Skip to main content

 

ครั้งหนึ่ง

ชายคนหนึ่ง ขุดรูปสลักหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ได้จากท้องทุ่ง เขาจึงนำมันไปหานักสะสมของเก่า ซึ่งรักของสวยๆงามๆ และเสนอขายให้แก่เขา นักสะสมก็ซื้อไปในราคาสูง แล้วคนทั้งสองก็จากกัน

ในขณะที่ชายผู้นั้นเดินถือเงินกลับบ้าน เขาก็คิดและกล่าวกับตัวเองว่า

เงินก้อนนี้มีความหมายต่อชีวิตมากมายเหลือเกิน เป็นไปได้อย่างไร ที่ยังมีคนยอมเสียเงินมากมายถึงเพียงนี้ เพื่อแลกกับหินสลักที่ไร้ชีวิต ที่ถูกฝังอยู่ในดินมาตั้งพันปีแล้ว โดยไม่มีใครนึกฝันเช่นนี้”

 

ขณะนั้น

นักสะสมก็มองดูรูปหินสลักของเขา และคิดรำพึงกับตัวเองว่า

ช่างสวยงามอะไรเช่นนี้ ช่างมีชีวิตชีวาอะไรอย่างนี้ เป็นความฝันของดวงวิญญาณทีเดียวนะนี่ สดใสไปด้วยการนอนหลับอันแสนหวาน..มานานนับพันปี ใครกันนะ ที่ยอมแลกสิ่งนี้กับเงินที่ไร้ชีวิตและความฝันได้”

 

 

ครับ

งานเขียนสั้นๆแบบสาธกนิยายเกี่ยวกับเรื่องคุณค่านี้ เป็นงานเขียนที่ผมหยิบยกมาจากหนังสือ “ผู้เบิกทาง” ของคาลิล ยิบราน จากสำนวนแปลของกิติมา อมรทัต เป็นงานเล็กๆชิ้นหนึ่ง ที่ผมชอบมากพอๆกับงานอีกมากมายหลายชิ้นในรวมเล่มนี้ของยิบราน เพราะเขาสามารถสาธกเรื่องที่ยุ่งยากเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆของมนุษย์ - ให้เราเข้าใจได้โดยง่าย และทำให้เรารู้สึกว่า การมองเห็นคุณค่าของบางสิ่งบางอย่างที่ต่างกันของคนเรา และการตัดสินที่จะเลือก - เอาสิ่งที่แต่ละคนมองเห็นคุณค่าให้แก่ตัวเองนั้น แท้จริงแล้ว - หาได้มีใครเป็นคนผิดไม่ เพราะทุกคนต่างมีเหตุผลที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่ตัวเอง - ในการมองเห็นและเลือกด้วยกันทั้งนั้น

 

เช่น ชายที่มองเห็นเงินมีคุณค่าความหมายมากกว่ารูปสลักหินอ่อน ที่เขามองเห็นมันเป็นเพียงแค่ก้อนหินที่ไร้ชีวิต และไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับเขา นั่นเป็นเพราะว่า เขาอาจจะเป็นคนจนหาเช้ากินค่ำ และมีชีวิตอยู่อย่างอดๆอยากๆมาตลอดชีวิต ดังนั้น เงินย่อมมีคุณค่าความหมายแก่ชีวิตของเขา มากกว่ารูปปั้นหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ซึ่งถ้าเขาเก็บไว้ไม่ยอมเอาไปขาย มันก็ไม่ได้ก่อเกิดประโยชน์ใดๆที่จะทำให้ชีวิตที่อดๆอยากๆของเขาดีขึ้น เพราะงานศิลปะนั้น (รวมทั้งอุดมการณ์ทั้งหลายแหล่ในโลกนี้ด้วย...) ไม่ว่าจะงดงามยอดเยี่ยมและเพียบพร้อมด้วยพุทธิปัญญาอันสูงส่งขนาดไหน ก็ไม่อาจทำให้ท้องของคนจนที่กำลังโหยหิวอิ่มได้...

 

ในขณะที่นักสะสมของเก่า ซึ่งคงจะเป็นคนที่มีเงินทอง และมีชีวิตที่สุขสบาย ไม่มีปัญหาเรื่องปากท้อง หรือปัญหาพื้นฐานใดๆของชีวิตที่ต้องเป็นทุกข์กังวล กลับมองเห็นว่า เงินเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าความหมายเลย เมื่อเทียบกับรูปสลักหินอ่อนอันงดงามนั้น และเขาคงไม่มีวันที่จะเอารูปปั้นหินอ่อนที่เขาซื้อมาด้วยราคาแพงไปขายต่อ เพราะเขามองดูเงิน - ที่มีคุณค่าความหมายมากมายต่อชีวิต ตามทัศนะของชายที่อดอยากยากจน เป็นเพียงแค่...สิ่งที่ไร้ชีวิตและความฝัน เช่นเดียวกับชายที่อดอยากยากจนมองดูรูปสลักหินอ่อน เป็นสิ่งปราศจากชีวิตที่ไร้คุณค่า..สำหรับตัวเขา ตรงกันข้ามกันเหมือนขาวกับดำ...

 

 

ทำไม

คนชั้นรากหญ้า

จึงเลือกรักและชื่นชมบูชาคุณทักษิณ ชินวัตร ราวกับเทพเจ้า

เช่นเดียวกัน

ทำไม

คนชั้นกลางและคนชั้นสูง

จึงเลือกรักและชื่นชมบูชาคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ต่างไปจากคุณทักษิณ ชินวัตร

ผมคิดว่าสาธกนิยายสั้นๆของยิบรานเรื่องนี้

ได้ให้คำตอบแก่เราไปขบคิดกันได้เป็นอย่างดี

ถ้าหากเราพอจะรู้จัก - การลดละอัตตา มานะ และทิฎฐิของตัวเอง

หันไปมองดูคนอื่นที่ต่างจากตัวเรา...จากมุมมองของเขา

บางทีคุณอาจจะพบว่า

ไม่มีใครผิดในการที่เขาจะเลือกรักและชื่นชมบูชา ทักษิณ ชินวัตร

ไม่มีใครผิดในการที่เขาจะเลือกรักและชื่นชมบูชา สนธิ ลิ้มทองกุล

เพราะการเลือกของเขาแต่ละพวกแต่ละคน

คงย่อมต่างมองเห็นคุณค่าและประโยชน์ที่เขาจะได้รับ

จากคนที่เขาได้ตัดสินใจเลือกแล้วอย่างแน่นอน...

เช่นเดียวกับคนที่ไม่เลือกใครเลย

เขาก็ย่อมต้องมองเห็นคุณค่าและประโยชน์

ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง...จากการไม่เลือกรักและชื่นชมบูชาใคร

ไม่ว่าจะเป็นพวกสีแดงของคุณทักษิณ ชินวัตร

ไม่ว่าจะเป็นพวกสีเหลืองของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล

หรือสีอะไรของใครก็แล้วแต่

ที่กำลังขับเคี่ยวกันในทางการเมืองอย่างเอาเป็นเอาตาย - ในบ้านเมืองของเรา

ใช่ บ้านเมืองของเรา

แต่มิใช่ของเราแต่เพียงผู้เดียวที่จะต้องไปรับผิดชอบ

หรือผูกขาดความรักชาติแบบเชยๆและน่าเบื่อ...เอาไว้แต่เพียงผู้เดียว อย่างแน่นอน

สวัสดี - สวัสดี ฤดูหนาวที่น่ารัก.

 

22 พฤศจิกายน 2552

กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

ภาพถ่ายโดยปลายมนัส

 

 

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ชีวิตเอย เหตุใดเล่า เจ้าจึงเศร้าโศกเสียใจร้องไห้คร่ำครวญ ให้กับบางสิ่งที่เจ้าได้สูญเสียมันไป เหมือนนมที่หกออกจากแก้วไปแล้ว...ตกลงบนพื้นดิน วันแล้ววันเล่า ไม่รู้จักจบสิ้น  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
12 เมษายน 2545 วันครบรอบวันเกิด...ที่แสนจะเจ็บปวด ขณะนั่งรถจักรยานยนต์ออกตรวจพื้นที่กับคู่หู ขับรถผ่านไปทางบ้านพ่อแม่ผู้พัน นายเก่าที่มาหยิบยืมเงินเราแล้วไม่ยอมใช้คืน เมื่อสองสามปีที่แล้ว พอเจอหน้า จอดรถจะเข้าไปถาม นายกลับรีบเดินหนี อนิจจา ! นายเอ๋ยนาย...ดอกไม่ต้องขอเพียงแค่ต้นคืนได้ไหม...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  7   ครับ รายละเอียดเรื่องราวของเขา ที่ผมอยากรู้อยากเห็นเหลือเกิน เริ่มปรากฏอยู่ในบันทึกหน้านี้นี่เอง และเมื่อหยิบหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ที่เขาถ่ายสำเนาจากหนังสือนิตยสาร “ชีวิตรัก” มาให้ผม ซึ่งเป็นหน้า คอลัมน์ - ในช่วงที่เขาได้แบกเป้ออกไปตะลอนทัวร์ ช่วยคุณวนัสนันท์ ตามที่เขาตั้งปณิธานเอาไว้ออกมาอ่าน เพื่อทำความรู้จักทั้งคอลัมน์และตัวตนของคุณวนัสนันท์ ที่นำมือแห่งความเมตตาของคุณวรรณและคุณแขคนไทยในต่างประเทศ มาฉุดเขาขึ้นมาตจากขุมนรกอันลึกล้ำดำมืดแห่งหนี้สิน และมือแห่งความเมตตาอีกมากมายที่หลั่งไหลติดตามมา... ผมพบว่าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
6 หลังจากงานศพของพ่อแล้ว เขาก็เริ่มตกเข้าไปอยู่ในวังวน - ของการหมกมุ่นครุ่นคิด...เป็นทุกข์อยู่กับหนี้สินอีก และพยายามต่อสู้กับตัวเองอย่างถึงที่สุด ระหว่างการคิดทำลายตัวเองตามพ่อไป เพื่อหนีความทุกข์ปัญหาอันหนักหนาสาหัส และการพยายามคิดหาเหตุผลต่างๆนานาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป...
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
30 ตุลาคม 2539 วันนี้ นายเรียกข้าราชการตำรวจทั้งโรงพักมาประชุม เพื่อร่ำลาไปรับตำแหน่งใหม่ เห็นพวงมาลัย...ที่นายดาบหัวหน้าสายแต่ละสาย เตรียมมาให้นายแล้ว ได้แต่นึกเสียดาย... ท่านมากอบโกย...แล้วก็ไป
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3. เขากลับกรุงเทพฯไปได้หนึ่งอาทิตย์กว่าๆ ผมก็ได้รับกล่องพัสดุขนาดใหญ่ หนักเกือบสองกิโลกรัมจากเขา เมื่อแกะกล่องออกมา ผมก็พบแฟ้มเก็บต้นฉบับที่เขาถ่ายสำเนามาจากหน้าคอลัมน์ “สะพานบุญ” ที่เขาเคยเขียนในนิตยสาร “ย้อนรอยกรรม”และ จากหน้าคอลัมน์ “ศาลาแรงบุญ” ในนิตยสาร “แรงบุญแรงกรรม” ที่เขาเขียนอยู่ในปัจจุบัน นับรวมกันได้ 60 กว่าเรื่อง หนาประมาณ 200 กว่าหน้ากระดาษ A4 รวมทั้งสำเนาต้นฉบับที่เขาถ่ายจากหน้าคอลัมน์ “ศาลาคลายร้อน” ของคุณวนัสนันท์ จากหนังสือ “ ชีวิตรัก” 15 แผ่น และจากกรอบหน้าคอลัมน์หนังสือพิมพ์รายวันที่เขียนยกย่องชื่นชมเขา 3 - 4 แผ่น
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 1.  จินตวีร์ เกียงมี หรือที่มีชื่อเต็มยศว่า จ.ส.ต.จินตวีร์ เกียงมี ซึ่งปัจจุบันรับราชการตำรวจ ตำแหน่ง งานธุรการอำนวยการกองวิจัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันทั่วไปทั้งประเทศ และเลื่องลือไปถึงเมืองนอกเมืองนาในวันนี้ ในฐานะ จ่าตำรวจใจบุญ ที่แบกเป้เที่ยวตะลอนๆ ไปช่วยเหลือคนที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก แทบทุกหนทุกแห่งในประเทศ ที่ส่งเสียงร้องทุกข์โอดโอยมาให้เขาได้ยิน ซึ่งเราได้รับรู้เรื่องราวของเขาจากสื่อต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นสื่อทางวิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร อินเตอร์เน็ต ฯลฯ และที.วี.แทบทุกช่องที่นำเรื่องราวของเขา มาบอกเล่าแก่สาธารณะชน  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 สมัยที่ผมยังทำงานเป็นนักดนตรีประจำร้าน สายหมอกกับดอกไม้ ของคุณอันยา โพธิวัฒน์ คู่ชีวิตของคุณจรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา ผู้ล่วงลับไปแล้ว ก่อนจะออกมาทำงานเขียนและงานเกี่ยวกับหนังสืออย่างเต็มตัวในทุกวันนี้ ผมจำได้อย่างแม่นยำว่า ภายในร้านสายหมอกกับดอกไม้ นอกจากเฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับตกแต่งภายใน ที่ประกอบด้วย โต๊ะ เก้าอี้ ที่เป็นเครื่องไม้ ภาพเขียน รูปปั้น และ ข้าวของเครื่องใช้ ผลงานเพลงของคุณจรัลในตู้โชว์ ตลอดจนรูปภาพของคุณจรัลตามฝาผนังห้องในอิริยาบถต่างๆแล้ว ยังมีกระจกเงาเก่าแก่บานหนึ่ง กว้างประมาณ สองฟุต สูงท่วมหัว ประดับอยู่ตรงมุมห้องโถงด้านขวามือใกล้ๆกับเวทีเล่นดนตรี…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  3 กันยายน 2552 ปีนี้ นอกจากจะเป็นวันรำลึกครบรอบการจากไปของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนาแล้ว วันนี้ยังมาตรงกับวันจัดงาน " แอ่วสันป่าตอง " ซึ่งเป็นงานของโครงการย้อนยุคอำเภอสันป่าตอง ที่มีเป้าหมายที่จะแนะนำอำเภอสันป่าตองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นตัวหลักในการจัดงาน ร่วมกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายหลายองค์กร ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ก่อนอาทิตย์ตกในไร่ข้าวโพดสีส้มโชติโชนอยู่อีกครู่ใหญ่แผ่ร่มเงาความเวิ้งว้างกว้างออกไปอีกหนึ่งวันกลืนวันวัยในวันนี้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเอยฉันทลักษณ์ ยากยิ่งนักจะประดิษฐ์มาคิดเขียน เป็นบทกวีงามวิจิตรสนิทเนียน มิผิดเพี้ยนตามกำหนดแห่งกฎเกณฑ์
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
มิ่งมิตร เธอมีสิทธิ์ที่จะล่องแม่น้ำรื่น ที่จะบุกดงดำกลางค่ำคืน ที่จะชื่นใจหลายกับสายลม