Skip to main content

 

หากใคร
ได้ไปเที่ยวเชียงใหม่ ได้มีโอกาสไปสักการะอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านตะวันออก ของหอศิลปวัฒนธรรมเชียงใหม่ เมื่อกราบเสร็จยืนขึ้น มองเฉียงไปทางซ้ายมือผ่านถนนไป จะเห็นวัดร้าง ที่เหลือให้เห็นเพียงเจดีย์และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ วัดร้างนี้เดิมชื่อ “วัดสะดือเมือง” หรือ “วัดอินทขีล” สถานที่นี้ในปัจจุบันคือ หอประชุมติโลกราช ติดๆกันจะเป็นร้านข้าวมันไก่ลือชื่อของเชียงใหม่ วัดร้างนี้เดิมเป็นที่ตั้งของ “เสาอินทขีล” หรือ “สะดือเมือง”

 

สะดือเมือง
หมายถึงอะไร ผมถามตนเอง เหมือนสะดือทะเลไหมหนอ เป็นเรื่องน่าค้นหาคำตอบยิ่งนัก ก่อนนี้ผมไม่เคยสนใจสิ่งใกล้ตัว ไม่สนใจรากเหง้า ไม่มองดูบ้านเกิดของตน บรรพบุรุษของเราเป็นชนชาติใด ใครเป็นผู้สร้างบ้านแปงเมือง บ้านเมืองเรามีอะไรน่าภูมิใจน่ารักษา พม่าปกครองเมืองเชียงใหม่นานถึง 216 ปี นานถึงสามชั่วอายุคนทีเดียว ผมก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไรมากมาย ระยะนี้ขลุกแต่เรื่องทางเหนือ ไปค้นที่หอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องค้นหนังสือโดยคอมฯ ก็ไม่คล่อง กุกๆกักๆ ต้องถามบรรณารักษ์ ค้นอินเตอร์เน็ต หาหนังสืออ่าน ซื้อมาอ่านก็หลายเล่ม ยังไม่ได้อะไรมากจนพอใจ แต่ก็พอทราบพอสมควรว่า กำแพงเมืองเชียงใหม่กว้าง 800 วา ยาว 1000 วา เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หากลากเส้นจากทิศเหนือของกึ่งกำแพง ไปทิศใต้ตรงกึ่งกลางกำแพง แล้วลากเส้นจากกึ่งกลางกำแพงตะวันออกไปตะวันตก จะเกิดจุดตัดของสองเส้นนี้ ตรงจุดตัดคือกลางเมืองเชียงใหม่เรียกว่า “สะดือเมือง” เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมือง ซึ่งชาวเชียงใหม่เรียกเสานี้ว่า “เสาอินทขีล” บริเวณที่เสานี้ตั้งอยู่ ถือว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์

 

พระยาเม็งรายมหาราช ทรงสร้างเสาอินทขีล เมื่อครั้งสถาปนา “นพบุรีศรีนครเชียงใหม่” ขึ้นเมื่อปี พ .. 1839 เดิมเสานี้อยู่ที่วัด “สะดือเมือง” หรือ “วัดอินทขีล” ครั้นพระเจ้ากาวิละครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวง โดยสร้างขึ้นใหม่เป็นเสาปูน และมีพิธีบวงสรวงสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้ เสาหลักเมืองหรือที่ชาวเชียงใหม่เรียกว่าเสาอินทขีลนั้น จะมีการบูชาที่เรียกว่า “การขึ้นขันดอกอินทขีล” หรือ “การใส่ขันดอกอินทขีล” ราวเดือนพฤษภาคมต่อมิถุนายน ถือเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เชื่อกันว่า หากใครมาบูชา ถ้าอธิษฐานจิตด้วยใจแน่วแน่ศรัทธา ก็จะได้ตามอธิษฐาน “การใส่ขันดอกอินทขีล หมายถึงการใส่บาตรด้วยดอกไม้ แทนที่จะใส่บาตรด้วยอาหาร ที่เขาทำเช่นนี้ก็เพราะเชื่อว่า ดอกไม้เป็นของที่ควรแก่การนำสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เช่น เสาอินทขีลเป็นอย่างยิ่ง” (จาก เล่าเรื่องเมืองเหนือ โดย อสิธารา)


สมัยก่อน
ผู้มาใส่ขันดอก จะเก็บดอกไม้ที่เป็นมงคล เช่น ดอกเก็ดถะวา(ดอกพุดซ้อน) ดอกสบันงา ดอกมะลิ ดอกตะล้อม(ดอกบานไม่รู้โรย) ดอกแก้ว แต่ปัจจุบันตามแต่จะหาได้ คงเพื่อความสะดวก


ขอเพียงมีใจที่สะอาดและศรัทธา และตรงหน้าวิหารวัดเจดีย์หลวงนั้น เสาอินทขีลหรือเสาหลักเมือง ตั้งอยู่กึ่งกลางวิหารจัตุรมุขซึ่งเป็นหลังเล็ก ศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ เป็นเสาอิฐก่อปูนติดกระจก รอบเสาโต
5.67 เมตร สูง 1.30 เมตร แท่นพระบนเสาอินทขีลสูง 97 เซนติเมตร บนเสามีพระพุทธรูปทองสำริด ปางรำพึง และยังมีการอัญเชิญ “พระเจ้าฝนแสนห่า” มาประดิษฐานไว้ตรงวงเวียนหน้าวิหารวัดเจดีย์หลวงหลังใหญ่ เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ ชาวเชียงใหม่เชื่อกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้มีพุทธานุภาพ บันดาลให้ฝนตกตามฤดูกาล ผู้ศรัทธาแก่กล้า ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล ย่อมหาโอกาสไปร่วมงาน ที่มีเพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ผมได้ไปร่วมงานและถ่ายรูปมาฝากด้วยครับ.

 

 

 

 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงร้องเพลงดังขึ้นพร้อมกับอิเล็กโทน แต่ยังไม่ปรากฏตัวผู้ร้อง เร้าใจผู้ชมให้อยากเห็นหน้ายิ่งนัก ครู่เดียว   บนเวทีปรากฏร่างผู้ชาย 2 คน หญิง 2 คน เดินออกมาจากหลังเวที คนแรกเดินถือไมค์ร้องนำออกมา แนวเพลง “พรศักดิ์ ส่องแสง” กล่อมผู้ชมด้วยเพลงยอดฮิตในอดีต “เมียเด็ก” เสียงดีพอใช้ได้ทีเดียว เพ่งดูชัดๆเป็นหัวหน้าคณะช่างซอ สิงห์คำนั่นเอง ยังคงสวมชุดเดิม ช่างซออีก 3 คนเต้นเป็นหางเครื่อง สะบัดแข้งขาหมุนตัวพอใช้ได้ ช่างซอหญิงทั้ง 2 คน เปลี่ยนนุ่งกางเกงขาสั้นสีขาว เสื้อแขนกุดสีสดใส …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านเดินมาหน้าเวที   ยื่นใบแดงให้ฝ่ายชาย 1 ใบ   ฝ่ายหญิงอีก 1 ใบ   ผู้รับก้มไหว้ในท่าที่คิดว่าสวยที่สุด   ยังไม่พอ   ผู้ขับซอทั้ง 4 คน ประกอบด้วย   สิงห์คำ   แจ่มจันทร์   ก้าน   ผ่องพรรณ   คนหลังนี่เนาวรัตน์จ้องดูเธอมากกว่าใคร   เธอสวยทันสมัยถูกใจมาก   ทุกคนช่วยกันขับซออ้อนรายต่อไป   มีรายชื่อในสมองมากมาย   รวมทั้งในกระดาษและที่มีคนกระซิบบอกอีกหลายชื่อ   เป็นช่วงเวลาเป็นเงินเป็นทองของพวกเขา  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ใครบ้างไม่ชอบ ความสวยงาม คนสวยคนหล่อ ดวงอาทิตย์ขึ้น ทะเลหมอกยอดดอย อาหารอร่อย กาแฟรสเข้ม ทะเลกับหาดทราย สวนดอกไม้นานาพันธุ์   เสียงนกร้อง น้ำตกสาดซัดหินผา    สายลมต้องใบไม้ผะแผ่ว ระฆังชายคาโบสถ์วะแว่ว และเสียงมนุษย์ที่ขับขานเป็นท่วงทำนองเสียงเพลง ผมชอบฟังเพลงตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงเมื่อเรียนชั้นประถมศึกษา พอโตก็ร้อง เคยร้องกับวงดนตรีครูดอย ชื่อวง “สนเกี๊ยะ” คนร้องกับดนตรีไปคนละทาง เรียกว่าร้องไม่เป็นสรรพรส ทำให้นักดนตรีวุ่นวายทั้งวง เขาคงกลัวจะเสียชื่อ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ความหนาวเย็นแห่งฤดูหนาว จากไปโดยไม่ล่ำลา ลมร้อนพัดเข้ามาแทน แม้ไม่เชื้อเชิญ ระหว่างรอยต่อปลายกุมภาพันธ์ ได้ยินเสียงนก “ปิ้ดจะลิว”(นกกรงหัวจุก) ส่งเสียง “ปิ้ดจะลิวๆ” ตอนเช้าตรู่ ยังไม่เห็นตัวเสียงมาก่อน นกจี๋เจี๊ยบ(นกกางเขน)ส่งเสียงแหลมสูงเจื้อยแจ้วประชัน จักจั่นเป็นฝูงส่งเสียงแซ่สนั่นที่ต้นสักข้างบ้าน ไม่เห็นตัวอีกเช่นกัน เหมือนนักร้องลูกทุ่งดัง ระดับหัวหน้าวง ต้องร้องอยู่หลังม่านเวทีสักท่อนหนึ่งก่อน แล้วจึงค่อยเดินตัวตรงมาดเท่ในชุดสากล ปรากฏตัวต่อมิตรรักแฟนเพลง น้ำแม่ขานที่คั่นระหว่างบ้านทุ่งแป้ง(อำเภอสันป่าตอง) …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พอทราบข่าว ผลการประกวดภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2553 ณ ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเฟสติวัล พัทยา บิช เมื่อค่ำวันที่ 6 มีนาคม 2554 ว่า ผู้ได้รับรางวัล ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เป็นสาวน้อยวัย 18 ปี หน้าตาใสๆ น่ารัก ชื่อ “หนูนา” หนึ่งธิดา โสภณ(160 ซ.ม./44 กก.) จากหนังเรื่อง “กวน มึน โฮ” เธอสามารถทำคะแนนนำสาวพลอย เฌอมาลย์ สาวสวยเข้มฝีมือจัดจ้าน ที่แสดงเรื่อง “ ชั่วฟ้าดินสลาย” จากบทประพันธ์ของ “เรียมเอง” หรือ มาลัย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมสูดปากเบาๆ มันแสบตาแทบลืมไม่ขึ้น น้ำตาเริ่มไหล “ลุงขยับหน้าเข้ามาใกล้อีกนิด ให้คางวางบนแผ่นพลาสติก หน้าผากชิด นั่งนิ่งๆนะครับ.” หมอหนุ่มเริ่มหมุนกล้องที่ติดกับส่วนที่ผมวางคาง ปรับกล้องจนผมรู้สึกว่าผิวเลนซ์กล้องมันแทบติดดวงตา แสงไฟสว่างจ้าเข้มลำเล็กพุ่งเข้าดวงตา หมอตรวจทั้งสองข้าง ปากก็พูดพึมพำ “ความดันตาปรกติ” หมอปรับระยะกล้องตรวจใหม่ บอกผมให้วางคางบนแผ่นพลาสติก ส่วนหน้าผากชิดติดกับแผ่นเหล็กข้างหน้า ฝ่ามือผมทั้งคู่วางบนโต๊ะเพื่อทรงตัว หมอส่องกล้องตรวจตาทีละข้างอีกรอบ ให้ผมกลอกตามองข้างบน แล้วมองล่าง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล   รอหมอนานๆน่าเบื่อ ส่วนใหญ่นั่งเงียบที่แถวเก้าอี้ หูคอยฟังนางพยาบาลเรียกพบหมอ ส่วนตานั้นจับจ้องดูความเคลื่อนไหวของนางพยาบาล บางคนฆ่าเวลาด้วยการพูดคุยกับคนข้างเคียง ได้ยินนางพยาบาลที่ประจำห้องตรวจรียกชื่อคนไข้เป็นระยะๆ แล้วผายมือให้นั่งรอคิวที่เก้าอี้ข้างประตูห้องตรวจ นั่งรอหมอนานๆไม่รู้ทำอะไร ผมฆ่าเวลาโดยมองดูสิ่งรอบๆตัวให้สบายตา ดูพยาบาลชุดขาวสะอาด ผิวขาวสะอาดสะอ้าน คนนี้หน้าสวย คนนั้นตาสวย คนนี้พูดเพราะ ทุกคนเคลื่อนไหวตลอด บ้างก้มหน้าพิมพ์ข้อมูลที่โต๊ะคอมพิวเตอร์ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถยนต์ จากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตอง เวลา 7.32 น หมอนัดตรวจตา ที่โรงพยาบาลสวนดอก(มหาราช) เชียงใหม่ เป็นช่วงเวลาเร่งรีบของทุกคน บ้างรีบไปทำงาน บ้างรีบไปเรียนหนังสือ ถนนจึงมากมายด้วยรถรา พอวิ่งเข้าเขตตัวอำเภอสันป่าตอง รถเริ่มติด และติดหนาแน่นขึ้นเมื่อวิ่งเข้าเขตอำเภอหางดง เริ่มเข้าสู่ตัวเมืองเชียงใหม่ รถจักรยานยนต์วิ่งกันหวาดเสียว วิ่งเร็ว แซงซิกแซกซ้ายขวา รถวิ่งเลียบตามคูเมืองด้านนอก ไปช้าๆ ผ่านหน้าโรงพยาบาลสวนดอกแล้ว เคลื่อนตัวช้ามาก ถนนมีเท่าเดิม รถมากขึ้นทุกๆวัน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมขับรถออกจากบ้าน คุณแม่จันทร์สม สายธารา เลี้ยวซ้ายปากซอย มุ่งตรงกลับบ้าน อดนึกถึงคำพูดของ พ่อครูคำผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ ประเภทเพลงพื้นบ้าน-ขับซอ ปี พ.ศ. 2538 ที่ปรากฏในอินเตอร์เน็ต หัวข้อ “ ซอพื้นบ้านล้านนา คุณค่าแห่งดนตรีที่ถูกเมิน” “ ยุคนี้ไม่ใช่ยุคของซออีกต่อไป ในอดีตซอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในหมู่บ้านล้านนาไปที่ไหนๆก็มีซอ ซอสมัยก่อนได้เงินหลักร้อย ซึ่งถือว่าสูงมากในเวลานั้น แตกต่างจากตอนนี้ที่มีเด็กรุ่นใหม่เพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่สนใจจะเรียนซอกันอย่างจริงจัง กลุ่มคนฟังในปัจจุบัน …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ลองอ่านความหมาย คำว่า “รัก” ของนักเขียนเอเชียชาวญี่ปุ่น เจ้าของรางวัลโนเบลปี ค.ศ.1968 เขาคือ ยาสึนาริ คาวาบาตะ กล่าวในงานเขียนของเขาชื่อ “เสียงแห่งขุนเขา”