Skip to main content

จำได้ว่า

วันแรกที่ผมเดินทางมาถึงห้องทำงานที่ว่าการอำเภอเวียงแหง เป็นเดือนพฤศจิกายน2528 หัวหน้าหน่วยงานแนะนำให้รู้จักเจ้าหน้าที่งานต่างๆ ดูหน้าตาใครอาวุโสกว่าผม ผมยกมือไหว้ก่อนแล้วทักทาย


ใครหนุ่มกว่าก็ทักทายเพียงวาจา ทุกคนอัธยาศัยดี เป็นกันเอง เด็กหนุ่มผิวเข้มคนหนึ่งทราบภายหลังว่าเป็นชาวกรุงเทพฯ ชื่อ ธาตรี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ ยกมือไหว้ผม และกล่าวคำว่า “สวัสดีครับ” ผมรับไหว้กล่าวคำสวัสดีเช่นกัน


เด็กหนุ่มคนนี้พบกันครั้งแรกก็ถูกชะตา แกคงรู้สึกเช่นเดียวกัน คงเป็นจริงดังคำเขาว่า การพบกันครั้งแรกสำคัญ จะคบกันยืดไม่ยืดกัน ประทับใจกันหรือไม่ก็ตรงนี้
เวลาต่อมา ธาตรีคนนี้กลายเป็นน้องที่ชอบพอสนิทสนมกันกับผมตลอดเวลาที่ผมใช้ชีวิตอยู่เวียงแหง...


ในปี พ..2528

เวียงแหงยังเป็นกิ่งอำเภอเวียงแหง ตำแหน่งนายอำเภอยังไม่มี มีแต่ปลัดอาวุโสปฏิบัติหน้าที่ประจำกิ่งอำเภอ

แต่ข้าราชการในที่ว่าการกิ่งอำเภอ ประชาชนทั่วไปยังคงเรียกว่า “ท่านนายอำเภอครับ” ท่านไม่ได้ปฏิเสธหรือตอบรับ แต่สีหน้าดูสดชื่น ส่วนในหน่วยงานของผม ไม่มีตำแหน่งหัวหน้าการ แต่มีผู้ช่วยหัวหน้าการจากอำเภออื่นมาทำหน้าที่หัวหน้าการ เจ้าหน้าที่ตำแหน่งอื่นนั้นต้องคัดครูที่เก่งในโรงเรียนมาทำหน้าที่แทนผู้ดำรงตำแหน่งจริงไปพลางก่อน เช่น หัวหน้าการเงิน เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป นักวิชาการ ฯลฯ ตำแหน่งนักวิชาการนี้เป็นตำแหน่งจริงของผม


สองสามคืนแรก

ผมพักที่บ้านพักหัวหน้าการธาตรีได้พักที่นี่ก่อนแล้ว กิ่งอำเภอเวียงแหงขณะนั้นไม่มีร้านอาหาร หัวหน้านำทีมนำอาหารเย็นที่เหลือจากมื้อเช้ามาอุ่นกินกันสามคน มื้อกลางวันกินก๋วยเตี๋ยวที่ร้านสองสามีภรรยา เจ๊อี๊ดกับอาโก ซึ่งเป็นร้านเดียวในอำเภอ ในวันแรกเมื่อกินข้าวเย็นเสร็จ ผมยืนหน้าบ้านมองดูของสวยๆ งามๆ


ธาตรีเดินมาข้างหลังกอดเอวผมยกขึ้น ผมดิ้นกระแด่วๆ พร้อมกับหัวเราะ

ปล่อยพี่เถอะ พี่แก่แล้ว กระดูกกระเดี้ยวมันกรอบ เดี๋ยวหักหมด”

ธาตรีหัวเราะยิงฟันขาว ตัดกับหน้าดำเปรอะเม็ดสิว ไม่ถึงวันกระแสความเป็นมิตรกระชับเกลียวยิ่งขึ้น


วันที่สี่

ของการทำงานที่กิ่งอำเภอเวียงแหง ตอนเช้าตื่นขึ้น ผมได้ยินเสียงคล้ายเป่าเขาปู้น ๆ ๆ จับทิศทางไม่ได้

นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง “ไวกิ้ง” นำแสดงโดย โทนี่ เคอร์ติส, เคิร์ก ดักลาส เห็นภาพชายชาวไวกิ้งยืนเป่าเขาบนหน้าผาสูงต้อนรับเรือไวกิ้ง ที่กำลังแล่นตามร่องน้ำเข้ามาช้าๆ ระหว่างหน้าผาเข้าสู่หมู่บ้านของตน กล่าวกันว่าไวกิ้งเป็นบรรพบุรุษของชาวสแกนดิเนเวีย ผมพรวดลุกขึ้นเรียกหาธาตรี ธาตรีหัวเราะ

เดี๋ยวผมจะพาพี่ไปดู ขอผมล้างหน้าก่อน...”


ธาตรีพามาหน้าร้านเจ๊อี๊ด เห็นแกกำลังชำแหละเนื้อหมูบนตั่ง เนื้อหมูสดๆ ที่ชำแหละแล้ววางกระจายเต็มตั่ง อาโก สามีสวมหมวกสักหลาดสีน้ำตาลแก่ยืนข้างๆ ผมยืนมองยังมีอาการงงงัน

สักครู่ อาโกหยิบเขาควายขึ้น ยกส่วนปลายที่เล็กเป็นรูจ่อปากปลายเขาส่วนใหญ่โค้งชี้ขึ้น แกเป่าลมลงไป เสียงปู้นๆ ก็ดังขึ้น

ปู้นๆๆๆ....” เสียงเป่าเขาควายดังกระจายรอบหมู่บ้าน


อาโกนั่นเองเป็นผู้เป่าไวกิ้งแห่งเวียงแหง ครู่เดียวผู้คนต่างพากันทยอยมาซื้อเนื้อหมู
ผมนึกว่าง่าย ขออนุญาตอาโกเป่าบ้าง อาโกยิ้มยื่นให้ผมเป่าลมลงไป ไม่มีเสียงปู้นได้ยินแต่เสียงลมฟู่ๆ แม้จะใช้แรงเป่ามากแค่ไหนก็ไม่ดัง ธาตรีลองเป่าไม่ได้ผลเช่นกัน

มันคงเหมือนคนเป่าแตรหากเป่าไม่เป็นมันจะไม่ดัง...ไม่เชื่อลองดูซิครับ.


บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …