Skip to main content

นึกถึงอำเภอ

ที่เคยทำงาน มีเหตุใดให้ระทึก น่าจดจำ มองไปที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ก่อนแห่งอื่น ดินแดนแห่งสวนส้มสายน้ำผึ้ง ที่ลือชื่อระดับประเทศ เข้าตัวอำเภอมองไปทางทิศตะวันตก จะเห็นสวนส้มปลูกเป็นแถวเขียวไปทั้งดอย สวนส้มที่มีมากบอกถึงปริมาณยาที่ต้องใช้ฉีด พื้นที่อยู่ใกล้เคียงสวนส้ม เช่น โรงเรียน บ้านที่อยู่อาศัย คงต้องระมัดระวัง อำเภอฝางมีร้านอาหาร สถานบันเทิงมากมาย พื้นที่กว้างขวาง ประชากรมาก แต่ยังคงเป็นอำเภอ ไม่ได้เป็นจังหวัดจนบัดนี้ มีแม่น้ำฝางไหลขึ้นทิศเหนือ ผิดแผกแม่น้ำทั่วไปที่ไหลล่องใต้ แม่น้ำฝางไหลไปพบกับแม่น้ำกก


อำเภอเชียงดาว

ผมย้ายมาทำงานในปี พ.. 2533 จนถึง พ.. 2546 รวมมาทำงานในอำเภอนี้ถึง 13 ปี เช้าวันหนึ่ง ผมขับรถยนต์ไปทำงานที่อำเภอเชียงดาว รถวิ่งผ่านหน่วยอุทยานแห่งชาติศรีลานนา หรืออุทยานห้วยกุ่ม กิโลเมตรที่ 65 ด้านฝั่งตะวันออกถนนเชียงใหม่-ฝาง มีรถยนต์กระบะจอด 2-3 คัน ผู้โดยสารยืนมองไปที่ริมตลิ่งฝั่งแม่น้ำปิงด้านตะวันออก ผมขับรถผ่านไป ตอนเย็นขับรถกลับ ก็เห็นคนจอดรถดูอีก คนมากกว่าตอนเช้า จุดนี้จะห่างจากสะพานแขวนข้ามแม่น้ำปิง ไปอีกฝั่งของอุทยานฯ ราว 10 เมตรเท่านั้น


วันที่สองที่สามขับรถผ่าน มีรถจอดดูเพิ่มขึ้น รถตู้นักทัศนาจร รถโดยสารสีส้มฝาง-ท่าตอน รถกระบะจอดแถวยาวขึ้น ผู้คนยืนดูเป็นแถวยาวเช่นกัน นักทัศนาจรถ่ายรูป ผมอยากรู้อยากดูขึ้นมาทันที น่าเสียดายผมตัดสินใจช้า รถวิ่งผ่านไปแล้ว จะกลับรถก็กลับยากด้วยทางแคบและเป็นทางโค้ง เช้ารุ่งขึ้นอีกวันต้องแวะมาดูใหม่ ถามบุคคลในที่ทำงาน เขาบอกว่า ผู้คนพูดกันว่างูกัดกัน และผู้เล่ายังบรรยายถึงเรื่องราว ที่ชวนติดตาม ค้นหา เป็นการจุดเชื้อความกระหายอยากรู้ของผมมากขึ้น


เช้ารุ่งขึ้น

ผมเหยียบรถออกบ้านพุ่งเร็วกว่าทุกวัน ถึงที่หมายต้องจอดรถ ห่างจากจุดเกิดเหตุราว 20 เมตรที่เดียว ข้ามถนนแล้วเดินชิดรั้วที่โค้งไปตามถนน เกรงรถสวนไปมาจะเบียด ถนนแคบมากกว่าเดิมเพราะมีรถมาจอดสองข้างทาง เห็นแล้วตรงตลิ่ง มีงูกองกอดก่ายไปมา งูเหลือมตัวใหญ่นอนโค้งตัว หางหัวมองไม่เห็น งูเล็กๆ จับคู่งับปากกัน บางตัวเลื้อยเข้าไปใต้ต้นไม้ริมฝั่ง ตัวที่ตายเริ่มส่งกลิ่น มีร่องรอยกิ่งไม้ราบล้ม ผู้คนส่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันขรม


ไม่เคยพบเคยเห็น เกิดจากท้องป้อท้องแม่มา งูขบกั๋น” หญิงชราพูดขึ้น

ทำไมมันกัดกัน หรือมันหิว?” ผู้โดยสารจากรถทัศนาจรออกความเห็น

ตุ๊เจ้าวัดป่า ใกล้ตี้หนี้ เปิ้นว่า บ้านเมืองจะฮ้อนจะฮ้าย” ผู้ชายกลางคนบ้านใกล้อุทยานห้วยกุ่ม พูดหน้าตาขึงขัง


ผมมองดู

งูมันกัดกันจริง เสียงวิจารณ์ไม่ได้ตอบข้อสงสัยของผมได้หมด สักครู่ผมก็ขับรถไปทำงานอย่างครุ่นคิด กระแสข่าวงูกัดกันขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ทางอำเภอต้องรายงานเรื่องต่อจังหวัดโดยด่วน หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นลงข่าวนี้อย่างต่อเนื่อง ข่าวล่าสุดที่ลงหน้าหนึ่ง


“ ...
ฟาร์มงูแห่งหนึ่งในอำเภอ...ได้รับผลกระทบจากรายได้การแสดง ผู้ชมลดลง ทำให้รายได้ไม่พอรายจ่าย จึงได้นำงูส่วนหนึ่งมาปล่อยที่ริมแม่น้ำปิง ณ อุทยานห้วยกุ่ม ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสัตว์ป่ากล่าวว่า ที่งูกัดกันนั้น เป็นเพราะหิวอดอยากอาหารมานาน อีกประการหนึ่ง เป็นการกัดกันระหว่างงูในท้องถิ่น ที่ต่อสู้กับงูที่นำมาปล่อย เพราะไม่ต้องการให้งูต่างถิ่น เข้ามาแย่งอาหารในถิ่นที่อยู่ของตน...”

 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …