Skip to main content

 


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า
ได้ประเมินหรือไม่ว่า ทำไมเราสู้กับน้ำไม่ได้เลย ปัญหาอยู่ตรงจุดไหน นางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประการที่ 1 ปริมาณน้ำมากกว่าทุกปีเป็นประวัติศาสตร์ มากกว่าถึง 3 เท่า ประการที่ 2 ปริมาณน้ำที่เจอนั้น ไม่มีโอกาสได้ระบายเลย ขังมา 2-3 เดือนแล้ว ดังนั้นจะให้แก้ในเดือนที่ 3 นั้นเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งปริมาณน้ำในเขื่อนใช้อย่างเต็มพิกัดหรือเรียกว่าเกินศักยภาพก็ได้ ประการที่ 3 สภาพภูมิประเทศไม่เอื้อต่อการระบายน้ำ วันนี้การสร้างตึก สร้างถนน เป็นสิ่งที่ต้องมาหารือกันในเรื่องการวังผังเมือง ประการที่ 4  ต้องไปหารือกันในระยะยาวในเรื่องการวางแผนการไหลของน้ำให้สัมพันธ์กัน ทั้งกรมชลประทานและการคมนาคม  ซึ่งเป็นจุดที่รัฐบาลจะนำสิ่งต่างๆมาวิเคราะห์และดำเนินการลงทุนแก้ไขปัญหาต่อไป (ไทยรัฐ 20 ตุลาคม 2554)
 
มติชนสุดสัปดาห์
ฉบับประจำวันที่ 14-20 ตุลาคม 2554    คอลัมน์ “วิกฤตน้ำท่วม ฯ”   ได้เขียนว่า รัฐบาลจะต้องรีบวางแผนระยะยาว อาจเป็น 10 ปี สิ่งที่ทำส่วนใหญ่ยังเป็นการแก้ปัญหาขณะน้ำท่วมและบูรณะเยียวยาเมื่อน้ำลดลงแล้ว มีแนวทางการป้องกันน้ำท่วม 3 วิธี 1.การสร้างคันกั้นน้ำบนตลิ่งขนานไปกับลำน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้นำล้นตลิ่งเข้าไปท่วมพื้นที่ด้านใน เช่น ริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2.สร้างเขื่อนเพื่อเก็บกักน้ำไม่ให้ไหลลงสู่พื้นที่ต่ำเร็วเกินไป 3. ก่อสร้างทางผันน้ำเพื่อผันน้ำให้ออกไปโดยเร็ว โดยการขุดคลองสายใหม่เชื่อมต่อกับที่มีน้ำท่วม เพื่อให้ไหลออกไปสู่ทะเล หรือปรับปรุงสภาพลำน้ำเดิม ขุดลอกให้น้ำไหลสะดวก...การดิ้นรนเอาตัวรอดจากน้ำท่วมในบ้านเราใช้วิธีสร้างคันกั้นน้ำ การสร้างเขื่อนหรือฝายกั้นน้ำ การขุดคลองระบายน้ำยังเป็นคลองขนาดเล็กและมีน้อย ภัยน้ำท่วมในปีนี้มีขนาดรุนแรงกว่าในอดีต คันกั้นน้ำ (พนัง) ที่สร้างด้วยดินหรือกระสอบทรายจึงพังลงหลายแห่ง...วันนี้เขื่อนจึงไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้ถ้าพบกับอุทกภัยขนาดใหญ่
 
แต่ละจังหวัดแก้ปัญหาน้ำท่วม
โดยป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเขตจังหวัดของตน ไม่ได้มองปัญหาในภาพรวม ไม่ได้คำนึงว่าแก้ปัญหาจุดนี้ได้จะส่งผลกระทบจุดอื่นอีกที่ไหม วิธีแก้ยังคงใช้พนังกั้นน้ำ ใช้กระสอบทรายมาวางซ้อนๆกัน แถวเดียวต้านไม่ไหวเพิ่มความหนาเข้าไป เป็นทั้งสูงทั้งกว้างหนา น่าเห็นใจเพราะนึกไม่ถึงว่าน้ำมันจะมามากมหาศาล แก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไป ปีหน้าและในอนาคต น้ำคงปริมาณมากขึ้น รุนแรงขึ้น การวางแผนต่อสู้กับน้ำ ต่อสู้ธรรมชาติ มนุษย์จะเอาชนะธรรมชาติได้ไหม ยังน่ากังวล ถ้าอย่างนั้น ถามใจตนเอง ? เราจะสู้หรือเราจะถอย(หนี ย้ายที่อยู่)...ทุกคนต้องตอบและลงมือทำ ไม่มีเวลาอีกต่อไปแล้ว.
 
 

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง