Skip to main content

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

 

 

 

มนุษย์เรียนรู้ได้ดีแม้อายุมากใช่ไหม

เพื่อนผมหัดร้องเพลงดีดกีตาร์เมื่ออายุ 59 ปี คุณจริน ยุทธศาสตร์โกศล หัดเต้นบัลเลต์เมื่ออายุ 50 ปีจนเก่ง

คุณปู่แอลเลน สจ๊วด เรียนจบปริญญาโทตอนอายุ 97 ปี เกิดคำถามตามมาว่า ผู้สูงวัยเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้ง่าย สบายมากอย่างนั้นหรือ  เรียนรู้ได้เหมือนคนหนุ่มสาวปานนั้นหรือไร ผมไม่มีภูมิพอจะตอบได้เลย ขออนุญาตนำคำตอบจาก internet หัวข้อ “สมองเรียนรู้ได้ไม่จำกัด.” ไม่ทราบชื่อผู้เขียน แต่ระบุแหล่งข้อมูลว่า htt://www.Sudipan  มีหลายเรื่องที่น่าสนใจสำหรับทุกคน ทั้งบิดามารดา ลูกๆ และคนทั่วไป เพราะมันเกี่ยวกับสมอง เจ้าก้อนเนื้อสีเทาที่น้ำหนักราว 1.4 กิโลกรัม ดังนี้ครับ

       เรื่องไหนที่เราไม่ได้รู้ในวัยหนึ่ง ยังสามารถเรียนรู้ได้ แต่มันอาจยากขึ้น เช่น ต้องอ่านหนังสือหลายๆเที่ยวมากกว่าเด็กมากกว่าวัยหนุ่มสาว ต้องฝึกเต้นบัลเลต์อย่างหนัก ใช้เวลานานกว่าเด็ก ผู้เขียนท่านนี้ยังบอกอีกว่า สมองคนเรามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน ยิ่งเราเรียนรู้มากเท่าใด เส้นใยสมองยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ และยังบอกอีกว่า หากเราใช้สมองเป็นประจำ คิดอะไรใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เรื่อยๆ จะช่วยชะลอสมองให้เป็นเด็กตลอดกาล และข้อความสำคัญที่ทำให้คนแก่และคนที่กำลังจะกลายเป็นคนแน่นอนในอนาคต ยิ้มได้คือ “สมองคนแก่ที่ชอบเรียนรู้ กระตือรือร้นนั้น มีลักษณะคล้ายเด็ก...” คงหมายความว่า เรียนรู้ได้เร็ว เรียนรู้ได้ง่ายอย่างนั้น

 

ผมบ้าหนังสือ

ชอบซื้อหนังสือที่เราสนใจครั้งละหลายเล่ม แม้ไม่ค่อยมีเงินนัก อ่านดะไปเรื่อยเปื่อย อ่านแล้วเหมือนเราอยู่ในอีกโลกหนึ่ง กำลังฝึกใจตนเอง  ใช้มุมมองใหม่ อ่านหนังสือที่เราไม่ชอบมาก่อน อ่านหนังสือคนที่เราเคยเบือนหน้าหนีนามปากกานั้นๆ ขณะอ่านทำใจให้ว่างเปล่า โอ ทำให้ได้พบอะไรใหม่ๆดีๆมากมายเลยครับ มีหนังสือที่ผมสนใจมากขณะนี้ ผู้เขียนชื่อ คุณหนูดี วนิษา เรซ  ผมได้ซื้อหนังสือของเธอมาจำนวน 3 เล่ม ชื่อหนังสือว่า  “อัจฉริยะสร้างได้.” “อัจฉริยะสร้างสุข.” และ “อัจฉริยะเรียนสนุก.” เธอเป็นลูกครึ่งไทย-อเมริกัน

           ปริญญาโท เกียรตินิยมจาก Harvard University , Boston , U.S.A . ด้านวิทยาการทางสมอง ในโปรแกรมชื่อ Mind , Brain and Education และปริญญาตรี เกียรตินิยม จาก  University Of  Maryland at  College Park . U.S.A . ด้านครอบครัวศึกษา(Family Studies)  อาจารย์ที่ปรึกษาคือ ดร.โฮวาร์ด

การ์เนอร์(DR. Howard Garner) เจ้าของทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of  Multiple Intelligences) หรืออัจฉริยะ 8 ด้านของมนุษย์  ซึ่งในวงการครู วงการศึกษา รู้เรื่องนี้ดี  ผมอ่านเนื้อหาทั้งหมดจากหนังสือทั้ง 3 เล่มข้างต้น แล้วจดบันทึกไว้ว่า

                1. เราเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต ในทุกที่ทุกสังคม

                2.การฝึกฝนและเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ สามารถทำให้สมองเรามีประสิทธิภาพดีขึ้น...ส่วนนี้ผมกำลังฝึก

                3.บางส่วนของสมองต้องใช้ประสบการณ์กระตุ้น จึงจะทำให้สมองดีขึ้น เช่น การมอง การฟัง การสัมผัส การเคลื่อนไหว ดังนั้นเราต้อง “ลงมือทำ.” และทำเป็นประจำเท่านั้น จึงจะกระตุ้นสมองได้จริง เป็นต้นว่า การเรียนภาษา การเต้น(รำ) การเล่นกีฬา

                4. ภาวะที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้คือ ภาวะอารมณ์สงบแต่ตื่นตัว(Relaxed Alertness)

ถ้าสงบเกินไปเราจะง่วง แต่ถ้าเราตื่นตัวเกินไป ใจเราจะวุ่นวายจนอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง สมองไม่รับรู้ข้อมูล

หากใจไม่สงบให้ทำสมาธิ หรือให้อาหารปลา ถ้าง่วงให้ออกวิ่งเหยาะๆ หรือหาอะไรอร่อยมากิน หรือดื่มน้ำแก้วโตแล้วมองดูใบไม้ในสวน

                  5.สมองเราทำงานตลอดเวลา ทั้งยามหลับและตื่น (บันทึกมาถึงส่วนนี้ ผมต้องหยุดคิดว่า จริงไหมหนอ)ยามเราคิดหนัก ยามใจลอย ส่วนที่ไม่เคยหยุดพักเลยคือ “ จิตใต้สำนึก.”

                  6.จิตสำนึกกับจิตใต้สำนึก มันจะผลัดกันตื่น ผลัดกันทำงาน เมื่อยามที่เราตื่นมีสติรู้สึกตัว ตอนนั้นจะเป็นจิตสำนึกทำงานแล้วจิตใต้สำนึกก็จะหลับอยู่ แต่ก็ยังคอยเก็บข้อมูลตามที่จิตสำนึกส่งไปให้เก็บอยู่เรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ช่วงเวลาที่เราเคลิ้มจะหลับจนถึงหลับสนิท จะเป็นเวลาที่จิตสำนึกจะหลับแล้วเป็นจิตใต้สำนึกที่ตื่นมาทำงาน ดังนั้นความฝันทั้งหลาย ก็คือจิตใต้สำนึกเป็นตัวสร้างภาพขึ้นมายามที่เราหลับ(จาก INTERNET หัวข้อ หลักการสั่งจิตใต้สำนึก-ไม่ยากเท่าที่คิด ไม่ทราบชื่อผู้เขียนครับ)

                   7.ความทุกข์สุขไม่ได้อยู่ที่ใจ แต่อยู่ในสมอง

                   8.ความเครียดอ่อนๆในช่วงก่อนสอบ ยิ่งทำให้เราอ่านหนังสือได้ดีขึ้น จำแม่นขึ้น เพราะสารเคมีที่หลั่งออกมาสำหรับความเครียดระยะสั้นคือ “อะดรีนาลิน.” นั้น มันคนละตัวกับฮอร์โมนความเครียดระยะยาว...ฮึม ประเด็นนี้น่าสนใจ ตอนเรียนหนังสือ อาจารย์ขีดเส้นใต้ให้ส่งงานวันนั้นวันนี้ เราปั่นงานกันหน้าดำคล้ำเครียด เร่งงานกันตลอดวันตลอดคืน กินข้าว 2-3 คำ ห้องน้ำห้องท่าแทบลืมไปเลย ว่าแต่เครียดอ่อนๆมันแค่ไหน อาการอย่างไร คิดเองนะว่า ขณะมีความเครียด แต่เรายังยิ้มออกบ้าง หัวเราะเล็กน้อยได้ แต่ถ้าเครียดหนัก เครียดยาว ชนิดซึมเหงาหลายๆวัน ต้องระวังแล้วครับ. จะเป็นโรคซึมเศร้าได้ อันตรายทีเดียว.

 

                                           ........................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
วันนี้ เป็นวันแรกของการเป็นครู ผมเตรียมตัวสอนมาเต็มที่ สอนหลายวิชา บอกก่อนว่าเป็นโรงเรียนเอกชนอยู่ใกล้สถานีรถไฟเชียงใหม่ เปิดสอนเด็กเล็กจนถึงมัธยมปีที่สาม ครูที่สอนส่วนใหญ่อยู่ในวัยหนุ่มสาว มีคนแก่คนหนึ่งเป็นฝ่ายการเงิน ครูใหญ่เป็นผู้หญิง เป็นเจ้าของโรงเรียน ไม่สอนแต่อยู่ฝ่ายขายอาหารของโรงเรียน ผมสอน 29 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ว่างเพียง 1 ชั่วโมง ปรกติครูท่านอื่นสอน 24-25 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ นั่นคือผมสอนมากกว่าท่านอื่น 5 ชั่วโมง ก็ช่วยสอนวิชาเบาๆ ให้พี่ๆ ที่สอนประจำชั้น เช่น พลศึกษาวาดเขียน ร้องเพลง...เป็นมุมหนึ่งในหลายมุมของชีวิตครูเอกชน วันแรก ผมสอน 6 ชั่วโมงเต็ม เป็นหนุ่มร่างกายแข็งแรง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
คืนนี้ ขึ้น 15 ค่ำ ยังหัวค่ำ พระจันทร์เต็มดวงสาดแสงนวลอ่อนโยนกระจ่างทั่วทุ่ง แสงเย็นตายังครอบคลุมวิหารวัดทุ่งลมเย็นบรรยากาศในวัดช่างสงบ สงัด ลมทุ่งพัดกระทบต้นไม้ในวัด ใบของมันสะบัดตัวรับดังซู่ซ่าเป็นพักๆ  ความวุ่นวายสับสนเร่าร้อนทั้งมวลของคนเหมือนหมดสิ้นยามย่างเท้าเข้าวัดสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์  พระสงฆ์องค์เจ้าคงจำวัดกันหมดทั้งสามรูป แต่ยังมีอีกคนหนึ่ง จิตใจยังเร่าร้อนเคร่งเครียดแม้จะเหนื่อยจากงานสลากภัตของวัด ก็ไม่อาจข่มตาให้หลับได้  ใครๆเรียกเขาว่า "ลุงคำ" แกเฝ้านึกถึงเหตุการณ์เมื่อเช้านี้วัดทุ่งลมเย็นมีพระ 2 รูป เณร 1 รูปเวลาพระรับนิมนต์ไม่มีใครดูแลวัดเกรงขโมยจะมาลักทรัพย์สิน…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
คนเหนือ หรือชาวเหนือเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกคนกรุงเทพฯซึ่งพูดภาษากลางว่า “คนไทย” ในกลุ่ม “คนเมือง” มักมีวจีที่เกี่ยวโยงการเป็นคนท้องถิ่นเดียวกันว่า “หมู่เฮาคนเมือง” ย้อนหลังไปราว50ปี แม้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งยังแสดงความเป็นตัวตนโดยใช้ชื่อว่าหนังสือพิมพ์ “คนเมือง” สอดคล้องกับข้อความในหนังสือ “ฅนเมืองอู้คำเมือง” ในหน้าที่ 1โดยคุณบุญคิดวัชรศาสตร์ได้เขียนเอาไว้ว่า ...ในอดีตอาณาจักรล้านนามีการปกครองตนเองมีภาษาพูด และภาษาหนังสือใช้เป็นของตนเองมาก่อนและนิยมชมชอบเรียกตนเองว่า “คนเมือง” เรียกภาษาพูดว่า “คำเมือง” และเรียกภาษาหนังสือว่า “ตัวหนังสือเมือง” และล้านนาประกอบด้วย…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
แม่เกิดลูก ออกมาหลายตัว ขนสีต่างๆ กัน ส่วนใหญ่ตัวอ้วนขนฟู แม่นอนตะแคงในกรง ลูกตัวอื่นคลานต้วมเตี้ยมเข้าไปกินนมแม่เร็วกว่า เจ้าตัวผอมเล็ก ลำตัวมันยังไม่นิ่งนัก เพราะขายังไหวขณะเดิน ด้วยยังไม่แข็งแรงพอ เจ้าตัวผอมเล็กต้องรอให้บางตัวอิ่ม แล้วคลานออกมา มันจึงคลานเข้าไปกินได้ นมแม่อุ่นหวาน เต้านมนุ่มตึงเต็มปากของมัน มันถูกแม่อุ้มด้วยปากมากินนมบ่อยๆ ลูกตัวใดคลานไปไกล แม่หมาจะใช้ปากคาบเบาๆ ตรงหนังบริเวณคอ นำมาไว้ในกรงเสมอ ทุกวันเมื่อบรรดาลูกๆกินนมอิ่ม มันก็นอนกอดก่ายกันหลับไปมองดูเหมือนเด็กเล็กๆ น่าเอ็นดู เจ้าของกรง และบ้านเป็นสามีภรรยาคู่หนึ่ง ตอนเช้า เวลานายผู้ชายเดินลงบันได…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
เด็กชายสันทัด นั่งยองๆ บนกำแพงวัด ตาจ้องเขม็งที่ร่างชายคนหนึ่ง ซึ่งนอนคว่ำ ไม่สวมเสื้อบนพื้นศาลาวัด บนเสื่อผืนหนึ่ง คางวางบนหมอนเก่าคร่ำมือประสานรองรับคาง วันนี้เป็นวันที่ 15 เมษายน เป็นวันพญาวันคนทางเหนือนิยมสักยันต์กันในวันนี้ เพราะเชื่อกันว่า ทำพิธีทางไสยศาสตร์ในวันนี้จะเข้มขลังนัก ภิกษุรูปหนึ่ง นั่งคุกเข่าข้างชายผู้นั้น ยกเหล็กแหลมเล็งไปยังกลางหลัง แล้วก็แทงจึกลงไป เหล็กกระทบเนื้อไปเรื่อยๆ ปากท่านก็ขมุบขมิบว่าคาถาประกอบ ชายที่นอนคว่ำ หน้าตาปรกติ ไม่แสดงอาการเจ็บปวด ชายฉกรรจ์อีก 4-5 คน ถอดเสื้อรอคิวสัก เขาจ้องดูชายคนแรกอย่างสนใจ ทุกคนกระตือรือร้นอยากสัก ไม่มีใครแสดงอาการหวาดหวั่น…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กรมศิลปากรประกาศผลศิลปิน ผู้ได้รับรางวัล “เพชรในเพลง” ประจำปี 2551 เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ. 2551 (29 ก.ค.) รางวัลเชิดชูเกียรติ ผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ประเภทเพลงไทยสากล ได้แก่ “เพลงเรือนแพ” ผู้ประพันธ์นายชาลี อินทรวิจิตร เพลง “เรือนแพ” เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “เรือนแพ” สร้างเมื่อ พ.ศ.2504 เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ สุริวงศ์ เชียงใหม่ โรงภาพยนตร์นี้ เดิมอยู่ตรงข้ามกับประตูท่าแพ ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว ผมได้เข้าชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ขณะเรียนชั้นมัธยมต้น เป็นภาพยนตร์ที่แสดงถึง ความรักของเพื่อนสามคน ประกอบด้วย ไชยา สุริยัน แสดงเป็น นักมวย ส.อาสนะจินดา แสดงเป็น ตำรวจ จินฟง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ดวงอาทิตย์ ค่อยโผล่พ้นขอบดอยที่อยู่ไกลลิบช้าๆ หมอกเมฆปรากฏจางๆ ช่วยกรองแสง ทำให้มองเห็นดวงอาทิตย์ เป็นทรงกลมสีแดงอ่อน เป็นเช้าที่สวยงาม บ้านไม้หลังเก่าสีโอ๊ก ปลูกบนเนินดิน ที่สูงกว่าถนนหน้าบ้าน และสูงกว่าทุ่งกว้างที่ด้านหน้าบ้านเล็กน้อย มีเก้าอี้โยกเป็นหวาย ที่ระเบียงด้านข้างบ้าน ซึ่งมีบันไดทอดสู่พื้นด้านหน้า มองเห็นทุ่งกว้าง ปรากฏตอข้าวสีเหลืองกระจายทั่วผืนนา ทุ่งกว้างนี้ ปูลาดไปจนถึงถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ข้ามถนนเป็นทุ่งนาอีกเช่นกัน มองไกลออกไปอีกนิด เป็นหย่อมต้นไม้สีน้ำเงินปนดำ สูงขึ้นไปอีก จะเห็นแนวดอยสลับซับซ้อน ลมเย็นจากทุ่งโล่ง ทะยอยพัดมาระเรื่อย สู่บ้านของผม บ้านคนเมือง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
พ่อคงไม่รักผมเพราะพ่อตีผมบ่อยๆ บางครั้งหนักๆ ไม่เคยกอด ไม่เคยเล่นกับผม แวบหนึ่ง...ผมอยากออกบ้านไปให้พ้น...แกเพียงพูดว่า“เมื่อแกมีลูก แกจะรู้เอง” วันนี้ผมมีลูกชายวัย 3 ขวบ 1 คน กำลังซนตอนเย็นวันหนึ่ง แกกินยาป้องกันหนูและแมลง ที่มีรูปแบนเป็นวงกลม แหว่งไปนิดหนึ่ง ผมบอกแกให้อ้าปาก คายออกมาให้หมด แกอ้าปาก ถ่มน้ำลาย ผมยังไม่หมดกังวล บอกให้แม่บ้านเอาเงินมาให้ผมเร็ว จะพาลูกไปโรงพยาบาล ผมคว้าเสื้อมาสวม กลัดกระดุม 2 เม็ด ไม่ตรงรูของมัน ชายเสื้อข้างหนึ่งสั้น ข้างหนึ่งยาว อุ้มลูกวิ่งลงบันได เกือบลื่นล้ม วิ่งออกประตูบ้าน สู่ถนนใหญ่โรงพยาบาลใหญ่ที่สุด เป็นโรงพยาบาลที่ผมมุ่งไปหา โบกรถสี่ล้อรับจ้าง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ระยะนี้ กลางคืนนอนกรนตื่นง่ายตื่นนอนตอนเช้า มีอาการไม่ดี คล้ายหลับไม่อิ่ม เหมือนจะเป็นไข้เล็กน้อย ผมอยากนอนต่ออีกสักงีบ ขอสัก 20-30 นาทีน่าจะดีคิดถึงระยะทางจากบ้านถึงที่ทำงานแล้วท้อใจ จากบ้านอำเภอแม่แตงถึงอำเภอฝาง ที่ทำงานราว 111 กิโลเมตร พาหนะเป็นรถกระบะ พวงมาลัยธรรมดาปวดบ่าเอวไม่น้อยเลย สังขารผ่านวัยหนุ่มมาแล้ว อาการดังกล่าวเป็นบ่อยๆบางครั้งต้องโทรลาปรึกษาภรรยาแล้วไปหาหมอตรวจรักษาดีกว่า ไปคลินิกที่โรงพยาบาลมหาราชเร็วดี ยาดี แม้จะแพงก็ยอมเล่าอาการให้หมอฟังหมอให้ยามากินและนัดดูอาการราวเดือนครึ่ง ได้ไปหาหมอ หมอสอบถามผลการรักษา แล้วให้ยามารับกิน ทำอย่างนี้หลายครั้งแต่ละครั้งให้ไปเจาะเลือด…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ในวัยเด็ก ราวชั้นประถมศึกษา ผมยังจำได้ เมื่อมืดค่ำ ที่บ้านจะจุดตะเกียงน้ำมันก๊าดทุกหลังคาเรือนก็เช่นกัน แม่บอกให้เอาการบ้านมาทำ ถ้าวิชาเดียวก็เสร็จเร็วหน่อย ถ้าสองวิชาก็ดึกหน่อย ดึกนั้นคงราวสองทุ่มเศษ ผมวางสมุดลงบนโต๊ะเล็กๆ นั่งขัดสมาธิบนเสื่อ แม่นั่งข้างหน้า แม่สอนจริงจัง มีตึงมีผ่อน มีเทคนิคในการสอน ขู่บ้างปลอบบ้าง คำพูดที่พูดประจำก็คือ “คัดไทย ช่องไฟต้องพอดี หัวทอทหารต้องกลมอย่าให้บอด” “ห้าคูณเจ็ดเป็นเท่าไร สามสิบห้าหรือสามสิบหก” ตอนจบแม่ให้ท่องสูตรคูณ ถ้าท่องได้ให้ไปนอน ท่องไม่ได้เอาให้ได้ ตาผมชักลืมไม่ขึ้น แม่ใช้ไม้ตีปับตรงแขน “ท่องไม่ได้ไม่ต้องนอน” แม่สำทับเสียงเข้ม
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
โลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วเท่าเดิม เข็มนาฬิกากระดิกตัวด้วยความเร็วปกติ ผู้มีความทุกข์ ความผิดหวัง พิเคราะห์เวลาเหมือนเชื่องช้า เนิ่นนาน ผู้มีสุขสมหวัง มีเสียงหัวเราะกลับพูดว่า เวลาผ่านไปเร็วเหลือเกิน เวลาเป็นของมีค่า ในเวลาเพียง 1 นาที มีคนเกิดคนตายเท่าไร มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดทุกมุมโลกมากมาย เมื่อเวลามีค่า เราก็สมควรทำอะไร ให้ตัวเอง ให้สังคม ให้ผู้คนรอบข้าง และควรดำเนินชีวิตอย่างไร ให้ชีวิตมีค่าเหมือนเวลา น่าจะเป็นเช่นนั้น ผมอ่านหนังสือหลายเล่ม ฟังผู้รู้หลายท่าน ใช้เวลาใคร่ครวญ เพื่อให้ความคิดตกผลึกว่า คนดีคือคนอย่างไร คนดีที่สุดต้องทำอะไร ได้ข้อสรุปว่า คนดีที่สุด คือคนที่คิด…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ทุกคนคงเคยไปหาหมอ อาจเป็นหมอคลินิกหรือหมอโรงพยาบาล เมื่อยื่นบัตรคนไข้ผ่านฝ่ายคัดกรองแล้ว ท่านก็ต้องไปยังห้องที่รักษาพยาบาลเฉพาะโรค นั่งรอคิวพยาบาลเรียก ถ้าเป็นคลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชนจะเร็วมาก แต่ก็ต้องจ่ายเงินมากเช่นกัน ถ้าเป็นโรงพยาบาลของรัฐต้องทำใจ จ่ายเงินน้อยแต่คนมาก คงต้องเสียสละเวลาให้ 1 วัน บางทีอาจครึ่งวัน คนไข้มากมาย ห้องตรวจทุกห้องคนไข้เต็มหมด คนไข้มากมายกว่าห้างสรรพสินค้า