Skip to main content

 

 

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

 

   


 เมื่อผมได้อ่าน

จดหมายเปิดผนึกของอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เรื่อง สถาบันกษัตริย์ไทย กับมาตรฐานสากล และปัญหา กม. หมิ่นฯ ม. 112” ที่เขียนถึงสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ผ่าน นายแพทย์ทศพร เสรีรักษ์ ที่ตีพิมพ์ในคอลัมน์ คนค้นคิด หน้า 16 ของหนังสือพิมพ์ เลี้ยวซ้าย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มิถุนายน 2555 ที่นำมาจาก www.voicetv.co.th

ผมพลันรู้สึกว่า

นี่คือ ข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์สังคม ที่พูดถึงภาพรวมความขัดแย้งทางการเมืองอีกชิ้นหนึ่งที่มีคุณค่าน่าเชื่อถือ ปราศจากอคติ ต้องตัดเก็บเอาไว้ และควรนำมาเผยแพร่ที่นี่อีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ผู้ที่สนใจทางการเมืองได้อ่านและเพิ่มพูนความเข้าใจความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างผู้ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบ ราชาธิปไตย มาเป็น ระบอบ ประชาธิปไตย เมื่อ 100 ปี ก่อน มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อที่จะกำหนดจุดยืน ท่าที บทบาท และทัศนะทางสังคมที่ถูกต้องในฐานะประชาชนคนธรรมดาคนหนึ่ง

เช่นเดียวกับบทความของอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่ผมนำมาเสนอในคราวที่แล้ว และขออนุญาตอาจารย์ชาญวิทย์เปลี่ยนชื่อจดหมายเปิดผนึกของอาจารย์ จากชื่อเดิม มาเป็น - ผมอยากจะเชื่อว่า ณ บัดนี้ สังคมสยามประเทศไทยเรา มี ตัวจริง -ของจริง ตามวาทกรรมที่ให้ความหวังแก่นักประชาธิปไตยในตอนท้ายของจดหมาย เพราะแลฟังดูนุ่มนวลชวนอ่าน ไม่แข็งทื่อน่ากลัวเหมือนชื่อเดิม ที่เห็นแล้ว ผมอยากจะเปิดผ่าน และวิ่งหนี ถ้าหากไม่มีเครดิตชื่อของอาจารย์ชาญวิทย์ จ้างผมก็ไม่เสี่ยงไปอ่านให้เสียเวลา

ดังนี้

เนื่องในโอกาสที่ท่านจะพ้นโทษจองจำ

ของ กระบวนการตุลาการณ์โลกาภิวัตน์ ผมขอแสดงความยินดี และขออวยพรให้ท่านจงประสบแด่ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ที่สามารถจะดำเนินงาน เพื่อชาติ และราษฎรไทย ของเราสืบไป และผมขอถือโอกาสนี้ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ สถาบันกษัตริย์ไทย กับมาตรฐานสากล และปัญหา กม. หมิ่นฯ ม. 112” ที่เป็นประเด็นสำคัญสำหรับอนาคตของประเทศชาติ และประชาชนของเราดังต่อไปนี้

จากการศึกษาและการสอน วิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยาม / ไทย มาเป็นเวลานานปี ผมได้พบว่า ขณะนี้สังคมและประชาชนไทยของเราเผชิญต่อปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายๆกับที่ได้เผชิญมาแล้วเมื่อ พ.ศ.2475 (1932) คือเมื่อ 80 ปีที่แล้วในเรื่องของ รัฐธรรมนูญ ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของ คณะเจ้า ก็กล่าวกันว่า คณะราษฎร ใจร้อน ชิงสุกก่อนห่าม

แต่ถ้ามองจากเหรียญด้านก้อยของ คณะราษฎร ก็เชื่อกันว่า คณะเจ้า นั่นแหละ ล่าช้า อืดอาด ไม่ทันโลก ผ่านจาก การปฎิรูป พ.ศ.2435 (1893) รัชกาลที่ 5 (ตรงกับสมัยจักรพรรดิเมจิ) ก็แล้ว จนถึงรัชกาลที่ 6 (ทดลองดุสิตธานีก็แล้ว) รัชกาลที่ 7 (ทรงให้ที่ปรึกษาต่างชาติ ร่างรัฐธรรมนูญก็แล้ว)

ก็ยังไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญเสียที!

จึงมี ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ ที่จะต้องมี การปฎิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เพื่อเปลี่ยน ระบอบราชาธิปไตย ให้เป็น ระบอบประชาธิปไตย

ปัญหาที่สังคมและประชาชนไทย เผชิญอยู่ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ก็คือ เราจะสามารถปฏิรูป และแก้ไข กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112” ได้ช้า หรือได้เร็ว และทันท่วงทีกับสถานการณ์ของการเมืองภายในของเราเอง กับสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ นี่คือปัญหาของเหรียญสองด้าน ที่ต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่าง ด้านหัวกับด้านก้อย ระหว่าง กลุ่มอำนาจเดิม - พลังเดิม กับ กลุ่มอำนาจใหม่ - พลังใหม่

จากการศึกษาของผม พบว่ามีข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับปัญหา ก.ม. 112 ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ที่ ฯพณฯอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานรวบรวมและจัดพิมพ์ ในวโรกาศ 84 พรรษา ชื่อ King Bhumibol Adulyadaj: A Life’s Work หน้า 383 ราคา 1,235 บาท หรือ 40 US$ มีนักเขียนมีชื่อด้านวิชาการ เช่น คริสเบเกอร์ - พอพันธ์ อุยยานนท์ เดวิส สเตร็กฟุส ร่วมด้วย

ในหนังสือเล่มนี้บทที่ว่าด้วย กฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย...หน้า 303 – 313 (The Low of Lese Majeste) เป็นข้อความถอดภาษาไทยได้ดังนี้

จากปี พ.ศ. 2536 (1993) ถึงปี พ.ศ. 2547 (2004) เป็นเวลาถึง 11 ปี โดยเฉลี่ยแล้ว จำนวนคดีหมิ่นฯใหม่ๆลดลงครึ่งหนึ่ง และก็ไม่มีคดีหมิ่นฯเลย ในปี 2545 (2009)...

อย่างไรก็ตามในปีที่ผ่านมาเร็วๆนี้

จำนวนคดีหมิ่นฯที่ผ่านเข้ามาในระบบศาลของไทยนั้น เพิ่มขึ้นอย่างน่าสังเกต ในปี พ.ศ. 2552 (2009) มีคดีเกี่ยวข้องที่ส่งไปยังศาลชั้นต้น สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 165 คดี...

ข้อความดังกล่าวยังขยายความต่ออีกว่า

ขณะนี้ประเทศไทยมีกฎหมายหมิ่นฯ ที่มีโทษรุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งร้อยปี เทียบได้ก็แต่ระบบกฎหมายของญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลก (ครั้งที่ 2) เท่านั้น โทษขั้นต่ำสุด (ของไทย) เท่ากับโทษสูงสุดของจอร์แดน และเป็นสามเท่าของโทษในระบอบกษัตริย์โดยรัฐธรรมนูญในยุโรป...

นี่นับได้ว่า

สูงสุดในมาตรฐานสากลของอารยประเทศ ซึ่งก็ทำให้ ราชอาณาจักรไทย ในสมัยรัชกาลนี้ มีคดีหมิ่นฯขึ้นโรงศาลมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลกเช่นกัน

ผมคิดว่าข้อมูลเชิงประจักษ์จากหนังสือสำคัญเล่มนี้ ก็น่าจะเพียงพอที่จะทำให้เราๆท่านๆทั้งหลาย จักต้องนำมาพิจารณา เพื่อปฏิรูปปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงคดีที่ค้างคากันอยู่จำนวนมากรวมทั้งกรณีของ อากง (ที่เสียชีวิตไปแล้วในคุก) และ/หรือ จีรนุช สมยศ ดา ตอร์ปิโด ก้านธูป

ฯลฯ


ข้อเสนอของ
ครก.112” คณะนิติราษฎร์และ กลุ่มสันติประชาธรรม ตลอดจนคนหนุ่มสาว นักคิดนักเขียน กวีรุ่นใหม่ และประชาชนคนธรรมดาโดยทั่วไป ให้ปฏิรูปแก้ไข ก.ม.หมิ่น 112 นั้น เป็นข้อเสนอที่ผมได้ไตร่ตรองทางวิชาการ ทั้งทางรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และนิติศาสตร์แล้ว และเห็นพ้องด้วยควรสนับสนุน จึงได้ลงนามร่วมไปกับทั้งบรรดาอาจารย์ และบุคคลทั้งหลาย จำนวนมากมายต่อหลายหมื่นชื่อ

ข้อเสนอของ ครก.112” คณะนิติราษฎร์ และ กลุ่มสันติประชาธรรม ตลอดจนคนหนุ่มสาว นักคิด นักเขียน กวีรุ่นใหม่ และประชาชนธรรมดาๆโดยทั่วไป สามารถผลักดันให้ดำเนินการให้ผ่านสภาฯได้ มีสส. สว. ที่มีทัศนะกว้างไกล มีความกล้าหาญทางจริยธรรมทางการเมือง รับลูกที่จะดำเนินต่อ  ในกรอบของกฎหมาย ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ก็จะช่วยให้สังคมไทยเรามีสันติสุข และจะทำให้สถาบันกษัตริย์ของเรา มั่นคง สถาพร และที่สำคัญคือได้มาตรฐานสากลดังเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักร และยุโรปตะวันตก ไม่ทำให้สถาบันกษัตริย์อ่อนแอ เกิดปัญหาภายใน และล่มสลายไปอย่างในยุโรปตะวันออก ในยุโรปกลาง ในเอเชียตะวันออก และ/หรือเอเชียใต้

จากการศึกษาทางวิชาการของผม พบว่าสหราชอาณาจักรยุโรปตะวันตก (อาจรวมหรือไม่รวมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่แพ้สงคราม และถูกสหรัฐยึดครอง และเขียนรัฐธรรมนูญบังคับ) ต่างก็มีสถาบันกษัตริย์ที่มั่นคงสถาพร เพราะได้ปฏิรูป แก้ไขให้สถาบันกษัตริย์เป็นสถาบันที่ใช้ พระคุณ ที่กรอปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ยังให้เกิดความรัก ความเชื่อ ความศรัทธามากกว่าการใช้ พระเดช ที่ทำให้เกิดความกลัว ความเกลียดชัง และข่มขู่ด้วยคุก ด้วยตะราง หรือแม้แต่การใช้ความรุนแรง เข้าประหัตประหารทำลายชีวิตกัน


เราได้เห็นมาแล้ว

กับโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น กับ ฯพณฯปรีดี พนมยงค์ ของเรา (และเหยื่อในกรณีสวรรคตรัชกาลที่ 8) กับ ดร.ป๋วย อึ๊งอาภรณ์ หรือเหยื่อในเหตุการณ์ 6 ตุลาวันมหาวิปโยค 2519” หรืออีกหลายๆเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในชนบท หรือผู้คนชายแดนชายขอบที่ห่างไกล และหลุดไปจากหน้าประวัติศาสตร์ กับความทรงจำของเราๆท่านๆในเมืองหลวง ฯลฯ

แน่นอน ผมทราบดีว่าบรรดาอารยประเทศในยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่ก็มี กม. หมิ่นฯ เช่นกัน แต่การลงโทษ กับการบังคับใช้ ก็หาได้รุนแรง สาหัสสากรรจ์ พร่ำเพื่อ และที่สำคัญคือ ปล่อยให้ ม. 112 กลายเป็นเครื่องมือ ทางการเมือง ของนักการเมืองทั้งในหรือนอกเครื่องแบบ หรือสวมสูทผูกเน็คไทใช้เป็น เครื่องมือ ในการทำลายฝ่ายตรงกันข้าม

ผมอยากจะขยายความต่ออีกว่า ถ้าเราจะรักษาสถาบันประชาธิปไตย ควบคู่กันไป กับการรักษาสถาบันกษัตริย์ เราต้องปฏิรูป กม.หมิ่น 112 เราต้องดูตัวอย่างประเทศที่มี สถาบันประชาธิปไตยอยู่ร่วมกันได้กับ สถาบันกษัตริย์ เราต้องดูประเทศที่ศิวิไลซ์ ที่เป็นอารยะ ไม่ดูประเทศที่ล้าหลัง เราต้องดูที่ที่เป็นมาตรฐานของโลก ซึ่งในเรื่องนี้ เราหนีไม่พ้นที่จะต้องดูแบบขออังกฤษ (ที่เราเรียนรู้และลอกเลียนแบบมา นับตั้งแต่ คำขวัญ - สีธงชาติ - เพลงสรรเสริญพระบารมี - เครื่องแบบราชการ - เรื่องราชฯ - สายสะพาย การถวายคำนับ -  การถอยสายบัว นานานานับประการ)

หรือแบบของประเทศในยุโรปตะวันตก (ที่ตามแบบของอังกฤษ)  ที่รักษา สถาบันกษัตริย์ กับ สถาบันประชาธิปไตย/ประชาชน อยู่คู่กัน ไม่ใช่ทำให้สถาบันกษัตริย์ขัดแย้งกับ สถาบันประชาธิปไตย

สังคมไทย ถึงจุดที่กำลังถูกท้าทายอย่างมาก เราต้องไม่ฝืนกระแสโลก ยิ่งทุกวันนี้ การสื่อสารเร็วขึ้น มีโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีเฟซบุ๊ค มียูทูบ ถ้าไม่ดูปัจจัยภายนอกเลย เรามีสิทธ์พังไดัง่ายๆ

การมีนักวิชาการ และผู้คนจำนวนไม่น้อย บอกว่าสังคมไทยของเรานั้น ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับสังคมประเทศอื่นเลยนั้น สังคมไทย แม้จะมีลักษณะพิเศษก็จริง แต่เราก็เป็นส่วนหนึ่งของโลกใบนี้ แต่ถ้าเราดูในโลกนี้ องค์การสหประชาชาติ มีประเทศสมาชิก 193 ประเทศ ผมถามว่าประเทศส่วนใหญ่ เป็นระบบสถาบันกษัตริย์ หรือระบบประธานาธิบดี

คำตอบคือ

ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ หรือ 30 ประเทศเท่านั้น เป็นระบอบกษัตริย์

ในขณะที่ระบอบสาธารณะรัฐ หรือ ประธานาธิบดี มีถึง 85 เปอร์เซ็นต์


เราต้องดูโลกใบใหญ่นี้

ให้เห็นว่าโลกนี้เป็นอย่างไร เราผืนกระแสโลกไม่ได้ ถ้าเราทำให้ สถาบันกษัตริย์ กับ สถาบันประชาธิปไตยขัดแย้งกัน สังคมไทยจะมีปัญหาแน่ๆ แต่ถ้าเราสามารถทำให้สองสถาบันนั้นอยู่ร่วมกัน ควบคู่กันไปได้ สังคมนี้ก็จะมีความหวัง ไม่เกิดความขัดแย้งรุนแรง เหมือนที่เคยเกิดการรบราฆ่าฟันกันมาหลายต่อหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น วันมหาปิติ 14 ตุลา 2516 (ปิติ - เพราะเชื่อว่าชัยชนะเป็นของนักศึกษาประชาชน ที่ขับไล่เผด็จการ ถนอม ณรงค์ ประภาส ได้สำเร็จในห้วงเวลานั้น -  ถนอม ไชยวงษ์แก้ว ขยายความ) / วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519” (วิปโยค - เพราะรัฐบาลแต่งตั้ง ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้เพิ่มบทลงโทษผู้กระทำผิดใน กม. หมิ่นฯ ม. 112 และพลิกกลับมาใช้อำนาจกฎหมายนี้มาตั้งข้อหากับ นิสิตนักศึกษา ประชาชน และผู้นำชาวนา เป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ที่คิดจะทำลาย สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ก่อนจะลงมืดกวาดล้างอย่างเหี้ยมโหด ฯลฯ โดยเฉพาะการสังหารผู้นำชาวนาทั่วประเทศ และกฎหมายที่น่าเกลียดน่ากลัวนี้ ก็ยังคงดำรงอยู่เป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มอำนาจเก่ามาจนถึงปัจจุบัน โดยมิได้รับการแก้ไข ทำให้ใครต่อใครหลายคนตกเป็นเหยื่อในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ตัวแทนของอำนาจเก่า อย่างที่รู้ๆกัน เพราะอำนาจเก่าหวงแหนเอาไว้เป็นดาบอาญาสิทธิ์ ที่ใครจะแตะไม่ได้ - ถนอม ไชยวงษ์แก้ว ขยายความ) /  วันพฤษภาเลือด 2535 /  รวมถึงเหตุการณ์ เมษา - พฤษภาอำมหิต 2553” ด้วย

 

ท้ายที่สุด

ผมค่อนข้างเป็นห่วงว่าการปฏิรูปแก้ไข กม. หมิ่นฯม. 112 คงจะยากเย็นเข็ญใจยิ่ง เพราะมีแรงต้านทานจาก พลังเดิม - อำนาจเดิม ที่เต็มไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ และ อวิชชา สูง

ส่วน พลังใหม่ - อำนาจใหม่ ก็มีทั้งเฉื่อยชา เมินเฉย ได้ดีแล้ว ก็ทำตัวเป็นวัวลืมตีน บางคน เกี้ยเซี๊ยะ บางคน มือไม่พายแล้ว แถมยังเอาเท้าไปราน้ำ

 

คนจำนวนไม่น้อย ที่อยู่ในสังคมชั้นสูง ที่ผมจำเป็นต้องพบปะเป็นครั้งคราว คุยกันทีไร ก็มักบอกกับผมว่า

เห็นด้วยๆๆ

แต่ก็มีน้อยคนที่ในที่แจ้ง ในที่สาธารระ จะกล้ออกมาพูด มาแสดงความคิดเห็น

ขีดเขียนเพื่อสังคม !

ผมจึงเป็นห่วงว่า

ถ้าเป็นกันแบบนี้ โอกาสที่สังคมนี้จะแตกหักไปไกลจนถึงนองเลือดเหมือนๆ พฤษภาเลือด 2535” หรือ เมษา - พฤษภา 2553” และเกิด กลียุค ดังที่ปรากฏใน เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา และบนหน้าบันลังก์ทับหลัง ปราสาทเขาพนมรุ้งกับ ปราสาทเขาพระวิหาร (ปางทำลายล้างโลก ของ ศิวนาฏราช กับปางสร้างโลกใหม่ ของ นารายณ์บรรทมสินธุ์)

ถ้ามองตามกาลานุกรมประวัติศาสตร์ ที่ผมได้เล่าเรียนมา สังคมไทยของเรา ก็ยังพอมีโอกาสที่จะ ปลดล๊อคปลดเงื่อนไขการนองเลือด หรือ กลียุค ได้ แต่ก็นั่นแหละ สังคมก็ต้องการผู้ที่มี ความกล้าหาญทางจริยธรรมสูง มาก ในการทำภารกิจนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการเสียสละของผู้ที่อยู่ในปีก พลังเดิม กับ อำนาจเดิม

การเปลี่ยนแปลง

ทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญๆของไทยและของสากลโลก ก็จำนวนผู้คนไม่มาก บางทีก็เพียงแค่สิบ บางทีก็เพียงแค่ร้อย ที่จะก้าวขึ้นมาเป็น ผู้ก่อการในการเปลี่ยนแปลง แน่นอน ผู้ก่อการ จำนวนไม่มากนักนั้นต้องได้รับแรงสนับสนุนจากสังคมจากผู้คนส่วนใหญ่ที่เป็น ตัวจริง - ของจริง จึงจะทำการได้สำเร็จ

ผมอยากจะเชื่อว่า ณ บัดนี้ สังคมสยามประเทศไทยของเรา มีตัวจริง - ของจริง มีประชาชนที่หลากหลายจำนวนมหาศาล ทั้งในกรุงในนบทอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ที่พร้อมแล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลง แก้ไขและปฏิรูป กม.หมิ่นฯ ม. 112

 

ที่จะทำให้ทั้ง สถาบันประชาธิปไตย - ประชาชน

และ สถาบันกษัตริย์ อยู่ร่วมกันได้โดยสันติ

ในกรอบของ เสรีภาพ เสมอภาค และ ภราดรภาพ

ต้องตามเจตนารมณ์ และจิตวิญญาณ

ของ กบฏราชาธิปไตย ร.ศ. 130” เมื่อ 100 ปี ที่แล้ว

กับ ปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เมื่อ 80 ปีที่แล้ว

และ ปฏิวัติประชาชน 14 ตุลาคม 2516” เมื่อ 39 ปีที่แล้ว

คบเพลิงของการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย เพื่อศักดิ์ศรีขอมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ได้ถูกส่งต่อมายังคนรุ่นเราๆท่านๆ ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า เช่น รุ่นตุลา 2519” หรือรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ รุ่นพฤษภา 2535” หรือรุ่นล่าสุด

เมษา / พฤษภา 2553”

 

ขอแสดงความนับถือ

นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ

อดีตอธิการบดี มหิทยาลัยธรรมศาสตร์

ข้าราชการบำนาญ

29 พฤษภาคม 2555

 

ครับ ผมหวังว่า จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ของอาจารย์ คงจะช่วยให้หลายๆท่านเข้าใจความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันวันนี้ได้อย่างรู้เท่าทัน โดยเฉพาะการทำงานของ คอป. (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ) ที่แต่งตั้งขึ้นมาโดยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ด้วยเงินงบประมาณ 68 ล้านบาท ที่เน้นให้ความสำคัญกับชายชุดดำ ที่พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีจริงหรือไม่มี มากกว่าคนตาย (จริงๆ) เกือบ 100 กว่าศพ และ บาดเจ็บ (จริงๆ) อีก 2,000 กว่าราย ในกรณี เมษา / พฤษภา 2553

 เรื่องนี้ คงจะเป็นความจริงอย่างที่คนพูดเขากันอย่างขำๆขื่นๆกันทั้งเมืองว่า ใครว่ะ จะมาโง่และบ้าให้เงินงบประมาณจำนวนมหาศาล ให้คนมาตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบความผิดของตนเอง จึงมิใช่เรื่องที่แปลกที่ คอป. จะทำงานเหมือนคนตาบอดต่อเลือด เนื้อ ชีวิต และความตายของประชาชน เหมือนไม่รู้สึกรู้สาอะไร

ออกมาให้คนด่าทั้งเมือง !

                             


26 กันยายน 2555 กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

 

 

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”