Skip to main content

1

ผมเป็นคนที่วิตกกังวลกับทุกสิ่งทุกอย่าง ผมวิตกว่าตัวผมผอมไป วิตกว่าผมจะร่วงจนหมดศีรษะ กลัวไปว่าแต่งงานแล้วจะหาเงินเลี้ยงครอบครัวได้ไม่พอ กลัวว่าจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ๆ ไม่ได้ และเพราะเหตุที่ตัวผมเองมีชีวิตไม่ค่อยเป็นสุขนัก ผมจึงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาพพจน์ของตัวเองที่ปรากฏต่อคนอื่น

เพราะความวิตกกังวล ทำให้ผมเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ผมทำงานไม่ไหวอีกต่อไปต้องหยุดงานอยู่กับบ้าน ผมวิตกกังวลมากเกินไปจนเลยขีดขั้นจำกัด คล้ายกับหม้อน้ำเดือดที่ปราศจากวาล์วปิดกั้น จนทำให้ผมต้องเป็นโรคประสาทอย่างหนัก ผมไม่สามารถพูดกับใครได้เลย แม้แต่กับคนในครอบครัวของผมเอง ผมควบคุมความคิดของตัวเองไม่อยู่ และรู้สึกหวาดกลัวไปหมด ผมสะดุ้งสุดตัวแม้เพียงได้ยินเสียงเบาที่สุด และคอยหลบหลีกการเผชิญหน้ากับใคร ๆ ทุกคน

ในบางครั้ง ผมร้องไห้ออกมาโดยไม่มีเหตุผลใด ๆ เลย ผมรู้สึกราวกับถูกทุก ๆ คนทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว และอยากจะจบชีวิตด้วยการกระโดดลงแม่น้ำให้จมหายไป...

วันหนึ่ง

ผมจึงตัดสินใจออกเดินทางไปฟลอริดา โดยหวังว่า การเปลี่ยนสถานที่จะทำให้ผมรู้สึกดีขึ้น ขณะที่กำลังจะขึ้นรถไฟ พ่อของผมได้ยื่นจดหมายให้ฉบับหนึ่ง และสั่งผมไม่ให้เปิดออกอ่านจนกว่าจะถึงฟลอริดา ผมมาถึงฟลอริดาในขณะที่กำลังเป็นหน้าท่องเที่ยว ผมจึงหาโรงแรมพักไม่ได้ ต้องอาศัยเช่าโรงรถแห่งหนึ่งอยู่

ผมพยายามหางานเป็นคนส่งของอยู่นอกเมืองไมอามี่ แต่ก็ไม่ได้งาน ดังนั้นผมจึงใช้เวลาอยู่ที่ชายหาด  ผมรู้สึกย่ำแย่มากกว่าอยู่ที่บ้านเสียอีก ดังนั้นผมจึงเปิดจดหมายพ่อออกอ่าน ข้อความในจดหมายมีว่า

“ลูกเอ๋ย ตอนนี้เจ้าอยู่ห่างจากบ้านถึง 1500 ไมล์ แต่เจ้าก็ยังไม่รู้สึกดีขึ้นเลยใช่ไหม พ่อรู้ว่าเจ้าจะต้องรู้สึกเช่นนั้นแน่ เพราะเจ้าได้นำเอาตัวการที่ทำให้เจ้าไม่สบายใจติดตัวไปด้วย นั่นก็คือตัวเจ้าเองยังไงละ ไม่มีอะไรผิดปรกติเกิดขึ้นกับร่างกายหรือจิตใจของเจ้าหรอก ไม่ใช่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เจ้าเป็นเช่นนี้หรอก แต่ความคิดที่เจ้ามีต่อสถานการณ์พวกนั้นต่างหาก ที่ทำให้เจ้าต้องเป็นทุกข์ ดังนั้นเมื่อเจ้าได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้แล้ว พ่ออยากให้เจ้ากลับบ้าน แล้วหายจากอาการเหล่านั้นเสียที ”

จดหมายของพ่อทำให้ผมโกรธมาก เพราะผมหวังว่าจะมีใครสักคนสงสารผม ไม่ใช่มาสั่งสอน ผมโกรธมากจนตัดสินใจจะไม่กลับไปบ้านอีกเลย ในคืนนั้นเอง ขณะที่ผมกำลังเดินอยู่บนถนนในไมอามี่ ผมได้มาถึงโบสถ์ซึ่งกำลังมีการทำพิธีกันอยู่ เนื่องจากผมไม่มีที่จะไปอยู่แล้ว จึงแวะเข้าไปในโบสถ์นั้น เพื่อฟังบทเทศน์ในบทที่กล่าวว่า

“ผู้ที่เอาชนะใจตนเองได้นั้น ยิ่งใหญ่กว่าผู้รบชนะได้เมืองทั้งเมือง”

เมื่อเข้ามานั่งในโบสถ์และได้ยินคำสอน เช่นเดียวกับที่พ่อผมได้กล่าวไว้ในจดหมาย ทำให้ผมได้คิดอย่างมีเหตุผลเป็นครั้งแรกในชีวิต ผมช่างเป็นคนโง่เขลาอะไรเช่นนั้น ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงโลกและมนุษย์ทุกคน ในขณะที่มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่ต้องเปลี่ยน

นั่นคือทัศนคติการมองโลกของผมนั่นเอง

เช้าวันต่อมา

ผมจึงจัดของลงกระเป๋าเดินทางกลับมาบ้าน และอีกอาทิตย์หนึ่งต่อมา ผมก็ได้งานทำ ต่อมาอีกเดือนหนึ่ง ผมได้แต่งงานกับผู้หญิงที่ผมเคยหวาดกลัวว่าจะต้องสูญเสียเธอไป ซึ่งขณะนี้เรามีชีวิตครอบครัวที่ผาสุกร่วมกัน พร้อมกับลูก ๆ อีกห้าคน โลกดูสดใสและเป็นมิตรยิ่งขึ้น ผมมีความสุขกับชีวิตขณะนี้อย่างมาก และเมื่อใดก็ตามที่ผมเริ่มไม่รู้สึกสบายใจขึ้นมา ผมจะบอกกับตัวเองว่า ให้ปรับทัศนคติ เกี่ยวกับสิ่งนั้นเสียใหม่ และทุกอย่างก็จะกลับดีเช่นเดิม

ผมอยากจะบอกคุณตามตรงว่า ผมดีใจที่ได้เคยเป็นโรคประสาท เพราะสิ่งนี้ทำให้ผมได้ค้นพบว่า ความคิดและจิตใจของมนุษย์เรานั้นมีพลังเหนือร่างกาย ตอนนี้ผมสามารถใช้ความคิดทำประโยชน์ให้กับตัวเอง แทนที่จะทำให้มันต่อต้านผม พ่อพูดถูกที่ว่าสถานการณ์ภายนอกทั้งหลาย ไม่ได้เป็นต้นตอของความทุกข์ทรมานของผม และในทันทีที่ผมได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ ผมก็ได้หายจากอาการทุกข์ทรมาน และอยู่เป็นสุขมาจนบัดนี้

คุณผู้อ่านครับ

เรื่องจดหมายของพ่อ ที่คุณผู้อ่านได้อ่านนี้ ไม่ใช่เรื่องราวของผม ผู้เขียนคอลัมน์นี้หรอกครับ แต่เป็นเรื่องเล่าของลูกศิษย์คนหนึ่งในชั้นเรียนของ เดล คาร์เนกี นักเขียนเชิงจิตวิทยาที่เก่าแก่และโด่งดังคนหนึ่งของโลก ได้เล่าเอาไว้ในหนังสือเล่มหนึ่งของ เดล คาร์เนกี ที่ชื่อว่า “วิธีกำจัด ความวิตกกังวลและมีชีวิตที่ผาสุก” ที่แปลและเรียบเรียงโดย เรณู สุเสวี ซึ่งตีพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์ วลัยลักษณ์ เมื่อเดือน มีนาคม 2532 บรรณาธิการโดย แดนอรัญ แสงทอง ที่โปรยปก ถัดลงมาจากชื่อรวมเล่มเอาไว้ว่า “แบบฉบับของหนังสือคู่มือ ในการจัดการปัญหาชีวิต ขายไปแล้วกว่า หกล้านเล่ม”

ผมตัดทอนเรื่องนี้นำมาเผยแพร่ที่นี่ (และขออนุญาตคุณเรณูผู้แปลและเรียบเรียงในที่นี้ด้วยนะครับ) ก็เพราะเดือนเต็ม ๆ ที่ผ่านมา ผมมีเรื่องต้องวิ่งเข้า ๆ ออก ๆ ทั้งโรงพยาบาลและคลินิกเกี่ยวกับโรคจิตและประสาท เพื่อส่งพี่น้องของผมคนหนึ่งไปทำการบำบัดรักษา อาการป่วยทางจิตประสาท ที่มีอาการเช่นเดียวกับเจ้าของเรื่อง “จดหมายของพ่อ” ที่เนื่องมาจากความวิตกกังวลในชีวิตมากเกินไป จนกลายเป็นโรคซึมเศร้า ย้ำคิดย้ำทำ หวาดกลัวไปหมดทุกอย่าง แม้แต่ความคิดของตัวเอง จนต้องเอาปืนไปฝากเพื่อน เพราะกลัวว่าตัวเองจะคิดฆ่าตัวตาย แล้วลงมือทำจริง ๆ

ตอนนี้ หลังจากหอบหิ้วกันไปรักษาอย่างต่อเนื่องที่คลินิกเฉพาะทางแห่งหนึ่ง อาการของเขากลับคืนมาสู่สภาพปกติเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว คิดว่าอีกสองสามวันคงกลับไปทำงานได้ตามปกติ ที่ผมนำเรื่องจดหมายของพ่อมาลง ก็เพราะต้นเหตุแห่งความวิตกกังวลจนเกินเหตุของเขาที่ทำให้เขาเป็นเช่นนี้ ผมฟัง ๆ ดูจากการวิเคราะห์ของหมอ ผ่านคำบอกเล่าของเขา ก็คือเรื่องทัศนคติในการมองโลกแบบทำร้ายตัวเอง เช่นเดียวกับเจ้าของเรื่องจดหมายของพ่อนั่นเอง

ผมจึงนำเรื่องนี้มาลงเพื่อยังประโยชน์ประการใดประการหนึ่งแก่ท่านผู้อ่าน โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบัน คุณหมอเจ้าของคลินิกที่ผมหอบหิ้วเขาไปบำบัดรักษาจนผมเกือบจะประสาทแดกไปกับเขาได้บอกว่า คนเป็นโรคนี้กันเยอะมาก และเผื่อถึงคิวของเราบ้าง เราจะไม่ได้เสียเวลาวิ่งเข้าไปหาหมอผิดที่ผิดทาง หรือก่นด่าตัวเองเหมือนลูกศิษย์ของ เดล คาร์เนกี ด่าตัวเองว่า

“ผมช่างเป็นคนโง่เขลาอะไรเช่นนี้ ที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงโลกและมนุษย์ทุกคน ในขณะที่มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะต้องเปลี่ยน นั่นคือทัศนะคติในการมองโลกของผมนั่นเอง”                                                                     

5 ธันวาคม 2551
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

** ภาพประกอบจากหนังสือ ไม่รักไม่บอก 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”