ในอดีต
มีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองไทย เสนอแนวคิดการย้ายเมืองหลวงหลายครั้งหลายยุค ลองไล่ตามลำดับ
เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 บุรุษผู้กล้าหาญคนแรก ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ต่อมาในในสมัยรัฐบาล พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จะย้ายเมืองหลวงไปที่เขาตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พอมาถึงยุคท่านสมัคร สุนทรเวช เจ้าของวลีเด็ดๆ เช่น “ กระเหี้ยนกระหือรือ อะไรกันนักหนา ฯลฯ” ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าราชการกระทรวงมหาดไทย ท่านอยากย้ายเมืองหลวงไปที่จังหวัดนครปฐม จนมาถึงยุคสมัยท่านนายก “แม้ว” ท่านทักษิณ ชินวัตร มีแนวคิดจะย้ายไปที่จังหวัดนครนายก ส่วนในยุคปัจจุบัน (พ.ศ.2554) ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้กล่าวว่า เมืองหลวงของไทยน่าจะเป็นโซนอีสานใต้
นักวิชาการหลายท่าน
ได้ให้ความเห็นถึงสาเหตุย้ายเมืองหลวงไทยไปที่ตั้งใหม่ไว้น่าสนใจมากว่า น้ำจะท่วมกรุงเทพฯทุกปีเพราะเป็นที่ลุ่มต่ำ หลายแห่งพื้นดินทรุดตัว 2-4 เซนติเมตรต่อปี เช่น ย่านดอนเมือง เชื่อว่าน้ำท่วมกรุงเทพฯจะแก้ยากขึ้นตามลำดับ เพราะแผ่นดินทรุด พื้นที่ตั้งยังอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล การระบายน้ำออกจากกรุงเทพฯสู่ทะเลจะยากยิ่งขึ้น เพราะมีสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำไหล มีการถมคูคลอง การแก้ไขน้ำท่วมไม่เป็นระบบ ไม่เป็นเอกภาพ...ในปีนี้จะเห็นว่า ฝ่ายดูแลจัดการน้ำ ดำเนินการแก้ตามปัญหาของน้ำ เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้มีแผนเตรียมป้องกันไว้ก่อน ไม่สามารถบริหารน้ำในภาพรวมได้เต็มที่ มีประเด็นให้พูดคุยเรื่องน้ำท่วมกันมากมาย
หากย้ายเมืองหลวง
คงหาใช่การย้ายแบบหน้ามือเป็นหลังมา ย้ายใหญ่แบบยกเมืองไปวางไว้ อาจย้ายไปบางส่วนก่อน เช่น สถานที่ราชการสำคัญๆก่อน ได้แก่ ทำเนียบรัฐบาล รัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล กระทรวงต่างๆ ฯลฯ สร้างเมืองใหม่เหมือนสร้างบ้านหลังใหม่ สามารถออกแบบผังเมืองให้อยู่กับโลกอนาคตได้ยาวนาน รองรับการขยายตัวทุกอย่างได้เต็มที่ ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน
ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยังครับ ? ถ้าตอบว่ายัง...ก็ต้องตอบให้ได้ว่า แล้วมั่นใจจะอยู่ได้อย่างปรกติสุขไหม ? แน่ใจว่าบ้านจะไม่แช่น้ำเป็นเดือนๆ ชีวิตวันๆสุ่มเสี่ยงการถูกงูกัด จระเข้งับ ไฟฟ้าดูด น้ำเน่าที่นำโรคภัยมาวนเวียนใกล้ตัว ปัญหาจราจรที่รถติดเป็นชั่วโมงๆ สูญเสียเวลาเดินทาง สิ้นเปลืองน้ำมันรถ เพิ่มความเครียดให้คนเดินทาง หากไม่ย้ายเหมือนเราอยู่บ้านหลังเดิม บ้านอยู่ไม่สะดวก ไม่สบาย ก็ต้องปรับปรุงต้องซ่อมแซม ต้องยกพื้น ทำกำแพงป้องกันน้ำ มีอุปกรณ์สูบน้ำประจำบ้าน ต้องหัดพายเรือ กินนอนบนหลังคาได้ อยู่กับน้ำให้จงได้ อยู่กับเมืองอันดับ 7 ที่เสี่ยงการจมน้ำมากที่สุดในโลก เมืองที่มีประชากรราว 10 ล้านคน คงเป็นอย่างนั้น เห็นใจคนมีรายได้น้อย มีทางเลือกไม่มาก ว่าแต่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จะอยู่หรือจะสู้ต่อไป.
ถึงเวลาย้ายเมืองหลวงหรือยังครับ ? ถ้าตอบว่ายัง...ก็ต้องตอบให้ได้ว่า แล้วมั่นใจจะอยู่ได้อย่างปรกติสุขไหม ? แน่ใจว่าบ้านจะไม่แช่น้ำเป็นเดือนๆ ชีวิตวันๆสุ่มเสี่ยงการถูกงูกัด จระเข้งับ ไฟฟ้าดูด น้ำเน่าที่นำโรคภัยมาวนเวียนใกล้ตัว ปัญหาจราจรที่รถติดเป็นชั่วโมงๆ สูญเสียเวลาเดินทาง สิ้นเปลืองน้ำมันรถ เพิ่มความเครียดให้คนเดินทาง หากไม่ย้ายเหมือนเราอยู่บ้านหลังเดิม บ้านอยู่ไม่สะดวก ไม่สบาย ก็ต้องปรับปรุงต้องซ่อมแซม ต้องยกพื้น ทำกำแพงป้องกันน้ำ มีอุปกรณ์สูบน้ำประจำบ้าน ต้องหัดพายเรือ กินนอนบนหลังคาได้ อยู่กับน้ำให้จงได้ อยู่กับเมืองอันดับ 7 ที่เสี่ยงการจมน้ำมากที่สุดในโลก เมืองที่มีประชากรราว 10 ล้านคน คงเป็นอย่างนั้น เห็นใจคนมีรายได้น้อย มีทางเลือกไม่มาก ว่าแต่ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จะอยู่หรือจะสู้ต่อไป.
บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันนี้ เป็นวันแรกของการเป็นครู ผมเตรียมตัวสอนมาเต็มที่ สอนหลายวิชา บอกก่อนว่าเป็นโรงเรียนเอกชนอยู่ใกล้สถานีรถไฟเชียงใหม่ เปิดสอนเด็กเล็กจนถึงมัธยมปีที่สาม ครูที่สอนส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว มีคนแก่คนหนึ่งเป็นฝ่ายการเงิน ครูใหญ่เป็นผู้หญิง เป็นเจ้าของโรงเรียน ไม่สอนแต่อยู่ฝ่ายขายอาหารของโรงเรียน ผมสอน 29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ว่างเพียง 1 ชั่วโมง ปรกติครูท่านอื่นสอน 24-25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นั่นคือผมสอนมากกว่าท่านอื่น 5 ชั่วโมง ก็ช่วยสอนวิชาเบาๆ ให้พี่ๆ ที่สอนประจำชั้น เช่น พลศึกษาวาดเขียน ร้องเพลง...เป็นมุมหนึ่งในหลายมุมของชีวิตครูเอกชน วันแรก ผมสอน 6 ชั่วโมงเต็ม เป็นหนุ่มร่างกายแข็งแรง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
คืนนี้ ขึ้น 15 ค่ำ ยังหัวค่ำ พระจันทร์เต็มดวงสาดแสงนวลอ่อนโยนกระจ่างทั่วทุ่ง แสงเย็นตายังครอบคลุมวิหารวัดทุ่งลมเย็นบรรยากาศในวัดช่างสงบ สงัด ลมทุ่งพัดกระทบต้นไม้ในวัด ใบของมันสะบัดตัวรับดังซู่ซ่าเป็นพักๆ ความวุ่นวายสับสนเร่าร้อนทั้งมวลของคนเหมือนหมดสิ้นยามย่างเท้าเข้าวัดสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ พระสงฆ์องค์เจ้าคงจำวัดกันหมดทั้งสามรูป แต่ยังมีอีกคนหนึ่ง จิตใจยังเร่าร้อนเคร่งเครียดแม้จะเหนื่อยจากงานสลากภัตของวัด ก็ไม่อาจข่มตาให้หลับได้ ใครๆเรียกเขาว่า "ลุงคำ" แกเฝ้านึกถึงเหตุการณ์เมื่อเช้านี้วัดทุ่งลมเย็นมีพระ 2 รูป เณร 1 รูปเวลาพระรับนิมนต์ไม่มีใครดูแลวัดเกรงขโมยจะมาลักทรัพย์สิน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
คนเหนือ หรือชาวเหนือเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกคนกรุงเทพฯซึ่งพูดภาษากลางว่า “คนไทย” ในกลุ่ม “คนเมือง” มักมีวจีที่เกี่ยวโยงการเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันว่า “หมู่เฮาคนเมือง” ย้อนหลังไปราว50ปี แม้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งยังแสดงความเป็นตัวตนโดยใช้ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ “คนเมือง” สอดคล้องกับข้อความในหนังสือ “ฅนเมืองอู้คำเมือง” ในหน้าที่ 1โดยคุณบุญคิดวัชรศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า ...ในอดีตอาณาจักรล้านนามีการปกครองตนเองมีภาษาพูด และภาษาหนังสือใช้เป็นของตนเองมาก่อนและนิยมชมชอบเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกภาษาพูดว่า “คำเมือง” และเรียกภาษาหนังสือว่า “ตัวหนังสือเมือง” และล้านนาประกอบด้วย…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
แม่เกิดลูก ออกมาหลายตัว ขนสีต่างๆ กัน ส่วนใหญ่ตัวอ้วนขนฟู แม่นอนตะแคงในกรง ลูกตัวอื่นคลานต้วมเตี้ยมเข้าไปกินนมแม่เร็วกว่า เจ้าตัวผอมเล็ก ลำตัวมันยังไม่นิ่งนัก เพราะขายังไหวขณะเดิน ด้วยยังไม่แข็งแรงพอ เจ้าตัวผอมเล็กต้องรอให้บางตัวอิ่ม แล้วคลานออกมา มันจึงคลานเข้าไปกินได้ นมแม่อุ่นหวาน เต้านมนุ่มตึงเต็มปากของมัน มันถูกแม่อุ้มด้วยปากมากินนมบ่อยๆ ลูกตัวใดคลานไปไกล แม่หมาจะใช้ปากคาบเบาๆ ตรงหนังบริเวณคอ นำมาไว้ในกรงเสมอ ทุกวันเมื่อบรรดาลูกๆกินนมอิ่ม มันก็นอนกอดก่ายกันหลับไปมองดูเหมือนเด็กเล็กๆ น่าเอ็นดู เจ้าของกรง และบ้านเป็นสามีภรรยาคู่หนึ่ง ตอนเช้า เวลานายผู้ชายเดินลงบันได…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เด็กชายสันทัด นั่งยองๆ บนกำแพงวัด ตาจ้องเขม็งที่ร่างชายคนหนึ่ง ซึ่งนอนคว่ำ ไม่สวมเสื้อบนพื้นศาลาวัด บนเสื่อผืนหนึ่ง คางวางบนหมอนเก่าคร่ำมือประสานรองรับคาง วันนี้เป็นวันที่ 15 เมษายน เป็นวันพญาวันคนทางเหนือนิยมสักยันต์กันในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่า ทำพิธีทางไสยศาสตร์ในวันนี้จะเข้มขลังนัก ภิกษุรูปหนึ่ง นั่งคุกเข่าข้างชายผู้นั้น ยกเหล็กแหลมเล็งไปยังกลางหลัง แล้วก็แทงจึกลงไป เหล็กกระทบเนื้อไปเรื่อยๆ ปากท่านก็ขมุบขมิบว่าคาถาประกอบ ชายที่นอนคว่ำ หน้าตาปรกติ ไม่แสดงอาการเจ็บปวด ชายฉกรรจ์อีก 4-5 คน ถอดเสื้อรอคิวสัก เขาจ้องดูชายคนแรกอย่างสนใจ ทุกคนกระตือรือร้นอยากสัก ไม่มีใครแสดงอาการหวาดหวั่น…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรมศิลปากรประกาศผลศิลปิน ผู้ได้รับรางวัล “เพชรในเพลง” ประจำปี 2551 เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ. 2551 (29 ก.ค.) รางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ประเภทเพลงไทยสากล ได้แก่ “เพลงเรือนแพ” ผู้ประพันธ์นายชาลี อินทรวิจิตร เพลง “เรือนแพ” เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “เรือนแพ” สร้างเมื่อ พ.ศ.2504 เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ สุริวงศ์ เชียงใหม่ โรงภาพยนตร์นี้ เดิมอยู่ตรงข้ามกับประตูท่าแพ ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว ผมได้เข้าชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ขณะเรียนชั้นมัธยมต้น เป็นภาพยนตร์ที่แสดงถึง ความรักของเพื่อนสามคน ประกอบด้วย ไชยา สุริยัน แสดงเป็น นักมวย ส.อาสนะจินดา แสดงเป็น ตำรวจ จินฟง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ดวงอาทิตย์ ค่อยโผล่พ้นขอบดอยที่อยู่ไกลลิบช้าๆ หมอกเมฆปรากฏจางๆ ช่วยกรองแสง ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ เป็นทรงกลมสีแดงอ่อน เป็นเช้าที่สวยงาม บ้านไม้หลังเก่าสีโอ๊ก ปลูกบนเนินดิน ที่สูงกว่าถนนหน้าบ้าน และสูงกว่าทุ่งกว้างที่ด้านหน้าบ้านเล็กน้อย มีเก้าอี้โยกเป็นหวาย ที่ระเบียงด้านข้างบ้าน ซึ่งมีบันไดทอดสู่พื้นด้านหน้า มองเห็นทุ่งกว้าง ปรากฏตอข้าวสีเหลืองกระจายทั่วผืนนา ทุ่งกว้างนี้ ปูลาดไปจนถึงถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ข้ามถนนเป็นทุ่งนาอีกเช่นกัน มองไกลออกไปอีกนิด เป็นหย่อมต้นไม้สีน้ำเงินปนดำ สูงขึ้นไปอีก จะเห็นแนวดอยสลับซับซ้อน ลมเย็นจากทุ่งโล่ง ทะยอยพัดมาระเรื่อย สู่บ้านของผม บ้านคนเมือง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พ่อคงไม่รักผมเพราะพ่อตีผมบ่อยๆ บางครั้งหนักๆ ไม่เคยกอด ไม่เคยเล่นกับผม แวบหนึ่ง...ผมอยากออกบ้านไปให้พ้น...แกเพียงพูดว่า“เมื่อแกมีลูก แกจะรู้เอง” วันนี้ผมมีลูกชายวัย 3 ขวบ 1 คน กำลังซนตอนเย็นวันหนึ่ง แกกินยาป้องกันหนูและแมลง ที่มีรูปแบนเป็นวงกลม แหว่งไปนิดหนึ่ง ผมบอกแกให้อ้าปาก คายออกมาให้หมด แกอ้าปาก ถ่มน้ำลาย ผมยังไม่หมดกังวล บอกให้แม่บ้านเอาเงินมาให้ผมเร็ว จะพาลูกไปโรงพยาบาล ผมคว้าเสื้อมาสวม กลัดกระดุม 2 เม็ด ไม่ตรงรูของมัน ชายเสื้อข้างหนึ่งสั้น ข้างหนึ่งยาว อุ้มลูกวิ่งลงบันได เกือบลื่นล้ม วิ่งออกประตูบ้าน สู่ถนนใหญ่โรงพยาบาลใหญ่ที่สุด เป็นโรงพยาบาลที่ผมมุ่งไปหา โบกรถสี่ล้อรับจ้าง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ระยะนี้ กลางคืนนอนกรนตื่นง่ายตื่นนอนตอนเช้า มีอาการไม่ดี คล้ายหลับไม่อิ่ม เหมือนจะเป็นไข้เล็กน้อย ผมอยากนอนต่ออีกสักงีบ ขอสัก 20-30 นาทีน่าจะดีคิดถึงระยะทางจากบ้านถึงที่ทำงานแล้วท้อใจ จากบ้านอำเภอแม่แตงถึงอำเภอฝาง ที่ทำงานราว 111 กิโลเมตร พาหนะเป็นรถกระบะ พวงมาลัยธรรมดาปวดบ่าเอวไม่น้อยเลย สังขารผ่านวัยหนุ่มมาแล้ว อาการดังกล่าวเป็นบ่อยๆบางครั้งต้องโทรลาปรึกษาภรรยาแล้วไปหาหมอตรวจรักษาดีกว่า ไปคลินิกที่โรงพยาบาลมหาราชเร็วดี ยาดี แม้จะแพงก็ยอมเล่าอาการให้หมอฟังหมอให้ยามากินและนัดดูอาการราวเดือนครึ่ง ได้ไปหาหมอ หมอสอบถามผลการรักษา แล้วให้ยามารับกิน ทำอย่างนี้หลายครั้งแต่ละครั้งให้ไปเจาะเลือด…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ในวัยเด็ก ราวชั้นประถมศึกษา ผมยังจำได้ เมื่อมืดค่ำ ที่บ้านจะจุดตะเกียงน้ำมันก๊าดทุกหลังคาเรือนก็เช่นกัน แม่บอกให้เอาการบ้านมาทำ ถ้าวิชาเดียวก็เสร็จเร็วหน่อย ถ้าสองวิชาก็ดึกหน่อย ดึกนั้นคงราวสองทุ่มเศษ ผมวางสมุดลงบนโต๊ะเล็กๆ นั่งขัดสมาธิบนเสื่อ แม่นั่งข้างหน้า แม่สอนจริงจัง มีตึงมีผ่อน มีเทคนิคในการสอน ขู่บ้างปลอบบ้าง คำพูดที่พูดประจำก็คือ “คัดไทย ช่องไฟต้องพอดี หัวทอทหารต้องกลมอย่าให้บอด” “ห้าคูณเจ็ดเป็นเท่าไร สามสิบห้าหรือสามสิบหก” ตอนจบแม่ให้ท่องสูตรคูณ ถ้าท่องได้ให้ไปนอน ท่องไม่ได้เอาให้ได้ ตาผมชักลืมไม่ขึ้น แม่ใช้ไม้ตีปับตรงแขน “ท่องไม่ได้ไม่ต้องนอน” แม่สำทับเสียงเข้ม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
โลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วเท่าเดิม เข็มนาฬิกากระดิกตัวด้วยความเร็วปกติ ผู้มีความทุกข์ ความผิดหวัง พิเคราะห์เวลาเหมือนเชื่องช้า เนิ่นนาน ผู้มีสุขสมหวัง มีเสียงหัวเราะกลับพูดว่า เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน เวลาเป็นของมีค่า ในเวลาเพียง 1 นาที มีคนเกิดคนตายเท่าไร มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดทุกมุมโลกมากมาย เมื่อเวลามีค่า เราก็สมควรทำอะไร ให้ตัวเอง ให้สังคม ให้ผู้คนรอบข้าง และควรดำเนินชีวิตอย่างไร ให้ชีวิตมีค่าเหมือนเวลา น่าจะเป็นเช่นนั้น ผมอ่านหนังสือหลายเล่ม ฟังผู้รู้หลายท่าน ใช้เวลาใคร่ครวญ เพื่อให้ความคิดตกผลึกว่า คนดีคือคนอย่างไร คนดีที่สุดต้องทำอะไร ได้ข้อสรุปว่า คนดีที่สุด คือคนที่คิด…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ทุกคนคงเคยไปหาหมอ อาจเป็นหมอคลินิกหรือหมอโรงพยาบาล เมื่อยื่นบัตรคนไข้ผ่านฝ่ายคัดกรองแล้ว ท่านก็ต้องไปยังห้องที่รักษาพยาบาลเฉพาะโรค นั่งรอคิวพยาบาลเรียก ถ้าเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชนจะเร็วมาก แต่ก็ต้องจ่ายเงินมากเช่นกัน ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐต้องทำใจ จ่ายเงินน้อยแต่คนมาก คงต้องเสียสละเวลาให้ 1 วัน บางทีอาจครึ่งวัน คนไข้มากมาย ห้องตรวจทุกห้องคนไข้เต็มหมด คนไข้มากมายกว่าห้างสรรพสินค้า