Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

 

 

 

น่าชื่นใจ

ที่เราเกิดเชียงใหม่ ดินแดนแห่งต้นแม่น้ำปิง แต่จะชื่นใจและภูมิใจยิ่งกว่า หากเราเกิดมาแล้วรักแม่น้ำปิง รักแล้วดูแลรักษาน้ำให้สะอาด ไม่ให้คนอีกกลุ่มรุกล้ำทำลายโดยวิธีการต่างๆ โบราณกาลนั้น เราจะสร้างบ้านแปงเมืองตามแนวริมแม่น้ำ อาศัยแม่น้ำในการดำรงชีพ ไว้อาบไว้ใช้ เดินทางและขนส่งสินค้า อาจเป็นกฎหรือหลักเหตุและผลง่ายๆ คนทำลายน้ำทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลตามมาจะย้อนทำลายคน ลูกหลาน บ้านเรือน นี่คือหลักของอริยสัจ 4 ที่พระพุทธองค์ค้นพบ เป็นหลักของผลย่อมมาจากเหตุ

วันนี้

เราจึงต้องย้อนกาลเวลา เพื่อรับรู้ความเป็นมาของแม่น้ำปิง อันเป็นรากเหง้าส่วนหนึ่งของลูกหลานลูกแม่ระมิงค์รุ่นต่อรุ่น...หลัง พ.ศ.1 หรือมากกว่า 2,500  ปีมาแล้ว มีชนเผ่าพื้นเมืองตั้งมั่นบริเวณน้ำแม่กวง ในที่ราบลุ่มน้ำแม่ปิงเขต จ.ลำพูน ยังไม่มีหลักฐานบอกได้ว่า คนพวกนี้เป็นบรรพชนชาวลุ่มน้ำปิง ที่จะเติบโตเป็นรัฐหริภุญชัย รัฐเชียงใหม่ รัฐล้านนา ต่อไป ตำนานและนิทานที่แต่งขึ้นสมัยหลังๆ เรียกชื่อบรรพชนชาวล้านนาพวกนี้ว่า เมงคบุตร แปลว่า ลูกหลานเชื้อสายของ เมง คือรามัญหรือมอญ และเรียกชื่อดินแดนในยุคนี้ว่า  มิคสังครนคร และสมันตรประเทศ

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายว่า

“กลุ่มชนที่เจริญพวกแรกในที่ราบลุ่มเชียงใหม่คือ พวกเมงคบุตร ซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณที่ราบเชิงดอย

สุเทพ ใกล้กับลำน้ำแม่ขาน อันเป็นสาขาแม่น้ำปิง ลักษณะสังคมของชนพื้นเมืองนี้เป็น แบบเผ่า(Tribal Society) แต่ว่าแบ่งเป็นหลายตระกูล(Totemic Groups)...”

บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่

มีประชาชนอาศัยอยู่หลายเผ่า แต่ที่สำคัญได้แก่พวก เมง(มอญหรือรามัญ)และพวก ลัวะ(ลวะหรือละว้า)

เม็งและลัวะเป็นชาติพันธุ์ดั้งเดิมในที่ราบลุ่มน้ำปิง ตำนานจามเทวีวงศ์เรียกชาติพันธุ์เม็งว่า เมงคบุตร

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม วิเคราะห์ว่า กลุ่มเมงคบุตร เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่เจริญเป็นพวกแรกในแถบที่ราบเชียงใหม่ มีลักษณะสังคมชนเผ่า แบ่งออกเป็นหลายตระกูล แต่ละตระกูลใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์ของตน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาติพันธ์เม็ง มักกระจายตัวอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่ในภาษาเม็งเรียกแม่น้ำปิงว่า “แม่ระมิง.”(มาจากคำว่า รเมญ ในภาษามอญโบราณและกร่อนมาเหลือ เมญ หรือ เม็ง ในภาษาล้านนา) หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่ชาวเม็งอาศัยอยู่ แต่เม็งมีประชากรน้อยกว่าลัวะ

ต่อมามีชาวต่างถิ่นที่รับวัฒนธรรมอินเดีย คือฤาษีวาสุเทพอพยพเข้ามา ได้แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองที่นับถือเนื้อเป็นสัญลักษณ์ ฤาษีวาสุเทพกลายเป็นผู้นำชาวพื้นเมืองเหล่านี้ทั้งหมด ต่อมาจึงได้สร้างบ้านเมืองขึ้นให้ลูกหลานปกครอง(หนังสือ “จังหวัดเชียงใหม่มาจากไหน.” โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ)

มีข้อมูลที่น่าสนใจ

“ บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่(Chiang Mai Valley)  เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรมแต่อดีต มีชื่อเรียกกันตามความสำคัญของลำน้ำปิงที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบนี้ว่า พิงครัฐ...”

 อีกตอนหนึ่งว่า

“...ลงเรือมาตามแม่น้ำพิงค์ 7 เดือน จึงบรรลุถึงเมืองนี้ ท่านวาสุเทพและท่านสุกกทนต์พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งปวงได้อัญเชิญพระนางจัมมเทวีนั้นนั่งบนกองทองคำ แล้วอภิเษก อาศัยเหตุที่พระนางนั่งบนกองทองคำอภิเษก นครนั่นจึงชื่อว่า หริปุญชัย สืบมาจนถึงวันนี้.”(หนังสือ  “เชียงใหม่มาจากไหน.” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ)

เชื่อมเรื่องราวต่ออีกว่า

พระเจ้ามังรายพระชนม์ได้ 23 ปี ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.1806...ต่อจากนั้นทรงสร้างกุสนคร เมื่อ พ.ศ. 1817(เข้าใจว่าคือเมืองฝาง)...พระเจ้าเมืองรายมีพระชนม์มายุ 53 ปี พ.ศ.1836 ได้เข้ายึดหริปุญชัยจากพระเจ้าญีบาได้สำเร็จ จากนั้นพระองค์ทรงสร้างนครเชียงใหม่ปี พ.ศ.1839 ในท้องที่ภูเขาอุจฉุคิรี(ดอยสุเทพ)กับแม่น้ำพิงค์( หนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 93-94)

มีคำว่า “แคว้นพิงค์.”

ปรากฏในสมัยพระเจ้ามังรายครองเมืองเชียงใหม่ และมีคำว่า “นครพิงค์.” ปรากฏในสมัยเจ้าครามซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระเจ้ามังรายครองเมืองเชียงใหม่ (หนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 94-95)

มีคำสำคัญคือ พิงค หรือ พิงค์ เป็นชื่อเรียกทั้งเมืองและแม่น้ำ  และคำนี้ยังปรากฏในชื่อเมืองที่พญามังรายมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพญางำเมือง ขนานนามเมืองใหม่นี้ว่า “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่.”

สรุปได้ว่า

แม่น้ำที่ราบลุ่มนี้เดิมชื่อ แม่น้ำระมิงค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น แม่น้ำพิงค์ แล้วแปรเปลี่ยนเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน จะมีลำดับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้น ยังค้นหาหลักฐานเชื่อมต่อที่น่าเชื่อถือไม่ได้ คงต้องค้นคว้าแสวงหาจากหลักฐาน ปราชญ์  ผู้รู้ ต่อไป.

 

                                                ....................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ขออภัย ผมปัสสาวะบ่อย หลายครั้งต่อวัน บางครั้งกลั้นไม่อยู่ อยากฉี่เต็มที ต้องรีบปลดปล่อยอย่างเร่งด่วน บางครั้งอยากฉี่โดยไม่เลือกที่เลือกเวลา   ร่างกายเราควบคุมมันไม่ได้เสียแล้ว กำลังคุยกันหลายคนเสียด้วย ต้องรีบขอตัวเข้าห้องน้ำ   บางทีก่อนออกบ้านได้ไปทำธุระในห้องน้ำเรียบร้อยแล้ว ขับรถยนต์เข้าเชียงใหม่   เวลาผ่านไปไม่เท่าไร อยากไปห้องน้ำอีกแล้ว โธ่ๆ...เป็นไปได้    เป็นบ่อยเข้า ผิดปรกติแน่นอน จึงเดินทางไปพบหมอที่โรงพยาบาลสวนดอก(โรงพยาบาลมหาราช)    
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      13 ตุลาคม 2553
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผมวิ่งขึ้นบันไดบ้าน มือขวาถือรองเท้าผ้าใบสีน้ำตาล ถึงบนบ้านวางกระเป๋าหนังสือเรียนชั้น ป.3 ข้างเสา วางรองเท้าที่ว่างข้างบันได นั่งถอดถุงเท้าที่ชุ่มเหงื่อวางผึ่งบนรองเท้า กวาดตามองหาย่า ได้ยินเสียงในห้องครัว ส่งเสียงเรียกย่า ย่าเดินถือถ้วยใส่ขนมมาให้เหมือนทุกวัน ผมเดินสูดขี้มูกไปหา ยกชายเสื้อกล้ามเช็ดเหงื่อแถวหน้าผากและหัว แมวสีดำขาขาวเหมือนสวมถุงเท้าวิ่งมาพันแข้งขา ผมหยุดก้มดูส่งเสียงไล่ตะเพิด 1 ครั้งมันยังคลอเคลีย 2 ครั้ง มันยังคงร้องเหมียวๆ ระหว่างขา ผมรับถ้วยขนมเดินกลับมาหามุมเหมาะๆ จะกินขนมให้อร่อยลิ้น …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    วัดประทานพรนั้น จะอยู่แถวย่านโรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ซู่จิ้งบอกตำแหน่งวัดที่คาดว่าผมจะตามไปหาของสำคัญมักติดตามกันยากจริงๆ เหมือนตามหาขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าในภาพยนตร์ฝรั่ง ผมเดินหน้าเยิ้มเหงื่อ หลังชุ่มเปียกกลับมาหาภรรยา ที่กำลังคีบก๋วยเตี๋ยวสูตรไทยใหญ่เข้าปากสบายอารมณ์ ดูเธอไม่สนใจคำตอบผมเท่าไร ผมชักไม่มั่นใจการตามหาอิฐสำคัญจะสมหวัง...ใครก็ได้ช่วยตามหาให้หน่อยเถอะ อยากเห็นนักรูปร่างลักษณะจะเป็นอย่างไร  
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  26 สิงหาคม 2553 ได้ไปหาคุณวิจิตร ไชยวัณณ์ อดีตนักหนังสือพิมพ์คนเมือง โดยผมขับรถไปหาคุณลุงวิจิตรที่บ้านห้วยน้ำขาว ตำบลบ้านยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ บ้านนี้อยู่ห่างจากพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศวร์ไปอีกราว 5 กิโลเมตรเท่านั้น เป็นเรือนไม้ใต้ถุนโล่ง อยู่ด้านซ้ายมือ ตรงข้ามสนามกีฬาพอดี คุณลุงอายุ 86 ปีแล้ว ท่านบอกผมด้วยสีหน้าปรกติว่า ลุงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย อีก 3 ปีจะตาย  พอจบคำพู  ผมค่อยผ่อนลมหายใจยาว ไม่น่าเชื่อคนที่รู้ว่าตนเองกำลังใกล้ตายจะมีทีท่าปรกติ  บอกเรื่องร้ายแรงเหมือนเรื่องปรกติธรรมดา…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ร้านหนังสือที่แปลกตา  ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน   เป็นห้องสี่เหลี่ยม   บนโต๊ะกลางห้องมีหนังสือวางเรียงราย  ด้านข้างที่ติดหน้าร้านนั้น มีหนังสือวางบ้างตั้งบ้าง   ด้านนี้เห็นมีหนังสือของคุณ รงค์ วงษ์สวรรค์   วางทักทายแฟนหนังสือหลายเล่ม   หนังสืออื่นๆเช่น ราหูอมจันทร์   สวนนักเขียน   รวมทั้งกลุ่มหนังสือใต้ดิน   ในตู้หลายใบ   ที่วางห่างเป็นระยะ   เป็นหนังสือชั้นดีทั้งระดับต่างประเทศ ที่แปลแล้ว และหนังสือในประเทศ เขียนโดยนักเขียนมีชื่อเสียง…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
   
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เดินทางจากบ้าน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่   ขับรถกระบะสีเขียวเข้าเมืองเชียงใหม่   อายุใช้งานย่างเข้าปีที่ 16 แล้ว ถ้าเป็นคนก็เริ่มเป็นหนุ่มเป็นสาว   อยากเปลี่ยนใหม่เหมือนกัน   แต่ไม่มีเงินพอซื้อ   ภรรยานั่งเป็นเพื่อนอยู่ข้างๆ   บอกก่อนว่า   เธอไม่ได้มาคุมประพฤติอะไรทั้งสิ้น ผมขับรถมักง่วงเป็นประจำ   ต้องมีคนคอยกระตุ้น   ให้ประสาทต่างๆตื่นตัวเสมอ   กินกาแฟพอช่วยได้บ้าง  ถ้ากินประเภทเครื่องดื่มชูกำลัง   กลับทำให้ใจเต้นแรง กระสับกระส่าย…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผู้ซื้อขายลำไยบางราย มีทีมงานเก็บลำไย  เป็นต้นว่า  ครูกำพลนำชาวเขาเผ่ามูเซอร์จากอำเภอไชยปราการมาเก็บลำไย โดยเช่าบ้านที่หัวบ้านทุ่งแป้งให้พักอาศัย มูเซอร์มาด้วยกัน 5 ครอบครัว สองคู่มีลูกเล็กตามมาด้วย  ยังไม่พอลูกในท้องอีกคน  อีกสามคู่อยู่ในวัยหนุ่มสาว  ยังไม่มีลูก  การแต่งตัว ทรงผม เหมือนวัยรุ่นเชียงใหม่  ขับขี่จักรยานยนต์โฉบไปมารวดเร็ว ถ้าครูกำพลเหมาซื้อลำไยแห่งใด กลุ่มนี้จะไปรับจ้างเก็บลำไย  หากครูกำพลยังไม่มีงาน อนุญาตให้ไปรับจ้างเก็บลำไยรายอื่นได้   ผู้ซื้อเหมาสวนลำไย  จะจ่ายค่าขึ้นเก็บลำไย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
กาแฟห้องเช่า ร้านประจำของผมปิดร้านได้ 4 วันแล้ว ไม่เคยปิดนานเท่านี้ หรือจะพาไปภรรยาไปเกิดลูก เพราะเห็นเธอท้องใหญ่เบ้อเริ่ม สวมชุดคลุมท้องด้วย ผัดหน้าตาผุดผ่อง หรือปิดร้านไปงานศพในหมู่บ้าน หรือจะมาเปิดร้านสายเป็นบางวัน เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ผมคาดคะเนไปหลายทิศทาง  เหมือนตำรวจตั้งประเด็นกรณีเกิดอาชญากรรม  ผมขับรถยนต์เก่าอายุใช้งาน 16 ปีช้าๆ  แล่นมาตามถนนข้างตลาดต้นแหน  ตลาดนี้จะขายของตอนเย็น ลูกค้าอยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง เช่น  บ้านต้นแหนน้อย บ้านต้นแหนหลวง  บ้านสันป่าสัก บ้านทุ่งแป้ง  ตาผมมองเฉียงไปยังห้องแถวเช่าชั้นเดียวขวามือ…
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
ข้อความที่ได้รับ คล้ายที่ลงในหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ฉบับวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 ดังนี้ ข้าวไม่ต้องหุงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวพัฒนา   โดยศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่   จากข้าว 4 พันธุ์คือ   ข้าวดอกมะลิ 105   กข 39   ข้าวหลวงสันป่าตอง   และขาหนี่   เพื่อความสะดวกในการเตรียม   ให้เป็นอาหารพร้อมสำหรับบริโภค   โดยใช้อุปกรณ์การหุงน้อยชิ้นและประหยัดพลังงานในการทำให้สุก   ภายใต้กระบวนการแปรรูป   ให้เป็นข้าวที่นึ่งที่ทำให้สุกด้วยไอน้ำ   ลดความชื้น   และนำไปสีเป็นข้าวสาร …