Skip to main content

การเมืองไทย

ช่วงเวลานี้ ไม่มีอะไรน่าติดตามเท่าการตีความมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยบัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้ ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว...” นักกฎหมาย ผู้รู้ทั้งหลาย ได้ตีความในสองแนวทาง แบ่งความเห็นเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน
 

กลุ่มแรก

ตีความว่า ท่านประธานศาลรัฐธรรมนูญตีความว่า การยื่นเรื่องจะต้องกระทำในสองลักษณะคือ ประการแรกเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยสั่งการ  

กลุ่มที่สอง

ตีความว่า ผู้ทราบการกระทำยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า มีการกระทำเข้าข่ายตามคำร้องจริงหรือไม่ จากนั้นให้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยสั่งการ การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้พิจารณาจึงไม่ชอบ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ กลุ่มนี้มีผู้เห็นด้วยมากกว่ากลุ่มแรก  


การเมืองในรัฐสภา

จึงต้องมาหยุดกึกเมื่อศาลรัฐธรรมนูญแสดงบทบาทครั้งสำคัญ จึงเป็นที่มาของความอยากรู้ว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีขอบเขตอำนาจเพียงใด ได้ค้นข้อมูลพบว่า อำนาจโดยสรุปมี 17 ข้อ ข้อที่เกี่ยวข้องสถานการณ์การเมืองขณะนี้ได้แก่ข้อ 2 ที่บัญญัติว่า พิจารณาวินิจฉัยว่า บุคคลหรือพรรคการเมืองใด กระทำการโดยใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข...หรือไม่ ข้อ 15 บัญญัติว่า พิจารณาวินิจฉัยว่าผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จงใจไม่ยื่นบัญชีรายการทรัพย์สิน ฯลฯ และข้อ 17 วรรคสี่ บัญญัติว่า พิจารณาสั่งยุบพรรคการเมือง  


พรรคเพื่อไทย

และพรรคแกนนำรัฐบาลมีความเห็นที่แตกต่างกัน บางคนให้ความเห็นว่า หากไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญอาจมีปัญหาต่อการลงมติในวาระ 3 และอาจมีปัญหากับคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะการเร่งลงมติในวาระ 3 ร่างรัฐธรรมนูญที่มีปัญหานี้ นายกรัฐธรรมนูญต้องนำขึ้นทูลเกล้าถวายภายใน 20 วัน ถือว่าไม่บังควรอย่างยิ่ง นั่นหมายถึงนำพานายกรัฐมนตรีเข้าสู่แดนอันตราย  

ด้วยเหตุผลทั้งมวล

ประธานรัฐสภาจึงต้องเลื่อนการลงมติวาระ 3 เรื่องรัฐธรรมนูญออกไป นับว่าเป็นทางออกที่เหมาะสม ปลอดภัย ไม่สุ่มเสียงรับผลเสียที่ตามมา...นับจากนี้ไป ก่อนก้าวไปหาวันลงมติรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ย่อมเต็มไปด้วยอันตรายมากมาย กับดัก หลุมขวาก สารพัด กระนั้นพรรคเพื่อไทยก็ต้องก้าวเดินต่อไป เดินอย่างสุขุม ระมัดระวัง ใจที่นิ่งเยือกเย็น ไม่ตื่นตระหนกเกินไป จะผิดพลาดไม่ได้เด็ดขาด มิฉะนั้นพลังกายใจและสิ่งอื่นที่ทุ่มลงไป จะสูญเปล่าเป็นอากาศทันที มองอีกมุม ความยากลำบากเป็นบททดสอบคนเข้มแข็งยิ่งใหญ่ตัวจริง มิใช่หรือ.

  ..............................................................  

 

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก เดือนเต็มดวง ราวปี พ.ศ.2506พอย่างเข้าเดือนสิงหาคมกลางฤดูฝน ฝนเริ่มตกหนัก 3-4 วันติดต่อกัน ย่าบอกว่าวิทยุข้างบ้านประกาศ มีไต้ฝุ่นเข้าเมืองไทย ฝนจึงตกมากกว่าปรกติ ฝนยามนั้นจะตกปรอยๆซึมไปเกือบตลอดวัน ฟ้ามืดมัวด้วยเมฆฝน ไม่มีการเห็นแสงเดือนแสงตะวันกันเลย แล้วจะมีฝนตกหนักนานเกินครึ่งชั่วโมงเข้ามาสลับเป็นพักๆ เท่าที่จำได้นานเป็นวันก็เคยมี ใครซักผ้าก็ชื้นอับอยู่อย่างนั้น พื้นดินบริเวณบ้านผมเปียกแฉะไปหมด ต้นไม้ใบหญ้าเปียกโชกชุ่มอิ่มน้ำ น้ำฝนที่ตกลงมาส่งผลให้ระดับน้ำในน้ำแม่ปิงสูงขึ้นรวดเร็ว ชาวเชียงใหม่สัญจรไปมาต่างกวาดตาดูน้ำแม่ปิง สายน้ำสายหลักที่ผูกพันชาวนครพิงค์เนิ่นนาน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรณีมีกลุ่มบุคคลที่ตรงข้ามรัฐบาลคัดค้านขัดขวางธนาคารออมสินปล่อยเงินกู้ให้ ธกส.(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) เพื่อจะได้นำไปจ่ายให้ชาวนา ตามโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร(19 ก.พ.57)
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง