Skip to main content

ถนอมรัก  เดือนเต็มดวง

 

 

 

 

น่าชื่นใจ

ที่เราเกิดเชียงใหม่ ดินแดนแห่งต้นแม่น้ำปิง แต่จะชื่นใจและภูมิใจยิ่งกว่า หากเราเกิดมาแล้วรักแม่น้ำปิง รักแล้วดูแลรักษาน้ำให้สะอาด ไม่ให้คนอีกกลุ่มรุกล้ำทำลายโดยวิธีการต่างๆ โบราณกาลนั้น เราจะสร้างบ้านแปงเมืองตามแนวริมแม่น้ำ อาศัยแม่น้ำในการดำรงชีพ ไว้อาบไว้ใช้ เดินทางและขนส่งสินค้า อาจเป็นกฎหรือหลักเหตุและผลง่ายๆ คนทำลายน้ำทำลายป่า ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลตามมาจะย้อนทำลายคน ลูกหลาน บ้านเรือน นี่คือหลักของอริยสัจ 4 ที่พระพุทธองค์ค้นพบ เป็นหลักของผลย่อมมาจากเหตุ

วันนี้

เราจึงต้องย้อนกาลเวลา เพื่อรับรู้ความเป็นมาของแม่น้ำปิง อันเป็นรากเหง้าส่วนหนึ่งของลูกหลานลูกแม่ระมิงค์รุ่นต่อรุ่น...หลัง พ.ศ.1 หรือมากกว่า 2,500  ปีมาแล้ว มีชนเผ่าพื้นเมืองตั้งมั่นบริเวณน้ำแม่กวง ในที่ราบลุ่มน้ำแม่ปิงเขต จ.ลำพูน ยังไม่มีหลักฐานบอกได้ว่า คนพวกนี้เป็นบรรพชนชาวลุ่มน้ำปิง ที่จะเติบโตเป็นรัฐหริภุญชัย รัฐเชียงใหม่ รัฐล้านนา ต่อไป ตำนานและนิทานที่แต่งขึ้นสมัยหลังๆ เรียกชื่อบรรพชนชาวล้านนาพวกนี้ว่า เมงคบุตร แปลว่า ลูกหลานเชื้อสายของ เมง คือรามัญหรือมอญ และเรียกชื่อดินแดนในยุคนี้ว่า  มิคสังครนคร และสมันตรประเทศ

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม อธิบายว่า

“กลุ่มชนที่เจริญพวกแรกในที่ราบลุ่มเชียงใหม่คือ พวกเมงคบุตร ซึ่งตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณที่ราบเชิงดอย

สุเทพ ใกล้กับลำน้ำแม่ขาน อันเป็นสาขาแม่น้ำปิง ลักษณะสังคมของชนพื้นเมืองนี้เป็น แบบเผ่า(Tribal Society) แต่ว่าแบ่งเป็นหลายตระกูล(Totemic Groups)...”

บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่

มีประชาชนอาศัยอยู่หลายเผ่า แต่ที่สำคัญได้แก่พวก เมง(มอญหรือรามัญ)และพวก ลัวะ(ลวะหรือละว้า)

เม็งและลัวะเป็นชาติพันธุ์ดั้งเดิมในที่ราบลุ่มน้ำปิง ตำนานจามเทวีวงศ์เรียกชาติพันธุ์เม็งว่า เมงคบุตร

อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม วิเคราะห์ว่า กลุ่มเมงคบุตร เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองที่เจริญเป็นพวกแรกในแถบที่ราบเชียงใหม่ มีลักษณะสังคมชนเผ่า แบ่งออกเป็นหลายตระกูล แต่ละตระกูลใช้สัตว์เป็นสัญลักษณ์ของตน ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาติพันธ์เม็ง มักกระจายตัวอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง จึงพบคำเก่าแก่ในภาษาเม็งเรียกแม่น้ำปิงว่า “แม่ระมิง.”(มาจากคำว่า รเมญ ในภาษามอญโบราณและกร่อนมาเหลือ เมญ หรือ เม็ง ในภาษาล้านนา) หรือแม่น้ำเม็ง หมายถึงแม่น้ำที่ชาวเม็งอาศัยอยู่ แต่เม็งมีประชากรน้อยกว่าลัวะ

ต่อมามีชาวต่างถิ่นที่รับวัฒนธรรมอินเดีย คือฤาษีวาสุเทพอพยพเข้ามา ได้แต่งงานกับหญิงพื้นเมืองที่นับถือเนื้อเป็นสัญลักษณ์ ฤาษีวาสุเทพกลายเป็นผู้นำชาวพื้นเมืองเหล่านี้ทั้งหมด ต่อมาจึงได้สร้างบ้านเมืองขึ้นให้ลูกหลานปกครอง(หนังสือ “จังหวัดเชียงใหม่มาจากไหน.” โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ)

มีข้อมูลที่น่าสนใจ

“ บริเวณที่ราบลุ่มเชียงใหม่(Chiang Mai Valley)  เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นศูนย์กลางของสังคมและวัฒนธรรมแต่อดีต มีชื่อเรียกกันตามความสำคัญของลำน้ำปิงที่ไหลหล่อเลี้ยงพื้นที่ราบนี้ว่า พิงครัฐ...”

 อีกตอนหนึ่งว่า

“...ลงเรือมาตามแม่น้ำพิงค์ 7 เดือน จึงบรรลุถึงเมืองนี้ ท่านวาสุเทพและท่านสุกกทนต์พร้อมด้วยชาวเมืองทั้งปวงได้อัญเชิญพระนางจัมมเทวีนั้นนั่งบนกองทองคำ แล้วอภิเษก อาศัยเหตุที่พระนางนั่งบนกองทองคำอภิเษก นครนั่นจึงชื่อว่า หริปุญชัย สืบมาจนถึงวันนี้.”(หนังสือ  “เชียงใหม่มาจากไหน.” โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ)

เชื่อมเรื่องราวต่ออีกว่า

พระเจ้ามังรายพระชนม์ได้ 23 ปี ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ.1806...ต่อจากนั้นทรงสร้างกุสนคร เมื่อ พ.ศ. 1817(เข้าใจว่าคือเมืองฝาง)...พระเจ้าเมืองรายมีพระชนม์มายุ 53 ปี พ.ศ.1836 ได้เข้ายึดหริปุญชัยจากพระเจ้าญีบาได้สำเร็จ จากนั้นพระองค์ทรงสร้างนครเชียงใหม่ปี พ.ศ.1839 ในท้องที่ภูเขาอุจฉุคิรี(ดอยสุเทพ)กับแม่น้ำพิงค์( หนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 93-94)

มีคำว่า “แคว้นพิงค์.”

ปรากฏในสมัยพระเจ้ามังรายครองเมืองเชียงใหม่ และมีคำว่า “นครพิงค์.” ปรากฏในสมัยเจ้าครามซึ่งเป็นพระราชบุตรของพระเจ้ามังรายครองเมืองเชียงใหม่ (หนังสือ ชินกาลมาลีปกรณ์ หน้า 94-95)

มีคำสำคัญคือ พิงค หรือ พิงค์ เป็นชื่อเรียกทั้งเมืองและแม่น้ำ  และคำนี้ยังปรากฏในชื่อเมืองที่พญามังรายมหาราช พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพญางำเมือง ขนานนามเมืองใหม่นี้ว่า “ นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่.”

สรุปได้ว่า

แม่น้ำที่ราบลุ่มนี้เดิมชื่อ แม่น้ำระมิงค์ ต่อมาเปลี่ยนเป็น แม่น้ำพิงค์ แล้วแปรเปลี่ยนเป็นแม่น้ำปิงในปัจจุบัน จะมีลำดับการเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้น ยังค้นหาหลักฐานเชื่อมต่อที่น่าเชื่อถือไม่ได้ คงต้องค้นคว้าแสวงหาจากหลักฐาน ปราชญ์  ผู้รู้ ต่อไป.

 

                                                ....................................................................

บล็อกของ ถนอมรัก เดือนเต็มดวง

ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  อ่านกวีนิพนธ์ ของโอมาร์ คัยยัม กวีชาวเปอร์เซียหรืออิหร่าน โดยแคน สังคีต แปลเป็นภาษาไทย ได้เนื้อหาเกี่ยวกับความรักว่า                                                     อันความรัก คืออะไร          ควรใคร่คิด          …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เนาวรัตน์กวาดสายตา เข้าไปในตัวบ้านไม้ชั้นเดียว พื้นบ้านต่ำกว่าระดับถนนคอนกรีตเล็กน้อย   ข้างฝามีปฏิทิน มีรูปคณะซอ   มีรูปแม่จันทร์สม สายธารา   นั่งคู่กับผู้ชายวัยใกล้เคียงกัน   เนาวรัตน์คาดคะเนว่า คงเป็นครูคำผาย นุปิง ทั้งคู่อยู่ในชุดคนเมือง   ข้างหลังนั่งล้อมวง   สวมเสื้อหม้อฮ่อม ปี่ 3 คน ซึง 1 คน เนาวรัตน์มองดูที่หน้าบ้านริมถนน มีสิ่งก่อสร้าง คล้ายโรงครัวเล็กๆ   มีป้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าติดข้างฝา   บอกชื่อแม่จันทร์สม สายธารา   ที่อยู่  …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  เสียงปี่ผสมเสียงซึงดังขึ้น  รับกับเสียงผู้ขับซอ   เสียงปีและซึงผสมกลมกลืนมีทั้งหวานแหลมและนุ่มนวล   ก่อเกิดบรรยากาศความเป็นชาวเหนือขึ้นมาทันที   ผู้ขับซอชายนั่งขัดสมาธิ มือถือไมโครโฟนไร้สาย ผู้หญิงนั่งพับเพียบเคียงกัน หันหน้าอวดผู้ชม   ยามผู้ชายขับซอ   ผู้หญิงเอียงตัวไปมา มือไม้ขยับรับเสียงดนตรี   ทำนองดนตรีนั้นเนาวรัตน์ฟังไม่ออก เป็นเพลงอะไร สมัยเด็กๆเขาเข้าใจว่า คนเป่าปี่และคนดีดซึง คงเล่นเพลงเดียวตลอดงาน เพราะฟังทีไรก็เหมือนเดิมทุกที …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เนารัตน์ข้าราชการบำนาญ นั่งเก้าอี้พลาสติกของวัด   ดูซอที่ตั้งเวทีข้างประตูวัด สถานที่ซอเป็นยกพื้นขึ้นสูงราวคอผู้ใหญ่ ปูพื้นด้วยไม้กระดาน ล้อมสามด้านด้วยไม้ไผ่ลำโตขนาดข้อมือเด็ก ด้านละ 2 ต้น คล้ายเชือกกั้นเวทีมวย อีกด้านมีบันไดพาด สำหรับให้คณะซอปีนขึ้นไป สถานที่ขับซอเรียกว่า “ผามซอ” พื้นจะปูด้วยเสื่อ ความจริงเนาวรัตน์ไม่อยากมาชมเท่าไร   อยากได้เรื่องราวเกี่ยวกับด้านบันเทิงของชาวเหนือ นำไปเขียนลงเวบเพื่อเผยแพร่ หรือส่งไปยังหนังสือที่เขาต้องการ...ในวัยเด็กย่าบอกว่า ซอสนุกมาก …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ผู้ใหญ่บ้านได้พูดเสริมต่อจากเจ้าอาวาส “กรรมการวัด ได้มีการประชุมหารือกันก่อนแล้วแล้วรอบหนึ่ง มีเจ้าอาวาสเป็นประธาน คณะกรรมการวัด มีข้อคิดความเห็นว่า จะขอความร่วมมือร่วมใจจากศรัทธาญาติโยมทุกคน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อจัดงานบวช ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2553 โดยจะขอเก็บหลังคาละ 140 บาท เงิน 40 บาทจะเป็นค่าจัดทำอาหารกลางวัน  เลี้ยงศรัทธาทั้งหมู่บ้าน ส่วนอีก 100 บาท จะเป็นค่าทำบุญและค่าจ้างซอมาเล่นเฉลิมฉลอง จึงอยากถามหมู่เฮาชาวบ้านว่า  จะเห็นด้วยไหม ?” มีเสียงพึมพำอึงในวิหาร …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    เสียงเคาะลำโพงปลายเสาไฟฟ้า   ในหมู่บ้านทุ่งแป้ง   ดังขึ้น 3 ครั้ง แล้วมีเสียงพูด “ ฮัลโหล !   ฮัลโหล !   ครับ !   ขอประชาสัมพันธ์ วันนี้กินข้าวแลงแล้ว   เวลาประมาณ 1 ทุ่มเศษ   ขอเชิญทุกบ้านทุกหลังคาเรือน   มาประชุมพร้อมกันที่วัดทุ่งแป้งนะครับ มีหลายเรื่องที่จะประชุมหารือกัน   อย่าได้ขาดกันเน้อ   บอกต่อๆกันไปด้วยเน้อครับ...ขอขอบคุณครับ”
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
   
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
    ได้ยินเสียงหมอเรียก เราทั้งคู่รีบเข้าไป เห็นเจ้าเหมียวนอนตะแคงนิ่งเหมือนท่อนไม้ ลิ้นแดงเล็กห้อยคาปาก หมอบอกว่า เอาลิ้นมันคาปากไว้ หากลิ้นค้างในปากขณะมันสลบ ลิ้นอาจจุกปากหายใจไม่ออกอาจตายได้ มันจะสลบสัก 1 ชั่วโมง ลุงกับป้าช่วยกันอุ้มมันขึ้นรถ   วางมันบนเบาะหลังที่มีผ้าขนหนูรอง พอถึงบ้านอุ้มมันไปวางราบบนม้ายาวที่มีหมอนรอง ลิ้นยังคาปากเหมือนเดิม อดนึกไม่ได้ว่าตอนแมว
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
 
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  ผมมองผ่านทางเดิน ไปห้องครัว เห็นแมวต่างบ้าน เดินย่องเงียบกริบออกมา เจ้าตัวนี้มาขโมยอะไรกินบ่อยๆ ผมหมายตาจะเล่นงานมันหลายครั้ง แต่มันรอดปลอดภัยทุกที ไม่ทำร้ายอะไรมากมายหรอก จะหาไม้เล็กๆไม่ทันแล้ว เราก็นักฟุตบอล ใช้เท้าเคลื่อนไหวประจำ เตะได้ทั้งซ้ายขวา ไม่รู้จักศูนย์หน้าทีมโรงเรียนดังซะแล้ว จะหลบซ้ายขวาเจอหมด  ฮะฮ่า !..เสร็จแน่เจ้าเหมียว แมวขาวดอกลายเดินกลับออกมาใกล้ถึงมุมห้องแล้ว ผมโผล่พรวดออกไป มันตกใจยืนตลึง ผมส่งเสียงข่มขวัญ มันตั้งหลักได้ขยับวิ่งไปทางขวาแล้วแวบมาทางซ้าย …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
      พออากาศเริ่มเย็น เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว นกเอี้ยงที่เคยหายไป เริ่มกลับมาส่งเสียงแก๋ๆ ตามยอดต้นโพธิ์ข้างวัด ส่วนนกเขาอยู่ประจำถิ่นในหมู่บ้าน ฤดูไหนผมก็ยังเห็นนกเขาเสมอ เดินไปมาตามถนนบ้าง เกาะสายไฟบ้าง บ้านนี้นกเขามากจริงๆ คนแปลกหน้าเข้ามา จะได้ยินเสียงนกเขาคูระงมหมู่บ้าน คงนึกว่าหมู่บ้านนี้เลี้ยงนกเขา ความจริงไม่เห็นใครเลี้ยงนกเขาเลย มันเป็นนกที่หากินเอง ว่างจากหาอาหาร มันจะคูเสียงขับกล่อมผู้คนชาวทุ่งแป้ง ขณะผมพิมพ์หนังสือ ยังได้ยินเสียงคูทุ้มๆ มาจากทิศเหนือ ละแวกบ้านน้าบุญแว่วมา …
ถนอมรัก เดือนเต็มดวง
  แปรงฟันล้างหน้าเสร็จเรียบร้อย ผมกลับมายืนดูที่หน้าต่างดังเดิม ฝูงนกยางยังคงบินตามกันเต็มท้องฟ้า ไม่รู้จักหมดสิ้น อากาศเริ่มเย็น ลมเย็นพัดมาจากทุ่งหน้าบ้านเอื่อยๆ บอกสัญญาณย่างเข้าสู่ฤดูหนาว นกมากมายไม่รู้มันมาจากไหน มาไกลแค่ไหน บ้างว่ามันมาจากไซบีเรีย จีน มองโกล หิมาลัย มันเป็นนกปากห่าง  นกยาง ฯลฯ จำนวนเป็นแสนตัวทีเดียว สิ่งที่ตามมาคือโรคติดต่อ ต้องระวังไข้หวัดนก ที่มันนำมาฝากเจ้าของบ้าน