Skip to main content

picture

ชีวิตของผม
เป็นชีวิตที่ประสบกับภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ เหมือนเส้นกราฟมานับครั้งไม่ถ้วน หรือถ้าจะพูดให้ชัดเจนและเข้าใจกันได้ง่าย ๆ แบบภาษาชาวบ้านก็คือ เป็นชีวิตที่ประสบกับความรุ่งเรืองและตกต่ำตามวิถีทางและอัตภาพของตัวเองสลับกันไปมา...นับครั้งไม่ถ้วน นั่นเอง

แต่ก็แปลก...จนป่านนี้ ผมก็ยังไม่อาจทำใจยอมรับและรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่ต้องมีขึ้นมีลง นั่นคือเวลาที่ชีวิตผมขึ้นหรือรุ่งเรือง ผมก็จะรู้สึกว่าตัวเองฟูฟ่องพองโต และมองดูโลกนี้สวยงามสดชื่นรื่นรมย์ น่าอยู่น่าอาศัย...ราวกับสวรรค์บนพื้นพิภพ

แต่พอถึงเวลาที่ชีวิตเริ่มลงหรือตกต่ำ ผมก็จะรู้สึกว่าตัวเองเริ่มห่อเหี่ยวฟุบแฟบ เหมือนลูกโป่งสวรรค์ที่หมดลม ค่อย ๆ ร่วงลงสู่พื้นดิน และเริ่มมองดูโลกนี้ช่างเต็มไปด้วยความทุกข์ที่น่าเกลียด น่าชัง น่าเบื่อหน่าย... ไม่น่าอยู่น่าอาศัยอีกต่อไป เหมือนอย่างที่ โอมาร์ คัยยัม กวีเปอร์เชีย แสดงธรรมะกวีเอาไว้ในหนังสือ รุไบยาต อันยิ่งใหญ่และงดงามของเขาเอาไว้ว่า

ยามชื่นชมสมสมัครรักชีวิต
ยามสิ้นคิดสิ้นหวังละชังแสน…
นั่นเอง

บางทีอาจจะเป็นเพราะว่า
ผมยังไม่เคยเก็บเรื่องนี้มาคิดอย่างจริงจัง และยังไม่อาจสรุปอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ผมจึงไม่อาจทำใจได้ว่ามันเป็นเรื่องราวธรรมดาของชีวิต แถมยังไม่รู้ด้วยว่า ควรจะเตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับมันอย่างไร เมื่อถึงเวลาที่ชีวิตต้องตกต่ำหรือรุ่งเรือง พูดง่าย ๆ ว่า ผมยังปล่อยให้ตัวเองตกเป็นเหยื่อของมันอยู่นั่นเอง

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ ผมได้อ่านเรื่อง “ความล้มเหลวของจางฉู่เม่ย” ในหนังสือที่ชื่อว่า “เจียระไนชีวิต” ที่เขียนโดย “อู๋เหม่ยซิน” ที่ผมหยิบยืมมาจากกัลยาณมิตรรุ่นน้องคนหนึ่ง

ผมจึงได้รับคำตอบในเรื่องนี้มากเกินกว่าที่ผมคาดคิด ผมจึงขอนำเรื่องนี้มาถ่ายทอดแบ่งปันให้คนที่ยังหวั่นไหวกับประสบการณ์ขึ้นๆ ลงๆ ของชีวิตเหมือนอย่างตัวผม เผื่อว่าเรื่องนี้จะได้ช่วยเตือนสติให้ใครสักคนหนึ่ง ที่ชีวิตอาจจะกำลังรุ่งเรืองเจิดจ้าหรือว่ากำลังตกต่ำอับเฉาอย่างสุดขีด จะได้เก็บไปเป็นข้อคิดและปฏิบัติกับตัวเองในสภาวะที่กำลังเผชิญอยู่ในทางที่ถูกที่ควร

เพราะผมมีความเชื่อว่า สิ่งที่ดีงามที่สุดที่มนุษย์พึงกระทำต่อกัน มีอยู่ประการเดียวเท่านั้น นั่นคือการมอบความปรารถนาดีและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังต่อไปนี้

ความล้มเหลวของจางฉู่เม่ย
โชคชะฟ้าลิขิตยากจะคาดเดา เมื่ออยู่ในสภาพที่ราบรื่นไร้อุปสรรค์ การจะมีมารยาทต่อผู้อื่นเป็นคนรู้จักกาลเทศะนั้น ใคร ๆ  ก็ทำได้ เมื่อใดที่ความทุกข์ยากมาเยือนอย่างกะทันหันพบกับอุปสรรคมากมาย  สภาพอันยากลำบากทำให้หมดกำลังใจ บางคนท้อแท้ ทำตัวเองให้ตกต่ำ ในสภาพการณ์เช่นนี้มีแต่ผู้ที่เข้มแข็งแท้จริงที่จะยืนหยัดตระหง่านอยู่ได้โดยไม่ล้ม อุปสรรคความยุ่งยากกังวลใจในอีกแง่หนึ่งเป็นยาชูกำลัง เป็นสิ่งจำเป็นอันจะขาดไม่ได้ในชีวิตมนุษย์

คนที่ไม่เคยผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดของการพ่ายแพ้ล้มเหลว ก็ยากจะเข้าใจรสชาติความทุกข์ โศกนั่นได้  ภาระอยู่บ่นไหล่ใครคนนั้นก็ต้องรับผิดชอบ คนที่คิดว่าจะผลักภาระไปให้คนอื่น ผลสุดท้ายจะต้องเสียใจว่า ไม่น่าเลย จะแก้ไขก็ไม่มีหนทางเสียแล้ว

จางฉู่เม่ย เป็นคนสวย มีเสน่ห์ อายุยี่สิบปี ก็แต่งงานได้สามีที่ดีมีชีวิตครอบครัวมั่นคงต่างรักใคร่ปรองดองกันดี เพื่อน ๆ เห็นว่าเธอกับสามี เป็นเหมือนกิ่งทองใบหยกทีเดียว แต่แล้ววันหนึ่งเมฆหมอกสีดำก็เข้ามาเยือน สามีของเธอประสบอุบัติเหตุถูกรถบรรทุกทับตาย ฉู่เม่ยเสียใจจนเปลี่ยนไปเป็นคนละคน หน้านิ่วคิ้วขมวดอยู่ตลอดเวลา มีอะไรเข้ามากระทบนิดหน่อยก็โมโห กลายเป็นคนขี้เหล้าเมายา ถึงเพื่อน ๆ จะคอยปลอบใจ พยายามตักเตือนเธอให้ปรับปรุงตัวเสียใหม่ แล้วยังช่วยหางานเลขานุการในบริษัทให้ทำ แต่ฉู่เม่ยก็ยังคงหมกมุ่นกับความทุกข์ เอาแต่เล่นการพนันจนติดหนี้สินไปหมด ทำตัวตกต่ำ หน้าตาก็หมองคล้ำจนดูไม่ได้

ทุกครั้งที่เพื่อนมาชี้ข้อบกพร่องให้ เธอกลับตอบว่า “เธอคิดว่าฉันอยากเป็นอย่างนี้หรือ ถ้าสวรรค์ไม่แกล้งละก็ สามีของฉันคงไม่จากไปเร็วอย่างนี้และฉันคงไม่ต้องตกอยู่ในสภาพแบบนี้หรอก”

ก็ถูกของเธอ แต่ฟ้าจะช่วยเหลือแต่คนที่รู้จักช่วยตัวเองเท่านั้น การเอาแต่นั่งรอคอยซังกะตายเป็นลักษณะของคนอ่อนแอ อย่ามัวแต่นั่งกอดเข่าเจ่าจุก คนฉลาดจะรู้จักช่วยเหลือตัวเองต่อสู้กับชีวิต และขอบคุณในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่

ความสะดวกสบายราบรื่นมิได้เป็นสิ่งที่คงทนถาวร การเจอกับอุปสรรค ความยากลำบากอยู่ตลอดเวลาก็ไม่ใช่จะตามรังควานเราตลอดชาติได้ ขอเพียงมีความอดทนไม่ยอมแพ้แก่โชคชะตาก็จะสามารถฝ่าข้ามพายุชีวิตไปได้อย่างปลอดภัย

ในคัมภีร์ ไช่เกินถาน “รากเหง้าแห่งสติปัญญา” ได้กล่าวเตือนไว้ว่า ขณะกำลังเดินทางสู่ความตกต่ำ ก็ให้เตรียมใจที่จะพบความรุ่งเรืองไว้ เพราะช่วงตกต่ำนั้นมักนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ ๆ  ในขณะที่ราบรื่นรุ่งเรืองก็ให้ระวังและเตรียมใจรับการเปลี่ยนแปลง บอกกับตัวเองว่า เมื่อพบกับความยากลำบากให้อดทนและอย่ายอมแพ้.

หมายเหตุ : เจียระไนชีวิต อู๋เหม่ยซิน เขียน  ลีฮวง โค้วเจริญ แปลและเรียบเรียง
สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิมพ์ ครั้งที่ 4 มิถุนายน 2538

6 ตุลาคม 2550
กระท่อมทุ่งเสี้ยว เชียงใหม่

บล็อกของ ถนอม ไชยวงษ์แก้ว

ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
"นางแบบภาพประกอบ สุธาทิพย์ โมราลาย คอลัมนิสต์วรรณกรรมกุลสตรี ถ่ายโดยผู้เขียน" สมัยหนึ่ง ขงจื๊อกับศิษยานุศิษย์เดินทางไปรัฐชี้ เส้นทางผ่านป่าใหญ่เชิงภูเขาไท้ซัว ได้ยินเสียงร่ำไห้ของสตรีนางหนึ่งแว่วมาแต่ไกล ขงจื๊อหยุดม้า นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “เสียงร้องไห้ฟังโหยหวนน่าเวทนานัก หญิงผู้นั้นคงได้รับทุกข์แสนสาหัสเป็นแน่” จื๊อกุงศิษย์ผู้ใกล้ชิดรับอาสาไปถามเหตุ หญิงนั้นกล่าวแก่จื๊อกุงว่า “น้าชายของฉันถูกเสือขบตายไม่นานมานี้ ต่อมาสามีของฉันก็ถูกเสือกินอีก บัดนี้เจ้าวายร้ายก็คาบเอาลูกชายตัวเล็กๆของฉันไปอีก” จื๊อกุงถามว่า “ทำไมท่านไม่ย้ายไปอยู่เสียที่อื่นเล่า” เธอตอบสะอื้น “ฉันย้ายไม่ได้ดอก” “…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งนี้มาแบบวันต่อวัน ตั้งแต่นปช.คนเสื้อแดงเคลื่อนขบวนเข้ากรุงเทพมาเผชิญหน้ากับรัฐบาลเมื่อกลางเดือนมีนา และเป็นเสียงเล็กๆเสียงหนึ่งในหน้าบล็อกกาซีนของเว็บประชาไท ที่คอยประสานเสียงกับผู้คนอีกมากมายหลายฝ่ายในสังคม ที่พยายามตะโกนบอกทั้งฝ่ายคนเสื้อแดงและรัฐบาลให้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้คนล้มลงตายและบาดเจ็บ เพราะเชื่อกันว่า ยังมีทางเลือกที่สามารถตกลงกันได้ โดยไม่ทำให้ผู้คนต้องเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหน... จนกระทั่งเว็บถูกฝ่ายควบคุมสื่อมวลชนของรัฐเข้ามาบล็อกเว็บ…
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
หลังจากการเจรจากัน เรื่องการยุบสภาระหว่างรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ กลุ่ม นปช. - คนเสื้อแดง ที่ขัดแย้งกันเพราะตกลงกันไม่ได้ในเรื่องเงื่อนไขของเวลา ที่ฝ่ายคนเสื้อแดงยืนยันว่าจะต้องยุบสภาภายในเวลา 15 วัน และฝ่ายรัฐบาลบอกว่ายุบสภาก็ได้แต่ต้องรออีก 9 เดือน ผ่านไปสองครั้ง และยังไม่สามารถตกลงกันได้
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมเกาะติดสถานการณ์ การชุมนุมเรียกร้องของมวลชนคนเสื้อแดง ที่พยายามกดดันเรียกร้องให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภา ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 53 เรื่อยมาจนถึงวันนี้ (24 มีนา 53) ซึ่งทีแรก หลังจากที่รัฐบาลถูกราดเลือดตอบโต้คำปฏิเสธแล้ว ต่างฝ่ายต่างมีทีท่าว่า จะหันหน้ามาเจรจาตกลงกันด้วยสันติ แต่พอเอาเข้าจริงๆก็ล้มเหลว เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่สามารถจะยอมรับกันได้ ด้วยเหตุผลที่เป็นหลักใหญ่ที่ขัดแย้งอย่างสุดๆ  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ใช่หรือมิใช่ นอกจากอำนาจนิติรัฐ และอำนาจจากกองทัพทหารตำรวจ ที่คอยแวดล้อมปกป้องครองรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอำนาจที่น่ากลัวอีกอำนาจหนึ่ง ที่สามารถกำหนดชัยชนะและความพ่ายแพ้ของมวลชนคนเสื้อแดง นั่นคือ อำนาจ ของสื่อมวลชนกระแสหลัก ที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคม  
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
เราไม่รู้ว่า รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คิดผิดหรือคิดถูก ที่ใช้อำนาจนิติรัฐสั่งยึดทรัพย์ ทักษิณ ชินวัตร แล้วยังหมายมาดจะใช้อำนาจนี้ ขย้ำขยี้ด้วยคดีอาญาอีกมายหลายคดี เพื่อทำลาย ทักษิณ ชินวัตร และครอบครัวแบบไม่ให้ได้ผุดได้เกิด ราวกับว่ารัฐบาลนี้จะยึดกุมอำนาจการบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะต้อง ไปจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  อ่าน ดู และฟัง เรื่องราว ของ ทักษิณ ชินวัตร จากมุมมอง คนรัก ทักษิณ ชินวัตร สื่อสาร อ่าน ดู และฟังแล้ว ก็น่าเชื่อถือว่าเป็นความจริง ตามที่เขาว่า ทักษิณ ชินวัตร มิได้เป็นคนโกง แต่ถูกเขากลั่นแกล้งทำลาย
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  26 ก.พ. 53 พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ พรุ่งนี้ ของ ทักษิณ ชินวัตร คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ชะตากรรม ของ ทักษิณ ชินวัตร ภายใต้อำนาจศาลสถิตยุติธรรมของสังคมไทย ว่าเขาจะถูกศาลพิพากษาตัดสินอย่างไร ถูกยึดเอาทรัพย์ทั้งหมด ถูกยึดเอามากเหลือไว้แต่น้อย ถูกยึดเอาไปเพียงบางส่วน หรือไม่ถูกยึดเลยแม้แต่สลึงเดียว... คน คน คน คน คนทั้งประเทศต่างเฝ้ารอดู
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  “ความเจ็บปวดเป็นเรื่องเฉพาะตัว” ใครคนหนึ่งนิยามในเชิงสรุปเรื่องนี้ขึ้นมาลอยๆ หลังจากนั่งพูดคุยกันมามากมายหลายเรื่อง แล้วมาลงเอยที่เรื่องราวความเจ็บปวดในชีวิต ที่เราซึ่งต่างโตเป็นผู้ใหญ่ ต่างก็ได้ประสบกันมาคนละมิใช่น้อย จากประสบการณ์ต่างๆที่ผ่านมาในชีวิต เช่น ความรัก ความหวัง ความฝัน ความทะเยอทะยาน หน้าที่การงาน อุบัติเหตุ การถูกทำร้าย ความเจ็บไข้ได้ป่วย หนี้สิน หรือแม้กระทั่งเรื่องราวบางเรื่อง ที่ทำให้เราขัดแย้งกับตัวเอง ฯลฯ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมจำได้ว่า ผมเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับการ “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” ซึ่งเป็นเรื่อง “กฎแห่งกรรม” ตามหลักของพุทธศาสนาในระดับศีลธรรม ด้วยความเชื่อว่ามันเป็นสัจธรรมของชีวิต แล้วมีผู้แย้งมาในทำนองที่ว่า ไม่อยากจะเชื่อว่ามันเป็นกฎอันเฉียบขาดของโลกและชีวิตมนุษย์ เพราะบ่อยครั้งที่เขาทำดี...แล้วไม่เห็นได้ดี จนเขานึกท้อที่จะทำความดี
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
  คุณค่าผลงานวรรณกรรม 'รงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นนักเขียนที่มีผลงานหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ข้อเขียนบรรยายภาพ คอลัมน์ในนิตยสาร เรื่องสั้น นวนิยาย และงานเขียนปกิณกะอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีงานร้อยแก้วที่มีลักษณะลีลาของร้อยกรองปลอดฉันทลักษณ์ หรือร้อยกรองรูปแบบอิสระปรากฏอยู่ เป็นช่วงสั้นๆในนวนิยายบางเรื่องด้วย ผลงานหลากประเภทดังกล่าวมีจำนวนมากมาย เฉพาะงานเขียนที่รวมเล่มแล้วมีจำนวนประมาณ 100 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้น บทความ และข้อเขียนจากคอลัมน์ต่างๆ
ถนอม ไชยวงษ์แก้ว
ผมนึกแปลกใจ ที่งานเขียนนวนิยายหลายเล่มของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ ไม่ว่าจะเป็นนักอ่าน นักเขียน นักวิเคราะห์วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ที่ประกาศยกย่องเชิดชูให้เขาเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณกรรม ปี 2538 ต่างมีความเห็นตรงกันว่า นวนิยายที่เป็นงานโดดเด่น หรือที่ภาษาทางศิลปะเรียกกันว่าเป็นงานมาสเตอร์พีซของ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ คือ นวนิยายเรื่องสนิมสร้อย ใต้ถุนป่าคอนกรีท เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ ฯลฯ โดยเฉพาะสนิมสร้อยนั้น ดูเหมือนจะถูกยกย่องไว้สูง จนไม่มีเรื่องใดมาเทียบได้ และหลงลืมหรืออาจจะจงใจหลงลืม นวนิยายเรื่องหนึ่งของเขาที่ชื่อว่า “คืนรัก”