Skip to main content

 


  

ในอดีต
มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย  เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค  ลองไล่ตามลำดับ
เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486  บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก  ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม  คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์  ต่อมาในในสมัยรัฐบาล  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พอมาถึงยุคท่านสมัคร  สุนทรเวช  เจ้าของวลีเด็ดๆ  เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ   อะไรกันนักหนา ฯลฯ”  ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง  รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย  ท่านอยากย้ายเมืองหลวงไปที่จังหวัดนครปฐม  จนมาถึงยุคสมัยท่านนายก “แม้ว”  ท่านทักษิณ  ชินวัตร  มีแนวคิดจะย้ายไปที่จังหวัดนครนายก  ส่วนในยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2554)  ดร.อาจอง  ชุมสาย ณ อยุธยา  ได้กล่าวว่า  เมืองหลวงของไทยน่าจะเป็นโซนอีสานใต้
 
นักวิชาการหลายท่าน
ได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุย้ายเมืองหลวงไทยไปที่ตั้งใหม่ไว้น่าสนใจมากว่า  น้ำจะท่วมกรุงเทพฯทุกปีเพราะเป็นที่ลุ่มต่ำ  หลายแห่งพื้นดินทรุดตัว 2-4 เซนติเมตรต่อปี  เช่น  ย่านดอนเมือง  เชื่อว่าน้ำท่วมกรุงเทพฯจะแก้ยากขึ้นตามลำดับ  เพราะแผ่นดินทรุด  พื้นที่ตั้งยังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล  การระบายน้ำออกจากกรุงเทพฯสู่ทะเลจะยากยิ่งขึ้น  เพราะมีสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล  มีการถมคูคลอง  การแก้ไขน้ำท่วมไม่เป็นระบบ  ไม่เป็นเอกภาพ...ในปีนี้จะเห็นว่า  ฝ่ายดูแลจัดการน้ำ  ดำเนินการแก้ตามปัญหาของน้ำ  เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  ไม่ได้มีแผนเตรียมป้องกันไว้ก่อน   ไม่สามารถบริหารน้ำในภาพรวมได้เต็มที่  มีประเด็นให้พูดคุยเรื่องน้ำท่วมกันมากมาย
 
หากย้ายเมืองหลวง
คงหาใช่การย้ายแบบหน้ามือเป็นหลังมา  ย้ายใหญ่แบบยกเมืองไปวางไว้  อาจย้ายไปบางส่วนก่อน  เช่น  สถานที่ราชการสำคัญๆก่อน  ได้แก่  ทำเนียบรัฐบาล  รัฐสภา  ทำเนียบรัฐบาล  กระทรวงต่างๆ ฯลฯ  สร้างเมืองใหม่เหมือนสร้างบ้านหลังใหม่  สามารถออกแบบผังเมืองให้อยู่กับโลกอนาคตได้ยาวนาน  รองรับการขยายตัวทุกอย่างได้เต็มที่  ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง  เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน 


ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยังครับ ?  ถ้าตอบว่ายัง...ก็ต้องตอบให้ได้ว่า  แล้วมั่นใจจะอยู่ได้อย่างปรกติสุขไหม ?  แน่ใจว่าบ้านจะไม่แช่น้ำเป็นเดือนๆ  ชีวิตวันๆสุ่มเสี่ยงการถูกงูกัด  จระเข้งับ  ไฟฟ้าดูด  น้ำเน่าที่นำโรคภัยมาวนเวียนใกล้ตัว ปัญหาจราจรที่รถติดเป็นชั่วโมงๆ  สูญเสียเวลาเดินทาง  สิ้นเปลืองน้ำมันรถ  เพิ่มความเครียดให้คนเดินทาง หากไม่ย้ายเหมือนเราอยู่บ้านหลังเดิม  บ้านอยู่ไม่สะดวก  ไม่สบาย  ก็ต้องปรับปรุงต้องซ่อมแซม  ต้องยกพื้น  ทำกำแพงป้องกันน้ำ   มีอุปกรณ์สูบน้ำประจำบ้าน ต้องหัดพายเรือ  กินนอนบนหลังคาได้  อยู่กับน้ำให้จงได้  อยู่กับเมืองอันดับ 7 ที่เสี่ยงการจมน้ำมากที่สุดในโลก  เมืองที่มีประชากรราว 10 ล้านคน  คงเป็นอย่างนั้น  เห็นใจคนมีรายได้น้อย  มีทางเลือกไม่มาก  ว่าแต่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม  จะอยู่หรือจะสู้ต่อไป.
 
 
 
 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง