Skip to main content

 


 

ผมย้อนกลับมาดูน้ำท่วม
ที่บ้านเกิดจังหวัดเชียงใหม่ ผมมีเวลามากพอเนื่องจากเกษียณอายุราชการ อ่านหนังสือบ้าง เขียนบ้าง ลองค้นหาข้อมูลน้ำท่วมจังหวัดเชียงใหม่ โดยค้นจากอินเทอร์เน็ต หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้พบข้อมูลน่าสนใจ ปีนี้ (29 กันยายน พ.ศ.2554) ระดับน้ำที่ P 1  ณ สะพานนวรัฐอยู่ที่ 4.94 เมตร เป็นสถิติสูงสุด สูงกว่าปี พ.ศ. 2548 ที่สูง 4.93 เมตร ในปี 2548 นั้น น้ำท่วมเชียงใหม่ครั้งแรกเมื่อ 13 สิงหาคม 2548 และท่วมอีก 3 ครั้ง ในเดือนกันยายน กลางเดือนกันยายน และต้นตุลาคม มีข้อมูลระบุว่าเป็นอุทกภัยร้ายแรงในรอบ 50 ปีของเมืองเชียงใหม่ 


ในปี 2553 ทางจังหวัดได้ประเมินความเสียหายของบริษัทห้างร้าน โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งความเสียหายของทรัพย์สินประชาชนและทรัพย์สินสาธารณะมากกว่า 1,000 ล้านบาท สถิตินี้ถูกทำลายลงในปี 2554 ที่มีความเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท ไม่ทราบว่าข้อมูลที่ถูกทำลายลง เราควรจะดีใจหรือเสียใจ น้ำท่วมเชียงใหม่ในบริเวณ ไนท์บาซาร์ ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ถนนช้างคลาน สะพานตำรวจภูธรภาค 5 ถนนเจริญ-ประเทศ โรงเรียนพระหฤทัย หมู่บ้านเวียงทอง ถนนมหิดล ถนนเจริญเมือง สถานีรถไฟ หมู่บ้านหนองประทีป
 
น้ำท่วมประเทศไทย
ปี พ.ศ.2554 ปริมาณน้ำทั้งสิ้นหรือที่เรียกว่ามวลน้ำมากถึง 1.6 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร มวลน้ำมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหลแรงและมาเร็ว มวลน้ำมากว่าปีที่แล้ว (พ.ศ.2553) ถึง 3 เท่าทีเดียว การสร้างเขื่อนเพื่อกักน้ำและปล่อยน้ำ ให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์นั้น เขื่อนไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ จะแก้ปัญหาได้ถ้ามวลน้ำมีขนาดปานกลางหรือน้อย ถ้ามวลน้ำมากอย่างปีนี้ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้เลย หลายจังหวัดโดนน้ำท่วมหนัก เช่น นครสวรรค์ อยุธยา ลพบุรี ที่ติดกรุงเทพฯได้แก่จังหวัด ปทุมธานี นนทบุรี โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในจังหวัดอยุธยาถูกน้ำท่วมหมด

ผลสำรวจล่าสุดของเอเบคโพลล์รายงานว่า มาตรการแก้ปัญหาน้ำท่วมมีประชาชนรับรู้ 59.8 % ประชาชนรู้สึกว่าความช่วยเหลือพอเพียง 79.3 % ผลโพลล์ยังบอกอีกว่า ประชาชนเห็นใจและพอใจที่นายกรัฐมนตรีทุ่มเทการทำงาน ล่าสุดนายกฯ ประกาศใช้มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2550 เมื่อ 21 ตุลาคม 2554 เวลา 17.00น. เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำท่วมเป็นไปอย่างมีเอกภาพ เป็นระบบ พูดได้ว่ารัฐบาลนี้คิดไวทำไว พยายามแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองทุกนาทีทุกชั่วโมง นายกฯ ลงพื้นที่ตรวจงานด้วยตนเอง วางแผนรองรับทั้งวันนี้ และอนาคตถึงการเยียวยาดูแลผู้ประสบอุทกภัยทั้งประชาชนและคนงาน ทั้งชาวนา 


ทุ่มเทพลังลงไปเถอะท่านนายกฯและคณะรัฐบาล ทำเต็มที่ เต็มศักยภาพ ประชาชนจะเห็นเอง ขอปรบมือเป็นกำลังใจให้ครับ ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ถือเสียว่า เป็นการทดสอบจากพระเจ้า ทดสอบความเข้มแข็ง อดทน ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้นำประเทศและรัฐบาล อีกส่วนหนึ่งยังชื่นชมผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร ที่ทุ่มพลังทั้งมวลพยายามปกป้องน้ำท่วมกรุงเทพฯสุดชีวิต ปรบมือให้ทุกฝ่ายทุกคนที่รวมพลังสู้ภัยน้ำท่วม ความลำบากพิสูจน์คนได้หลายอย่าง ได้พบผู้เสียสละ ผู้เอื้อเฟื้อ มิตรแท้ ความมีสติ ความสุขุมเยือกเย็น ผู้กล้าที่แท้จริง.
 
 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    นอสตราดามุส (ค.ศ. 1502-1566) เป็นชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เรียนจบปริญญาตรีคะแนนดีเยี่ยม จึงโดดเรียนปริญญาเอกจนจบสาขาแพทย์ ได้ทำนายไว้ว่า  “ ...วันเวลาแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของการสิ้นยุคเก่าและการมาถึงของยุคใหม่...กำลังจะเข้ามาปรากฏแก่สังคมโลกมนุษย์อยู่แล้ว ซึ่งคาดตามตรรกะจะเกิดขึ้นในช่วงระหว่าง 23 ปีข้างหน้านี้ คือระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ.2023...” (หนังสือนอสตราดามุส โดย ศ.เจริญ วรรธนะสิน หน้า 363)  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมปลดกระเป๋าหนังสะพายบ่า เปิดกระเป๋าหยิบเอกสารปึกใหญ่ออกมา ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ดูท่านยิ้มเหมือนพึงพอใจ ชี้ไปที่เอกสารฉบับหนึ่งแล้วบอกว่า นั่นเป็นชื่อของท่านที่เขียนเรื่องนั้น ผมหัวเราะแก้เขินที่จุดไต้ตำตอ ถือโอกาสย้ำถาม “ ท่านชื่อคุณอดิศร ฟุ้งขจรหรือครับ ? ขอโทษผมไม่ทราบจริงๆครับ.” เราทั้งคู่หัวเราะและยิ้มให้กัน เราเริ่มคุ้นเคยกันในเวลาอันสั้น คงจะจริงนะ ที่ว่าการพบกันครั้งแรกเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง หากอัธยาศัยต้องกัน หรือที่พูดกันว่า ถูกชะตากัน ยิ่งคุยยิ่งสนุก มิตรภาพงอกงามรวดเร็ว…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  24 พฤษภาคม 2554
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เพลงที่ 11 ลืมไม่ได้เด็ดขาด ชื่อเพลง “ศรัทธา” ขับร้องโดยคุณโป่ง ปฐมพงษ์ สมบัติพิบูลย์ นักร้องนำวง หิน เหล็ก ไฟ ก่อนเปลี่ยนเป็นวง The Son ทราบว่าเพลงของวงนี้ เขาแต่งเนื้อร้องทำนองเองหมด คุณโป่งเป็นนักร้องร็อคระดับต้นแบบ หรือ Idol ของใครอีกมากมายที่เดินตามในถนนสายดนตรี เสียงมีพลัง มีความหนักแน่น เป็นเพลงประเภทให้กำลังใจต่อสู้ ให้มุมมองชีวิต ให้ความคิด เนื้อเพลงบางท่อนกลายเป็นวลีฮิตติดปากไปแล้ว เนื้อเพลงบางตอน              …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      ผมฟังคุณศิริพรกล่าวเนื่องในวันเกิด ของผู้ชราหลายคนในวันนี้ ฟังแล้วจับใจไม่น้อย “ ...ถึงแม้บ้านวัยทองนิเวศน์ จะมีอาหารการกิน มีเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย แต่ที่ขาดเป็นด้านจิตใจ แม้จะไม่สามารถทดแทนครอบครัวเดิมของท่านได้ก็ตาม จะพยายามเติมเต็มส่วนที่ขาด ตามที่สามารถทำได้...” เมื่อพิธีกรงานวันเกิดกล่าวต่อจนจบแล้ว 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ใกล้เที่ยงในโรงอาหารมีคนพลุกพล่าน พินิจดูเป็นเด็กหนุ่มสาว อาจเป็นระดับอาชีวะ หรือมหาวิทยาลัยราวปี 1 , 2 มีโต๊ะยาววางถ้วยจานแก้วน้ำ หน้าโรงอาหาร มีเจ้าหน้าที่บริการ 2 คน ผมเดินไม่รู้ไม่ชี้มองหาเจ้าหน้าที่บ้านวัยทองนิเวศน์
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ผมเดินออกจากสำนักงาน
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมบอกให้ลูกจอดรถ ที่ถนนทอดสู่ตัวอาคารสำนักงาน บอกให้แกพาแม่ไปเยี่ยมยายที่บ้านปง ที่อยู่ห่างจากที่นี่ราว 3 กิโลเมตรเศษ ประมาณ 11 โมงให้กลับมารับพ่อ ผมเดินเข้าไปหาเจ้าหน้าที่ในตัวอาคาร พบเจ้าหน้าที่หญิง เป็นคนที่เคยรู้จักกันมาก่อน เธอยกมือไหว้เมื่อเห็นหน้าผม เธอมีบ้านพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านสันมหาพน หมู่บ้านนี้อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนสันมหาพนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ฟากถนนทิศตะวันตก โรงเรียนนี้อยู่ห่างที่ว่าอำเภอไปทางทิศใต้ไม่ถึง 100 เมตร ผมเคยสอนโรงเรียนนี้นาน 12 ปี ผมบอกเธอว่า …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  วันนี้ขับรถกระบะสีเขียว รุ่น พ.ศ. 2537 ออกจากบ้านทุ่งแป้ง อำเภอสันป่าตองราว 8.00 น.เศษ มีจุดหมายปลายทางที่บ้านวัยทองนิเวศน์ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ คนนั่งซ้ายมือเป็นขาประจำ มีหน้าที่นั่งคุยเป็นเพื่อนไม่ให้คนขับรถง่วง บางเวลาก็นั่งเฝ้ารถกรณีผมเข้าห้องสมุดที่ต่างๆ คอยซื้ออาหารกลางวัน เครื่องดื่มบำรุงคนขับรถ เป็นฝ่ายสวัสดิการ บางทีทำเกินหน้าที่ กลายเป็นฝ่ายก่อความสงบภายในรถ สร้างความเครียดแก่คนขับแทนการผ่อนคลาย สาเหตุจากให้เฝ้ารถนานๆ เมื่อผมกลับจากค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ปีนี้ พ.ศ.2554 จะยังมีกิจกรรมดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่หรือไม่ ? หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น “ไทยนิวส์” ฉบับวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2554 ได้ลงข่าวหน้า 1 ว่า “ จัดดำหัวผู้ว่าฯสานประเพณี เปลี่ยนชื่องานใหม่ สระเกล้าฯป้อเมือง .” โดยมีเนื้อหาข่าวบางตอนดังนี้ครับ “เมื่อ 30 มีนาคม 2554 นายวรการ ยศยิ่ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เผยว่า เพื่อให้การจัดกิจกรรมนี้เป็นการแสดงออกถึงความเป็นวัฒนธรรมประเพณีปีใหม่เมืองล้านนาของจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนชื่อกิจกรรมเป็นงาน สระเกล้าดำหัวป้อเมืองเจียงใหม่ …