากพวกเขาไม่ได้รับการกล่อมเกลาทางจิตใจในเรื่องนี้มาจากครอบครัว-ตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเป็นนิสัย พวกเขาก็น่าจะได้รับพรจากสวรรค์มาตั้งแต่กำเนิด

ในชีวิตของผมเคยรู้จักและพบคนประเภทไม่ถึงสิบคน ผมเคยถามใครบางคนเกี่ยวกับความพิเศษของเขาว่าเป็นเพราะอะไร…ชีวิตของเขาจึงแทบไม่รู้จักความทุกข์กังวลกับปัญหาชีวิตใด ๆ เขากลับย้อนถามผมอย่างงง ๆ ง่า

“มันเป็นอย่างไรนะความทุกข์กังวล”
“ก้อ…คือการที่คนเราเก็บปัญหาโน่นปัญหานี่ของชีวิตมาคิดมากเกินไปจนเกิดความไม่สบายใจและเครียด…จนกินไม่ได้นอนไม่หลับยังล่ะ”
“อ๋อ อย่างนั้นเหรอ ไม่รู้สิ …ผมไม่เคยเป็นอะไรถึงขนาดนั้นหรอก ไม่รู้เป็นเพราะอะไรคนอย่างผมนี่…ไม่ว่าชีวิตจะมีปัญหาเรื่องอะไร พอถึงเวลานอนหลับ…มันจะเลิกคิดและนอนหลับไปเองโดยอัตโนมัติ พอตื่นขึ้นมาพบเรื่องที่ยังแก้ไขไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายขนาดไหนมันก็จะเลิกคิดของมันไปเอง ชีวิตก็ควรจะเป็นอย่างนี้มิใช่หรือ ไม่เห็นมีอะไรแปลก ขืนคิดไปก็บ้าเท่านั้น”

ผมฟังแล้วอยากร้องไห้ เพราะมันเป็นคำตอบที่ผมรู้อยู่แก่ใจดี แต่ผมทำไม่ได้เท่านั้นเองแหละว่ะ

เรื่องของพวกเขามีอยู่เพียงแค่นี้

เพราะพวกเขาไม่มีปัญหาอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีแต่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่ต้องเผชิญหน้ากับมันต่อไป

เรื่องนี้คนโบราณทางล้านนาได้ผูกเป็นภาษิตเตือนใจเอาไว้ว่า “หน่วยนักหักกิ่ง กิ๊ดนักหนักใจ๋”

แปลเป็นภาษากลางตรงตัวได้ใจความว่า “ผลมากหักกิ่ง คิดมากหนักใจ”

หมายความว่า คนเราไม่ควรเก็บปัญหาโน่นปัญหานี่ของชีวิตมาคิดมากเกินไป …จนเป็นทุกข์เกินเหตุ หาไม่เช่นนั้น สมองความคิดจิตใจอาจจะมีอันเป็นไปต้องเจ็บป่วย ต้องเข้าโรงพยาบาล เหมือนต้นไม้ที่ผลิดอกออกผลมากเกินไปจนกิ่งก้านหัก เพราะทานรับน้ำหนักมากไม่ไหว

นอกจากภาษิตล้านนาแล้ว ยังมีภาษิตเก่าแก่ของอังกฤษบทหนึ่ง ที่พูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างงดงามราวกับบทกวีว่า

ความทุกข์ยากทุกอย่างในโลกนี้
มีวิธีแก้ หรือไม่มี
ถ้ามี ขอให้พยายามหาวิธีแก้
ถ้าไม่มี ก็อย่ากังวลหา

ครับ…ถึงแม้ว่าเราไม่ใช่คนพิเศษ แต่ผมเชื่อว่าภาษิตเตือนใจนี้ คงจะช่วยให้หลายท่านได้สติ…ผ่อนคลายความคิดที่ทำให้เกิดความคิดกังวลในชีวิตลงบ้าง ไม่มากก็น้อย แต่ถ้าหากท่านใดได้อ่านเรื่องนี้แล้ว เกิดรู้แจ้งเห็นจริง สามารถที่จะปล่อยวางหรือสลัดมันออกไปในทันทีทันใด ผมก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ.

25 กันยายน 2550
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”