Skip to main content

1

ผมเป็นคนที่วิตกกังวลกับทุกสิ่งทุกอย่าง ผมวิตกว่าตัวผมผอมไป วิตกว่าผมจะร่วงจนหมดศีรษะ กลัวไปว่าแต่งงานแล้วจะหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ไม่พอ กลัวว่าจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ๆ ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ตัวผมเองมีชีวิตไม่ค่อยเป็นสุขนัก ผมจึงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเองที่ปรากฏต่อคนอื่น

เพราะความวิตกกังวล ทำให้ผมเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผมทำงานไม่ไหวอีกต่อไปต้องหยุดงานอยู่กับบ้าน ผมวิตกกังวลมากเกินไปจนเลยขีดขั้นจำกัด คล้ายกับหม้อน้ำเดือดที่ปราศจากวาล์วปิดกั้น จนทำให้ผมต้องเป็นโรคประสาทอย่างหนัก ผมไม่สามารถพูดกับใครได้เลย แม้แต่กับคนในครอบครัวของผมเอง ผมควบคุมความคิดของตัวเองไม่อยู่ และรู้สึกหวาดกลัวไปหมด ผมสะดุ้งสุดตัวแม้เพียงได้ยินเสียงเบาที่สุด และคอยหลบหลีกการเผชิญหน้ากับใคร ๆ ทุกคน

ในบางครั้ง ผมร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผลใด ๆ เลย ผมรู้สึกราวกับถูกทุก ๆ คนทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว และอยากจะจบชีวิตด้วยการกระโดดลงแม่น้ำให้จมหายไป...

วันหนึ่ง

ผมจึงตัดสินใจออกเดินทางไปฟลอริดา โดยหวังว่า การเปลี่ยนสถานที่จะทำให้ผมรู้สึกดีขึ้น ขณะที่กำลังจะขึ้นรถไฟ พ่อของผมได้ยื่นจดหมายให้ฉบับหนึ่ง และสั่งผมไม่ให้เปิดออกอ่านจนกว่าจะถึงฟลอริดา ผมมาถึงฟลอริดาในขณะที่กำลังเป็นหน้าท่องเที่ยว ผมจึงหาโรงแรมพักไม่ได้ ต้องอาศัยเช่าโรงรถแห่งหนึ่งอยู่

ผมพยายามหางานเป็นคนส่งของอยู่นอกเมืองไมอามี่ แต่ก็ไม่ได้งาน ดังนั้นผมจึงใช้เวลาอยู่ที่ชายหาด  ผมรู้สึกย่ำแย่มากกว่าอยู่ที่บ้านเสียอีก ดังนั้นผมจึงเปิดจดหมายพ่อออกอ่าน ข้อความในจดหมายมีว่า

“ลูกเอ๋ย ตอนนี้เจ้าอยู่ห่างจากบ้านถึง 1500 ไมล์ แต่เจ้าก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้นเลยใช่ไหม พ่อรู้ว่าเจ้าจะต้องรู้สึกเช่นนั้นแน่ เพราะเจ้าได้นำเอาตัวการที่ทำให้เจ้าไม่สบายใจติดตัวไปด้วย นั่นก็คือตัวเจ้าเองยังไงละ ไม่มีอะไรผิดปรกติเกิดขึ้นกับร่างกายหรือจิตใจของเจ้าหรอก ไม่ใช่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าเป็นเช่นนี้หรอก แต่ความคิดที่เจ้ามีต่อสถานการณ์พวกนั้นต่างหาก ที่ทำให้เจ้าต้องเป็นทุกข์ ดังนั้นเมื่อเจ้าได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้แล้ว พ่ออยากให้เจ้ากลับบ้าน แล้วหายจากอาการเหล่านั้นเสียที ”

จดหมายของพ่อทำให้ผมโกรธมาก เพราะผมหวังว่าจะมีใครสักคนสงสารผม ไม่ใช่มาสั่งสอน ผมโกรธมากจนตัดสินใจจะไม่กลับไปบ้านอีกเลย ในคืนนั้นเอง ขณะที่ผมกำลังเดินอยู่บนถนนในไมอามี่ ผมได้มาถึงโบสถ์ซึ่งกำลังมีการทำพิธีกันอยู่ เนื่องจากผมไม่มีที่จะไปอยู่แล้ว จึงแวะเข้าไปในโบสถ์นั้น เพื่อฟังบทเทศน์ในบทที่กล่าวว่า

“ผู้ที่เอาชนะใจตนเองได้นั้น ยิ่งใหญ่กว่าผู้รบชนะได้เมืองทั้งเมือง”

เมื่อเข้ามานั่งในโบสถ์และได้ยินคำสอน เช่นเดียวกับที่พ่อผมได้กล่าวไว้ในจดหมาย ทำให้ผมได้คิดอย่างมีเหตุผลเป็นครั้งแรกในชีวิต ผมช่างเป็นคนโง่เขลาอะไรเช่นนั้น ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงโลกและมนุษย์ทุกคน ในขณะที่มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน

นั่นคือทัศนคติการมองโลกของผมนั่นเอง

เช้าวันต่อมา

ผมจึงจัดของลงกระเป๋าเดินทางกลับมาบ้าน และอีกอาทิตย์หนึ่งต่อมา ผมก็ได้งานทำ ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง ผมได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ผมเคยหวาดกลัวว่าจะต้องสูญเสียเธอไป ซึ่งขณะนี้เรามีชีวิตครอบครัวที่ผาสุกร่วมกัน พร้อมกับลูก ๆ อีกห้าคน โลกดูสดใสและเป็นมิตรยิ่งขึ้น ผมมีความสุขกับชีวิตขณะนี้อย่างมาก และเมื่อใดก็ตามที่ผมเริ่มไม่รู้สึกสบายใจขึ้นมา ผมจะบอกกับตัวเองว่า ให้ปรับทัศนคติ เกี่ยวกับสิ่งนั้นเสียใหม่ และทุกอย่างก็จะกลับดีเช่นเดิม

ผมอยากจะบอกคุณตามตรงว่า ผมดีใจที่ได้เคยเป็นโรคประสาท เพราะสิ่งนี้ทำให้ผมได้ค้นพบว่า ความคิดและจิตใจของมนุษย์เรานั้นมีพลังเหนือร่างกาย ตอนนี้ผมสามารถใช้ความคิดทำประโยชน์ให้กับตัวเอง แทนที่จะทำให้มันต่อต้านผม พ่อพูดถูกที่ว่าสถานการณ์ภายนอกทั้งหลาย ไม่ได้เป็นต้นตอของความทุกข์ทรมานของผม และในทันทีที่ผมได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ผมก็ได้หายจากอาการทุกข์ทรมาน และอยู่เป็นสุขมาจนบัดนี้

คุณผู้อ่านครับ

เรื่องจดหมายของพ่อ ที่คุณผู้อ่านได้อ่านนี้ ไม่ใช่เรื่องราวของผม ผู้เขียนคอลัมน์นี้หรอกครับ แต่เป็นเรื่องเล่าของลูกศิษย์คนหนึ่งในชั้นเรียนของ เดล คาร์เนกี นักเขียนเชิงจิตวิทยาที่เก่าแก่และโด่งดังคนหนึ่งของโลก ได้เล่าเอาไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งของ เดล คาร์เนกี ที่ชื่อว่า “วิธีกำจัด ความวิตกกังวลและมีชีวิตที่ผาสุก” ที่แปลและเรียบเรียงโดย เรณู สุเสวี ซึ่งตีพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์ วลัยลักษณ์ เมื่อเดือน มีนาคม 2532 บรรณาธิการโดย แดนอรัญ แสงทอง ที่โปรยปก ถัดลงมาจากชื่อรวมเล่มเอาไว้ว่า “แบบฉบับของหนังสือคู่มือ ในการจัดการปัญหาชีวิต ขายไปแล้วกว่า หกล้านเล่ม”

ผมตัดทอนเรื่องนี้นำมาเผยแพร่ที่นี่ (และขออนุญาตคุณเรณูผู้แปลและเรียบเรียงในที่นี้ด้วยนะครับ) ก็เพราะเดือนเต็ม ๆ ที่ผ่านมา ผมมีเรื่องต้องวิ่งเข้า ๆ ออก ๆ ทั้งโรงพยาบาลและคลินิกเกี่ยวกับโรคจิตและประสาท เพื่อส่งพี่น้องของผมคนหนึ่งไปทำการบำบัดรักษา อาการป่วยทางจิตประสาท ที่มีอาการเช่นเดียวกับเจ้าของเรื่อง “จดหมายของพ่อ” ที่เนื่องมาจากความวิตกกังวลในชีวิตมากเกินไป จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ หวาดกลัวไปหมดทุกอย่าง แม้แต่ความคิดของตัวเอง จนต้องเอาปืนไปฝากเพื่อน เพราะกลัวว่าตัวเองจะคิดฆ่าตัวตาย แล้วลงมือทำจริง ๆ

ตอนนี้ หลังจากหอบหิ้วกันไปรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกเฉพาะทางแห่งหนึ่ง อาการของเขากลับคืนมาสู่สภาพปกติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว คิดว่าอีกสองสามวันคงกลับไปทำงานได้ตามปกติ ที่ผมนำเรื่องจดหมายของพ่อมาลง ก็เพราะต้นเหตุแห่งความวิตกกังวลจนเกินเหตุของเขาที่ทำให้เขาเป็นเช่นนี้ ผมฟัง ๆ ดูจากการวิเคราะห์ของหมอ ผ่านคำบอกเล่าของเขา ก็คือเรื่องทัศนคติในการมองโลกแบบทำร้ายตัวเอง เช่นเดียวกับเจ้าของเรื่องจดหมายของพ่อนั่นเอง

ผมจึงนำเรื่องนี้มาลงเพื่อยังประโยชน์ประการใดประการหนึ่งแก่ท่านผู้อ่าน โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน คุณหมอเจ้าของคลินิกที่ผมหอบหิ้วเขาไปบำบัดรักษาจนผมเกือบจะประสาทแดกไปกับเขาได้บอกว่า คนเป็นโรคนี้กันเยอะมาก และเผื่อถึงคิวของเราบ้าง เราจะไม่ได้เสียเวลาวิ่งเข้าไปหาหมอผิดที่ผิดทาง หรือก่นด่าตัวเองเหมือนลูกศิษย์ของ เดล คาร์เนกี ด่าตัวเองว่า

“ผมช่างเป็นคนโง่เขลาอะไรเช่นนี้ ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงโลกและมนุษย์ทุกคน ในขณะที่มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยน นั่นคือทัศนะคติในการมองโลกของผมนั่นเอง”                                                                     

5 ธันวาคม 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

** ภาพประกอบจากหนังสือ ไม่รักไม่บอก 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หล่อนเป็นผู้หญิง พาร์ทเน่อร์หรือบุตรีนักปราชญ์ หล่อนก็เป็นผู้หญิง รายละเอียดของชีวิตเท่านั้นที่อาจแตกต่างกัน แต่หล่อนก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงในยุครุ่งเรืองของพาราณศรี ผู้หญิงนุ่งบิกินีแถวริเวียร่า หรือผู้หญิงนั่งอยู่ในซ่องราคายี่สิบบาท หล่อนเป็นผู้หญิง มันเป็นความผิดหรือ ถ้าคุณจะรักผู้หญิงสักคน.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  มาดามสนิทใจมีความสุขมาก เมื่อวันที่พ้องกลับจากทำงานพร้อมด้วยข่าวดี “คณะกรรมการบริษัทเห็นต้องกัน เลือกบทละครเรื่องยาวของผม” เขาบอกหล่อน “เห็นไหมหนิท นี่เช็คเงินสดห้าพันบาท ค่าล่วงหน้ายี่สิบห้าเปอร์เซ็น” พ้องชูแผ่นกระดาษที่มีความหมายนั้นขึ้นให้หล่อนดู กวัดแกว่งมันอย่างร่าเริง และส่งให้เมีย “ดิฉันดีใจด้วยค่ะ เงินจำนวนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับเรามากทีเดียว” “นั่นแล้วแต่หนิทจะจัดการอย่างไร”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ครับ หัวชื่อเรื่องข้างบนนี่ มิใช่เรื่องที่ผมจะเขียน แต่เป็นชื่องานแสดงภาพถ่ายขาวดำและประวัติผลงาน ’รงค์ วงษ์สวรรค์ นักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ ที่เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้คนหนุ่มสาวมากมายหลายคน และหลายรุ่น เดินเข้ามาสู่ถนนสายวรรณกรรม ซึ่งล่วงลับไปเมื่อต้นปีที่แล้ว และผมเลือกให้ฉายาแก่เขาว่า “พ่อมดแห่งภาษากวีมาดวิไลจากบ้านสวนทูนอิน”
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
 
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    สวัสดีปีใหม่ 2553 ถึงโลกยังทรามสังคมยังบัดสี ไม่เป็นไร เรายังพอ...มีความดี ณ วัน เดือน ปีใหม่...มอบให้กัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ผีเสื้อสีขาว จะบินไปไหน ไปหาดอกไม้ ใช่ไหมผีเสื้อ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  พระองค์ทรงตรัสกับสาวกของพระองค์ว่า อย่ากระวนกระวายถึงชีวิตของตน ว่าจะเอาอะไรกิน และอย่ากระวนกระวายถึงร่างกายของตน ว่าจะเอาอะไรมานุ่งห่ม เพราะว่าชีวิตสำคัญยิ่งกว่าอาหาร และร่างกายสำคัญยิ่งกว่าเครื่องนุ่งห่ม จงพิจารณาดูอีกา มันมิได้หว่านมิได้เกี่ยว และมิได้มียุ้งฉาง แต่พระเจ้ายังทรงเลี้ยงมันไว้ ท่านทั้งหลายประเสริฐกว่านกกามากทีเดียว มีใครในพวกท่านโดยความกระวนกระวาย อาจต่อชีวิตให้ยาวออกไปอีกศอกหนึ่งได้หรือ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
    คืนดำ พายุฝนกระหน่ำลงมาอย่างบ้าคลั่ง ฉันได้แต่นั่งซุกกายอยู่ในกระท่อม ณ ท่ามกลางปรากฏการณ์ของธรรมชาติที่เกิดขึ้น เฝ้ามองดูพายุฝนเกรี้ยวกราดโหมกระหน่ำซัดสาดสรรพสิ่ง เฝ้ามองดูสายฟ้าแล่บแปลบปลาบ เฝ้ามองดูสายฟ้าผ่าเปรี้ยงปร้าง ณ ซอกมุมที่อบอุ่นและปลอดภัยที่สุด
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ครั้งหนึ่ง ชายคนหนึ่ง ขุดรูปสลักหินอ่อนที่สวยงามอย่างยิ่ง ได้จากท้องทุ่ง เขาจึงนำมันไปหานักสะสมของเก่า ซึ่งรักของสวยๆงามๆ และเสนอขายให้แก่เขา นักสะสมก็ซื้อไปในราคาสูง แล้วคนทั้งสองก็จากกัน
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ปลายปีที่แล้ว ผมได้รับข่าวฝากประชาสัมพันธ์การแสดงภาพเขียนสีน้ำของพิบูลศักดิ์ ละครพล ชื่อ "ภาพประทับจากการแรมทาง" จากหอศิลป์ริมน่าน จังหวัดน่าน ผ่านมาจนถึงปลายปีนี้ ผมก็ได้รับข่าวคราวการแสดงงานของเขาอีกครั้งหนึ่งจากคุณนิลจากร้านหนังสือ "2521" จังหวัดภูเก็ต ส่งอีเมล์ มาฝากข่าว เพื่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์มาว่า
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  1.  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  ฉันเป็นดอกไม้ริมทาง เบ่งบานอ้างว้างอยู่นอกรั้วบ้าน ไม่สวยแจ่มใสไม่งามตระการ ด้วยเกิดมาเบ่งบานตามบุญตามกรรม